รักตัวเอง

<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 พฤษภาคม 2557
 

เหตุอยู่ที่ใจ (จริงหรือ)

เวลาผู้ป่วยไปพบแพทย์ด้วยอาการหอบเหนื่อยหรือแน่นหน้าอกนั้น สิ่งแรกที่แพทย์จะทำ คือ พยายามพูดคุยถามประวัติรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อแยกให้ได้ว่าสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบหรือแน่นหน้าอกนั้นมาจากความผิดปกติของอวัยวะใด เนื่องจากมีอวัยวะที่รับผิด (ไม่รับชอบ) อยู่หลายอวัยวะที่ทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน เช่น อาการเหนื่อยหอบหรือแน่นอึดอัดบริเวณหน้าอก อาจมีสาเหตุมาจาก  หัวใจ,  ปอด, หลอดอาหาร, กระเพาะ, กล้ามเนื้อ, กระดูกบริเวรทรวงอก, เยื่อหุ้มปอด  หรือเยื่อหุ้มหัวใจก็อาจทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงกันได้

เมื่อต้นปีผมมีผู้ป่วยเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 50 ปี มาพบและเล่าว่ามีอาการอึดอัด แน่นหน้าอก เวลาเดิน หรือออกแรง ผู้ป่วยคนนี้รูปร่างค่อนข้างสมบูรณ์แข็งแรงพอใช้ได้ ไม่มีลักษณะของโรคเรื้อรังใดๆ แต่งตัวมีฐานะค่อนข้างดี แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอยู่หลายปัจจัย เช่น มีความดันโลหิตสูงปานกลาง มีประวัติคนในครอบครัวเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันอยู่หลายคน และเธออยู่ในวัยทอง คือ ไม่มีประจำเดือนมาได้ 10 กว่าปีแล้ว

นอกจากนั้น เธอไม่มีประวัติไอเรื้อรัง หรือน้ำหนักลด (ตรงกันข้ามน้ำหนักเธอเพิ่มขึ้น 5 กิโลกรัมภายใน 4 อาทิตย์!!)  ไม่เคยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง การรับประทานอาหารและขับถ่ายของเธอก็ปกติ  ไม่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ที่จะทำให้นึกถึงโรคในระบบทางเดินอาหาร การตรวจร่างกายไม่พบบริเวณที่กดเจ็บ หรือฟังได้เสียงผิดปกติที่จะให้นึกถึงความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระดูก  เยื่อหุ้มปอดหรือเยื่อหุ้มหัวใจได้

จากประวัติที่ผู้ป่วยมีอาการมาได้ประมาณ 5-6 เดือน และเริ่มเป็นมากขึ้นในช่วงก่อน 2-3 อาทิตย์ก่อนมาโดยเฉพาะเวลาเดินขึ้นบันไดบ้านทำให้ผมนึกว่า อาการของเธอน่าจะเกิดมาจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบมากที่สุด จึงได้ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และให้เธอได้เดินสายพาน หรือที่เรียกว่า  Stress test เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการทำงานของหัวใจหลังออกกำลังหรือไม่ แต่ผลการตรวจก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่เธอสามารถออกกำลังได้ถึงระดับดีปานกลาง และไม่มีความผิดปกติของการบีบตัวของหัวใจ หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจในลักษณะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลย

หลังการตรวจผมได้แจ้งให้เธอทราบว่า อาการแน่นหน้าอกและอึดอัดเวลาออกแรงของเธอน่าจะมาจากภาวะที่ร่างกายไม่ฟิต และส่วนหนึ่งมีผลมาจากความดันโลหิตสูงร่วมกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ไม่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผมจึงได้ให้ยาควบคุมความดันโลหิตไปเพื่อรักษาเรื่องความดันโลหิตสูงและแนะนำให้ลดน้ำหนักรวมทั้งการออกกำลังด้วย  โดยขอนัดพบเธออีกครั้งหนึ่งในระยะเวลา 2 เดือน

แต่ก่อนที่จะถึงเวลานัดครั้งต่อไปเธอต้องกลับมาพบกับแพทย์เพื่อนร่วมงานของผมด้วยอาการคล้ายๆ กัน  แต่ครั้งนี้เธอมีอาการหอบเหนื่อยมากกว่าแน่นอึดอัดหน้าอกเวลาออกแรงไม่เหมือนครั้งแรกที่มา  จากการตรวจร่างกาย และเอกซเรย์ปอดพบว่า เธอมีภาวะการติดเชื้อเรื้อรังในปอดคล้ายๆ กับเชื้อวัณโรค เมื่อเพื่อนแพทย์ผมได้บอกการวินิจฉัยให้เธอทราบ แทนที่เธอจะโกรธที่ผมวินิจฉัยไม่ถูกในครั้งแรกและทำให้เธอเสียเวลาไปเกือบเดือน เธอกลับรีบบอกให้เพื่อนผมมาขอโทษผมที่เธอบอกอาการผิด เพราะจริงๆ เมื่อเธอคิดดูแล้วเธอไม่มีอาการแน่นหน้าอกหรืออึดอัดหน้าอกเลย  แต่เป็นอาการเหนื่อยหอบมากกว่า!!!

จริงๆ แล้วเวลาแพทย์กับผู้ป่วยเข้าใจไม่ตรงกันเป็นความผิดพลาดของแพทย์  ในรายนี้เป็นผมเองที่ไม่ซักถามประวัติของเธอให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะเมื่อแรกที่เธอมาพบ เธอเล่าว่า มีอาการอึดอัดแน่นหน้าอก สงสัยตัวเองเป็นโรคหัวใจ  เมื่อผมได้ยินเธอบอกว่าเธอเป็นโรคหัวใจ ผมยอมรับทันที (มีความลำเอียงในใจ) ว่าผู้ป่วยรายนี้น่าจะมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจมากกว่าปัญหาของระบบอื่น (เพราะผมเลือกได้ยิน (คือฟัง) เฉพาะสิ่งที่อยากจะได้ยิน) บางครั้งผู้ป่วยบอกว่า มีอาการเหนื่อย แต่ความหมายของคำว่า “เหนื่อย” ของผู้ป่วยกับที่หมอได้ยิน (คิด) อาจจะไม่ตรงกันก็ได้  การซักประวัติ แพทย์ต้องพยายามถามให้ละเอียดว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเล่ามานั้นเป็นเรื่องเดียวกับที่แพทย์เข้าใจ แต่ถ้าแพทย์มีใจลำเอียงก่อนล่วงหน้า เช่น แพทย์หัวใจก็จะคิดถึงแต่ความผิดปกติของหัวใจ เช่นในรายนี้ก็จะทำให้พลาดได้

ระบบการรักษาพยาบาลที่ดีๆ ในหลายๆ ประเทศ จึงมีระบบให้ผู้ป่วยได้พบกับแพทย์ประจำตัวของครอบครัวหรือที่เรียกว่า Family doctor ก่อนพบแพทย์เฉพาะทางโดยที่แพทย์เหล่านี้จะไม่มีใจลำเอียงคิดถึงความผิดปกติของระบบใดระบบหนึ่งมากเป็นพิเศษ และจะมีความเก่งในทุกๆ โรค  เมื่อพบความผิดปกติในระบบเฉพาะโรค  ถ้ามีความจำเป็นก็ถึงจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอีกครั้ง  แต่ทั้งนี้สัดส่วนระหว่างแพทย์ทั่วไป  แพทย์เฉพาะทางและจำนวนผู้ป่วยต้องพอเหมาะพอดีกันด้วย

ในการแยกความผิดปกติของหัวใจและปอดออกจากกันเมื่อผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบนั้น เทคโนโลยีปัจจุบันมีการตรวจซึ่งสามารถช่วยแยกความผิดปกติทั้งสองระบบออกจากกันได้เด็ดขาดจากเพียงแค่การตรวจเลือดเท่านั้น เนื่องจากผู้ป่วยเกิดมีอาการเหนื่อยหอบจากระบบภาวะหัวใจล้มเหลว ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Brain Natriuretic Peptide หรือเรียกย่อๆ ว่า “บีเอ็นพี (BNP)” ออกมาเพื่อช่วยการทำงานของหัวใจแต่ถ้าเป็นอาการเหนื่อยจากความผิดปกติของปอดแล้ว ระดับฮอร์โมนดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยเรื่องอาการเหนื่อยหอบ แต่จากประวัติและการตรวจร่างกาย ไม่สามารถแยกว่าความผิดปกติเกิดจากหัวใจหรือปอด เราอาจจะตรวจดูระดับฮอร์โมนดังกล่าวได้ ถ้าระดับสูงผิดปกติก็แสดงว่าอาการเหนื่อยหอบของผู้ป่วยรายนั้น  เกิดจากจากภาวะหัวใจล้มเหลว

อย่างไรก็ดี ข้อเสียของการตรวจระดับฮอร์โมนดังกล่าว คือ ยังมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นวิธีที่จะแยกความผิดปกติของปอด และ/หรือหัวใจออกจากกันที่มีความคุ้มที่สุด คือ แพทย์ต้องใช้เวลาพูดคุยถามประวัติอาการอย่างละเอียดซึ่งจะสามารถทำการวินิจฉัยแยกโรคทั้งสองระบบออกจากกันได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90    แต่การที่จะหาแพทย์ที่มีเวลาคุยกับผู้ป่วยนานๆ ในภาวะการแพทย์ 30 บาท คงหาได้ยากหน่อยนะครับ!!

นิธิ  มหานนท์

Faxless Payday Loans Direct Lenders Brockton MA
Faxless Payday Loans Direct Lenders Mission Viejo CA
Faxless Payday Loans Direct Lenders San Angelo TX
Faxless Payday Loans Direct Lenders Yuma AZ
Faxless Payday Loans Direct Lenders Greeley CO
Faxless Payday Loans Direct Lenders Vacaville CA
Faxless Payday Loans Direct Lenders Kent WA
Faxless Payday Loans Direct Lenders Quincy MA
Faxless Payday Loans Direct Lenders Carson CA
Faxless Payday Loans Direct Lenders Hillsboro OR
Faxless Payday Loans Direct Lenders Lee s Summit MO

© 2014-2018 faxlesspaydayloansdirectlenders.paydayloans-usa.net All Rights Reserved Sitemap




Create Date : 31 พฤษภาคม 2557
Last Update : 31 พฤษภาคม 2557 9:41:22 น. 0 comments
Counter : 370 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com