รักตัวเอง

<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 เมษายน 2557
 

ตลาดในวิชาเศรษฐศาสตร์คืออะไร

ตลาดในวิชาเศรษฐศาสตร์คืออะไร
มนุษย์เราไม่สามารถผลิตสินค้และบริการทุกอย่างมาตอบสนองความต้องการของตนได้ จึเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า และเกิดตลาด ที่มีการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน
ผู้เขียน: Espresso ชมแล้ว: 24,532 ครั้ง

ประเภทตลาด




                 การรู้จักลักษณะของตลาดในความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ จะช่วยให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย มีความรู้ และสามารถตัดสินใจในการบริโภคและการผลิตได้ดีขึ้น เพราะผู้ซื้อจะรู้ว่าตัวเองมีอำนาจต่อรอง และเลือกซื้อสินค้าได้เต็มที่มากน้อยแค่ไหน ในขณะที่ผู้ขายจะรู้ว่าตัวเองจะสามารถตั้งราคาได้มากน้อยแค่ไหน และจะมีกำไรเท่าไร ซึ่งนับเป็นพื้นฐานความรู้ที่ดีอีกเรื่องหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจในวิชาเศรษฐศาสตร์

ตลาดในความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ที่ ๆ มีกิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้า บริการ รวมทั้งปัจจัยการผลิต เช่น แรงงาน ซึ่งจะกินความหมายกว้างกว่าตลาดที่เรารู้จักกันอยู่ทั่วไป โดยตลาดอาจมีได้หลายแบบ ตั้งแต่ตลาดภายในประเทศ ตลาดขายส่ง ตลาดขายปลีก ตลาดต่างประเทศ ตลาดผลผลิต ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดการเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศหรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ยินกันบ่อยๆ  รวมไปถึงตลาดซื้อขายล่วงหน้า เช่น ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งการที่ตลาดมีอยู่หลายแบบ เพราะเป็นการกำหนดจากผู้เรียกว่าจะเรียกตลาดโดยแบ่งตามหลักเกณฑ์อะไร เช่น หลักเกณฑ์ตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ตามชนิดของสินค้าที่ขายอยู่ในตลาด หรือตามสภาพของการซื้อขายที่เกิดขึ้น รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่น ๆ 
                  จะเห็นได้ว่าตลาดในวิชาเศรษฐศาสตร์จะมีความหมายกว้างกว่าตลาดที่เราเห็นอยู่ทั่วๆ ไป เนื่องจากอาจจะไม่จำเป็นต้องมีตัวสถานที่ซื้อขายที่เป็นตลาดจริง ๆ ก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ ตัวกิจกรรมในการซื้อขายมากกว่า

โครงสร้างของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของผู้ซื้อ ผู้ขาย และลักษณะการดำเนินกิจกรรมในตลาด ได้แก่

1. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfectly competitive market)
2. ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (Imperfectly competitive market) ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ได้อีก 2 ประเภทได้แก่ 
           1) ตลาดผูกขาดที่แท้จริง (Pure monopoly market)
           2) ตลาดกึ่งแข่งขัน กึ่งผูกขาด (Monopolistic competitive market)
วิธีดูว่าตลาดเป็นแบบใด ให้ดูลักษณะของผู้ซื้อ ผู้ขาย และลักษณะการดำเนินกิจกรรมในตลาดที่สำคัญได้แก่ การตั้งราคาของผู้ขาย ดังนี้



ประเภทตลาด ลักษณะที่สำคัญ
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
(จากลักษณะที่สำคัญ 5 ประการดังกล่าว ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขาย ต่างก็ไม่มีใครสามารถกำหนดราคาตลาดได้ จึงเป็น Price taker ตัวอย่างสินค้าที่ใกล้เคียงกับตลาดนี้มากที่สุด ได้แก่ ตลาดสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา เป็นต้น)
1) มีจำนวนผู้ซื้อผู้ขายที่มากจนทำให้การซื้อหรือการขายของคนใดคนหนึ่งไม่สามารถส่งผลกระทบให้ราคาตลาดเปลี่ยนแปลงไปได้
2) สินค้ามีลักษณะใกล้เคียงกันมาก หรือเป็นสินค้าที่เหมือนกันทุกประการ (Homogeneous product)
3) ผู้ขายหรือผู้ผลิตสินค้ารายใหม่ สามารถเข้าสู่ตลาดได้โดยง่าย ไม่มีอุปสรรค (No barrier to entry)
4) ผู้ขายสามารถเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังที่ต่าง ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (Free mobility)
5) ผู้ซื้อและผู้ขายต่างก็มีข้อมูลข่าวสารในตลาดอย่างสมบูรณ์และเท่าเทียมกัน (Perfect information)
ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
- ตลาดผูกขาดที่แท้จริง
(จากลักษณะของตลาด ทำให้การตั้งราคาขายของสินค้าสามารถถูกผูกขาดได้โดยผู้ผลิตเพียงคนเดียว จึงเป็น Price maker)
1) มีผู้ผลิตเพียงรายเดียว (Monopolist)
2) สินค้ามีลักษณะที่ไม่เหมือนใคร ไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาแทนได้อย่างใกล้เคียง  (Differentiate product)
3) สามารถกีดกันการเข้ามาของผู้ผลิตรายใหม่ๆ ได้ (Barrier to entry) ซึ่งมีทั้งการผูกขาดตามธรรมชาติของการผลิต ตัวอย่างสินค้าเช่น กิจการโทรศัพท์บ้าน หรือไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องลงทุนสูงมาก เป็นต้น หรืออาจเกิดการผูกขาดจากนโยบายรัฐ เช่น การผลิตบุหรี่ หรือ สลากกินแบ่งรัฐบาล เป็นต้น
- ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
(ยิ่งผู้ผลิตสามารถทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้ามีความแตกต่างกันมากเท่าไร จะยิ่งมีอำนาจในการตั้งราคาและผูกขาดได้มากเท่านั้น แต่หากตั้งราคาสูงมากเกินไป ผู้ซื้ออาจจะหันไปซื้อสินค้าของผู้ผลิตรายอื่นแทนก็ได้ เนื่องจากสามารถหาสินค้าทดแทนกันได้)

      ตลาดนี้มีลักษณะหลายข้อที่เหมือนตลาดแข่งขันสมบูรณ์ คือ มีจำนวนผู้ซื้อและผู้ขายมาก ผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ง่าย แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ สินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะแตกต่างกันจริง ๆ ในหน้าตาของสินค้า หรืออาจะไม่แตกต่างกันเลย แต่ผู้ซื้อถูกผู้ผลิตทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าแตกต่างกัน เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ยาสระผม สบู่ น้ำอัดลม ไก่ทอด เสื้อผ้าสำเร็จรูป นาฬิกา เป็นต้น ซึ่งวิธีทำให้สินค้าของตนแตกต่างจากคนอื่น อาจทำได้โดยการโฆษณา การตอกย้ำถึงความแตกต่างของสินค้าของตนจากสัญลักษณ์ของสินค้า เช่น  รถยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ เป็นต้น


Loans Without A Guarantor UK
Loans Without Credit Check UK
Loans Without Credit Checks UK
Loans Without Credit Searches UK
Long Term Bank Loans UK
Long Term Business Loans UK
Long Term Cash Loans UK
Long Term Fast Loans UK
Long Term Installment Loans UK




Create Date : 27 เมษายน 2557
Last Update : 27 เมษายน 2557 7:46:24 น. 0 comments
Counter : 1966 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com