รักตัวเอง

<<
มิถุนายน 2557
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
20 มิถุนายน 2557
 

วันนี้คุณพูดกับลูกแล้วหรือยัง?

วันนี้คุณพูดกับลูกแล้วหรือยัง?

“วันนี้คุณพูดกับลูกแล้วหรือยัง” จากคำถามง่ายๆนี้เราจะลองนำไปถามคุณพ่อคุณแม่สัก2-3ราย เพื่อดูคำตอบว่าน่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

รายแรกเป็นคุณพ่อวัย40ปี มีอาชีพเป็นนักธุรกิจ เราได้คำตอบว่า “วันนี้หรือครับ ผมตื่นสายไปหน่อยเพราะเมื่อคืนกินเลี้ยงกับลูกค้าจนดึก รู้สึกลูกจะไปโรงเรียนแล้ว รถโรงเรียนมารับแต่เช้าครับ วันนี้ผมยังไม่ได้พูดกับลูกเลย แล้วคืนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะกลับบ้านก่อนลูกหลับหรือเปล่า แต่ถึงผมจะไม่ค่อยมีเวลาพูดกับลูกก็วางใจครับ เพราะแม่เขาเอาใจใส่ดีอยู่แล้ว”

รายที่สองเป็นคุณแม่มีอาชีพค้าขาย เธอตอบคำถามของเราว่า “โอ๊ย......เรื่องพุดกับลูกน่ะ ดิฉันพูดทุกวันแหละค่ะ พุดจนปากเปียกปากแฉะแล้ว ก็ไม่เห็นมันจะดีขึ้นเลย ยิ่งดูจะเกเรมากขึ้นทุกวัน ถ้าไม่พูดมันก็จะยิ่งเหลิง เวลาพูดเขาก็ไม่ค่อยฟังหรอกค่ะ แกล้งเปิดวิทยุดังๆกลบเสียงเรา หรือไม่ก็ทำหูทวนลมซะทุกที ดิฉันระอาแล้วละค่ะ”

รายต่อมา เป็นคุณแม่อีกเช่นกัน เธอมีลูกสองคน เรียนอยู่ชั้น ม.6 และ มหาวิทยาลัยอย่างละคน เธอตอบว่า “ไม่ต่อยได้พูดกับลูกเท่าไหร่หรอกค่ะ ได้แต่ปรนนิบัติดูแลเขา เพราะเรามันความรู้น้อยเรียนแค่ ป.4 ก็ยังไม่จบเลย ลูกเรามีความรู้สูงกว่าเราพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่ทันเขา จะทำให้เขารำคาญเปล่าๆ” คุณแม่รายนี้ตอบอย่างเจียมเนื้อเจียมตัวแต่ก็แฝงความภาคภูมิใจในตัวลูกอย่างเต็มเปี่ยม

คำตอบของคุณพ่อคุณแม่ทั้ง3รายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงถึงการพูดกับลูกที่แตกต่างกันออกไป คุณพ่อรายแรกแทบไม่มีเวลาคุยกับลูกเลย นอกจากไม่พูดแล้ว เรายังพอเดาได้ว่า คงไม่ค่อยมีเวลาหรือมีส่วนอบรมเลี้ยงดูลูกนัก คงจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแม่ฝ่ายเดียว

ในความรู้สึกของลูกนั้น เขาจะต้องการทั้งพอและแม่เสมอ ไม่เฉพาะแต่การพูดคุยเท่านั้น แต่รวมไปถึงการเลียนแบบด้วย คือเด็กหญิงจะดูแม่เป็นแบบอย่างและเด็กชายก็จะต้องการพ่อเป็นแบบอย่างเพื่อจะเติบโตเป็นชายอย่างเต็มตัว

ดังนั้นถ้าพ่อไม่มีเวลาให้ครอบครัว ไม่ค่อยได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดเป็นแบบอย่างให้ลูกชายเขาก็จะไปยึดแบบอย่างจากคนอื่น เช่น เพื่อนฝูง ดารา นักร้อง ซึ่งอาจจะเป็นแบบอย่างที่ไม่เหมาะสมก็ได้

สำหรับคุณแม่รายที่สอง ที่พูดกับลูกในลักษณะบ่นว่า ตำหนิติเตียนลูกอยู่ทุกวัน ลักษณะการพูดอย่างนี้ลูกย่อมไม่อยากรับฟัง ไม่อยากอยู่ใกล้แม่ ไม่อยากอยู่บ้านและเมื่อมีปัญหาก็เชื่อได้เลยว่า แม่จะเป็นคนสุดท้ายที่จะรู้เรื่อง เพราะลูกขยาดที่จะมาปรึกษาปัญหาด้วย

การพูดกับลูก ไม่ใช่การพูดของพ่อแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้โต้ตอบ แสดงความคิดเห็นของตัวเขาเองด้วย ควรจะเป็นการพูดจากันแบบธรรมดาๆ ปรึกษาหารือกัน ล้อเล่น กระเช้าเย้าแหย่กันอย่างใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างพ่อแม่ลูก ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างบรรยากาศความอบอุ่นในครอบครัวแล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ลูกรู้จักคิดเป็น กล้าพูด กล้าแสดงออก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของเขาในภายภาคหน้า

ส่วนคุณแม่รายสุดท้าย ที่ยกเรื่องลูกมีความรู้มากกว่า มาเป็นปัญหาที่ทำให้พูดกับลูกไม่รู้เรื่องนั้น ก็เป็นความจริงที่พ่อแม่อาจจะมีความรู้น้อยกว่าลูก แต่ในเรื่องของประสบการณ์ชีวิตแล้ว พ่อแม่จะต้องมีมากกว่าลูกแน่ๆ

การพูดกับลูกไม่ใช่การสนทนาทางวิชาการ แต่เป็นการแสดงความรัก ความเอาใจใส่ ความอาทรห่วงใยในตัวลูก เรื่องที่พูดจึงเป็นเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน เช่น คุยเรื่องเพื่อนของลูก พ่อแม่อาจจะเป็นพังเสียเป็นส่วนใหญ่ เปิดโอกาสให้ลูกเล่าอย่างเต็มที่ พ่อแม่จะได้รู้เรื่องนอกบ้านของลูกมากขึ้น หรือพ่อแม่ทำตัวเป็นที่ปรึกษาของลูก ในทุกๆเรื่อง โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีมากกว่า ช่วยลูกแก้ปัญหาของเขา

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากที่พ่อแม่ลูกควรจะมีโอกาสได้พูดจากันบ่อยครั้งและสม่ำเสมอ ในการพูดแต่ละครั้งควรเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน และทุกคนต้องมีโอกาสได้พูด ทั้งนี้ โดยมีความรักเป็นที่ตั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน นำไปสู่ความสุขในครอบครัวต่อไป

แล้วคุณล่ะ วันนี้คุณพูดกับลูกแล้วหรือยัง?


อินทิรา ปัทมินทร. รวมบทความสุขภาพจิตครอบครัว. มปท, 2537, หน้า 59-60.




 

Create Date : 20 มิถุนายน 2557
0 comments
Last Update : 20 มิถุนายน 2557 22:11:58 น.
Counter : 1403 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com