รักตัวเอง

<<
พฤษภาคม 2557
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 พฤษภาคม 2557
 

เบาหวานกับหัวใจ

เมื่อ 2 -  3 อาทิตย์ก่อน ผมมีคนไข้เป็นชาย อายุ 70 ปีเศษ มาหาผมด้วยอาการเหนื่อย อึดอัด หายใจไม่เต็มอิ่มและแน่นหน้าอกเวลาเดิน  และ 2 – 3 วันก่อนมาที่โรงพยาบาลต้องนอนหมอนสูง ให้ศีรษะสูง  ใช้หมอนถึง 4 – 5 ใบ นอกจากนี้คนไข้คนนี้ยังมีอาการ เดินไม่ค่อยถนัด มักจะเซไปเซมาได้ประมาณเดือนเศษ  นอกจากนี้ยังมีประวัติเป็นเบาหวานรักษามานานแล้วด้วยการใช้ยารับประทาน และควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีบ้างไม่ดีบ้าง  เนื่องจากว่าคนไข้ไม่จำกัดอาหารเท่าไรนัก

คนไข้คนนี้ยังมีประวัติไตวาย ความสามารถในการกรองของเสียของไตเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ 10  แต่ไตยังสามารถขับน้ำได้ปริมาณปกติ (หน้าที่หลักของไต คือ ขับของเสียและขับน้ำออกจากร่างกาย)  จึงมีแต่ภาวะของเสียในเลือดสูงแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

จากการตรวจร่างกายพบความดันโลหิตค่อนข้างสูงถึงประมาณ 170 /100 มิลลิเมตรปรอท  ชีพจรเต้นสม่ำเสมอดีและไม่พบว่ามีภาวะน้ำขังในปอดหรือช่องท้อง  จากการตรวจระบบประสาทพบว่าคนไข้ไม่สามารถหลับตายืนเอาเท้าชิดกันได้  ถ้าทำท่าดังกล่าวจะล้มไปข้างใดข้างหนึ่ง นอกจากนี้คนไข้ยังไม่สามารถเดินเอาเท้าติดชิดกันได้อย่างปกติ ต้องเดินแยกเท้าออกจากกันค่อนข้างกว้าง  ทั้งๆ ที่ไม่มีภาวะแขนขาอ่อนแรงแต่อย่างใด

การตรวจพบทางระบบประสาทลักษณะนี้เข้าได้กับความผิดปกติที่บริเวณก้านสมองที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย!!!

ผลการตรวจเลือดและหัวใจขณะที่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกก็พบว่า  มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงร่วมกับภาวะของเสียที่คั่งในเลือดจากภาวะไตวายด้วย

เมื่อตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ทางสมองและของหลอดเลือดทั่วร่างกาย ก็พบว่า มีหลอดเลือดที่เลี้ยงไตทั้งสองข้างตีบร่วมกับหลอดเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองด้านหนึ่งตีบแคบด้วย  และจากการฉีดสีสวนหัวใจดูหลอดเลือดหัวใจก็พบหลอดเลือดหัวใจตีบอย่างมาก

จึงได้รักษาด้วยการขยายหลอดเลือดรวมไปทั้งหมด 3 เส้น คือ  หลอดเลือดหัวใจ  หลอดเลือดที่คอที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองส่วนหน้า  และหลอดเลือดเส้นเล็กๆ ที่ไปเลี้ยงบริเวณก้านสมอง

หลังจากได้รับการรักษาดังกล่าวแล้ว  อาการต่างๆ ของผู้ป่วยก็หายไปเกือบทั้งหมด แต่ต้องได้รับการล้างไตอยู่หลายครั้งเนื่องจากว่า สารทึบรังสีที่ฉีดเข้าไปในช่วงระหว่างทำการเอ็กซเรย์และขยายหลอดเลือดนั้น ทำให้ภาวะการทำงานของไตเสื่อมมากขึ้นชั่วคราว
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาผู้ป่วยลักษณะนี้ คือ การควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดโดยควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตลอดเวลา  และควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ในทีแรก คนไข้บ่นเรื่องค่ารักษาพยาบาลซึ่งแพงเพราะใช้ขดลวดชนิดีที่มียาเคลือบจากต่างประเทศไปถึง 4 ตัว  ผมจึงได้อธิบายไปว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะ (ในอดีต) เขาไม่ควบคุมการรับประทาน การรักษาตอนนี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุเสียแล้ว และถ้าไม่อยากต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มอีกก็ยังจะต้องควบคุมเรื่องเบาหวานให้ดี      จึงแนะนำไปว่า ต่อไปนี้ทุกครั้งที่รับประทานอาหารนอกบ้าน 100 บาทให้หยอดกระปุกทบไว้ด้วย 20 บาทเพื่อเตรียมเป็นค่ารักษาพยาบาลในโอกาสต่อไป

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหลอดเลือดแข็งตัวและตีบแคบสูงมาก โดยโรคหรือภาวะผิดปกติดังกล่าวนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับหลอดเลือดทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดที่อยู่ในตา  หลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง  หลอดเลือดที่หัวใจ  หลอดเลือดที่เลี้ยงไต หรือหลอดเลือดที่เลี้ยงแขนขา แต่ที่แย่คือ  กว่าที่คนไข้จะมีอาการผิดปกติจากหลอดเลือดตีบนั้น มักจะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดเหล่านั้นตีบมากพอสมควรแล้ว  การรักษาจึงเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น!!

ในขณะนี้มีความพยายามที่จะพัฒนาการตรวจเพื่อที่จะให้ตรวจพบคนที่มีแนวโน้ม หรือมีโอกาสที่จะเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น เพราะเราหวังว่าการตรวจพบในระยะต้นจะสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับอวัยวะต่างๆ ได้โดยที่ถ้าควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้ดี จะสามารถทำให้หลอดเลือดที่เกิดโรคนั้นกลับคืนเป็นปกติได้!!

การตรวจที่เข้ามามีบทบาทในลักษณะนี้มากขึ้นในปัจจุบันก็มีหลายอย่าง  เช่น การตรวจทาง  MRI  (Magnetic Resonance Image) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดซึ่งมีความเร็วกว่าสมัยก่อนโดยการตรวจระดับหินปูนที่เกาะในหลอดเลือด (เนื่องจากหลอดเลือดที่แข็งตัวและมีคาบไขมันมาเกาะอยู่นั้นมักจะมีคาบหินปูนเกาะอยู่ร่วมด้วย) หรือการตรวจที่ง่ายที่สุดในขณะนี้ คือ การวัดความดันของแขนและขาเปรียบเทียบกัน โดยในคนปกตินั้นความดันที่แขนและขาควรจะอยู่ใกล้เคียงกัน   ถ้ามีความแตกต่างของความดันโลหิตของแขนและขามากพอก็บ่งชี้ว่า น่าจะมีปัญหาเรื่องหลอดเลือดแข็งตัวและตีบตัวได้

แต่อย่างไรก็ดี ถ้าแม้การตรวจพบในเบื้องต้นทำได้ดีขึ้นแต่การรักษาก็ยังไม่พ้นการแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ  ที่สำคัญก็คือ การควบคุมอาหาร และออกกำลังกายพร้อมกับควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ดังนั้น ในเรื่องนี้ถ้าจะให้แนะนำกันในตอนนี้  ก็คือ คนที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานหรือมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ ก็ควรที่จะสร้างนิสัยให้ลูกหลานของท่านออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  (เนื่องจากมีการศึกษาที่พบว่า คนที่ไม่ออกกำลังกายตั้งแต่เด็กแล้ว  แพทย์จะพยายามบังคับหรือขู่เข็ญให้ออกกำลังกายเมื่อโตขึ้นนั้นทำได้ยากอย่างยิ่ง)   ได้รับประทานอาหารที่ถูกส่วนและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  (เช่นเดียวกันมีการศึกษาที่พบว่า คนที่อ้วนตั้งแต่เด็กนั้น การลดน้ำหนักเมื่อมีอายุสูงขึ้นนั้นทำได้ยากนัก)

เพราะความผิดปกติของหลอดเลือด  การดำเนินโรคเราเริ่มพบตั้งแต่ในอายุ 20 – 30 ปีเท่านั้น  ดังนั้นถ้าจะป้องกันและรักษาให้ดีจะต้องสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่คนอายุยังน้อยๆ  ถ้าทำได้สำเร็จดังนี้การรักษาโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจในอนาคตไม่ต้องใช้ถึง 30 บาทก็ได้ครับ แค่ 3 บาทก็คงเพียงพอ!!  เพราะการป้องกันที่ถูกและดีนั้นถูกกว่าการรักษามากมายนัก….

ถ้าใครไม่อยากพบหมอหัวใจเมื่อตอนอายุากก็รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ (และอย่ามากเกินไปนัก)  และออกกำลังกายให้ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ  ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องพบกันในโรงพยาบาล!… ไว้เจอกันในสถานที่ออกกำลังกาย (หรือร้านอาหาร??..) จะได้แฮ๊ปปี้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย……..

นิธิ  มหานนท์

Payday Loans Direct Lenders Champaign IL
Payday Loans Direct Lenders Troy MI
Payday Loans Direct Lenders Livermore CA
Payday Loans Direct Lenders Danbury CT
Payday Loans Direct Lenders Bellingham WA
Payday Loans Direct Lenders Hammond IN
Payday Loans Direct Lenders Buena Park CA
Payday Loans Direct Lenders Longview TX

© 2014-2018 paydayloansdirectlenders.paydayloans-cash.net All Rights Reserved Sitemap




Create Date : 31 พฤษภาคม 2557
Last Update : 31 พฤษภาคม 2557 9:36:44 น. 0 comments
Counter : 352 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com