รักตัวเอง

<<
พฤศจิกายน 2557
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
4 พฤศจิกายน 2557
 

ที่มาที่ไปของโครงการ

โครงการ 100 Year Starship Study (หรือ 100YSS) เป็นโครงการเริ่มต้นโดย Defense Advanced Research Agency (DARPA) และยังมี NASA ร่วมบริหารโครงการนี้ด้วย รูปแบบของโครงการคือการสร้างองค์กรหรือเครือข่ายของ นักวิทยาศาสตร์ วิศวะกร นักธุรกิจนักลงทุน นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ เครือข่ายนี้จะมีเงินทุนเป็นของตัวเองและเป็นอิสระจากรัฐบาล โดยมีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อผลักดันการวิจัยเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นในการสร้างยานอวกาศสำหรับเดินทางสู่ระบบสุริยะอื่นภายใน 100 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 ถึง 2654 (หรือ ปี 2011 ถึง 2111)
      วันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 2 ตุลาคม ปี 2554 DARPA และ NASA ได้จัดประจุมขึ้นที่เมืองออร์แลนโด ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ผู้เข้าร่วม 100YSS ได้มาพบปะกัน และร่วมกันวางแผนที่จะทำให้บรรลุจุดมุ่งหมาย คือ การสร้างยาวอวกาศสักลำที่สามารถพามนุษย์เดินทางไปสู่ระบบสุริยะอื่นให้ได้ภายในอีก 100 ปี ข้างหน้า การประชุมมีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,000 คน โดยมีเนื้อหาหลักของการประชุมแบ่งเป็นข้อได้ดังนี้

- ในด้านวิทยาศาสตร์ จะเป็นการประชุมเกี่ยวกับจุดหมายของการเดินทาง ระยะทางและเวลาที่ใช้สำหรับการเดินทาง เนื่องจากยานอวกาศที่จะสร้างนั้นจะเดินทางเที่ยวเดียวเท่านั้น เฉพาะขาไปแต่ไม่มีขากลับ ถ้าหากจะส่งมนุษย์เดินทางไปกับยานอวกาศแล้วล่ะก็จะมีสิ่งที่ต้องพิจารณาคือสุขภาพของลูกเรือที่เดินทางไปกับยาน และแผนการก่อตั้งอาณานิคมบนดาวเดราะห์ดวงใหม่ของระบบสุริยะใหม่

- ในด้านสังคม จะมีหัวข้อเกี่ยวกับกฏหมาย ปรัชญา และศาสนา ด้านธุรกิจการลงทุน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ (ไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียด)

ในด้านวิทยาศาสตร์ ปัญหาทางเทคโนโลยีของการสร้างยานสำหรับเดินทางระหว่างระบบดาวแบ่งเป็นหัวข้อสำคัญได้ดังนี้
1. จะทำอย่างไรเพื่อให้ยานอวกาศมีความเร็วมากพอสำหรับเดินทาง
2. แหล่งพลังงานของยานสำหรับเดินทางในอวกาศ
3. ทำอย่างไรจึงจะส่งมนุษย์ร่วมเดินทางไปกับยานลำนี้

     เมื่อย้อนกลับมาดูเทคโนโลยียานอวกาศที่เรามีอยู่ ตอนนี้การเดินทางในอวกาศของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบผิวดวงจันทร์ การไปสำรวจดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส และอื่นๆ ล้วนแต่เป็นลักษณะของการเดินทางดาวเคราะห์ (โลก) ไปสู่ดาวเคราะห์อีกดวงในระบบสุริยะเดียวกัน หรือที่เรียกว่า interplanetary travel ยานอวกาศต่างเดินทางในอวกาศด้วยเชื้อเพลิงจรวดและใช้แรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์หรือวัตถุทางผ่านช่วยเหวี่ยงยานเพื่อเร่งความเร็ว ยานอวกาศในปัจจุบันสามารถทำความเร็วได้มากที่สุดคือ  250,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยานที่ชนะขาดในเรื่องของความเร็วคือ ยานอวกาศไร้นักบินชื่อ Hilios probe ที่ถูกส่งไปโคจรรอบดวงอาทิตย์

     เมื่อรู้ความเร็วสูงสุดของการเดินทางในอวกาศแล้ว คราวนี้เรามาพิจารณาเรื่องระยะทางกันบ้าง ยานที่เคลื่อนที่ออกจากโลก แล้วเดินทางไปไกลที่สุดคือยาน Voyager 1 ซึ่งเป็นยานไร้นักบินลำแรกของมนุษย์ที่สามารถเดินทางไปสู่ขอบของระบบสุริยะของเราได้ ยานลำนี้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 5 กันยายน ปี พ.ศ. 2520 จนปัจจุบัน ระยะทางที่มันเดินทางไปคือ 15,000 ล้านกิโลเมตร และตอนนี้มันกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 38,551 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


รูปซ้ายคือยาน Hilos รูปขวาคือยาน Voyager 1

ระบบดาว และ ระบบดาวเคราะห์ คือคำที่จะปรากฏบ่อยในบทความนี้ แล้วคำเหล่านี้หมายถึงอะไร ให้นึกถึงคำว่าระบบสุริยะของเรา ซึ่งประกอบด้วยดาวฤกษ์ที่พวกเราเรียกว่า "ดวงอาทิตย์" เป็นดาวแม่ มีดาวเคราะห์ (รวมโลกด้วย) ดาวเคราะห์แคระ ดาวหาง อุกกาบาต และอื่นๆ ได้รับอิทธิพลความโน้มถ่วงและโคจรเป็นบริวารรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะนี้ ในที่นี้จะกล่าวว่า ระบบสุริยะของเรา คือ "ระบบดาวเคราะห์ระบบหนึ่ง" เมื่อเราเงยหน้ามองท้องฟ้าตอนกลางคืน ดาวระยิบระยับที่อยู่บนฟ้าแต่ละดวงก็คือดาวฤกษ์ทำนองเดียวกับดวงอาทิตย์ของเรา ถ้าดาวฤกษ์ดวงไหนบนฟ้ามีดาวเคราะห์และวัตถุอื่นเป็นบริวารของตัวมันเองแล้ว ในบทความนี้จะเรียกดาวฤกษ์และบริวารนั้นว่า "ระบบดาวเคราะห์ อีกระบบที่นอกเหนือจากระบบสุริยะของเรา" หรือเรียกอย่างสั้นๆ คือ "ระบบดาวเคราะห์" หรือเรียกให้สั้นลงอีกคือ "ระบบดาว" นั้นเอง ทีนี้เมื่อเราเงยหน้ามองฟ้าอีกครั้ง ดวงดาวที่เห็นอาจอนุมานได้ว่าที่ตรงนั้นมีระบบดาวที่อาจคล้ายหรือไม่คล้ายกับระบบสุริยะของเรา สิ่งที่นักดาราศาสตร์กำลังตามหาคือ หาว่า "ระบบดาวใดที่มีดาวเคราะห์อำนวยต่อชีวิตเป็นสมาชิกอยู่"


ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์หรือวัตถุบริวารถูกเรียกว่า "ระบบดาวเคราะห์" แล้วระบบดาวใดล่ะที่มีดาวเคราะห์แบบโลกอยู่

     การเดินทางระหว่างระบบดาว (หรือ interstellar travel) คือการเดินทางจากโลกไปสู่ขอบของระบบสุริยะ ที่ที่ยาน Voyager 1 ไปถึง ต่อจากนั้นคือการเดินทางผ่านบริเวณที่เรียกว่า interstellar space ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไปถึงขอบของระบบดาวเคราะห์อีกระบบ บริเวณที่เรียกว่าinterstellar space เป็นบริเวณของอวกาศที่กว้างใหญ่มาก กว่าร้อยละ 99.99 ของการเดินทางทั้งหมดจะเป็นการผ่านอวกาศในส่วนนี้ จะไม่มีวัตถุใดๆ ให้ยานได้จอดพักหรือเร่งความเร็วโดยใช้แรงโน้มถ่วงได้อีก การเดินทางในอวกาศนี้จึงต้องใช้พลังงานของยานอวกาศเท่านั้น
ถ้าหากเราต้องการจะส่งยานลำหนึ่งเดินทางไปให้ถึงระบบดาวเคราะห์ที่มีดาวแม่เป็นดาวฤกษ์ชื่อ อัลฟาแซงทัวรี ซึ่งเป็นระบบดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด แม้จะอยู่ใกล้ที่สุด แต่อัลฟาแซงทัวรีกับดวงอาทิตย์ก็ห่างกันมากถึง 40.114 ล้านล้านกิโลเมตร หรือ 4.24 ปีแสง


รูปแสดงเส้นทางของ Voyager 1 และ 2 รูปยังแสดงขอบของระบบสุริยะ(แบบจำลองเก่า) ที่ประกอบด้วยชั้นสามชั้น

หมายเหตุ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวขอบของระบบสุริยะได้ที่ แบบจำลอง ขอบของระบบสุริยะ

ถ้านำระยะทางระหว่างอัลฟาแซงทัวรีไปเทียบกับการเดินทางของ Voyager 1 แล้ว ถือว่า ยาน Voyager 1 เดินทางไปได้เพียง 1 ส่วน จาก 2,500 ส่วน เท่านั้น และการเดินทางแค่ส่วนเดียวก็ยังต้องใช้เวลามากถึง 35 ปี แล้วสมมติว่าให้ยาน Voyager 1 ไปอัลฟาแซงทัวรี ก็ต้องใช้เวลา 87,500 ปี หรือ ถ้าเราส่งยานอีกลำที่มีความเร็วสูงที่สุดเท่าที่เคยมี ความเร็วเท่ากับ Hilios probe ไปยังปลายทางเดียวกันแล้ว ก็ยังต้องใช้เวลาเดินทางถึง 18,519 ปี

     จากที่กล่าวมา จะเห็นว่าการเดินทางระหว่างดวงดาวด้วยยานอวกาศที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น ต้องบอกว่าเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าหากนักวิทยาศาสตร์และวิศวะกรต้องการจะบรรลุเป้าหมายของโครงการ 100YSS พวกเขาต้องลงทุนลงแรงวิจัยอย่างหนัก เพื่อคิดค้นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่ดีพอสำหรับท้าชนกับเป้าหมายนี้ 

 

ขับเคลื่อนยานด้วย เรือใบแสง และ นิวเคลียร์ฟิวชัน

 

เป้าหมายของโครงการ 100YSS ไม่ใช่เพียงแค่ยานต้องเดินทางไกลได้เท่านั้น แต่ยานยังต้องมีความเร็วมากพอที่จะไปถึงระบบดาวอีกระบบภายในเวลา 1 ชั่วอายุคนด้วย ถ้ายานอวกาศสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับ 108 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ หรือ 1 ใน 10 ของความเร็วแสงแล้ว ยานจะเดินทางไปถึงอัลฟาแซงทัวรีใช้เวลา 42.4 ปี อย่าลืมว่าอัลฟาแซงทัวรีคือระบบดาวที่ใกล้ที่สุด ถ้าต้องการจะไประบบดาวที่ไกลกว่านี้ ก็จำเป็นต้องใช้ความเร็วมากกว่านี้ แล้วระบบขับเคลื่อนแบบใดล่ะที่จะสามารถเร่งความเร็วของยานได้มากขนาดนั้น
 เครื่องยนต์จรวดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคงจะไม่เหมาะสำหรับการสร้างยานเดินทางระหว่างระบบดาว นักวิทยาศาตร์ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบยานอวกาศต่างมองหาแหล่งพลังงานและระบบขับเคลื่อนรูปใหม่เพื่อขับเคลื่อนยานให้ได้ความเร็วสูงตามที่ต้องการ ระบบขับเคลื่อนรูปแบบใหม่ที่น่าจะนำมาใช้ได้จริงสำหรับยานในโครงการ 100YSS ได้แก่ ระบบเรือใบแสง (solar sail) และ ระบบขับเคลื่อนด้วยระเบิดนิวเคลียร์ฟิวชัน ส่วนระบบขับเคลื่อนที่เป็นไปได้ในเชิงทฤษฎีแต่ยังห่างไกลจากเทคโนโลยีปัจจุบัน คือ ระบบขับเคลื่อนด้วยการประลัยระหว่างสสารและปฏิสสาร หรือ ระบบขับเคลื่อนจากรังสีหลุมดำ รวมทั้งระบบขับเคลื่อนความเร็วเหนือแสง (การวาร์ป)


การวาร์ป คือการเคลื่อนที่ของยานอวกาศทุกลำในนิยายวิทยาศาสตร์

     ถ้าจะพูดถึงเทคโนโลยีที่ยังทำมาใช้งานจริงไม่ได้ในตอนนี้เห็นจะไม่ควรนัก ดังนั้นเรามาดูเฉพาะระบบขับเคลื่อนที่น่าจะทำมาใช้ได้จริงกันดีกว่า

1. ระบบเรือใบแสง
     ในสมัยโบราณ มนุษย์สร้างเรือใบโดยนำผืนผ้ามาขึงไว้บนท่อนไม้ และผูกท่อนไม้ติดกับเรือเรือและใช้แรงลมที่พัดมาที่ใบเรือสร้างแรงขับเคลื่อน ทำให้เรือสามารถเคลื่อนที่ในผืนน้ำได้ พอมาถึงตอนนี้ หลักการของเรือใบถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง แต่คราวนี้ มันจะเป็นหลักการสำหรับขับเคลื่อนยานอวกาศ ให้สามารถเดินทางในอวกาศได้โดยไม่จำเป็นต้องเผาหรือบรรทุกเชื้อเพลิง และนี่แหละคือทางเลือกหนึ่งสำหรับยานอวกาศในอีก 100 ปี ข้างหน้า
     ถ้าพูดถึงเรือใบของมนุษย์สมัยก่อน เราก็คงจะเข้าใจอย่างทันทีว่าเรือใบทำงานได้อย่างไร แต่ถ้าพูดถึงเรือใบแสงสำหรับยานอวกาศล่ะ มันคืออะไร จริงๆ แล้ว คำว่าเรือใบแสง คือชื่อเล่นที่ผมเรียก solar sail ซึ่งเป็นยานอวกาศขับเคลื่อนโดยแสงอาทิตย์แทนการจุดจรวด ตัวยานจะถูกติดตั้งด้วยแผ่นพลาสติกบางขนาดใหญ่ สิ่งที่ผลักดันใบของยานลำนี้ก็คือแสงจากดวงอาทิตย์ ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบยานลำนี้กับเรือใบแล้ว แผ่นพลาสติกบางที่ว่าเปรียบเสมือนใบเรือ และแสงอาทิตย์เปรียบเสมือนลมนั้นเอง


เรือใบแสงสำหรับเดินทางระยะใกล้สามารถใช้งานได้จริงแล้ว

การทำงานของเรือใบอวกาศอธิบายได้โดยฟิสิกส์ที่ไม่ยาก จากหลักทวิภาคของคลื่นและอนุภาค แสงแม้จะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่มันก็ประพฤติตัวเป็นอนุภาคได้และถูกเรียกว่าโฟตอน โฟตอนแต่ละตัวมีโมเมนตัม เมื่อพวกมันวิ้งเข้าชนกับวัตถุสะท้อนแสง โฟตอนเหล่านั้นก็ถูกสะท้อนออก ในขณะที่โฟตอนถูกสะท้อนนั้นเอง โฟตอนจะถ่ายเทโมเมนตัมให้กับวัตถุ เกิดแรงกระทำต่อวัตถุ แรงอันเนื่องจากโฟตอนมากระทำต่อวัตถุนี้เองคือแรงที่ทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ได้ แม้ว่าแรงที่เกิดจากโฟตอนแต่ละอนุภาคจะมีขนาดที่น้อย แต่การสะท้อนเกิดขึ้นกับโฟตอนจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ยานอวกาศจึงค่อยๆ เร่งจากหยุดนิ่งจนมีความเร็วสูงได้
จุดด้อยของระบบเรือใบแสงคือ เมื่อยานเคลื่อนที่ไปถึง interstellar space ตอนนั้นความเข้มของแสงอาทิตย์อาจไม่เพียงพอต่อการเร่งความเร็วยานอีก นักวิจัยได้หาทางแก้ข้อด้อยนี้โดยการใช้แสงเลเซอร์แทนแสงอาทิตย์ เครื่องกำเนิดเลเซอร์ที่จะมาทดแทนแสงอาทิตย์ควรมีกำลังไม่น้อยกว่าระดับ 1 เทระวัตต์ เทียบเท่าหลอดนีออน 1 แสนล้านหลอด แหล่งพลังงานที่จ่ายพลังให้กับเครื่องกำเนิดเลเซอร์นี้คงจะเป็นพลังงานนิวเคลียร์ ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างเครื่องกำเนิดเลเซอร์กำลัง 1 เทรระวัตต์ได้ แต่ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมากๆๆๆ แถมเมื่อสร้างเสร็จแล้ว เครื่องกำเนิดเลเซอร์ยังมีขนาดใหญ่เท่าสนามฟุตบอลอีกด้วย

2. ระบบขับเคลื่อนด้วยระเบิดนิวเคลียร์ฟิวชัน
     แม้ว่าจะยังไม่มียานอวกาศลำใดที่ออกเดินทางโดยระบบนี้ แต่ก็เป็นระบบที่อยู่ในขั้นตอนของการวิจัยอย่างที่นักวิจัยทำกันอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม ในปัจจุบันงานวิจัยและการออกแบบยานอยู่ในโครงการ Icarus จริงๆแล้ว โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างยานทั้งลำ แต่ในที่นี้เราจะมาดูเฉพาะในส่วนของระบบขับเคลื่อนกันครับ พวกเขากำลังวิจัยระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน โดยจะเน้นไปในด้านเทคโนโลยี Inertial confinement fusion (ICF)


แบบจำลองของยานขับเคลื่อนโดยนิวเคลียร์ฟิวชัน แบบจำลองยังไม่มีการสร้างขึ้นจริง

ICF เป็นวิธีการหรือกระบวนการหนึ่งของการใช้พลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน สำหรับ ICF เชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะอยู่ในรูปเม็ดของธาตุดิวเทอเรียมและทริเทียม จุดระเบิดโดยการยิงเม็ดเชื้อเพลิงด้วย แสงเลเซอร์ ปืนอิเล็กตรอน หรือ ปืนไอออน อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อยิงเม็ดเชื้อเพลิง พลังงานปริมาณมากจะทำให้เปลือกของเม็ดเชื้อเพลิงแตกออก สร้างคลื่นกระแทกเคลื่อนที่เข้าสู่ภายในของเม็ดเชื้อเพลิง คลื่นกระแทกที่เกิดขึ้นมีพลังงานมากพอที่จะอัดเชื้อเพลิงจนกระทั้งมีความหนาแน่น 20 เท่าของความหนาแน่นตะกั่ว และมีอุณหภูมิ 100 ล้านองศาเซลเซียส ในสถานะนี้เม็ดเชื้อเพลิงจะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ผลคือ เม็ดเชื้อเพลิงหนักเพียง 10 มิลลิกรัม สามารถให้พลังงานเท่ากับเผาน้ำมัน 117.35 ลิตร


รูปซ้ายคือปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันระหว่างดิวเทอเรียมและทริเทียม รูปด้านขวาคือเม็ดเชื้อเพลิง เรียกว่า Deuterium-Tritium micro-balloon fuel pellet

รูปแสดงการจุดระเบิด 1. พลังงานถูกยิงมาที่เชื้อเพลิงตามลูกศรสีฟ้า 2. เปลือกนอกของเชื้อเพลิงระเบิดออกตามลูกศรสีส้ม เกิดคลื่นกระแทกเข้าด้านในของเชื้อเพลิงตามแนวลูกศรสีชมพู 3. เม็ดเชื้อเพลิงถูกอัดและมีความร้อนสูง 4. เกิดนิวเคลียร์ฟิวชัน

แม้ว่านี้จะเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ แต่มันไม่ใช่ปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างเดียวกับที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เทคโนโลยี ICF เป็นใช้พลังงานที่คล้ายกับการเผาไหม้น้ำมันในเครื่องของรถยนต์มากกว่า คือ ในรถยนต์จะมีการนำละอองน้ำมันและอากาศเข้ากระบอกสูบ จากนั้นกระบอกสูบจะอัดแล้วจุดระเบิด แรงระเบิดดันกระบอกสูบเลื่อนลงส่งแรงให้กับล้อ ในเครื่องยนต์ของรถจะเกิดกระบวนการแบบนี้เป็นวัฎจักร
     สำหรับยานอวกาศของ Icarus ก็เช่นกัน แรงขับดันของยานจะเกิดจากการจุดระเบิดนิวเคลียร์ฟิวชันแบบเป็นวัฏจักร ประกอบด้วย การปล่อยเม็ดเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ แล้วจุดเชื้อเพลิง นับเป็นหนึ่งรอบ จากนั้นก็เริ่มรอบสอง รอบสาม ไปเรื่อยๆ จนกว่ายานจะมีความเร็วมากพอสำหรับการเดินทาง
     งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบขับเคลื่อนมีอยู่หลายเรื่องที่อยู่ในขั้นของการศึกษา เรื่องแรกคือการศึกษาว่าวิธีจุดระเบิดแบบใด (ยิงด้วยเลเซอร์ อิเล็กตรอน หรือไอออน) จะเหมาะสมสำหรับยานอวกาศมากที่สุด อีกหัวข้อวิจัยที่สำคัญไม่แพ้กันคือการออกแบบเม็ดเชื้อเพลิง และแสวงหาวิธีสังเคราะห์ดิวเทอเรียมที่สถานะความหนาแน่นสูง งานวิจัยถัดไปคือการศึกษาออกแบบวงรอบของการจุดระเบิด ท่อขับดัน รวมถึง กลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้วัฏจักรของการจุดระเบิดเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อการขับเคลื่อนยานอวกาศ

 

มนุษย์จะเดินทางไปกับยานได้อย่างไร

 

แม้ว่ายานขับเคลื่อนด้วยแสงอาทิตย์ของและยานพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชัน ไม่ได้มีออกแบบให้มนุษย์เดินทางไปด้วย แต่โครงการ 100YSS ทะเยอทยานยิ่งกว่า คือมีเป้าหมายว่า ยานที่จะสร้างให้สำเร็จในอีก 100 ปีข้างหน้าจะสามารถพามนุษย์เดินทางไปด้วยได้ จึงมีปัญหาที่สำคัญและยากที่สุดที่ต้องพิจารณา คือ จะทำอย่างไรที่จะให้มนุษย์อาศัยอยู่ในยาน เป็นลูกเรือเดินทางไปที่ไกลแสนไกลได้อย่างปลอดภัย


ยานอวกาศขนาดใหญ่สำหรับเดินทางไกลและก่อตั้งอาณานิคม จากอนิเมชันเรื่อง Macross Frontier ตัวยานถูกออกแบบให้บรรทุกเมืองใหญ่และลูกเรือไปกับยานด้วย

ประเด็นแรก คือการความเป็นอยู่ของลูกเรือเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง เนื่องจากยานของโครงการ 100YSS เป็นยานที่มีแต่ขาไป ไม่มีขากลับ นั้นหมายความว่า จุดหมายปลายทางของยานลำนี้จะต้องเป็นระบบดาวที่มีดาวเคราะห์แบบโลกอยู่ และลูกเรือของยานจะสามารถสร้างบ้านใหม่บนดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ เป็นอาณานิคมนอกระบบสุริยะแรกของมวลมนุษย์ ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ลูกเรือที่จะเดินทางไปกับยานก็ต้องไปกันหลายคน อาจจะหลายพันคนหรือหมื่นคนก็ตาม เพื่อให้มีจำนวนคนเพียงพอต่อการสร้างอาณานิคมและอยู่รอดบนโลกใหม่สืบไป จากที่กล่าวมา แสดงว่ายานอวกาศที่มีเป้าหมายที่จะบรรทุกลูกเรือไปด้วยจะต้องมีขนาดใหญ่อาจถึงขั้นเป็นเมืองลอยอวกาศที่มีสาธารณูปโภค เครื่องมือและเครื่องจักรที่จำเป็นครบถ้วน มีแหล่งน้ำ มีพื้นที่เพาะปลูกและปศุสัตว์ และสุดท้ายในยานคงต้องมีอาวุธ เพื่อให้ลูกเรือที่อาศัยอยู่ในยานมีอาหารเพียงพอ และมีอาวุธป้องกันตัวจากสิ่งที่ไม่เป็นมิตร


การได้เจอโลกใหม่ที่สวยงามคือความฝันของลูกเรือ


ดาวเคราะห์ เคปเลอร์ 22บี คือดาวเคราะห์ดวงหนึ่งคาดว่าคล้ายโลก โคจรอยู่รอบดาวแม่ชื่อ "เคปเลอร์ 22" แต่ระบบดาวนี้อยู่ไกลจากระบบสุริยะถึง 600 ปีแสง ไกลกว่าอัลฟาแซงทัวรี เกือบ 150 เท่า

ประเด็นถัดไป คือลูกเรือจะต้องเดินทางไปถึงที่หมายในสภาพที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกายที่แข็งแรง และ จิตใจที่ปกติสุข มนุษย์มีความต้องการพื้นฐาน ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ แม้ว่าการสร้างยานให้กลายเป็นเมืองที่มีพื้นที่ เครื่องมือและเครื่องใช้ครบครันเป็นเรื่องยาก แต่การเยียวยาจิตใจผู้คนระหว่างเดินทางไกลนั้น เป็นเรื่องยากยิ่งกว่า เพราะเมื่อออกเดินทางแล้ว ผู้คนในยานจะเสมือนอาศัยอยู่ในเมืองที่ถูกตัดขาดกับโลกอย่างสิ้นเชิง ลองคิดดูสิว่าถ้าเราเป็นลูกเรือที่เดินทางไปกับยาน เราจะต้องติดอยู่ในกล่องเหล็กที่ถูกตัดขาดสังคมโลก การส่งข้อความหรือความคิดถึงกับคนบนโลกจะล่าช้าไปนานนับปี เพราะว่าข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะถูกส่งด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งต้องใช้เวลาในการเคลื่อนที่จากยานกลับมาถึงโลก ยิ่งห่างออกไปการรับส่งข้อความยิ่งกลับมาถึงโลกช้ามากเท่านั้น การส่งข้อความจากโลกไปที่ยานอวกาศก็ช้าแบบเดียวกัน ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้คนที่อาศัยอยู่ในยานอวกาศจะมีปัญหาทางจิตหรือไม่ จะยังมีความสุขในสภาพนั้นได้ไหม

     ในปัจจุบัน การเดินทางระหว่างระบบดาวยังเป็นเรื่องยาก แต่ท้าทาย โครงการ 100YSS จึงถูกก่อตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่เอาชนะความท้าทายนี้ โดยมี บรรดานักวิทยาศาสตร์ วิศวะกร ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกเข้าร่วมโครงการ และยังมีนักธุรกิจหลายคนสนับสนุนในเรื่องแหล่งเงินทุน งานสัมมนาที่จัดขึ้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมแนวคิดต่างๆ หลายด้าน โดยประเด็นหลักอยู่ที่ เครื่องยนต์ที่จะขับเคลื่อนยาน เชื้อเพลิง และการส่งมนุษย์เดินทางไปกับยานอย่างปลอดภัย โครงการนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ไม่แน่ว่า อีก 100 ปี ข้างหน้า มนุษย์จะเดินทางไปเหยียบดาวเคราะห์ในระบบดาวใหม่สำเร็จ ก็เป็นได้

Cash Advance Companies in Salem OR
Cash Advance Companies in Cape Coral FL
Cash Advance Companies in Peoria AZ
Cash Advance Companies in Sioux Falls SD
Cash Advance Companies in Springfield MA
Cash Advance Companies in Elk Grove CA
Cash Advance Companies in Rockford IL




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2557
0 comments
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2557 11:48:42 น.
Counter : 4086 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com