รักตัวเอง

 
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
19 สิงหาคม 2557
 

อยู่ดีมีสุข ภายใต้สภาพอวกาศดวงอาทิตย์

     มนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย อาศัยอยู่บนโลก มีกิจวัตรในแต่ละวันซ้ำๆ กันมั่ง แหวกแนวในบางวัน คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้นหลายประการ เรามีน้ำ มีไฟฟ้า มีรายการโทรทัศน์ที่ดูผ่านระบบดาวเทียม ถึงกระนั้น ในบางครั้งบางเวลา สัญญาณภาพในทีวีดาวเทียมก็อาจล้มหายไปดื้อๆ คงมีเพียงข้อความตัวอักษรแจ้งให้ทราบว่า ขณะนี้เกิดเหตุขัดข้องอันเนื่องมาจากปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์


              นี่คือความจริง ดวงอาทิตย์ที่เราเห็นเป็นดวงกลมๆ นั้น ยังมีส่วนประกอบแอบแฝงที่มองไม่เห็นในภาวะปกติ สิ่งนั้นก็คือ ชั้นบรรยากาศร้อนปั่นป่วนของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่าโคโรนานั่นเอง บรรยากาศของดวงอาทิตย์แผ่ขยายไกลครอบคลุมโลก เลยดาวพลูโตไกลออกไปอีก เราจะเห็นชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้ก็ในบางโอกาส เช่น ตอนเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง

              โคโรนาเป็นชั้นบรรยากาศ และเมื่อเป็นชั้นบรรยากาศก็จะมีลักษณะของสภาพอากาศด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า สภาพอวกาศ (space weather) นอกจากนั้นยังพ่นมวลสารนับพันล้านตัน พายุรังสีความเข้มสูง และลมสุริยะที่ฉกาจฉกรรจ์ ซึ่งอาจมีความเร็วหลายล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง สมาชิกในระบบสุริยะของเราทุกอย่างไม่อาจหลุดพ้นสภาพอวกาศเหล่านี้ไปได้

อยู่ร่วมกับดวงดาว
              เรายังโชคดีอยู่บ้างที่โลกมีชั้นบรรยากาศของตัวเอง ทั้งยังมีสนามแม่เหล็กโลกคอยช่วยป้องกันผลจากสภาพอวกาศ ถ้าเราใช้ชีวิตอยู่แต่บนโลก ชีวิตส่วนใหญ่ของเราก็คงไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอวกาศนี้มากนัก จะมีก็แค่บางครั้งที่สัญญาณวิทยุ หรือโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมล้ม ระบบจ่ายไฟฟ้าอาจขัดข้อง ทำให้ไฟดับบ้าง (บางทีก็รุนแรง ดับไปหลายเมือง) และอาจเห็นแสงเหนือ แสงใต้มากเป็นพิเศษ

              แต่ว่า เราไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่แต่บนโลกเหมือนที่เป็นมาแล้ว เรามีการบุกเบิกสำรวจอวกาศอยู่ด้วย รอบโลกของเรามีดาวเทียมที่ยังคงใช้งานกว่า 500 ดวง ดาวเทียมเหล่านี้ช่วยบริการด้านการสื่อสาร ทั้งทีวี โทรศัพท์ ระบบจีพีเอส อินเทอร์เน็ต รวมทั้งการพยากรณ์อากาศ สภาพอวกาศส่งผลต่อดาวเทียมเหล่านี้ทั้งสิ้น

              เรายังมีสถานีอวกาศนานาชาติด้วย แต่สถานีอวกาศนานาชาตินั้นมีวงโคจรอยู่ภายใต้สนามแม่เหล็กโลก ทำให้รอดพ้นจากสภาพอวกาศได้ระดับหนึ่ง ส่วนโครงการบุกเบิกอวกาศอื่นๆ ที่จะมีในอนาคต ก็คงต้องออกนอกเกราะกำบังนี้ แล้วเข้าไปเผชิญกับสภาพอวกาศที่ไม่รู้จะแปรปรวนหรือไม่เมื่อใด

              เมื่อเราต้องเกี่ยวพันกับสภาพอวกาศของดวงอาทิตย์อย่างนี้ นาซาจึงวางแผนโครงการอวกาศขึ้นมาโครงการหนึ่งภายใต้ชื่อว่า อยู่ร่วมกับดวงดาว (Living With a Star Program : LWS) โครงการนี้กำเนิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2544 โดยมี มธุลิกา คุหัถกุรตา เป็นผู้จัดการโครงการ เธอกล่าวว่า หากเราจะต้องอยู่ในสภาพอวกาศของดวงอาทิตย์ เราก็จำเป็นต้องรู้เรื่องของมัน โดยเฉพาะการพยากรณ์พายุ

              กลยุทธ์ของโครงการนี้ก็เหมือนการศึกษาสภาพอากาศของโลก โดยการส่งกองยานอวกาศขึ้นไปทำหน้าที่เป็นสถานีตรวจสภาพอวกาศ ยานอวกาศแต่ละลำจะคอยศึกษาตรวจสอบลักษณะต่างๆ ของสภาพอวกาศ ซึ่งโครงการนี้แบ่งเป็นห้าภารกิจที่พัฒนาต่อเนื่องไป เมื่อเต็มรูปแบบแล้ว เราก็จะมียานอวกาศรายล้อมดวงอาทิตย์ คอยตรวจตราความเคลื่อนไหวของสภาพอวกาศในแบบที่เราไม่เคยมีมาก่อนสัมผัสทั้งห้า

              โครงการอยู่ร่วมกับดวงดาว แบ่งภารกิจออกเป็นห้ากลุ่ม ใช้ยานอวกาศต่างกัน เก็บข้อมูลต่างกัน โดยค่อยพัฒนาภารกิจแต่ละอย่างไปตามเวลา บางโครงการก็เริ่มดำเนินการได้ผลมาบ้างแล้ว บางโครงการก็ยังอยู่ในขั้นเตรียมการอยู่ ต่อไปนี้คือภารกิจทั้งห้าในการสัมผัสสภาพอวกาศดวงอาทิตย์

The Solar Dynamics Observatory (SDO)
              ภารกิจแรกนี้เป็นภารกิจที่ทำให้พวกเราปากอ้าตาค้าง ด้วยข้อมูลภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวความละเอียดสูงระดับ HDTV ภาพที่บันทึกจะเป็นภาพจุดดำบนดวงอาทิตย์ และการลุกจ้าของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะช่วยให้เราได้รายละเอียดของพายุสุริยะในแบบที่เรายังไม่เคยเก็บได้มา ก่อน

              แต่ภาพไม่ใช่ทุกสิ่งปฏิกิริยาบนดวงอาทิตย์ที่เห็นเป็นผลที่ออกมา แต่มีตัวการคอยชักใยอยู่เบื้องหลังด้วย สายใยที่คุมปฏิกิริยานี้ก็คือสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กนี้ทะลุผ่านบรรยากาศดวงอาทิตย์ และนำเอาความร้อน และการระเบิดอันรุนแรงตามออกมา SDO จะทำแผนที่โดยละเอียดของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์นี้ให้นักวิทยาศาสตร์เห็นสาย ใยที่บังคับปฏิกิริยาทั้งหลาย

              สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์เป็นเพียงสายใยที่ควบคุมปฏิกิริยา ยังมีผู้คอยชักใยสนามแม่เหล็กอยู่อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งก็คือ กลไกไดนาโมแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ (sun,s magnetic dynamo) กลไกไดนาโมแม่เหล็ก เป็นกระบวนการทางกายภาพที่ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กด้วยตัวเองผ่านการหมุน ไหลของโลหะเหลวภายในดวงอาทิตย์เอง พฤติกรรมนี้หลบอยู่ใต้ผิวดวงอาทิตย์ ซึ่ง SDO จะมองดูกระบวนการนี้ผ่านการสั่นไหวของผิวดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับการศึกษาโลกผ่านคลื่นแผ่นดินไหว นักวิทยาศาสตร์หวังว่าหน้าที่ของ SDO  จะช่วยให้เราทำแผนที่การไหลของสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ได้ ซึ่งก็จะช่วยไขปริศนาปฏิกิริยาต่างๆ ของดวงอาทิตย์ได้ด้วย

              ตอนนี้ SDO ปฏิบัติการแล้ว ซึ่งก็ได้ภาพสวยๆ ของดวงอาทิตย์มาให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษากันมากมาย โดยส่งข้อมูลมายังโลกวันละ 1.5 เทอระไบต์ทีเดียว SDO จะช่วยให้เราเข้าใจว่าสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์เกิดขึ้นได้อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะอะไรจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วพลังงานแม่เหล็กที่กักเก็บในดวงอาทิตย์ปลดปล่อยออกมาสู่บรรยากาศได้อย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูลโดย SDO ยังช่วยให้เราทำนายการผันแปรของดวงอาทิตย์ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก รวมทั้งระบบเทคโนโลยีของเราด้วย

              ยาน SDO มีน้ำหนักขณะส่งสู่อวกาศ 3,000 กิโลกรัม เป็นน้ำหนักยาน 1,300 กิโลกรัม น้ำหนักเครื่องมือ 300 กิโลกรัม และเชื้อเพลิง 1,400 กิโลกรัม มีความยาวในแนวแกนที่หันหาดวงอาทิตย์ 4.5 เมตร เมื่อกางแผงเซลล์แสงอาทิตย์แล้วมีขนาด 6.25 เมตร และจะปฏิบัติการไปเป็นเวลาอย่างน้อยห้าปี

เครื่องมือที่ติดตั้งบนยาน SDO ประกอบด้วย
HMI (Helioseismic and Magnetic Imager) ทำหน้าที่ศึกษาการผันแปร และลักษณะภายในของดวงอาทิตย์ รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ ของปฏิกิริยาสนามแม่หล็ก

AIA (Atmospheric Imaging Assembly) ทำหน้าที่บันทึกภาพบรรยากาศดวงอาทิตย์ในย่านคลื่นต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงที่พื้นผิวดวงอาทิตย์เข้ากับการเปลี่ยนแปลงภาย ใน ข้อมูลเป็นภาพดวงอาทิตย์ในช่วงคลื่นสิบช่วงทุกๆ สิบวินาที

EVE (Extreme Ultraviolet Variability Experiment) ทำการวัดอัลตราไวโอเลตสุดขีดของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการผันแปรรังสีอัลตราไวโอเลต สุดขีดกับการผันแปรสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์

Solar Probe Plus (SPP)
              ยานลำนี้น่าจะเป็นภารกิจที่ตื่นเต้นเร้าใจที่สุดในโครงการนี้ เพราะนี่คือยานอวกาศที่ออกแบบให้ทนความร้อนเพื่อดำดิ่งเข้าไปในบรรยากาศ ของดวงอาทิตย์โดยตรง เพื่อเก็บข้อมูลลมสุริยะและสนามแม่เหล็กในจุดกำเนิดที่ดวงอาทิตย์เอง ที่ผ่านมาไม่เคยมียานอวกาศลำใดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากเท่านี้มาก่อน นั่นคือห่างจากผิวดวงอาทิตย์เจ็ดล้านกิโลเมตรเท่านั้น

              SPP จะตรวจสอบหาว่า กระบวนการกายภาพที่ทำให้โคโรนาร้อน และเร่งความเร็วลมสุริยะให้ไวกว่าความเร็วเสียงนั้น เกิดขึ้นที่ไหน อย่างไร การผสมผสานข้อมูลที่เก็บในบรรยากาศจริงรวมกับการเก็บข้อมูลทางไกลจะให้ความ รู้พื้นฐานที่ชัดเจนถูกต้องที่เราไม่เคยได้จากยานอวกาศลำอื่นๆ ตอนนี้ยาน SPP ยังอยู่ในขั้นศึกษาออกแบบโดยนาซาอยู่

              ดวงอาทิตย์นั้นเป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต เป็นตัวปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์ ผ่านทางความร้อนและแสง รวมทั้งกระแสอนุภาคในสภาพแม่เหล็กที่ไหลไปทั่วระบบซึ่งเรียกว่า ลมสุริยะ นักวิทยาศาสตร์พบว่า สนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์ที่มาถึงโลกมีความเข้มเท่ากับสนามแม่เหล็กของโลกเอง SPP ได้รับการออกแบบให้ศึกษากลไกพื้นฐานของลมสุริยะซึ่งเป็นกระบวนการที่เชื่อม โยงสนามแม่เหล็กดวงอาทิตย์เข้ากับโลก และส่วนที่เหลือของระบบสุริยะ

              ส่วนที่สำคัญที่สุดของยานอวกาศลำนี้คือ ระบบป้องกันความร้อน ซึ่งอาศัยเกราะคาร์บอนแบนขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.7 เมตร ซึ่งจะปกป้องตัวยานและอุปกรณ์ทั้งหมด สื่อสารกับโลกผ่านจานเสาอากาศอัตราขยายสูงหนึ่งตัว และอัตราขยายต่ำอีกสองตัว โดยเมื่อยานเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ก็จะเก็บข้อมูลไว้ และเมื่อห่างออกมาเกินระยะ 0.59 หน่วยดาราศาสตร์ ก็จะส่งข้อมูลกลับโลก คาดหมายว่า ต้องรอจนถึง พ.ศ. 2558 เป็นอย่างน้อย จึงจะส่งยาน SPP ขึ้นสู่อวกาศได้

Solar Sentinel
              ยานอวกาศชุดต่อไป เป็นเสมือนยามเฝ้าจับตาดวงอาทิตย์ ภารกิจนี้อาศัยยานอวกาศจากนาซาสามลำ และจากองค์การอวกาศยุโรปอีกหนึ่งลำ ไปประจำสถานีในวงโคจรบริเวณแนวศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ เพื่อเก็บภาพจริงของกิจกรรมบนดวงอาทิตย์ทั้งดวง ให้ลองพิจารณาดูว่า ถ้าเรามีดาวเทียมสังเกตโลกเพียงด้านเดียว แล้วเราจะพยากรณ์อากาศโลกให้ถูกต้องได้อย่างไร นี่ก็เช่นเดียวกัน การศึกษาสภาพอวกาศดวงอาทิตย์ด้วยการมองเพียงด้านเดียวจากโลกเป็นข้อจำกัด Solar Sentinel จะช่วยแก้ปัญหานี้ให้กับนักวิทยาศาสตร์ได้

              วัตถุประสงค์เชิงวิทยาศาสตร์ของ Solar Sentinel ก็คือ ค้นคว้า ทำความเข้าใจ และสร้างแบบจำลองความเชื่อมโยงระหว่างปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์กับการรบกวน อวกาศระหว่างดาวเคราะห์ โดยเฉพาะที่มีผลกับธรณีอวกาศยาน Solar Sentinel ยังอยู่ในขั้นเตรียมการ และจะส่งขึ้นสูอวกาศได้หลัง พ.ศ. 2558 เช่นกัน

The Radiation Belt Storm Probes (RBSP)
              การศึกษาดวงอาทิตย์จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ส่งผลอย่างไรกับโลก ภารกิจนี้เป็นการเชื่อมสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน บรรยากาศของดวงอาทิตย์นั้นอาจโดนกักจับไว้ภายในแถบรังสีของสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งเป็นย่านที่มีอนุภาคพลังงานสูงที่อันตรายต่อนักบินอวกาศและยานอวกาศ ยานอวกาศชุดนี้สองลำจะสำรวจบริเวณนี้ของโลก และดูว่ามันมีการกระจาย และได้รับการกระตุ้นจากสภาพอวกาศอย่างไร

             RBSP จะค้นหาฟิสิกส์มูลฐานของแหล่งกำเนิด การสูญหาย และกระบวนลำเลียงอนุภาคภายในแถบรังสีนี้ ผลที่ได้จะเป็นแบบจำลองที่วิศวกรจะนำไปใช้ออกแบบยานอวกาศที่ทนต่อรังสี ในขณะเดียวกันแบบจำลองทางฟิสิกส์   ก็จะใช้พยากรณ์พายุแม่เหล็ก เพื่อเตือนนักบินอวกาศ และ ผู้ควบคุมยานอวกาศต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้น ความรู้ที่ได้    ยังนำไปใช้กับกระบวนการเร่งความเร็วอนุภาคในเอกภพพลาสมาได้อีกด้วย ยาน Radiation Belt Storm Probes มีแผนส่งขึ้นอวกาศในปีหน้านี้

รู้จักกับสภาพอวกาศ
              เราคุ้นเคยกันดีกับคำว่าสภาพอากาศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอบนโลก การเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันก็เกิดขึ้นในอวกาศด้วย สภาพอากาศเป็นตัวขับเคลื่อนลักษณะอากาศบนโลก ในขณะที่สภาพอวกาศเองก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อมของอวกาศ

              ดวงอาทิตย์มีการปลดปล่อยกระแสพลาสมาที่เรียกว่าลมสุริยะออกมาอย่างสม่ำเสมอและบางครั้ง ดวงอาทิตย์ก็พ่นมวลสารเป็นพันล้านตันพุ่งออกมาในอวกาศ (corona mass ejection) กลุ่มเมฆมวลสารเหล่านี้เมื่อเดินทางมาถึงโลกจะทำให้เกิดพายุแม่เหล็กขนาด ใหญ่ในบรรยากาศชั้นแมกนีโทสเฟียร์และบรรยากาศชั้นบน

              คำว่าสภาพอวกาศมักจะหมายถึงสภาวะที่เกิดขึ้น  บนดวงอาทิตย์ และลมสุริยะ รวมไปถึงบรรยากาศชั้น   แมกนีโทสเฟียร์ ไอโอโนสเฟียร์ และเทอร์โมสเฟียร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีในอวกาศและบนโลก (เครื่องมือสื่อสาร ยานดาวเทียม ระบบส่งกำลังไฟฟ้า) และอาจมีผลกับชีวิต  หรือสุขภาพของมนุษย์ได้

              ผลของพายุแม่เหล็กที่สังเกตได้บนโลกหรือใกล้กับโลก ก็เช่น ปรากฏการณ์แสงเหนือ แสงใต้, การล่มของระบบสื่อสาร, การแผ่รังสีที่เป็นอันตรายกับนักบินอวกาศ และยานอวกาศ, การล่มของระบบส่งกำลังไฟฟ้า, การสูญเสียวงโคจร และการผุกร่อนของท่อส่งน้ำมัน

ดวงอาทิตย์ของเรา


Ionosphere Thermosphere Storm Probes (ITSP)
              ยานอวกาศชุดสุดท้ายในโครงการอยู่ร่วมกับดวงดาวเป็นยานสองลำที่จะโคจรรอบโลก และศึกษาบรรยากาศ  ชั้นบนสุดของโลก ที่นี่เป็นจุดแรกที่อากาศสัมผัสกับรังสียูวีจากดวงอาทิตย์ เป็นพื้นที่ซึ่งอนุภาคมีประจุจะมีผลกับการ  ส่งกระจายคลื่นวิทยุ และระบบการสื่อสารทั้งหมด รวมทั้ง  จีพีเอสด้วย บริเวณนี้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความร้อนจากรังสียูวีของดวงอาทิตย์

              ยาน ITSP จะตรวจสอบส่วนประกอบเคมี ความหนาแน่น และพลวัตของบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ และ        เทอร์โมสเฟียร์ของโลก โดยอาศัยการแกว่งของสัญญาณวิทยุ (ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์แสงวับ scintillation) การศึกษาส่วนนี้จะช่วยพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทำนายว่า การสื่อสารและระบบจีพีเอสจะขัดข้องในช่วงใด และยังหาความถี่คลื่นวิทยุที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารด้วย

              ความรู้เรื่องความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นเทอร์-โมสเฟียร์ยังช่วยในการคำนวณ ค่าแรงฉุดที่มีผลต่อยานอวกาศในวงโคจร ทำให้พัฒนาระบบติดตามวัตถุอวกาศขนาดเล็กในวงโคจรของโลกได้อีกด้วย

              ITSP เป็นภารกิจที่สำคัญมาก แต่ปัญหาก็คือ ยังไม่ได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากหน่วยงานใดเลย

แขนขาที่ต่อเติม
              นอกจากกองยานอวกาศทั้งห้ากลุ่มที่กล่าวไปแล้วนั้น โครงการ LWS ยังมีหน่วยสนับสนุนโครงการอีกสองกลุ่ม ได้แก่ Space Environment Testbeds (SET) และ Targeted Research and Technology (TR&T)

              ในส่วนของ SET นั้น เป็นปฏิบัติการตรวจสอบทั้งภาคการบิน และภาคพื้นดิน เพื่อความเข้าใจว่าอันตรกิริยาระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกนั้นมีผลกับมนุษย์อย่างไร และสรุปลักษณะสภาวะของอวกาศและผลกระทบที่มีต่อประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ในอวกาศ

              เป้าหมายของ SET คือ พัฒนากระบวนวิธีทางวิศวกรรมในการรับมือผลกระทบจากดวงอาทิตย์ที่มีต่อยาน อวกาศ ทั้งในด้านการออกแบบและควบคุมยาน สำหรับ TR&T เป็นส่วนรวบรวมองค์ความรู้เชิงฟิสิกส์ที่เชื่อมโยงโลกกับดวงอาทิตย์ ทั้งการเชื่อมโยงโดยตรง และที่ผ่านทางชั้นบรรยากาศ แผนงานนี้เปิดรับข้อเสนองานวิจัยจากกลุ่มวิทยาศาสตร์ต่างๆ เพื่อเลือกให้ทุนวิจัยกับงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ LWS โดยงานวิจัยนั้นครอบคลุมทั้งงานด้านวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนทฤษฎีและสร้างแบบจำลอง รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือ และวิธีการ (เช่น การเขียนซอฟต์แวร์) ในการดำเนินการของโครงการอยู่ร่วมกับดวงดาว โดยกำหนดขอบเขตหัวข้องานวิจัยไว้ที่การวิเคราะห์ผลของอนุภาคพลังงานสูงที่มี อันตรายกับนักบินอวกาศ และเทคโนโลยี รวมถึงผลของการผันแปรบนดวงอาทิตย์ที่มีต่อสภาพอากาศของโลก

              หน่วยสนับสนุนทั้งสองหน่วยนี้จะช่วยเติมเต็มการสร้างองค์ความรู้ขนาดใหญ่ที่ เราจะได้จากการศึกษาดวงอาทิตย์ให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด เพื่อความเข้าใจในสภาพอวกาศซึ่งส่งผลต่อโลกของเรา

อยู่ให้ได้กับดวงตะวัน
              โครงการอยู่ร่วมกับดวงดาว นับเป็นโครงการมหึมาที่ต้องใช้สมอง แรงกาย เงินทุน และเวลาไม่ใช่น้อย ในบรรดายานอวกาศในกองยานศึกษาสภาพอวกาศนี้ มีเพียง SDO ที่ปฏิบัติงานแบบเต็มรูปแบบไปแล้ว ลำพังแค่ยานอวกาศชุดนี้อย่างเดียวก็ให้ข้อมูลอันตื่นตาตื่นใจ มีคุณค่าต่อการเรียนรู้มหาศาล และก็คงไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ นักวิทยาศาสตร์ยังรอคอยการศึกษาดวงอาทิตย์ และความสัมพันธ์ที่มีกับสนามแม่เหล็กโลกอยู่

              จากที่เคยใส่ใจเพียงแค่ว่า ดวงอาทิตย์ คือแหล่งกำเนิดชีวิตมีผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่วันนี้เรากลับต้องมาสนใจดวงอาทิตย์ให้มาก ให้ลึกกว่าเดิม อุบัติการณ์ต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น ณ ดวงตะวันของเรา ส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ และเพื่อไม่ให้เราต้องรับสภาพผลกระทบโดยไม่รู้ ไม่มีการเตรียมพร้อมอะไรเลย นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นหาวิธีทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอวกาศเบื้องบน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันได้กับดวงตะวันของเราเอง


don t be broke payday 300 payday loan no credit check
don t be broke payday loan 1000 dollars
don t be broke payday loan 800 numbers
don t be broke payday loan 800 numbers
don t be broke payday loan 8773678905




Create Date : 19 สิงหาคม 2557
Last Update : 19 สิงหาคม 2557 17:05:42 น. 0 comments
Counter : 1203 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com