รักตัวเอง

 
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
28 กุมภาพันธ์ 2557
 

อย่าปล่อยให้ชีวิตตัวเองขาดทุนต่อไป (Cut Loss)

cut loss
ถ้าคุณชักหมดความอดทนกับช่วงเวลาที่สุดหินในภาวะข้าวยากหมากแพงลองตัดสินใจ “cut loss” ด้วยการตัดส่วนที่ขาดทุนออกไปจากชีวิตดูบ้างสิ

เพราะตามสถิติของผู้ที่สามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์เลวร้ายมาได้ เชื่อขนมกินได้บ่อยครั้งว่า เขาคนนั้นมักได้ประโยชน์คุ้มค่าในอนาคตเป็นการทดแทนอยู่เสมอ ส่วนใครที่มีความรู้แค่งูๆ ปลาๆ กันเรื่องการลงทุนในตลาดหุ้น ก็คงคุ้นเคยอย่างดีกับภาษาโปรกเกอร์หุ้นที่มักจะแนะนำให้ลูกค้าที่เป็นนักลงทุนตัดสินใจ CUT LOSS หรือการตัดขาดทุน ในช่วงเวลาที่ราคาหุ้นตกต่ำ ด้วยวิธีขายหุ้นตัวที่ขาดทุนซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้พอร์ตลงทุนติดลบอย่าง เรื้อรังอย่างไม่มีสัญญาณว่าราคาจะฟื้นได้ในเวลาอันสั้น สถานการณ์เช่นนี้ นักลงทุนที่มีชั้นเชิงสักหน่อยมักตัดต้นทุนโดยเร็วที่สุดเพื่อนำ ”เงินสด” (ส่วนที่เหลือจากการขายขาดทุน) มาถือไว้ก่อนที่จะขาดทุนไปกว่านี้ แล้วนำไปลงทุนช่องทางอื่นที่ได้ผลตอบแทนดีกว่า


           อย่าเพิ่งบ่ายหน้าหนี ... เพราะหนทางที่กล่าวมามันก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการดำเนินชีวิตของคนในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นผมหรือตัวคุณเอง ลองถามตัวเองดูว่า ชีวิตในแต่ละวันของเรายังมีส่วนไหนบ้างที่บั่นทอนให้ “เงินในกระเป๋า” ร่อยหรอและเหือดแห้งลงทุกวัน


           นั่นล่ะตัวการสำคัญที่ทำให้เราต้องขาดทุนต่อไปและต่อไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่คุณยังไม่ตัดมันทิ้งไป


           พูดถึงเรื่องนี้ทีไร เพื่อน ๆ ผมที่ออฟฟิศก็มักมุบมิบ ๆ ในใจกันว่า “แล้วมันต่างอะไรกับมาตรการรัดเข็มขัด?” ทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ เลย วิธีตัดขาดทุนถือเป็นทางเลือกที่รุนแรงกว่ามาก เหมือนกับการ “หักดิบ” หรือ”เลิกทันที” ประมาณนั้นเชียว ... แล้วก็ช่างเหมาะเจาะเหลือเกินกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ การตัดขาดทุนเป็นบทพิสูจน์ที่ใช้ได้ดีกับรัฐบาล (ประเทศ) บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และรวมทั้งคนเดินเท้าอย่างเรา ๆ นี่ด้วย ส่วนมาตรการรัดเข็มขัดดูจะเป็นวิธีขั้นแรกและละมุนละม่อมกว่ากันมากเพียงแต่ ต้องทำใจด้วยว่า การตัดขาดทุนก็เหมือนว่าเราตัดทิ้งอวัยวะส่วนหนึ่งเพื่อรักษาชีวิตเอาไว้ มันจึงเป็นหนทางที่ผู้กระทำต้องพบกับความเจ็บปวด ความกล้ำกลืนฝืนทน ... ไม่มากก็น้อย



           ยกตัวอย่างกันเลย เคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า แต่ละวันแต่ละเดือนที่ผ่านมาคุณต้องเสียเงินไปกับค่ากาแฟมื้อบ่ายไปเท่าไร แล้ว ถ้าบอกว่าคุณต้องซดกาแฟสดวันละแก้วเป็นอย่างน้อย สนนราคาแก้วละ 30-40 บาท เดือนหนึ่งก็คงต้องจ่ายค่าความสุขตรงนี้ 900-1,200 บาท หรือตกปีละ 10,800-14,400 บาท ถ้าเป็นอย่างนี้ ... ชงกินเองดีกว่าหรือเปล่า ..

.

           แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คนทำงานกินเงินเดือนมักไม่ค่อยประสานักกับการลงทุนในส่วนนี้ แต่กลับมองว่าการได้นั่งจิบกาแฟใต้อาคารออฟฟิศนับเป็นรายจ่ายประจำวันเสีย แล้ว กดเครื่องคิดเลขดูก็ได้  ถ้าหากเราสามารถ “ตัดต้นทุน” จากค่าความสุขส่วนนี้ไปได้ ก็เหมือนเรามีเงินสดติดกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีกถึงปีละหมื่นกว่าบาทโดยยังไม่นับ รวมผลตอบแทนที่เราอาจได้จากการลงทุนด้วยเงินสดก้อนที่ได้คืนมา


   ยังมีอะไรอีกบ้างที่ต้องทำการตัดต้นทุน? ให้ไปไล่ดูสลิปบัตรเครดิตก็แล้วกัน อย่างอ้างเชียวนะว่าจำไม่ได้แล้วว่าเก็บสลิปไว้ที่ไหนหรือซอกมุมไหนของตัว บ้าน ถ้าสุดวิสัยจริง ๆ ก็นึกทบทวนรายจ่ายย้อนหลังไปเท่าที่จะทำได้ ส่วนใครที่ทำบัญชีรายจ่ายประจำวันอยู่แล้วก็ง่ายขึ้นเยอะเชียว เอาล่ะ!! หยิบกระดาษขึ้นมาแล้วมองดูว่าตรงไหนที่เราจะต้องลดหรือ ”กากบาท” มันทิ้งไปอีก



หนูคงทำไม่ได้ และสักวันคงจะรวยในพริบตา


           บอกได้เลยว่า ... เสียใจด้วย เพราะคงเป็นไปไม่ได้!! ทุกวันนี้การวางแผนการเงินคงไม่ได้ต่างอะไรไปจากโปรแกรมลดความอ้วนของหนู หรอก มันยากมากๆ กับการเริ่มต้น แล้วก็ยากขึ้นไปอีกในการที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องอาศัยความอดทนทบทวนบวกกับการมีวินัยอย่างสุดยอด


           ลองวาดมโนภาพดูสิว่า ทุกต้นทางของ “แม่น้ำสายใหญ่” ที่ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความมั่นคงและอนาคตของประเทศ ล้วนแต่มีต้นกำเนิดจากลำห้วยสายน้อย ๆ ที่ต่างก็ไหลลงมาจากพื้นที่อันห่างไกล ... ผ่านขุนเขา หน้าผา อุปสรรคนานาชนิดมันต้องใช้เวลานานแค่ไหน ยิ่งถ้าคนต้นน้ำลองได้ใช้หรือบริโภคแหล่งน้ำเกินพอดี เราก็คงไม่มีสายน้ำเจ้าพระยาให้ลูกหลานได้กินได้ใช้ในวันหน้า จำไว้เสมอว่า “ต้นทางดี ย่อมมีปลายทางดีด้วย” การเก็บเงินก็เป็นเช่นเดียวกันนั้นล่ะ


เรื่องน่ารู้เพื่อการเก็บเงินได้มากขึ้น


           นอกเหนือจากวิธี “ตัดขาดทุน” แล้ว นักวางแผนการเงินมักจะมีแท็กติกอีกเล็ก ๆ น้อย ๆ มาแนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจ “ไม่ทันคิด” เพื่อที่เราจะได้เก็บเงินให้มากขึ้นอีก ซึ่งน่าจะใช้ได้ดีทีเดียวท่ามกลางภาวะข้าวปลาอาหารแพง


1. จ่ายตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก แปลว่าเก็บก่อนใช้ที่เหลือ


2. เก็บเหรียญทั้งหลายลงกระปุก


3. ลดเลิกบริโภคฟุ่มเฟือย


4. จ่ายเงินผ่อนค่างวดต่าง ๆ (เข้าบัญชีตัวเอง) ต่อไป แม้จะผ่อนค่างวดเหล่านั้นครบหมดแล้ว


5. รัดเข็มขัดชั่วคราว แม้จะทำให้อึดอัดไปบ้าง แต่ก็ไม่นานก็ชินไปเอง


6. เอาเงินเดือนส่วนเพิ่มไปฝาก คิดเสียว่าเงินเดือนเรายังเท่าเดิมเสมอ ถ้าปีนี้ได้ปรับเงินเดือนขึ้นมาอีกสักพันสองพันก็ให้เก็บเอาไว้ ขนาดปีก่อนเรายังใช้พอเลย


7. จ่ายหนี้ให้หมด เพราะผลตอบแทนที่ได้ก็คือ คุณจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยจากหนี้ก้อนนั้นอีกต่อไป


8. ส้มหล่น ... อย่ากิน ชีวิตของเราต้องมีบ้างล่ะน่าที่จะได้เงินก้อนโตซื่งอยู่นอกเหนือแผนการเงิน ไม่ว่าจะเป็นโบนัส (เกินคาด) มรดก หรืออื่น ๆ ถ้าส้มหล่นมาอย่างนี้ให้เก็บใส่ตะกร้า (บัญชี) ไว้ก่อน อย่ารีบเอามากินเชียว เพราะเงินก้อนโตแบบนี้ ... ยากมากที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง


  เอาไปทำตามเท่านี้ก่อน จำไว้นะว่า เรื่องง่าย ๆ เหล่านี้แม้ดูเหมือนจะง่าย ... แต่มันก็ยากน่าดู ไม่อย่างนั้นเราคงได้เห็นคนรวยเดินชนกันเกลื่อนประเทศไปแล้ว


DUI Attorney Kansas City KS
DUI Attorney Torrance CA
DUI Attorney Syracuse NY
DUI Attorney Bridgeport CT
DUI Attorney Hayward CA
DUI Attorney Fort Collins CO
DUI Attorney Escondido CA
DUI Attorney Lakewood CO
DUI Attorney Naperville IL
DUI Attorney Dayton OH




Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2557 19:53:20 น. 0 comments
Counter : 322 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com