รักตัวเอง

 
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
28 กุมภาพันธ์ 2557
 

ตำนาน เอ็มเค สุกี้ ของ ฤทธิ์ ธีระโกเมน

จากก้าวแรก ของการเปิดตำรับ สุกี้หม้อไฟฟ้า เอาใจคนรักสุขภาพ จนเป็นร้านอาหาร ประจำของครอบครัว จนคิวหน้าร้าน ยาวเหยียด ก็ไม่ทำให้แบรนด์ รอยัลตี้ของเอ็มเค จะลดน้อยถอยลง แต่ยังเติบใหญ่ จนกลายเป็น สุกี้แบรนด์อินเตอร์ ที่มีถึง 142 สาขา และหนึ่งในนั้น เป็นสาขาที่ประเทศญี่ปุ่น ถึง 17 สาขา และสิงคโปร์ 2 สาขา

"ฤทธิ์ ธีระโกเมน" เจ้าของตำนาน สุกี้เอ็มเค ที่พลิกธุรกิจ ร้านอาหารไทย ของครอบครัว ให้เป็นดาวเด่น วงการหม้อสุกี้ เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้น ของการดำเนินธุรกิจ ก่อนที่จะมาสรุป ที่ธุรกิจอาหารนี้ว่า พื้นฐานแล้ว เขาเป็นวิศวกรไฟฟ้า แต่โชคชะตา ก็ผันให้ชีวิตมาอยู่กับ ร้านหนังสือ “ซีเอ็ด ยูเคชั่น” คือบ้านหลังแรก ของฤทธิ์ ร่วมกับเพื่อนคู่ใจ ทนง โชติสรยุทธ์ ทั้งสองพากันกรุยทาง ร้านหนังสือติดแบรนด์ จนกระทั่งซีเอ็ด ในวันนี้ได้ก้าว เข้าสู่ระบบมหาชน พร้อมๆ กับการถอนตัว ออกมาของ "ฤทธิ์" เพื่อดูแลร้านอาหารของครอบครัวอย่างจริงจังในปี 2529

“เดิมทีเราเปิดร้านอาหารไทยเป็นของคุณแม่อยู่ที่สยามสแควร์ ชื่อร้าน เอ็มเค คาเฟ่ จากนั้นเราขยายมาเปิดที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ใช้ชื่อว่า กรีน เอ็มเค ทำไปได้สักพัก คุณสัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ท่านมาถามเราว่าอยากหาคนทำสุกี้ สนใจไหม”

ฤทธิ์ กล่าวว่า วันนั้น ที่ผู้ใหญ่หยิบยื่น โอกาสให้ ก็เหมือนกับเป็น ก้าวแรกต้นกำเนิด ของเอ็มเคสุกี้“ท่านเห็นว่ากิจการเราดี และเราก็ลงแรง ลงความตั้งใจ ไปกับมันมาก” ทว่า... ปราการด่านแรกที่ "ฤทธิ์" และครอบครัวต้องเจอก็คือ การทำร้านสุกี้ ในรูปแบบใหม ที่คำนึงถึงความปลอดภัย ของลูกค้าเป็นหลัก “คุณสัมฤทธิ์บอกว่า จะต้องเป็นร้านสุกี้ ที่ไม่ใช้เตาแก๊ส ทำได้ไหม”

โจทย์ข้อนี้เป็นเรื่องใหม่ ของวงการสุกี้ทีเดียว เพราะร้านสุกี้เตาแก๊ส ถูกเข้มงวดมากขึ้น หากเขาตีโจทย์ข้อนี้แตก นั่นหมายถึงความสำเร็จ ก้าวแรก ครั้งนั้น เขาจึงได้โอกาส งัดความรู้ของวิศวกร ขึ้นมาใช้ในการพัฒนา และเสาะหาหม้อสุกี้ แบบไฟฟ้า และเขาก็ทำสำเร็จ

“เราทำได้ ลูกค้าเข้ามาทานสุกี้ที่ร้านแล้วตกใจ เพราะตอนนั้นมันคือ ...นวัตกรรม สุกี้ที่ไม่ใช้เตาถ่าน หรือเตาแก๊ส และสิ่งที่สำคัญคือ เราได้ในเรื่องของภาพลักษณ์ ว่าเราห่วงใยผู้บริโภค ในเรื่องความปลอดภัย สมัยนั้นมีร้านอาหารไม่กี่ร้าน ที่ใช้วิธีกินกันหน้าเตา เราก้าวก่อน ก็ได้เปรียบ” ฤทธิ์ กล่าว

เอ็มเคสุกี้ สาขาแรก จึงถือกำเนิดขึ้น และจนกระทั่งถึงปัจจุบัน 16 ปี กับธุรกิจร้านอาหาร ที่แต่เดิมคนมองว่า เป็นเพียงแค่ กระแสความนิยม แต่วันนี้การขยายตัว และความนิยมที่ไม่สร่างซา เป็นบทพิสูจน์ ได้เป็นอย่างดีแล้วว่า สุกี้ ไม่ใช่อาหารแปลกใหม่ สำหรับบ้านเรา แต่ได้ถูกบรรจุเข้าไว้ ในทำเนียบเมนูหลัก อีกมื้อหนึ่งของหลายๆ บ้าน

“เราทำงานกันตรงนี้มานาน อย่างหนึ่งคือ เราทุ่มเทในด้านการพัฒนา อย่างสม่ำเสมอ เรื่องของการพัฒนา พนักงานในทุกระดับชั้น เป็นสิ่งสำคัญ ที่เราเน้นย้ำมาก” ฤทธิ์ กล่าว

พร้อมกับบอกว่า โฆษณาชุดล่าสุด ที่แสดงให้เห็นถึง การฝึกหนักของพนักงานเอ็มเค นั้น หาใช่เรื่องเกินจริงไม่

“ผมสร้างเอ็มเคมาตั้งแต่ศูนย์ เราเห็นการเปลี่ยนแปลง ของมันตลอดเวลา ทำให้เราจำเป็น ที่จะต้องนำระบบ ที่ใช้ในการปกครอง และการทำงาน เข้ามาช่วย พนักงานกว่าหมื่นคน ถ้าไม่มีระบบรองรับ มันก็คงอยู่กันยาก

“การสร้างบริษัท มันก็เหมือนปลูกต้นไม้ ถ้าพันธุ์ดี ก็จะโตเร็ว แต่ถ้าดินยิ่งดี ปุ๋ยยิ่งดี ก็เป็นเรื่องที่ดีเข้าไปอีก ผมเลยมานั่งดู รูปแบบการบริหารทั้ง จีน ฝรั่ง และไทย แล้วดึงเอาจุดดี ของแต่ละชาติ แต่ละสไตล์ออกมา พยายามอุดช่องโหว่ ของแต่ละวัฒนธรรม ด้วยอีกวัฒนธรรมหนึ่ง"

เขาบอกว่า คนจีนอาจจะรู้สึกสบาย กับการค้า ที่ไม่ต้องมีพิธีรีตรอง การจัดทำ ระบบมาตรฐาน ซึ่งเขาปล่อย ให้เป็นอย่างนั้นไม่ได้ เขาจึงนำระบบ การทำงาน และวัดผลจากฝรั่งเข้ามาใช้

“การที่เรามีหลายสาขา ทำให้เราต้องมี มาตรการวัดการทำงาน ซึ่งของฝรั่งเป็นกลไกที่ดี ที่จะทำให้เราบริหารงานได้ ไม่สูญเสียการควบคุมองค์กร จัดระเบียบให้มันได้ สิ่งที่ผมได้มาจาก วัฒนธรรมจีน คือ เรื่องของการดูแลพนักงาน ในเรื่องการกินอยู่ สิ่งนี้ผมได้รับถ่ายทอด มาจากคุณแม่ สมัยก่อน คนจีน เขากินข้าวพร้อมคนงาน กินโต๊ะเดียวกันด้วย สิ่งที่เราได้ คือได้ใจจากพนักงาน” ฤทธิ์ กล่าว

ส่วนวัฒนธรรมไทย ที่องค์กรใหญ่อย่างเอ็มเค นำมาใช้นั้น ฤทธิ์ บอกว่า คือเรื่องของ การสร้างเอกลักษณ์ ที่เฉพาะตัวให้เกิดขึ้นในองค์กร

“เราเติบโตขึ้น และมองเป้าหมาย ไปที่การแข่งระดับโลก ดังนั้น ถึงเวลาแล้ว ที่คนของเราจะต้องรู้ว่า จะเอาอะไรไปเล่นกับคู่แข่ง อย่างเช่นเราเน้นเรื่องการไหว้ ขอบคุณลูกค้า”

บริหารกันแบบนี้ วิกฤติที่ผ่านมา ผู้คนจึงยังคงเห็นเอ็มเค ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ขยายสาขากันไม่หยุด จนมาถึงปัจจุบันนั่นเอง ฤทธิ์ บอกว่านั่นเป็นเพราะ อานิสงส์ของการเตรียมตัวดี ตั้งแต่ต้น และการได้รับการสนับสนุน จากผู้หลักผู้ใหญ่ ที่คอยชี้แนะ ระหว่างเส้นทาง เดินสายธุรกิจของเขา

“ผมไม่ใช่นักวิจัย ไม่ใช่นักการตลาด แต่ผมคือนักจัดการมากกว่า เริ่มจากการที่เรามีใจเป็น Entrepreneur บริหารงานบนคอนเซ็ปท์ ที่ถูกต้อง และมีผู้ใหญ่คอยชี้ทาง เรียกได้ว่าช่วงวิกฤติที่ผ่านมา เราไม่กระเทือน แต่ถูกกระทบ ที่เห็นคนต่อคิวยาวๆ หน้าเอ็มเคสุกี้นั้น จริงๆ แล้วความยาวของคิว ก็ลดลงเหมือนกัน จากที่เคยเฉลี่ย 150 คิว อาจจะเหลือ 100 คิว” เขากล่าวอย่างอารมณ์ดี

สิ่งสำคัญที่เขาย้ำว่า เหตุใดเอ็มเค จึงยังคงความแกร่งอยู่ได้นั้น คือเรื่องของการจัดสรร ทรัพยากรเงินในบริษัท ซึ่งเข้าลักษณะ ของการบริหาร แบบปลอดโปร่งโล่งสบาย ดังเช่นสุภาษิต ไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ

“เราบริหารงาน ตามหลักของการพึ่งตนเอง ไม่ว่าจะขยายกี่สาขา เราใช้เงินตัวเองทั้งนั้น อาจจะมีเงินกู้ธนาคารมาบ้าง เพื่อความคล่องตัว แต่ไม่มาก เราเดิน บนหลักการนี้มาตลอด ที่สำคัญ...ก่อนช่วงวิกฤติ เราไม่เคยกู้เงินต่างประเทศเลย มีคนมาจ่อคิวเสนอ ให้เยอะเหมือนกันนะ แต่ไม่รู้จะกู้ไปทำไมน่ะครับ” เขากล่าว

“ความที่เราไม่กู้ มันก็เลยไม่เจ็บตัว กลับกลายเป็นข้อดีมากขึ้น เมื่อเราพบว่าก่อนฟองสบู่จะแตก มีคู่แข่งเปิดร้านสุกี้กันเยอะมาก แต่พอมีปัญหาแล้ว ร้านต่างๆ หายไปหมด ช่วงนั้นเราก็หยุดพัก...รอดูสถานการณ์ เมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มเดิน เราก็เดินตาม กลับมาขยายตัวเต็มกำลังชนิดที่เรียกว่า aggressive ตลาดอีกในปี 2542”

หลังจากนั้น ฤทธิ์ กล่าวว่า เอ็มเคสุกี้ ก็เริ่มเดิน ทางออกนอกประเทศ ไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการดำเนินงาน จะต่างจากที่เมืองไทย สักเล็กน้อย ตรงที่ญี่ปุ่นนั้น ใช้ระบบการขยายงาน แบบแฟรนไชส์เข้ามา เป็นทางเลือกใหม่

“ญี่ปุ่นเรียกได้ว่า เป็นโครงการทดลอง เราอยากรู้ว่า ถ้าไปในประเทศพัฒนา ที่เจริญก้าวหน้ามากๆ แล้ว จะไหวไหม...ซึ่งเราก็ได้รู้ในที่สุดว่า พฤติกรรมการบริโภค ของเขาซับซ้อน กว่าที่คิดไว้เยอะ”ฤทธิ์ กล่าว

เขาเล่าว่า ชื่อของเอ็มเคสุกี้ ก็ต้องเปลี่ยนใหม่เป็น เอ็มเค ชาบู เพราะคนญี่ปุ่นไม่เข้าใจว่าสุกี้ของไทยเป็นอย่างไร นอกจากนั้นแล้ว เมนูก็จะต้องจัดไว้เป็นเซ็ต ไม่ใช่เป็นคอนโดเหมือนร้านสุกี้ในเมืองไทยเช่นกัน

“การออกไปต่างประเทศ เรามีการทำเซอร์เวย์ กันก่อน อย่างสาขาที่หาดใหญ่ ผมให้พนักงาน จดสถิติเอาไว้เลยว่า ชาวต่างชาติที่มาทาน จากชาติไหนบ้าง ซึ่งก็ได้รู้ว่า คนสิงคโปร์มาทานเยอะ ตอนผมไปดูงานที่นั่น ถามคนขับรถแท็กซี่ เคยมาเมืองไทยไหม มาแล้วทานอะไร เขาบอกว่าทานเอ็มเคสุกี้.. ซึ่งนั่นทำให้รู้ว่า Brand Loyalty ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ ในประเทศเท่านั้น”

กว่าจะมาถึง วันที่เอ็มเคสุกี้ มี 142 สาขานั้น เขากล่าวว่า การดูแลลูกค้า ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เช่นกัน “CRM คืออะไร ผมก็ไม่รู้หรอก แต่เรามีหลักปฏิบัติ ในเรื่องการดูแลลูกค้าอยู่ เอาเป็นว่าพนักงาน เราจำชื่อลูกค้าได้แล้วกัน ผมจะยึดหลักอยู่ 3 อย่าง ในการบริหารงาน” ฤทธิ์ กล่าว

“ข้อแรก เราต้องสอนเด็ก ของเราเสมอ ว่าเขาต้องสร้าง ความพอใจให้ลูกค้า ข้อสอง ถ้าลูกค้าไม่พอใจ จะต้องน้อมรับ และปรับปรุง ส่วนข้อสาม อันนี้สำหรับผู้จัดการร้าน คือเราจะต้องปรับปรุงอยู่เสมอ เหมือนกับที่เราทำ ตั้งแต่วันแรก เปลี่ยนจากเตาแก๊สมาเป็นไฟฟ้า เราต้องพยายาม ทำให้ลูกค้า เป็นคนขับดันเรา ด้วยการให้เขา แสดงความคิดเห็น และติชม”

นอกจากนั้น ใบเสนอแนะ ความคิดเห็นที่วางเรียงราย อยู่ตามโต๊ะต่างๆ เป็นสิ่งที่เจ้าของ กิจการเชื่อมั่นว่า จะช่วยสร้างสรรค์ ร้านค้าให้เติบโต และพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ฤทธิ์เล่าให้ฟังว่า ลูกค้ากว่า 3 ล้านคนต่อเดือนนั้น มีการเขียนคำแนะนำ ติชมถึง 40,000 ความเห็น ซึ่งบริษัทต้องจัดแผนกอ่าน Feedback ขึ้นมา และประมวลผล เป็นสถิติต่างๆ ตลอดเวลา "ต้องใช้ไอเดียของลูกค้า ให้เป็นประโยชน์ สิ่งดีๆ ที่เขาเสนอแนะ เราต้องนำมาปรับใช้ เพราะนั่นคือ ความต้องการของลูกค้า"

"ตอนนี้จะเห็นว่าผักเอ็มเค เราเริ่มตัดให้เป็นชิ้นๆ แล้ว เพราะลูกค้าแนะนำมา เวลาเขาเข้ามา จะฉีกผักลงหม้อ มันก็ไม่สะดวก บางคนก็มือไปปนเปื้อน อะไรมาก่อนหรือเปล่า เราเลยใช้วิธีตัดไว้ให้ แต่ต้องตัดแบบมีศิลปะด้วย ไม่ใช่กองๆ ผัก เขาจะหาว่าเรา เอาเศษผักมาขาย แต่เราต้องจัดเรียง ให้เห็นเป็นต้นผักจริงๆ"

สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้เอง ที่ "ฤทธิ์" บอกว่า จะต้องจับใจลูกค้าให้ได้ นี่คือหัวใจสำคัญ ที่ทำให้เอ็มเค เป็นสุกี้แถวยาวที่สุด และครองใจลูกค้าได้เรื่อยมา

โฆษณาถ่ายทอด เรื่องราวองค์กร

“โฆษณาทั้งหมดที่ลูกค้าเห็น คือภาพที่สะท้อนความเป็นเรา เป็นเอ็มเค สุกี้ โดยตรง” ฤทธิ์ ธีระโกเมน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอ็มเค เรสทัวรองค์กล่าว

“เราคุยกันมานานแล้วว่า สินค้าของเราคืออะไร แล้วเราจะวางตำแหน่ง ให้มันอย่างไร เราก็มานั่งดูลูกค้าของเรา มีคนเข้ามาทาน กันแบบครอบครัว คุณปู่ คุณย่า พ่อแม่ ลูกๆ มันมีจุดที่เราจับได้ว่า เราเป็นร้านอาหารของครอบครัว"

ฤทธิ์ เล่าให้ฟังว่า ปรัชญาเอ็มเค คือการสร้างความสุข และกระชับความสัมพันธ์ ของคนในครอบครัว การแต่งเพลงโฆษณา จึงมีส่วนเป็นอย่างมาก ในการสื่อภาพทั้งหมดออกไป ซึ่งก็ได้ผลดีเสียด้วย “เพลงดังมาก ผมดีใจนะ เวลาขึ้นรถไฟฟ้าได้ยินเขาใช้ เพลงมือถือเป็นเพลงของเรา” เขากล่าวด้วยรอยยิ้ม

ถัดจากโฆษณาชุดแรกๆ ไม่นาน เอ็มเค สุกี้ ก็เปิดตัวโฆษณาชุดล่าสุด เป็นเรื่องการฝึกหนัก พนักงาน ก่อนพร้อมลงสนาม (เสิร์ฟ) “เพลงเขาบอก งานหนักเราไม่หวั่น เราสู้ตาย.... และภาพที่ออกมา ให้เห็นจริงว่า พนักงานเราฝึกหนักขนาดนั้น มีคนไปถามเด็กๆที่ร้านว่า น้องฝึกกัน อย่างในทีวีนั่นเลยเหรอ เด็กเขาบอก ...หนักกว่านั้นอีกค่ะ”

ฤทธิ์เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะออกอากาศ โฆษณาชุดฝึกหนัก ได้มีการนำไปเปิด ให้พนักงานดูกันก่อน และบางคน ถึงกับน้ำตาคลอ เพราะเขาได้ฝึก และเรียนรู้ กันมาอย่างหนักจริงๆ ก่อนที่จะมาเป็น พนักงานในร้าน โฆษณาของเอ็มเค ไม่ได้แค่โฆษณาขายของ แต่เป็นเนื้อหาที่ ฤทธิ์ บอกว่า เป็นการสื่อ เป็นการถ่ายทอด "ภาพ" ที่แท้จริงของเอ็มเคสุกี้ออกไป ตั้งแต่โฆษณาชุด Mission vision จนถึงชุดฝึกหนัก และชุดต่อไป และสำหรับโฆษณา ชุดต่อไปเขาและทีมงาน จะพยายามกำหนดเนื้อหา ให้สอดคล้องไปกับองค์กรด้วย

Auto Insurance Cleveland OH
Auto Insurance Tulsa OK
Auto Insurance Oakland CA
Auto Insurance Honolulu HI
Auto Insurance Minneapolis MN
Auto Insurance Wichita KS
Auto Insurance Arlington TX
Auto Insurance Bakersfield CA
Auto Insurance New Orleans LA
Auto Insurance Anaheim CA




Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2557 23:22:54 น. 0 comments
Counter : 647 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com