รักตัวเอง

<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 เมษายน 2557
 

พลังงานทางเลือก

พลังงานทางเลือก
ภาวะขาดแคลนพลังงานเป็นภาวะที่กำลังเป้นปัญหาใหญ่ของทุกประเทศทั่วโลก พลังงานทางเลือกเป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถเยียวยาภาวะขาดแคลนพลังงานได้และหากโลกเราประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานจนถึงขั้นวิกฤตขึ้นจริงๆแล้วล่ะก็พลังงานทางเลือกอาจจะเป็นทางรอดเดียวของมนุษยชาติ
ผู้เขียน: วิรุฬหกกลับ

แก๊สโซฮอลและไบโอดีเซล

 สัมภาษณ์ ผศ.ดร.นวดล  เหล่าศิริพจน์
 บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม 
 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โดย วิรุฬหกกลับ


                       ปัญหาภาวะขาดแคลนพลังงานเป็นปัญหาที่ทุกประเทศในโลกต่างประสบในขณะนี้รวมทั้งประเทศไทย  ความต้องการใช้พลังงานในทางด้านอุปโภคปริโภคที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากรโลกแต่ในขณะเดียวกันแหล่งพลังงานตามธรรมชาติก็รอยหร่อลง เป็นการสวนทางกันกับความต้องการในการใช้พลังงาน จนน่าหวาดหวั่นว่าสักวันโลกเราจะขาดแคลนแหล่งพลังงานตามธรรมชาติซึ่งต้องอาศัยเวลาในการทับถมของซากพืชซากสัตว์เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน  ทั่วโลกจึงต้องหันมาใส่ใจและพยายามที่จะหาแหล่งพลังงานชนิดใหม่ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคทดแทนแหล่งพลังงานแบบเก่า


                       “ตอนนี้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาทางด้านพลังงาน ทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน  ซึ่งมีความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้น หากยังเป็นแบบนี้นอกจากเราจะประสบกับปัญหาขาดแคลนพลังงานแล้ว อีกปัญหาที่ควรจะคำนึงถึงก็คือปัญหาเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงเพราะว่า พลังงานโดยมากจะผลิตขึ้นมาโดยการกระบวนการเผาไหม้ ซึ่งขบวนการเหล่านี้จะทำให้มีคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา อันนำไปสู่ปรากฏการณ์โลกร้อน ปัญหาเหล่านี้ทั่วโลกกำลังประสบอยู่และทุกๆคนก็พยายามหาทางแก้ไขอยู่

                       ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องหาพลังงานทางเลือกอย่างอื่นเพื่อนำมาใช้ทดแทนพลังงานน้ำมันที่กำลังจะหมดไป” ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ กล่าวถึงความจำเป็นของพลังงานทางเลือก 

ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ เป็นอาจารย์สังกัดบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีความสนใจในงานทางด้านวิจัยด้านพลังงานทางเลือกเป็นพิเศษและได้รับการประกาศเกียรติคุณรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ปี 2550 ของสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยให้เราฟังว่า พลังงานทางเลือกมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งพลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากชีวมวล(biomass) หรือที่เราคุ้นหูกันอย่างพลังงานไบโอดีเซล และพลังงานจากแก๊สโซฮอล การจะเลือกใช้พลังงานในรูปแบบใดอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆประกอบกัน



                                                   ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์


                  “พลังงานทางเลือกที่เหมาะสมกับประเทศไทยอาจจะไม่เหมาะสมกับประเทศอื่นซึ่งมันต้องคำนึงถึงสภาพทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งเป็นหลักอย่าง เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม  เรามีวัตถุดิบทางการเกษตรเหลือใช้ค่อนข้างจะเยอะ ดังนั้น biomass จึงน่าจะเหมาะสมกับประเทศไทย แต่ในประเทศตะวันออกกลางที่มีแสงแดดค่อนข้างจะเข้ม พลังงานแสงอาทิตย์ก็อาจะเหมาะกับเขามากกว่าเรา”


ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์มองว่าแหล่งพลังงานทดแทนที่ควรจะให้การสนับสนุนในประเทศไทยนอกจากพลังงานจากชีวมวลแล้ว พลังงานน้ำก็เป็นตัวเลือกอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในกรณีของการเปลี่ยนมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยแหล่งน้ำหากสามารถแปลงให้กลายเป็นแหล่งพลังงานได้ก็จะสามารถลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าลงได้สำหรับในกรณีของพลังงานน้ำมันผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ เชื่อว่ารัฐบาลไทยได้ดำเนินการมาอย่างถูกทางแล้ว


“ในกรณีของพลังงานทดแทนจากน้ำมัน ปัจจุบันเราต้องการใช้น้ำมันค่อนข้างมากรัฐบาลไทยเองก็มีแนวคิดที่พยายาม สนับสนุนพลังงานทดแทน สองชนิดมาใช้แทนน้ำมัน คือแก๊สโซฮอลและไบโอดีเซล ซึ่งเป็นนโยบายที่น่าสนับสนุนมากๆ”



                                            อ้อย สามารถนำมาสกัดเป็นเอทานอลเพื่อใช้ผลิตแก๊สโซฮอลได้
                                                       ภาพจาก //cddweb.cdd.go.th/


  กระบวนการผลิต แก๊สโซฮอล คือการนำเอาน้ำมันแก๊สโซลีนทั่วไปมาผสมกับเอทานอลในสัดส่วนต่างๆกันไป เอทานอลเป็นผลผลิตที่สามารถสังเคราะห์ได้จากวัตถุดิบตามธรรมชาติ  เช่น มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น อันเป็นพืชทางการเกษตรที่มีอยู่มากมายในประเทศไทย ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ เชื่อว่าหากเราสามารถผลิตเอทานอลได้เป็นปริมาณมากจะสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันและลดการนำเข้าน้ำมันทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

                        สำหรับไปโอดีเซลก็เช่นเดียวกันที่สามารถผลิตได้จากพืชชนิดต่างๆเช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวน้ำมันจากสบู่ดำ และสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้


                        แต่ปัญหาที่ทั้งแก๊สโซฮอลและไบโอดีเซลประสบเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกันคือปัญหาทางด้านราคาและการแข่งขันกันเองของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิต


                        “ปัญหาที่ทำให้พลังงานทดแทนทั้งสองชนิดนี้ยังไม่แพร่หลายเท่าทีควรคงเป็นเรื่องของราคาเป็นประเด็นที่สำคัญ และเราเองก็ยังมีปัญหาทางด้านการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องปัจจัยหลัก ผู้ผลิตบางรายอาจจะมองว่าราคาที่รัฐบาลตั้งไว้มันอาจจะยังไม่สูงพอ ที่จะเป็นแรงจูงใจให้เขานำวัตถุดิบของเขามาเปลี่ยนเป็นพลังงานเหล่านี้ได้ ซึ่ง ตรงนี้รัฐบาลสามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยกลไกทางการตลาด คือสนับสนุนและรณรงค์ในแง่ต่างๆเพื่อที่จะให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชเหล่านี้และนำมาผลิตเป็นน้ำมันให้มากขึ้น

                       ในส่วนของแก๊สโซฮอล ก็มีการใช้ที่แพร่หลายมากขึ้นเช่นแก๊สโซฮอล E10 ซึ่งมีสัดส่วนของเอทานอลอยู่ 10เปอร์เซ็นต์ คือเกือบทั้งประเทศแล้วละที่หันมาใช้ ในอนาคตก็จะมีการพัฒนาให้เป็น  E20 หรือ E85 ในอนาคต ซึ่งการจะขยับนโยบายเหล่านี้ มีการเพิ่มสัดส่วนของเอทานอลขึ้นเรื่อยๆก็ต้องมีการศึกษาถึงความไปได้และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างละเอียดเสียก่อนเอามาประมวลและออกนโยบายที่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ”


                       เนื่องจากพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตเอทานอลหรือไบโอดีเซลต้องแข่งขันในเชิงวัตถุดิบที่สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นอย่างอื่นได้ด้วยดังนั้นการเลือกที่จะนำมันสำปะหลังมาผลิตเป็นเอทานอลหรือนำไปส่งออกขายยังต่างประเทศ     อ้อยที่นอกจากจะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตเอทานอลแล้วยังสามารถนำไปใช้ผลิตน้ำตาลได้ด้วย หรือน้ำมันปาล์มที่สามารถเลือกได้ว่าจะนำมาใช้ผลิตเป็นไบโอดีเซลหรือผลิตเป็นน้ำมันเพื่อการบริโภค  เจ้าของวัตถุดิบย่อมคำนึงถึงผลกำไร ที่ตนอาจจะได้รับเมื่อขายวัตถุดิบไปดังนั้นหากราคาไม่เย้ายวนใจก็เป็นการยากที่จะทำให้คนหันมาปลูกพืชเหล่านี้เพื่อใช้เป็นวัตถุในการผลิตพลังงานทดแทน


                       “ราคาเป็นประเด็นสำคัญ  หลายๆประเทศก็เจอปัญหานี้ โดยทั่วไปพืชที่เอาไปแปรสภาพเป็นอาหารมักจะมีราคาสูงกว่าพืชที่นำไปแปรสภาพเป็นพลังงานอยู่แล้วดังนั้นในหลายๆประเทศก็พยายามค้นหาพลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ต้องไปแข่งขันกับพืชอาหาร เช่นการ ใช้พืชวัสดุชีวะมวล หรือการใช้ซากพืชต่างๆ เช่นชานอ้อย ไปเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงทดแทน หากสามารถทำได้สำเร็จมันก็จะช่วยเรื่องพลังงานได้เหมือนกัน ”



                                  ปาล์มน้ำมันซึ่งสามารถนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้
                                        ภาพจาก //www.thaimtb.com


                       ในปัจจุบันพลังงานทดแทนทั้งแก๊สโซฮอลและไบโอดีเซล เป็นพลังงานที่สามารถพัฒนามาจนกระทั่งพาณิชย์ได้แล้วซึ่งจัดเป็น 1 generation field ของพลังงานทดแทน แต่ในขณะที่ระยะยาว หรือ 2 generation field พลังงานที่สามารถใช้ได้ในระยะยาวยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและพัฒนาต่อไป ในปัจจุบันทั่วโลกกำลังหันมาสนใจเกี่ยวกับการนำเอาเศษวัสดุต่างๆมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เช่น การเปลี่ยนชีวมวลให้กลายสภาพเป็นน้ำมันหรือ BTL (Biomass to Liquid) แต่อุปสรรคของปัญหาดังกล่าวคือค่าใช้จ่ายในการผลิตยังจัดว่าสูงอยู่และไม่คุ้มค่าหากนำมาผลิตจริง 

                       “อย่างพวก พลังงานจากแก๊สธรรมชาติ แก๊สหุงต้ม ก็เช่นพวก NGV LPG ความจริงแก๊สธรรมชาติพวกนี้ก็สามารถนำไปเปลี่ยนเป็นน้ำมันได้เช่นเดียวกันเราเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า GTL (Gas to Liquid) อันนี้เป็น 2 generation field เหมือนกัน เป็นแนวโน้มที่ เกี่ยวกับปัญหาเชื้อเพลิงว่าทั่วโลกจะเดินไปทางไหน ปัจจุบันนี้มาทางเอทานอล กับไบโอดีเซล ต่อไปอาจจะขยับเป็น GTLไฮโดรเจน ก็ได้ ”


ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์    เป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สนใจงานวิจัยทางด้านพลังงานทางเลือก สำหรับผลงาน วิจัยของผศ.ดร.นวดล เหล่าศิรินั้นได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบผลิตไฮโดรเจนซึ่งใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ในประเทศไทยเป็นสารตั้งต้นซึ่งได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2550 ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ เผยว่าการนำเอา ไฮโดรเจนมาใช้เป็นพลังงานมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีของไฮโดรเจนคือเป็นสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซต์  คาร์บอนมอนอกไซต์ ออกมา แต่ข้อเสียคือการนำไฮโดรเจนมาใช้ยังมีราคาแพงและต้องอาศัยการสังเคราะห์ขึ้นมา อีกประเด็นปัญหาของการนำไฮโดรเจนมาใช้งาน คือเรื่องของความปลอดภัยเนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนสามารถจุดระเบิดได้ง่าย ดังนั้นหากต้องการนำมาใช้งานจริงๆก็ต้องอาศัยการศึกษาที่รัดกุม


                       “หากเราต้องการนำไฮโดรเจนมาใช้จริงๆก็ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยอย่างมาก ปั๊มน้ำมันก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นปั๊มไฮโดรเจน  ซึ่งมันต้องพร้อมจริงๆ ผมกล้าพูดว่าในช่วง 20 ปี นี้ ไฮโรเจนคงยังไม่เกิด  แต่มันอาจจะเกิดได้หากโลกประสบกับประหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจนมากเกินไปแล้ว นั้นแหละจะเป็นจุดที่เกิดของไฮโดรเจน  หรืออย่างภาวะโลกร้อนในตอนนี้หากโลกเราต้องประสบกับปัญหาโลกร้อนที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ไม่สามารถปลดปล่อยมลภาวะต่างๆออกไปได้แล้ว  เมื่อนั้นไฮโดรเจนถึงะเป็นทางเลือก  เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ให้พลังงานได้โดยที่ไม่สร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ”


                       แม้จะยังใช้เวลาในการพัฒนาอย่างยาวนานแต่สิ่งหนึ่งที่เกิดจากงานวิจัยชิ้นนี้คือองค์ความรู้เกี่ยวกับพลังงานจากไฮโดรเจนซึ่งหากถึงเวลาที่โลกปรับโฉมหน้าพลังงานมากลายเป็นพลังงานจากไฮโดรเจน เชื่อแน่ว่าองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจะทำให้ประเทศไทยสามารถปรับตัวได้ทันท่วงที


                       ในปัจจุบันผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ได้ทำการพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานไฮโดรเจนโดยได้ร่วมมือกับการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. โดยสร้างเครื่องต้นแบบเพื่อผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติ และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ โดยจะนำเครื่องต้นแบบดังกล่าวใช้งานจริงในศูนย์วิจัยของปตท.ต่อไป รวมทั้งศึกษาถึงความเป็นไปได้และเตรียมความพร้อมให้สำหรับเทคโนโลยีดังกล่าว สำหรับอุปสรรคของงานวิจัยชิ้นดังกล่าวผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์มองว่าไมใช่เรื่องของกระบวนการผลิต แต่เป็นเรื่องของการนำไปใช้งานจริง


                        “ปัญหาของระบบนี้ไม่ใช่การผลิตไฮโดรเจน เราผลิตได้แล้วแต่มีปัญหาในเรื่องของการใช้งานหากนำไปใช้งานจริง ต้องมีเครื่องยนต์แบบใหม่ ต้องมีปั๊มไฮโดรเจน ซึ่งราคาสูงมาก และมีท่อก๊าซส่งไปตามบ้านเรือนอาคารพาณิชย์ต่างๆมากมาย ซึ่งต้องนี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือผู้ใหญ่แล้วล่ะว่าเขาจะมีการลงทุนให้เกิดตรงนี้ไหม ”



                                                               ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์


                        ปัญหาทางด้านพลังงานนับเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างประสบกันอยู่ในขณะนี้  ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่การไม่มีพลังงานใช้เท่านั้น แต่มันยังหมายถึง อุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แม้ในยุคดึกดำบรรพมนุษย์เราจะเคยดำรงชีพมาได้ด้วยการไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานมากนักแต่ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิตปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนมนุษย์ให้ผิดแผกไปจากเดิมมาก เราแน่ใจแล้วหรือว่าหากต้องกลับไปดำรงชีวิตแบบเก่ามนุษย์ส่วนใหญ่ของโลกจะสามารถฟันฝ่ามันไปได้และมีชีวิตอยู่ต่อไปได้   ก่อนจบการสนทนาในวันนั้น ผศ.ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ ได้ฝากความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาพลังงานที่เราควรจะตระหนักร่วมกันในฐานะส่วนหนึ่งของสังคม


                       “ปัญหาทางด้านพลังงานไม่ใช่ที่ไกลตัวเรา ไม่ใช่ปัญหาของรัฐบาลหรือใครคนใดคนหนึ่งที่ต้องมาแก้แต่เป็นเรื่องที่เราทุกคน ต้องร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน ต้องช่วยกันใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องช่วยกันประหยัดพลังงาน รถยนต์ถ้าไม่จำเป็นจริงๆก็อย่าขับมาก หากเราไปไหนที่สามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้ เราก็พยายามใช้ พลังไฟฟ้าถ้าไม่จำเป็นก็ปิด  แอร์ก็เหมือนกัน  คือ    ต้องใช้พลังงานให้เต็มประสิทธิภาพจริงๆ  ซึ่งถ้าคนไทยทุกคน พยายามปรับพฤติกรรมในการใช้พลังงาน หันมาใช้พลังงานให้น้อยลง ให้มีประสิทธิภาพมาก.ขึ้น ประเทศไทยก็จะสามารถลดความสูญเสียเกี่ยวพลังงานได้เยอะเลย ปีหนึ่งก็อาจจะเป็นหลักหลายร้อยล้านทีเดียว ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน  คือมันมีแคมเปญเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะแล้วล่ะแต่เราอาจะปลูกฝังให้เด็กๆให้หันมารู้สึกว่าพลังงานมีความสำคัญต้องใช้อย่างประหยัด หากทำได้ตรงนี้แล้วประเทศชาติก็น่าจะไปรอดทางด้านพลังงาน”


                       แม้ฝ่ายบริหารของประเทศจะพยายามส่งเสริมให้เกิดการคิดค้นพลังงานทดแทนในด้านต่างๆ และสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน นักวิทยาศาสตร์-นักวิจัยจะทุ่มเทศึกษาค้นคว้าเพียงใดเพื่อหาทางออกให้กับวิกฤตการณ์ทางด้านพลังงานแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือจิตสำนึกที่จะใช้พลังงานอย่างรู้ค่า และหากโลกเราต้องประสบปัญหากับภาวะขาดแคลนพลังงานขึ้นมาจริงๆ พลังงานทางเลือกอาจจะเป็นทางรอดเดียวของมนุษยชาติ ก่อนที่จะสายช่วยกันคนละไม้ละมือเถอะครับ

Long Term Instant Loans UK
Long Term Loans Calculator UK
Long Term Loans Companies UK
Long Term Loans Definition UK
Long Term Loans Lenders UK
Long Term Loans Now UK
Long Term Loans Online UK
Long Term Loans Quick UK
Long Term Money Loans UK




Create Date : 27 เมษายน 2557
Last Update : 27 เมษายน 2557 7:47:22 น. 0 comments
Counter : 907 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com