รักตัวเอง

<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 เมษายน 2557
 

สงครามครูเสด

สงครามครูเสด

ศึกแย่งชิงเยรูซาเลมในสงครามครูเสด

จุดเริ่มมาจาก อัศวิน 9 คน ที่ถูกเรียกว่า อัศวินผู้ยากไร้แห่งพระไครส์และวิหารแห่งโซโลมอน ต่อมาเรียกว่า ไนต์ส เทมปลาร์ ของวิหารโซโลมอน ในเวลานั้น เป็นสุเหร่า อัล-อักซา (Al-Aqsa Mosque) และใกล้กับโดมศิลา ที่ชาวมุสลิมยึดครองเยรูซาเลมได้ ปัจจุบันคือ Temple Mount

ไนต์ส เทมปลาร์ หรืออัศวินแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ไนต์ส เทมปลาร์หรืออัศวินแห่งพระผู้เป็นเจ้า

เมื่อเกิดสงครามครูเสด ครั้งแรกใน ค.ศ. 1099 ก็เกิดสงครามครูเสดไม่น้อยกว่า 8 ครั้ง และไม่เพียงความขัดแย้งของมุสลิมเท่านั้น แต่ชาวคริสต์ก็ขัดแย้งด้วยกัน เนื่องจากที่ที่เป็นสถานที่กำเนิดศาสนา ตอนที่ชาวมุสลิมยึดครองอยู่นั้น ชาวมุสลิมได้ทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ วิหารอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ที่ฝังพระศพพระเยซู ซึ่งต่อมาพระองค์ฟื้นคืนชีพและเสด็จสู่สวรรค์
วิหารแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระมารดาของจักรพรรดิ คอนสแตนติน มหาราช การกระทำเช่นนี้ทำให้เป็นการจุดไฟสงครามต่อชาวคริสต์อย่างมาก จนกระทั่งชาวคริสต์สามารถบุกยึดครองเยรูซาเลมได้สำเร็จ เป็นอาณาจักรคริสเตียนลาติน กษัตริย์ผู้ปกครององค์แรกคือ กอดเฟรย์ แห่ง บูวียอง (Godfrey of Bouillon) แต่ก็ไม่นานพระสิ้นพระชนม์ ผู้สืบต่อมาเป็น บาลด์วิน ที่ 1 (Baldwin I) มีการจัดตั้งทหารเพื่อดูแลรักแสวงบุญชาวคริสต์ คือ ไนต์ส ฮอสพิทอลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือ อัศวินผู้อภิบาล และอัศวินกลุ่มนี้ จัดตั้ง โรงพยาบาลเซนต์จอห์น (Saint John Hostpital)

จุดเริ่มต้นของไนต์ส เทมปลาร์ หรืออัศวินแห่งพระผู้เป็นเจ้า

เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ฮิวก์ส แห่งปายองส์ ก็กลับบ้าน ไปยัง แค้วน เชมเปญ ในฝรั่งเศส ฮิวก์ส เป็นผู้ร่วมการออกรบในกองทัพของ กอดเฟรย์ แห่ง บูวียอง เมื่อเขาเดินทางมาเยรูซาเลมอีกครั้ง ใน ค.ศ. 1108 เพื่อรวบรวมข้อมูลบางอย่าง แล้วกลับฝรั่งเศส ต่อมา เขาก็กลับมาเยรูซาเลมอีกครั้ง พร้อมกับ อัศวิน อีก 8 คน เข้าเฝ้ากษัตริย์บาลด์วินที่ 1 เพื่อของตั้งกลุ่มนักรบ เพื่อปกป้องศาสนา พวกเขาพำนักอยู่ใกล้กับ สุเหร่า อัลอักซา ซึ่งที่เดิมคือ วิหารโซโลมอน ที่ชาวมุสลิมสร้างทับไว้ ซึ่งวิหาร ถูกทำลายไป 3 ครั้ง ใน 2 ครั้งถูกชาวบาบิโลน ทำลาย เข้ามาครอบครองเยรูซาเลม ครั้งที่ 3 ถูกชาวโรมันสร้างวิหารใหม่ชื่อว่า วิหารเฮรอด จนกระทั่งชาวมุสลิมเข้ามายึดเยรูซาเลม ในช่วง ศตวรรษที่ 7 แล้วสร้างสุเหร่า อัลอักซา มาจนทุกวันนี้

ภารกิจของอัศวินผู้ยากไร้ เนื่องจาก การใช้ชีวิตแบบสมถะ ไม่มีเงินทอง พวกเขากิน นอนตามวิหาร อยู่ด้วยขนมปัง และไวน์ จากการบริจาคของชาวบ้าน มีสภาพมอมแมม ภารกิจที่แน่ชัดไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่ภารกิจทั่วไปคือ ช่วยเหลือเหล่าผู้แสวงบุญ เท่านั้น

การขยายอำนาจของ อัศวินแห่งโซโลมอน มีสมาชิก 2 คนกลับฝรั่งเศสไปก่อน พวกเขาได้รับการสนับสนุนจาก พระนักบวชที่มีเชื่อเสียงรูปหนึ่ง ชื่อ แบร์นาร์ด แห่ง แคลร์โว (Bernard of Clairvaux) และ ฮิวก์ส ก็กลับฝรั่งเศสตามมา แบร์นาร์ด มีชื่อเสียงและอิทธิพลมาก มีมิตรสหายมากมาย ทั้ง ฝ่ายปกครอง ขุนนาง พระระดับสูงในคริสตจักรโรมันคาทอลิก รวมถึงพระสันตปาปา
แบร์นาร์ด ได้สนับสนุนกลุ่มอัศวิน ทำให้อัศวินกลุ่มนี้มีอิทธิพล และฝ่ายคริสตจักรก็ไม่สามารถยุ่งเกี่ยวได้ถนัดไปด้วย ใน ค.ศ. 1128 ก็สนับสนุนกลุ่มอัศวินอย่างเป็นทางการ ต่อมา กลุ่มอัศวินก็มีชื่อเสียงกระจายทั่วฝรั่งเศสถึง อังกฤษ

นานมาแล้ว แมรี แมคกาลีน ถูกพระเยซูช่วบเหลือจากการถูกรุมประชาทัณฑ์ ต่อมาก็พักอาศัยอยู่กับ มารี พระมารดาของพระเยซู จนกระทั่งพระองค์ถูกตรึงกางเขน
เส้นทางนักบวชของ แบร์นาร์ด ท่านได้เดินทางไปที่ ชาติยอง (Chatillon) ตอนใต้ของปารีส ท่านได้พบกับรูปเคารพ พระแม่มารี แต่ มีลักษณะสีดำ เรียกว่า มาดอนนา ดำ (Black madonna) การที่มีสีดำนี้ อาจเกิดจากกาลเวลาหรือ ควันของเทียนที่ใช้บูชา แต่มีกลุ่มเชื่อว่าเป็น ปาฏิหาริย์ มาดอนนา ดำ นี้ไม่ได้หมายถึง พระแม่ มารี แต่หมายถึง มารี แมคดาลิน และต่อมาก็เคารพกันอย่างแพร่หลาย ทำให้แบร์นาร์ด เข้ามาเส้นทางของศาสนา ตามประวัติ ท่านได้เลิกล้มการเป็นอัศวิน(ไม่เกี่ยวกับศาสนา)อย่างบิดา ต่อมาก็พยายามหาความจริงที่ซ่อนเร้นของมาดอนนา ดำอย่างจริงจัง ท่านจึงเข้ามาอยู่ในวงการพระศาสนานั่นเอง

ซาลาดิน ผู้พิชิต

ซาลาดิน ผู้พิชิต

ซาลาดิน


ซาลาดินผู้พิชิต หากพูดถึง บุคคลคนนี้ ชาวมุสลิมจะรู้จักและเทิดทุนผู้นี้ยิ่ง แต่ในทางคริสศาสนา แล้ว ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สร้างความเจ็บช้ำให้แก่พวกเขา เพราะเขาคือ ผู้เดียวที่มีอำนาจและเข้มแข็งพอจะผนึกกำลัง ฝ่ายอิสลาม เพื่อสู้กับพวกคริสเตียนได้ โดยนำกองกำลังทหาร รุกเข้าซีเรีย ราวปลายเดือนตุลาคม 1178 ในขณะนั้น นครศักดิ์สิทธิ์เยรูซาเลมตกอยู่ใต้ การปกครองของมุสลิม 638 ปี ก่อน คริสตกาล แต่ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1099 ได้มีสงครามเลือดนองแผ่นดิน โดยฝ่ายนักรบครูเสดจากยุโรปสามารถ ยึดครองนครเยรูซาเลมไว้ได้ และเข้าตั้งรกรากพร้อมทั้งสถาปนารัฐของพวกครูเสดที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เอาท์รีมเมอร์ (Outreamer) ตลอด 200 ปีต่อ และจากนั้น คริสเตียนและมุสลิมได้มี การบสู้แย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์นี้เรื่อย มา จนมาถึงผู้นำคนสำคัญของฝ่ายมุสลิม ได้แก่ ซา อัดดิน ยูซุป อิบน์อูยุบ หรือ อัล นาซีร์ แต่นักรบครูเสดซึ่งเป็นศัตรูเรียกเขาว่า ซาลาดิน


ซาลาดินเป็นชาวเคิร์ดครับ (เผ่าชนที่กำลังมีปัญหาอยู่ทางตอนเหนือของอิรัก) เกิด ปี ค.ศ. 1138 พ่อของเขาคือ "อายุบ" ส่วนลุงก็คือ "อาซัด อุลดิน ชิกู" ที่เป็นนายทหารปฏิบัติการอยู่กับ อิหมัด อัลดิน ชางกี เจ้าผู้ครองนครโมซุล ต่อมาซาลาดินก็ได้ปฏิบัติหน้าที่กับบุตรของชางกีนามว่า "นูร์ อัลดิน มาหมุด" ช่วยกันขยายอาณาจักรออกไปยังซีเรีย ที่อยู่ติดกับพวกเอาท์รีมเมอร์ ในปี 1166 นูร์ อัลดินส่งกองทหารใต้การบัญชาการของนำชิกู ลุงของซาลาดิน เข้าพิชิตอียิปต์ ซาลาดิน ตอนนั้นเขายังเป็นนายทหารอยู่ครับ



หลังจากหลายปี ในการรบที่ใช้กลยุทธ์ทุกอย่าง ชิกู และซาลาดิน บุกเข้าไคโรได้ในเดือน มกราคม 1169 ซาลาดิน ได้ประหารวิเซียร์หรือ อัตรามหาเสนาบดีของอียิปต์ และชิกูได้ขึ้นแทน แต่อยู่ในนานเพียงสามเดือน ชิกู ก็สิ้นชีวิตลง และซาลาดินเข้าสวมรอยตำแหน่งนั้นทันที


จากนั้นอีกสองปี นูร์ อัลดิน เห็นความสามารถก็ส่ง คำสั่งมาให้ซาลาดิน ถอดถอน กาหลิบ ฟาติมิด อัลอาดิด ทำให้อิทธิพลของ ชีอะห์อัตอิสลามหมดไป ซาลาดินพยายามคัดค้านวิธีการนั้น แต่กาหลิบถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อนในเดือน กันยายน กาหลิบจากแบกแดดถูกแต่งตั้งให้ครองตำแหน่ง แทน และมีการฟื้นนิกายสุหนี่ ออโธดอกซ์ กระทั่งในอียิปต์ มีการลุกฮือขึ้นต่อต้านซาลาดินอย่าง รุนแรง แม้ นูร์ อัลดินเริ่มไม่ไว้วางใจในตัวเขา แต่โชคดีที่ อัลดินก็สิ้นชีวิตลงก่อนโดยหัวใจวายไปก่อนครับ ในเดือน กุมภาพันธ์ 1174 บุตรชาย อายุ 14 อัลซาลีห์ เป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อมา โชคเข้าข้างซาลาดิน

บุคคลสำคัญของมุสลิมต่างเห็นว่า ซาลาดินผู้เดียวที่เข้มแข็งพอจะผนึกกำลัง ฝ่ายอิสลามเพื่อสู้กับพวกคริสเตียนได้ พวกเขาจึงนำกองทหารรุกเข้าซีเรียราวปลายเดือนตุลาคม 1174 และรุกเข้าดามัสกัสโดยไม่มีการต่อต้านที่ เอเลปโซ ประชาชนยังสนับสนุน อัลซาลีห์ ที่ซาลาดินเป็นเสนาบดีอยู่ จากอำนาจของซาลาดิน ก็ได้มีการว่าจ้างพวกมือสังหารกลุ่มซาชิชิน เอาชีวิตของซาลาดิน ขณะที่เขาตั้งอยู่นอกเมือง หัวหน้าเผ่าชาวอาหรับ คนหนึ่งถูกสังหาร แต่โชคของซาลาดินยังคงอยู่ เขาเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการถูกลอบสังหารครั้งนี้ ซาลาดินมีชัยเหนือพวกซางกิตอีกครั้งใน ปี 1176 ที่อีลาลซุลตาน และไม่มีใครขัดแย้งที่เขาเป็นผู้ควบคุมได้ทั้งภูมิภาค เมื่อ อัลซาลีห์เกิดป่วยและตายลงในปี 1181 (ขณะที่มีอายุเพียง 19 ปี) บุตรกษัตริย์อายุสั้นจัง ขอเดาว่า เขาคงแต่งงานกันเองในเครือญาติละมั้ง อาเลปโซ ก็ยอมแพ้ เมื่อเดือนมิถุนายน 1183 ครับ

อาเลปโซ

อาเลปโซ


จนกระทั่ง ซาลาดิน ก็พุ่งความสนใจไปที่ครูเสด แห่งเอาท์รีมเมอร์ จากอียิปต์เขาได้ส่งกองทหารบุกเข้าไปในเดือน พฤศจิกายน 1177 โจมตีกษัตริย์โรค เรื้อน นาม บอลด์วินที่สี่ ( ฺBaldwin IV of Jerusalem)แห่ง เยรูซาเลมที่ทุ่งเขา แห่งเทวออฟเจสเซอร์ แต่มีสัญญาสงบศึก ที่ไม่ค่อยจะราบรื่นนัก จนกระทั่งเดือนกันยายน 1183 ซาลาดินตัดสินใจโจมตีอีกครั้ง คราวนี้เขาบุกเข้าดินแดนเอาท์รีมเบอร์ ครั้งนี้จากซีเรียโดยข้ามแม่น้ำ จอร์แดนทางใต้ของทะเลกาลิลี ทางด้านกองกำลังทหารของบอล์ดวินยังพอที่จะหยุดยั้งการรุกของพวกมุสลิมได้ครับ (-‘’-) มันยังเหนียว อุดด้วยป้อมค่ายที่อัยจาลุทไว้ได้ครับ ส่วนซาลาดินวางฟอร์มทันทีรู้สึกว่ายังไม่พร้อมที่จะแหกค่ายของกษัตริย์บอลด์วิน จึงถอนกำลังกลับโดยข้ามแม่น้ำจอร์แดน

ถึงกระนั้นก็ตาม กษัตริย์ บอลด์วิน สิ้นชีวิตลงในเดือน มีนาคม 1185 (กษัตริย์อายุสั้นอีกแล้ว) ส่วน กีย์ เดอ ลูซินยาน (Guy de Lusignan) น้องเขยของบอลด์วินมาจากฝรั่งเศสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ทันที แม้ว่าสภาพของการสงบศึกระหว่างพวกเอาท์รีมเมอร์กับเพื่อนบ้านมุสลิมจะยังคงอยู่ แต่กีย์ไม่สามารถจะควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา โดยทหารของเขาได้ปล้นกองคาราวานของพวกมุสลิม จนในครั้งหนึ่ง ทหารนอกแถวก็ได้จับตัวน้องสาวของซาลาดินไว้ อ้าว ซาลาดินยอมได้ไง เขาก็สาบานว่าจะฆ่าเรโนลด์ เดอ ซา-ติยอง ผู้จับน้องสาว ด้วยมือของเขาเอง กระทั่งซาลาดิน ยกพลผ่านจอร์แดนเข้ามาอีกครั้ง พร้อมกับความแค้น ในเดือนมิถุนายน ในปีเดียวกัน โดยมีทหารม้า 12,000 คน และทหารราบ 6,000 คน ซาลาดิน วางแผนที่จะล่อ ให้พวกนักรบครูเสดออกมาจากที่มั่นที่ ซัพพูริฟา โดยเข้าล้อมเมืองทิเบอร์เรียล


เมื่อถึงวันที่ 2 กรกฏาคม กีย์ เรียกประชุมสภาสงคราม ซึ่งมี เจอราร์ด เดอ ริดฟอร์ด นายใหญ่ของพวกไนท์เทมปลาร์และเรโนลด์ เดอชา ติญอง เจ้าปัญหาเข้าประชุมด้วยครับ โดยมีการโต้เถียงกันถึงเรื่องการที่จะรุกเข้าไปยังที่มั่นของซาลาดิน ซึ่งตั้งอยู่บนใกล้เนินเขาที่มีสองยอดที่เรียกว่า ฮอร์น ออฟ แฮทดิน ส่วนเคานท์เรย์มอนที่สาม จากทริโบลิ เสนอให้สร้างป้อมปราการที่ทิเบอเรียล ที่กำลังจะถูกล้อมโดยกองกำลังของซาลาดิน และภรรยาเขาอยู่ที่นั่นด้วยครับ ทางด้านเรย์มอนด์ ผู้ประชุมอีกคน เสนอความเห็นว่าทหารเดินทัพของเราที่ผ่านเนินกาลิเลียน ภายใต้ แสงอาทิตย์ที่ในฤดูร้อนจะทำให้กองกำลังอ่อนเปลี้ย และเสี่ยงต่อการซุ่มโจมตี จากข้าศึก ทำให้ซาลาดินก็ยึดปราการไว้ได้ และคิดว่าเขาเก็บ ภรรยาของเรย์มอนด์ ไว้เป็นค่าไถ่ นั่นก็คือกษัตริย์ กีย์ต้อง ยอมเสียทิเบอเรียล จะดีกว่าที่จะเสียอาณาจักรทั้งหมด แต่ กีย์เห็นด้วยกับเรย์มอนด์ว่า ควรจะตั้งมั่นอยู่ใน ซัพพูริฟา แต่ในคืนนั้นเอง เจอราร์ด ก็ชักนำ กีย์ให้เปลี่ยนความคิดซะ เพื่อลดความเสี่ยง ในการสู้รบประจันหน้าในที่โล่งแจ้ง แต่กีย์ไม่ฟัง เขาตัดสินใจที่จะเข้ารบทั้งที่เขาเหลือทหารเพียงส่วนน้อยไว้ป้องกัน


เข้าวันรุ่งขึ้น กองกำลังของกีย์ที่ประกอบด้วย อัศวิน 1,200 คน ทหารม้าเบา 3,500 คน และทหารราบ 10,000 คน มุ่งหน้าทางทิศตะวันออก ตัดผ่านเนินเขาที่แห้งแล้งไร้พืชพรรณ ท่ามกลางแสงแดดแผดเผา ทั้งเหนื่อยอ่อนและกระหายน้ำ จนกระทั่งพวกนักรบครูเสด ได้ตั้งค่ายทางด้านตะวันตกของลูเบีย ใกล้บ่อน้ำแห้ง แต่ในคืนนั้น เองที่ซาลาดินล้อมค่ายนั้นไว้ ตามแผน ล่อของเขาเองครับ จุ๊.จุ๊...อย่าบอกพวกกีย์นะครับ ปล. อีก 2 - 3 วันมาต่อครับ
วันที่ 4 กรกฎาคม ซาลาดินเข้าโจมตีพวกทหาราบของกีย์จนแตกร่น ถูกสังหารบ้างถูกจับเป็นเชลยก็เยอะครับ แต่พวกอัศวินของกีย์ก็ต่อสู้อย่างกล้าหาญ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่พยายามต้านทานการเข้าจู่โจมของซาลาดิน ให้ถอยออกไป เรย์มอนด์ แห่งทริโบลี พยายามตีปีกขวาฝ่าวงล้อมของซาลาดินเพื่อจะเปิดทางเข้าสู่ทิเบอรเรียส กระทั่งพวกมุสลิมต้านไม่อยู่ อัศวินเหล่านั้นจึงควบม้าทะลุผ่านออกไปได้ แต่เขาไม่สามารถย้อนกลับไปหากษัตริย์ กีย์ของเขาได้ เรย์มอนด์ จำขับม้าหนีไปอีกทาง แต่จนแล้วจนรอดเขาก็สิ้นชีวิตลงในสองสามอาทิตย์ต่อมา


จากการถูกล้อมด้วยกำลังที่เหนือกว่า พวกอัศวินครูเสดถอยขึ้นไปเนินเขาไปยังนอร์ออฟแฮตติน เต๊นท์ของกีย์ กว่าสองคืนที่พวกเขาและม้าไม่มีน้ำให้กินเลยครับ พวกทหารมุสลิมได้ทีจุดไฟเผาพุ่มไม้ที่อยู่เหนือลมทำให้ควันไฟเพิ่มความลำบากแก่ พวกครูเสดที่ตั้งรับอยู่มีการโจมตีเกิดขึ้นอีกหลายระลอกจน กระทั่งซาลาดินที่สังเกตการณ์อยู่ใน ระยะไกลเห็นเต๊นท์ของกีย์ล้มลง เขาทราบได้ว่าการต่อสู้จบลงแล้ว เขาลงจากหลังม้า และขอบคุณต่อพระอัลเลาะห์ผู้เป็นใหญ่


กีย์ เรย์โนลด์ และเจอราร์ด ถูกพาตัวมาที่เต๊นท์ของซาลาดิน จานั้นซาลาดินก็ส่งเหยือกน้ำแก่กีย์เพื่อดับกระหาย ซึ่งตามธรรมเนียมของอาหรับเป็นการให้คำมั่นว่าข้าศึกจะได้รับการดูแล เมื่อกีย์ส่งเหยือกน้ำต่อไปยัง เรย์โนลด์ ซาลาดิน ร้องออกมาว่า "ท่านเป็นผู้ให้น้ำแก่เขาไม่ใช่ตัวข้า" แม้ว่าเขาจะสาบานไว้แล้วว่าจะเอาชีวิตเรย์โนลด์ แต่เขายังเสนอว่าจะ ไว้ชีวิตถ้า เรย์โนลด์จะยอมให้เขานับถือศาสนาอิสลาม แต่เรย์โนลด์ ปฏิเสธอย่างยโส ซึ่งทำให้ซาลาดินที่โกรธจัดกระโจนออกไปจากเต๊นท์และกลับเข้ามาพร้อม ดาบโค้งและ
ฟาดฟันเรย์โนลด์กองกับพื้น จากนั้น ทหารของเขานายหนึ่งออกมาจัดการกับครูเสด ผู้ชอบปล้นสะดมจนเสร็จสิ้น ทำให้กีย์สั่นไปทั้งตัวเมื่อเห็นทหารมุสลิมลากร่างที่ไร้ศีรษะของเรย์โนลด์ออกไป แต่ซาลาดินปลอบใจเขาว่า "กษัตริย์ย่อมไม่ฆ่ากษัตริย์ แต่มันผู้นั้นไม่ล่วงละเมิดทุกสิ่งทุกอย่าง" ทางด้านเจอราร์ด เดอ ริดฟอร์ด ซาลาดินใช้ให้ไปเกลี้ยกล่อม พวกที่ป้องกันป้อมค่ายที่ แอสคาลอน และกาซา ให้ยอมแพ้ซะ ส่วนที่เหลือซาลาดิน สั่งให้ตัดหัวพวกพระนักรบจากเมืองหลวงและไนท์เทมปลาร์ โดย ซูฟิส ผู้เป็นพระนักบวชเป็นคน จัดการ ส่วนพวกคนชั้นสูงก็ถูกเรียกค่าไถ่ และทหารถูกขายเป็นทาส ซึ่งจำนวนผู้ที่ถูกขายในตลาดทาส ดามัสกัส มากมาย จนกระทั่งมีผู้กล่าวว่ารองเท้าแตะคู่หนึ่งสามารถซื้อทาสได้ หลังจากถูกล้อมอยู่สามสิบวัน เอาท์รีมเมอร์ ก็แตกพ่ายและนครเยรูซาเลมเปิดประตูออกต้อนรับพวกมุสลิม เดือนตุลาคม 1187 ซาลาดินเข้าเมืองในวันฉลอง ที่ตรงกับวันที่ศาสดามะหะหมัด เดินทางสู้สวรรค์ผิดกับการเข้ายึดครองเยรูซาเลม โดยพวกคริสเตียนในปี 1099 ครั้งนี้ที่ไม่มีการสังหารหมู่ และปล้นสะดม พวกชนชั้นสูงและผู้มีอันจะกินถูกเรียกค่าไถ่เช่นเคย อีกหมื่นกว่าคนถูกส่งไปยังตลาดค้าทาส และฮาเร็มที่ดามัสกัสและอาเลปโซ สุเหรา อัลอักซา และศิลาโดม ได้รับการปรับปรุงให้เป็นสถานที่ทางศาสนาอิสลาม และทำลายโบสถ์สำคัญ กระทั่งสามวันต่อมาศิลาโดมได้เปิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อต้อนรับพวกจาริกแสวงบญคริสเตียนโดยเสียค่าเข้าคารวะบูชา หลังจากชื่นชมกับรสแห่งชัยชนะ ทางด้านซาลาดิน ก็กลับสู่ดามัสกัส ในเดือนมีนาคม 1188 ในปีเดียวกันกีย์ที่ถูกคุมขังอยู่ ได้รับการปล่อยตัวในเงื่อนไขที่ว่าเขาจะไม่จับอาวุธทำสงครามอีก
ขณะนั้น ไทร์ เป็นท่าเรือทางทะเลที่ยังอยู่ในความคุ้มครองของพวกครูเสด กองทหารรักษาการณ์ในป้อมที่อยู่ในบังคับบัญชา ของ คอนราด มากีส์ เดอ มองท์เฟอราท ผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อซาลาดิน หลังจากการโจมตีเมืองครั้งแรกถูกต่อต้านจนต้องล่าถอยออกมา ซาลาดินตัดสินใจว่าจะพักชั่วคราวระหว่างฤดูหนาว เขามั่นใจว่าจะต้องเข้าพิชิตพวกเอาท์รีมเมอร์ ได้ในเวลาไม่นาน แต่แล้ว

สองเดือนหลังจากการรบที่แฮตติน ข่าวเรื่องการพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของพวกครูเสดแพร่ไปถึงฝรั่งเศส โป๊ป เกรกอรี ที่ 8 เรียกร้องให้มีครูเสด ครั้งใหม่ และจักรพรรดิเยอรมัน เฟรด เดอริคที่ 1 ที่รู้จักกันในนาม ของ บาร์บารอสซา นำไพร่พล 40,000 คนเดินทางทางบกไปสู่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ โชคอยู่ข้างซาลาดิน อีกแล้วครับ เพราะ บาร์บารอสซา จมน้ำตายขณะที่ข้ามแม่น้ำคาไลแคดนัสใน ไซเลเซีย ส่วนกีย์ ก็ทิ้งคำสาบาน ที่จะไม่จับอาวุธอีก เขารวบรวมกำลังอีกครั้ง ในเดือนสิงหาคม 1189 กองเรือคริสเตียนนำไพร่พล เตรียมล้างแค้น

เปิดฉาดสงคราม ครูเสดครั้งที่สาม


กำลังทหารของซาลาดิน มีมากกว่า แต่แทนที่จะบุก กลับปลดเมือง เอเคอร์ เพื่อรอกำลังหนุน จนถึงวันที่ 18 กันยายน เขาจึงได้โจมตีพวกครูเสด แต่ถูกยันเอาไว้ นับเป็นเหตุการณ์นองเลือดที่ต่อสู้กัน จนในที่สุด เจอราร์ด เดอ ริดฟอร์ด ถูกจับได้อีกครั้ง แต่คราวนี้เขาถูกสั่งประหาร เพื่อสร้างความกดดันแก่พวกครูเสด ล้างบางพวกมัน


กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส ฟิลิปส์ ออกัสตุส ที่สอง จึงนำกองทัพเข้าประชิดที่เอเคอร์ อีกทั้ง กษัตริย์ ริชาร์ด แห่งอังกฤษ ก็เข้ารบเช่นกัน แต่เขาเสนอให้พวกมุสลิมยอมแพ้ ครับ แต่ถูกปฏิเสธไป และสงครามก็เริ่มอีกครั้ง โดยริชาร์ดนำรบดัวยตนเอง แต่ทางด้านซาลาดินเขาเริ่มชราภาพแต่เขาก็ควบบัญชาการรบอยู่บนที่สูงแทน และในวันที่ 11 กรกฎาคม กองทหารประจำป้อมที่ค่ายเมือง เอเคอร์ ยอมจำนนจนได้จากการต้านทัพของพวกครูเสดไม่ไหว ทำให้ซาลาดินจำต้องขอเจรจา แต่ล้มเหลวครับ โดยเขาต้องการให้ปล่อยคนที่เป็นเชลยก่อนและจะจ่ายเงินค่าไถ่ แต่ริชาร์ดกลับสั่งตัดหัวนักโทษชาวมุสลิมกว่า 2,700 คน ล้างแค้นกลับให้สาสมไปเลย ในวันที่ 22 สิงหาคม ชาวครูเสด 50,000 คน ถอยออกจาเอเคอร์ โดยมีริชาร์ดนำ อีกทั้ง ฟิลิปส์ก็ขอตัวกลับฝรั่งเศสเช่นกัน

กษัตริย์ ริชาร์ต

กษัตริย์ ริชาร์ต

นักรบครูเสดมุ่งไปยังเยรูซาเลมอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ปี 1192 และตั้งค่ายที่ บีทนูบา เก้าวันหลังจากนั้น ได้เข้า จัดการกองกำลัง และมุ่งสู่เยรูซาเลม แต่ ภาพหลอนของแฮตติน และเอเคอร์ยังคอยหลอกหลอน พวกนักรบครูเสด ริชาร์ดจึงถอนตัวจากบีทนูบา เมื่อ 4 กรกฎาคม ไปยัง จาฟฟาอีกครั้ง ริชาร์ดตัดสินใจที่จะเข้าไปยึดเบรุต ซึ่งเป็นป้อมปราการแห่งเดียวของพวกมุสลิมตามแนวชายฝั่ง ซาลาดินเห็นเป็นโอกาสและเข้ายึกคืนพื้นที่ส่วนใหญ่ จาฟฟา ริชาร์ดอยู่ที่เอเคอร์เมื่อซาลาดินเข้าโจมตี เขาลงเรือสองสามลำไปกับทหารกลุ่มเล็ก ๆ และเดินทางไป จาฟฟาในวันที่ 1 สิงหาคม และเข้ายึดจาฟฟาคืนมาได้ ซาลาดินกว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็เมื่อทหารของริชาร์ดบุคเข้าในค่ายแล้ว เช้าตรู่วันที่ 5 สิงหาคม ซาชาดินตั้งใจจะบดขยี้ริชาร์ด ก่อนที่กำลังส่วนใหญ่จะมาถึง เขาส่งทหารม้า 1,000 คน เข้าโจมตีพวกครูเสดเป็น เจ็ดระลอก เพื่อให้ทหารคู่ต่อสู้ยันกลับมา แต่ ริชาร์ดท้าทายโดยขี่ม้าโทรม ๆ ล่อทางซาลาดิน แต่ไม่มีใครออกไปรบด้วย ซาลาดินส่งม้าอาหรับชั้นดีออกไปตัวหนึ่ง พร้อมด้วยข้อความว่า “ไม่เหมาะที่กษัตริย์จะออกรบบนหลังม้าที่น่าเวทนาเช่นนั้น” ริชาร์ดยอมรับม้าและควบขับกลับไปยังกองทหารของ หลังจากที่เหนื่ออ่อนอย่างหนัก ริชาร์ดล้มป่วย เมื่อซาลาดินทราบความ เขาส่งผลไม้ และหิมะจากเขา เฮอร์มอนเพื่อให้ความเย็น จากน้ำดื่ม สงสัยกินกันไม่ลง จนมีการเจรจาขึ้น ผู้นำทัพทั้งสองฝ่ายต่างเหนื่อยหน่ายต่อสงครามและกำลังพบกับความยุ่งยากในอาณาจักร จึงต้องตกลงสงบศึก ในวันที่ 2 กันยายน พวกนักรบครูเสด ยังคงรักษานครชายฝั่งขึ้นไปจนถึงใต้จาฟฟา พวกจาริกแสวงบุญคริสเตียนได้ และอัศวินครูเสดหลายคนได้ฉวยโอกาสที่ดีนี้ แต่ริชาร์ด ไม่ได้ไปด้วย เพราะคิดว่าเขายอมรับไม่ได้หลังจากที่พลาดโอกาสที่จะยึดครองเยรูซาเลม ตุลาคม 1192 ริชาร์ดลงเรือกลับอังกฤษ ต้นเดือนพฤศจิกายน 1192 ซาลาดินก็กลับดามัสกัส กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์เขาก็ล้มป่วยลง (อาจจะเป็นไข้มาลาเรีย) ทำให้เขาสิ้นชีพ ลงในวันที่ 4 มีนาคม 1193 เมื่ออายุได้ 55 ปี อาณาจักรของเขาแผ่จากซีเรียถึงอียิปต์ และซูดาน แต่ไม่เหลือเงินในท้องพระคลังเพียงพอที่จะจัดพิธีศพเขา

สุสาน ซาลาดิน

สุสาน ซาลาดิน

หลังจากที่เขาสิ้นชีวิต อาณาจักรของเขาก็ตกต่ำลง ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง อีกแปดปีต่อมา น้องชายของเขา คือ อัล อาดิล ปรากฏตัวและเข้าปกครอง อาณาจักรต่อไปจนสิ้นชีวิตในปี ค.ศ. 1218

Guaranteed Acceptance Payday Loans UK
Guaranteed Approval Payday Loans UK
Guaranteed Bad Credit Loans UK
Guaranteed Direct Payday Loans UK
Guaranteed Instant Payday Loans UK
Guaranteed Loans Bad Credit UK
Guaranteed Loans No Guarantor UK
Guaranteed Long Term Loans UK
Guaranteed Online Payday Loans UK
Guaranteed Payday Loans Approval UK




Create Date : 27 เมษายน 2557
Last Update : 27 เมษายน 2557 7:37:27 น. 0 comments
Counter : 588 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com