รักตัวเอง

<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 เมษายน 2557
 

สบู่ดำ พลังงานทางเลือก พลังงานทางรอด

สบู่ดำ พลังงานทางเลือก พลังงานทางรอด

ต้องจับตาดูว่า สบู่ดำจะเป็นพลังงานทางเลือก อันเป็นทางรอดของมนุษย์ผู้ไม่เคยหยุดการบริโภคหรือไม่ ?
ผู้เขียน: บัวอื่น

...เราทำแล้วก็หมายความว่า เราไม่เดือดร้อน เมื่อเราอายุ ๑๑๘ ถ้าอย่างไรเราก็ใช้น้ำมันปาล์มของเราเองคนอื่นอาจจะไม่ได้ คนอื่นอาจจะไม่มี แต่ว่าเรามี เพราะเราขวนขวายหาวิธีที่จะทำเชื้อเพลิงทดแทนได้ ถ้าไม่ได้ทำเชื้อเพลิงทดแทน เราก็เดือดร้อน เราก็เป็นห่วง แต่เราไม่ต้องเป็นห่วง ถ้าคนอื่นเขาไม่ทำ เขาอาจจะไม่มีน้ำมันไบโอดีเซลใช้ แต่ว่าเรามี เราคือข้าพเจ้าทำเอง..."



                                                                 ภาพจาก www.eppo.go.th

                  พระบรมราโชวาท เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ ที่ได้พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯถวายชัยมงคล  ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา ได้สะท้อนพระวิสัยทัศน์กว้างไกลด้านของพลังงานทดแทนที่มีมากว่า 30 ปี จนเกิดประแสฮือฮาใน สบู่ดำ อยู่พักหนึ่ง และมาได้รับความสนใจอีกครั้ง เมื่อน้ำมันมีราคาสูงขึ้นอย่างน่ากลัว




ย้อนรอย “สบู่ดำ”


                  “สบู่ดำ”  เติบโตอยู่ตามท้องไร่ท้องนาเมืองไทยมาช้านานแล้ว แต่แท้จริงพอได้สืบย้อนไป ก็ได้ทราบว่าหาใช่พื้นเมืองของชาติไทยไม่ หากแต่เมื่อครั้งปลายกรุงศรีอยุธยา ได้มีพ่อค้าชาวโปรตุเกสนำเข้ามา นอกจากที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ชาวโปรตุเกสยังแพร่หลายไปสู่ประเทศอื่นๆในเอเชียอีก ซึ่งแต่ละที่ก็จะเรียกชื่อต่างกัน อย่างชาวมาลายู จะเรียกว่า Dutch castor oil ตามประวัติศาสตร์ที่สมัยนั้นฮอลันดาเข้าครอบครองมาลายู ส่วนที่เกาะชวานั้นรู้จักกันในชื่อของ  Chinese castor oil ตรงคำว่า oil นี่เองที่ทำให้เห็นว่า สบู่ดำในยุคนั้นปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำมันในเมล็ดนั่นเอง



                                                                        ภาพจาก www.varisme.org


                  “สบู่ดำ” มีแหล่งกำเนิดที่ใดนั้น ก็ยังถกเถียงกันไม่แน่ชัดนัก แต่ก็พอประมาณเอาได้ว่า เป็นพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ การกระจายอยู่ในเม็กซิโก อเมริกากลาง และประเทศในแถบทะเลคาริบเบียนหลายประเทศในอเมริกาใต้ Purging Nut หรือ Physic Nut คือชื่อสามัญของ “สบู่ดำ” ในวงการวิทยาศาสตร์จะมีฉายาว่า Jatropha curcas Linn.


                  สบู่ดำ” เป็นไม้ผลยืนต้นเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 2-7 เมตร อายุเฉลี่ยราว 40 ปี เจริญเติบโตง่าย ทนต่อสภาพความแห้งแล้ง สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ลำต้นและยอดคล้ายละหุ่ง แต่ไม่มีขน อยู่ในวงศ์ไม้ยางพารา ใบคล้ายใบฝ้าย แต่หนากว่า เป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น หักง่าย ในเนื้อไม้เมื่อหักจะมียางสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนๆ คล้ายน้ำนมไหลซึมออกมา ออกดอกเป็นช่อพวงที่ข้อส่วนปลายของยอด ผลกลมรีเล็กน้อย ออกสีเขียวอ่อนเมื่อยังดิบ จะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อผลแก่  โดยส่วนมากจะมี 3 พู แต่ละพูนั้นก็จะคอยห่อหุ้มเมล็ดไว้ หากแกะเปลือกนอกสีดำนี้ออกจึงจะเห็นเนื้อในสีขาว สำหรับอายุของผลสบู่ดำนั้น นับตั้งแต่ออกดอกถึงผลแก่ ตกราวๆ 60 – 90 วัน


                  เมล็ดสบู่ดำมีปริมาณน้ำมันร้อยละ 35 ของน้ำหนักเมล็ด    น้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดสบู่ดำ สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลกับเครื่องจักรกลทางการเกษตรได้อย่างดีทีเดียว ส่วนลำต้น ผล และเมล็ดจะมีกรด hydrocyanic และมีสารพิษ curcin ในเมล็ด


                  สบู่ดำสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และการการปักชำ และในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรสามารถขยายพันธุ์สบู่ดำได้โดย วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ




การเดินทางของสบู่ดำ


                  เดินทางย้อนไปราวร้อยกว่าปี ไบโอดีเซล(Biodiesel)ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ได้มีการนำมาทดลองใช้นานมาแล้ว ในเครื่องยนต์ โดย  "รูดอลฟ์ ดีเซล" (Rudolf C. Diesel : 1858 - 1913) วิศวกรชาวเยอรมัน



                                                              เครื่องยนต์ดีเซลต้นแบบ พ.ศ. 2436


                  เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ.1893 น้ำมันไบโอดีเซลถูกเป็นผลสำเร็จครั้งแรกของโลก โดยการทดลองได้นำเครื่องยนต์ลูกสูบเดี่ยวที่ทำจากเหล็กยาว 3 เมตร ซึ่งมีล้อเฟืองติดอยู่ที่ฐาน


 ในปี 1912 รูดอล์ฟ ดีเซลเคยกล่าวสุนทรพจน์ไว้ว่า  “การใช้น้ำมันจากพืชผักสำหรับเครื่องยนต์ อาจจะดูไม่มีความสำคัญในวันนี้ แต่เมื่อน้ำมันชนิดนี้คิดค้นขึ้นมาแล้ว และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม น้ำมันตัวนี้แหละที่จะมีความสำคัญไม่แพ้น้ำมันที่มาจากถ่านหินที่เป็นที่นิยมอยู่ในเวลานี้”


                  สำหรับประเทศไทย เรื่องของไบโอดีเซล โดยเฉพาะ สบู่ดำ ได้มีการวิจัยกันมาตลอดช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา แม้จะสะดุดเพราะความที่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญในยามที่ราคาน้ำมันยังอยู่ในภาวะที่รับมือไหว ถึงแม้จะยอมรับกันแล้วว่าสบู่ดำสามารถนำมาเป็นไบโอดีเซลได้


                  กระทั่งปี  2543  ราคาน้ำมันเริ่มขยับตัวสูงขึ้น สบู่ดำ จึงถูกจับมาปัดฝุ่นอีกครั้ง แต่ในระยะแรกนี้มีต้นสบู่ดำเหลืออยู่น้อย  จึงต้องพยายามส่งเสริมให้ปลุกกันเสียหน่อย ตามที่ว่างเปล่า  หรือที่ที่ปลูกพืชแล้วให้ผลผลิตน้อย ทั้งคันนา ริมรัวบ้าน หัวไร่ปลายนา สองข้างถนนระหว่างหมู่บ้าน  ขอให้เป็นกลางแจ้งแดดจัด  ไม่อยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ 





"ไบโอดีเซลชุมชนต้นแบบ" ที่วัดพยัคฆาราม (วัดเสือ)


                  โครงการปลูกสบู่ดำและการทำไบโอดีเซล ที่เด่นชัดในประเทศไทย ต้องยกให้ที่   วัดพยัคฆาราม(วัดเสือ)   ที่วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี  ที่ริเริ่มโดยหลวงพ่อสันต์ ซึ่งกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ทำการเปิดโครงการ "ไบโอดีเซลชุมชนต้นแบบ" ขึ้นในปี 2548 เพื่อให้เป็นชุมชนนำร่องของโครงการเผยแพร่การผลิตและใช้ไบโอดีเซล




                                                    ภาพจาก www.naewna.com และ www.navy.mi.th


                  ระยะแรกนั้นหลวงพ่อสันต์เป็นผู้ออกทุนให้ชาวบ้านโดยรอบพื้นที่วัดและชุมชนใกล้เคียง  ในการนำต้นกล้าสบู่ดำไปปลูก และเมื่อได้ผลผลิต ทางวัดก็จะเป็นผู้รับซื้อทั้งหมด  จนถึงวันนี้สามารถส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกได้แล้วถึง  5  ล้านต้น ในพื้นที่ ป่าเขาจ.สุพรรณบุรี รวมไปถึง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี 


                  ทางวัดจะนำสบู่ดำที่รับซื้อมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซลเพื่อใช้ภายในวัด และถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรในชุมชน ผ่านศูนย์การเรียนรู้ที่ตั้งขึ้น โดยพระลูกวัดที่มีความรู้ด้านช่างกล มาให้คำแนะนำ โดยนำเสนอกระบวนการผลิต สาธิตเทคโนโลยีเครื่องหีบสบู่ดำ แนะนำวัตถุดิบและการบริหารจัดการ ล้วนเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร เพราะน้ำมันสบู่ดำและไบโอดีเซลที่ผลิตได้
สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรกลเกษตรได้ทันที ช่วยลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนา ชาวไร่อ้อย ได้อย่างมาก


                  ไม่เพียงผลิตไบโอดีเซลเท่านั้น ทางวัดยังมีลู่ทางในการนำสบู่ดำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมากที่สุด ด้วยวิธีการต่างๆอีก เช่น กากพืชน้ำมันมาทำเป็นปุ๋ยหรือเชื้อเพลิงแข็ง กลีเซอรีนมาทำเป็นสบู่  นอกจากนี้ยังหันไปพัฒนาต่อยอดความรู้ด้านๆอื่นเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าจากแรงลม การผลิตฮอร์โมนหัวปลีกล้วย การผลิตปุ๋ยชีวภาพ แก๊สชีวภาพ ปุ๋ยจากกฐินหรือปุ๋ยอัดเม็ด เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในชุมชนได้มากขึ้น


                  จึงไม่แปลกที่ทุกวันนี้วัดพยัคฆาราม จะได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการแหล่งสำคัญ สำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สนใจในการผลิตไบโอดีเซล 





โครงการเคยู-ไบโอดีเซล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                  อีกหนึ่งเสาหลักของ วงการไบโอดีเซล จากสบู่ดำ ต้องไม่ลืม โครงการเคยู-ไบโอดีเซล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                  การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นพลังงานทดแทนของโครงการเคยู-ไบโอดีเซลได้รับความร่วมมือของหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยแผนงานวิจัยจะครอบคลุมถึงกระบวนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสบู่ดำทั้งหมด ด้วยมุ่งหวังให้เกิดการใช้น้ำมันสบู่ดำในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการผลิตที่ทำให้น้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ดสบู่ดำมีปริมาณและคุณภาพสูงสุด และเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด



                                                            ภาพจาก www.biodiesel.rdi.ku.ac.th


                  วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการศึกษาและกำหนดรูปแบบการจัดการสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงอย่างครบวงจรนั้นคือ ต้องประเมินความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ จากการนำสบู่ดำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง รวมทั้งกำหนดรูปแบบการนำสบู่ดำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อย่างเหมาะสม


                  จากผลการผลศึกษา ยังพบว่านอกจากจะนำน้ำมันสบู่ดำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้ว สบู่ดำยังเป็นพืชที่สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้ประโยชน์ได้อย่างทุกส่วนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น กิ่งและลำต้น  ที่สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง กระดาษทำ ผลิตน้ำส้มควันไม้ และแผ่นไม้ประกอบ


  ใบ         ยังสามารถนำไปใช้เลี้ยงไหมไอรี่ หรือผลิตสารสกัดที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค


เปลือกผลสบู่ดำ      สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิง เป็นวัสดุเพาะเห็ดฟาง หรือทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ


ส่วนกากสบู่ดำ          สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ปุ๋ยชีวภาพ และนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วยความที่มีโปรตีน และเป็นแหล่งสารอาหาร แต่ต้องไม่ลืมที่จะทำลายความเป็นพิษของสบู่ดำเสียก่อน



พลังงานทางเลือกจากเมล็ดสบู่ดำ


                  สบู่ดำในพื้นที่ 1 ไร่นั้น สามารถให้ผลผลิตที่สกัดเป็นน้ำมันได้เฉลี่ย 200-300 ลิตร/ปี และที่กล่าว่าน้ำมันที่สกัดได้นั้น มีความเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงแทนน้ำมันดีเซล ก็เนื่องด้วยคุณสมบัติในการวัดคุณภาพการจุดติดไฟ ซึ่งน้ำมันสบู่ดำมีค่าซีเทนอยู่ที่ 38 ส่วน นับว่าใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลน้ำมันดีเซลที่ค่าอยู่ระหว่าง 40 - 55 อีกทั้งยังมีค่าความร้อนที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย และที่พิเศษอีกคือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน จะเป็น ตัวประกอบที่สำคัญของน้ำมันดีเซล ในทำนองเดียวกันกับสบู่ดำที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่เป็นไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นโซ่ตรงและยาวเหมือนกัน


                  น้ำมันดิบจากสบู่ดำจึงสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์รอบต่ำได้เลยโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนผสมอื่น เช่น รถไถนาหรือเครื่องสูบน้ำ และเครื่องยนต์ทั้งหลายที่ใช้งานเกี่ยวกับด้านเกษตรกรรม แต่หากนำมาใช้กับเครื่องยนต์หมุนเร็ว ไขจากสลบู่ดำ จะทำให้เครื่องยนต์หนืด ก็อาจทำให้เครื่องรวนได้ ในอนาคตจึงต้องศึกษาและพัฒนาวิธีที่จะทำให้ลดความหนืดลงกันต่อไป




เมื่อจะปลูกสบู่ดำ


                  สบู่ดำเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกได้ง่าย ไม่ต้องการความเอาใจใส่ดูแลมากนัก แทบทุกพื้นที่ แต่ด้วยความที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เป็นเหตุผลทำให้ไม่เป็นที่นิยมนัก  ในการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกสบู่ดำ จึงควรรอบคอบพิจารณาให้ครบวงจรของสบู่ดำ ตั้งแต่เกษตรกรสู่ผู้ใช้งาน มีการวิเคราะห์ทางธุรกิจให้ชัดเจน ศึกษาผลตอบแทนทางการผลิต ทั้งต้นทุนการผลิต ผลผลิตต่อไร่ ราคาขายคุ้มทุน ราคาเมล็ดสบู่ดำที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรที่ลงทุนปลูกอย่างละเอียด เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจกับพืชชนิดอื่นก่อนการตัดสินใจ รวมทั้งต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตที่ให้ผลผลิตสูงกว่า รวมทั้งกำหนดตลาดในการรองรับ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกตามนโยบายแล้วสุดท้ายหาตลาดรองรับไม่ได้ อย่างกรณีเกษตรกรปลูกสบู่ดำจาก ชลบุรี-เพชรบูรณ์ ที่เคยเป็นข่าวว่าสุดท้ายต้องไถทำลายทิ้ง




                                                                 ภาพจาก www.daylife.com


                  นอกจากความคุ้มค่าทางธุรกิจแล้ว ที่ต้องไม่ลืมคิดคือ ต้นทุนรวมทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งภัยจากสาร phorbol esterที่เกิดขึ้นในกระบวนการบีบน้ำมัน สารพิษที่ตกค้างจากกาก และเมล็ด ซึ่งบางอย่างมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่ควรละเลย



สบู่ดำ GMOs


                  การนำพืชไปทำเชื้อเพลิงชีวภาพ ย่อมมีเสียงค้านจากผู้ที่ห่วงว่าจะเกิดวิกฤตอาหารทั่วโลก แต่หากมองจากอีกมุมหนึ่ง ก็ได้มีผู้เสนอว่าเมื่อเป็นพืชที่นำมาใช้พลังงาน ไม่ใช่เพื่อการบริโภค อาจมีความเป็นไปได้ที่จะหันไปสู่การใช้เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรมได้สบายใจกว่า เพื่อพัฒนาสายพันธุ์พืชสบู่ดำ ให้เกิดผลผลิตต่อไร่และเพิ่มปริมาณน้ำมันในเมล็ดมากขึ้น  นักวิจัยและนโยบายจากหลายประเทศจึงให้ความสำคัญในประเด็นนี้ 


                                                                     ภาพจาก www.indiamart.com


                             จึงต้องจับตาดูว่า สบู่ดำจะเป็นพลังงานทางเลือก อันเป็นทางรอดของมนุษย์ผู้ไม่เคยหยุดการบริโภคหรือไม่ ?


ข้อมูลจาก
โครงการเคยูไบโอดีเซล ( KU-Biodiesel) ; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Siam Bio-diesel; พงษ์ศักดิ์ พัวพรพงษ์
ากวิกฤตน้ำมัน สู่พลังงานทางเลือก ; ผู้จัดการรายสัปดาห์
ประวัติสบู่ดำพลังงานทดแทนน้ำมันดีเซลและเบนซิน ; นายสุขสันต์   สุทธิผลไพบูลย์
สบู่ดำ ; ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชัยนาท

Long Term Loans Online UK
Long Term Loans Quick UK
Long Term Money Loans UK
Long Term Online Loans UK
Long Term Payday Loans UK
Long Term Payment Loans UK
Long Term Quick Loans UK
Long Term Secured Loans UK
Long Term Small Loans UK
Long Term Student Loans UK
Long Term Unsecured Loans UK




 

Create Date : 27 เมษายน 2557
0 comments
Last Update : 27 เมษายน 2557 7:48:12 น.
Counter : 2071 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Hiomardrid
 
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add Hiomardrid's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com