Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
 
7 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 

แผ่นอนามัย...ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี?


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพราะธรรมชาติของผู้หญิงสร้างให้ร่างกายขับของเหลวออกมาทางช่องคลอด ที่เรียกกันติดปากว่า “ตกขาว
นอกเหนือจากช่วงเวลาที่มีประจำเดือนเป็นเรื่องปกติ
แต่อาจเป็นเหตุให้คุณผู้หญิงหลายคนต้องกังวลใจเรื่องการเปื้อนเปรอะ มีร่องรอยมาปรากฏอยู่บนกางเกงชั้นใน

ปัจจุบันแผ่นอนามัย (panty liner) จึงได้เข้ามามีบทบาท
กลายมาเป็นของใช้ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของคุณผู้หญิงยุคนี้ไปเสียแล้ว
อาจด้วยอิทธิพลของการโฆษณา ที่มุ่งเน้นความสำคัญในการแก้ปัญหาการเปรอะเปื้อน ซึมซับความชื้น
สร้างความรู้สึกแห้งสบายตัว ทำให้เกิดความเชื่อว่าการใช้แผ่นอนามัยเป็นประจำทุกวัน
จะช่วยรักษาความสะอาดของอวัยวะส่วนพึงสงวนได้ดีกว่า อันที่จริงความเชื่อนี้ก็ไม่ถึงกับถูกต้อง 100%
เพราะมีบางคนที่ยังประสบปัญหารำคาญใจ กับกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้แผ่นอนามัย
หรือใช้แล้วทำให้เกิดอาการคันบริเวณผิวหนังที่สัมผัส พอหยุดใช้ปัญหาเหล่านี้ก็กลับหมดไปได้

กลิ่นหรืออาการคันบริเวณผิวสัมผัส (ปากช่องคลอด) อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
เช่น การแพ้สารเคมีที่ผสมในแผ่นอนามัย หรือกระดาษทิชชูที่ใช้เวลาเข้าห้องน้ำ
โดยเฉพาะพวกน้ำหอม หรือแพ้วัสดุที่ใช้ทำแผ่นซึมซับเพื่อความแห้งเป็นพิเศษ
โดยเฉพาะวัสดุที่ไม่ได้มาจากเส้นใยธรรมชาติ บางคนไม่คันเพียงอย่างเดียว แต่เกิดรอยผื่นบวมแดงตามมา
จนต้องเดือดร้อนไปปรึกษาคุณหมอด้วยความตกใจ คิดว่าตัวเองติดเชื้อโรคเข้าเสียแล้วก็มี

นอกจากแพ้วัสดุที่ใช้แล้ว ยังมีเรื่องของความอับชื้นจากการระบายอากาศไม่ดีพอ
ซึ่งนี่แหละที่เป็นตัวการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งเชื้อราด้วย

บางคนใส่แผ่นอนามัยทั้งวัน รู้สึกว่าตัวเองรักษาความสะอาดดีแล้ว
เมื่อเข้าห้องน้ำก็ซับด้วยกระดาษทิชชูจนแห้งทุกครั้ง
แต่อาจลืมไปว่าหากแผ่นอนามัยที่คุณใช้เป็นแผ่นหนานุ่ม จนมีการระบายอากาศได้น้อย
ก็ยิ่งทำให้เกิดความอับชื้น จึงมีโอกาสเกิดเชื้อราได้ง่ายขึ้น
ใครที่มักปล่อยให้เกิดความอับชื้นนานๆ บ่อยๆ จึงควรระวังให้ดี
แถมบริเวณส่วนนั้นของร่างกายเป็นที่รวมของเส้นประสาทมากมาย
อาการคันบริเวณจุดซ่อนเร้น จึงเป็นความคันที่ชวนทรมานมากกว่าปกติหลายเท่าตัวทีเดียว
ในเรื่องนี้เคยมีการศึกษาโดย โบ รูเนอร์แมนและคณะซึ่งตีพิมพ์ไว้ในวารสารวิจัยให้ข้อยืนยัน
ว่าการใช้แผ่นอนามัยแบบมีเส้นใยโปร่งระบายอากาศได้ดี จะช่วยลดความระคายเคืองกับผิวบริเวณปากช่องคลอดได้
ดีกว่าแผ่นอนามัยที่ทำจากวัสดุซึมซับชนิดหนาทึบ ระบายอากาศยากอย่างมีนัยสำคัญ


พูดอย่างนี้เดี๋ยวใครจะคัดค้านได้ว่า เอ๊ย! ฉันก็ใช้แผ่นอนามัยเป็นประจำก็เป็นปกติดีไม่เห็นเคยมีปัญหาเลยนี่....
ก็ถือว่าเป็นโชคดีของคุณที่ไม่แพ้ก็ดีแล้ว และไม่ขอเถียงว่าการใช้แผ่นอนามัยนั้นมีประโยชน์
เพราะ ดร.เดวิด เจ. เซส นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขอนามัยสตรีจากสหรัฐอเมริกา
ก็ได้เคยเปิดเผยงานวิจัยของเขาไว้ในการประชุมนานาชาติในงาน Asian Pacific Congress on Obstetrics
จากการศึกษาผู้หญิงอายุระหว่าง 18-49 ปีจำนวน 157 คนที่มีสุขภาพดี
และไม่ได้มีปัญหาติดเชื้อหรือระคายเคืองที่ช่องคลอดมาก่อน แล้วสอบถามถึงผลการใช้แผ่นอนามัยทุกวันเป็นเวลา 2 เดือน
ผลพบว่า แนวโน้มของกลุ่มที่ใช้แผ่นอนามัยเป็นประจำทุกวัน มีโอกาสเกิดเชื้อราต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้แผ่นอนามัยทุกวัน
และไม่ได้เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ หรือเพิ่มการระคายเคืองทางช่องคลอดให้กับผู้หญิงที่มีสุขภาพดี
แต่นั่นอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าคุณต้องใช้แผ่นอนามัยอย่างถูกวิธีด้วย


แล้วการใช้แผ่นอนามัยให้ถูกวิธีคืออย่างไร?
อย่างแรกคือการรักษาความแห้งสะอาด ระวังไม่ปล่อยให้เกิดการอับชื้นนานๆ ติดต่อกัน โดยการเปลี่ยนแผ่นอนามัย
รวมทั้งเปลี่ยนผ้าอนามัยในเวลาที่มีประจำเดือน ทุกๆ 4 ชั่วโมงโดยประมาณ เพื่อให้รู้สึกแห้งสบายทั้งวัน
หากเป็นช่วงปกติที่ไม่ค่อยมีตกขาวมาก อาจเลือกใช้ชนิดที่บางหน่อยและมีการระบายอากาศดี (breathable)
ส่วนแผ่นอนามัยชนิดหนาอาจเก็บไว้ใช้ในวันท้ายๆ ของการมีประจำเดือนแทน

นอกจากนี้ควรทดสอบดู ว่าตัวเองแพ้วัสดุที่เอามาทำแผ่นอนามัยเหล่านั้นหรือเปล่า
หากใช้แล้วเกิดผื่นแดงคันจากผิวสัมผัสหรือน้ำหอม
ลองสังเกตด้วยว่า ถ้าหากหยุดใช้แผ่นอนามัยชนิดนั้นแล้วความคันจะลดลงหรือไม่
หากใช่ก็ควรลองเปลี่ยนมาเป็นชนิดที่ไม่มีน้ำหอม
หรือทำจากแผ่นใยธรรมชาติ เช่น ใยฝ้ายหรือชนิดผิวสัมผัสนุ่มแล้วลองดูผลที่เกิดขึ้น

แผ่นอนามัยบางแบบใช้วัสดุหนาหรือมีขอบคม ทำให้เกิดการเสียดสีกับผิวหนังส่วนที่บอบบางได้ง่ายเวลาเคลื่อนไหว
จึงควรเลือกชนิดที่มีขอบมนลดการเสียดสีให้น้อยที่สุด เพื่อลดโอกาสการเกิดการคันและอักเสบตามมา

อยากขอเสริมอีกเล็กน้อยว่า ไม่เพียงแต่ความอับชื้น เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราจะเกิดจากการใช้แผ่นอนามัยเท่านั้น
แต่ยังมีเรื่องควรระวังอีกคือบางคนชอบใส่กางเกงคับ เนื้อผ้าหนาๆ เป็นประจำ
อย่างเช่นกางเกงยีนส์รัดๆ ทำให้ผิวต้องเสียดสีกับเนื้อผ้าตลอดเวลา
และการระบายอากาศไม่ดี ก็อาจทำให้เกิดการอับชื้นหมักหมมได้ง่ายเช่นเดียวกัน

บางคนซักชุดชั้นในไม่สะอาด ชอบซักตอนกลางคืน ตากในห้องน้ำซึ่งเป็นที่ที่มีความชื้นสูงมาก
ยิ่งไม่ได้รับแสงแดดการถ่ายเทอากาศน้อยกว่าที่โล่ง จึงเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา
เมื่อชุดชั้นในขึ้นราแล้วมาเกาะผิวหนังส่วนบอบบางของเรา แน่นอนว่าปัญหาก็จะตามมาให้แก้แน่ๆ

ข้อแนะนำก็คือพยายามเลี่ยงการใส่กางเกงเนื้อผ้าหนา หรือกางเกงที่รัดแน่น
เลือกเนื้อผ้าที่มีการระบายอากาศดีหน่อย และไม่ควรใส่กางเกงตัวเดิมซ้ำๆ หลายวัน


ส่วนการเลือกชุดชั้นในโดยเฉพาะตรงจุดบอบบางบริเวณเป้ากางเกงใน
ควรเลือกใช้ชนิดที่ทำจากผ้าฝ้ายจะดีกว่าใยสังเคราะห์ เพราะผ้าฝ้ายจะระบายอากาศได้ดีกว่า และลดอาการแพ้
ควรซักด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาซักชุดชั้นใน โดยเฉพาะที่มักจะทำจากสารฟอกชนิดอ่อนๆ
ไม่มีสารตกค้างในเนื้อผ้ามากเหมือนอย่างผงซักฟอกทั่วไป
และควรซักในตอนเช้า ตากในที่โล่งที่มีแสงแดดส่องถึงและอากาศถ่ายเทสะดวก
ไม่ควรตากกางเกงชั้นในไว้ในห้องน้ำ ตากให้ผ้าแห้งสนิทก่อนจึงค่อยนำมาใส่

วิธีการเหล่านี้ จะช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราบนผิวหนังให้กับตัวคุณเองค่ะ


ที่มา นิตยสาร Health Today


สารบัญ สุขภาพ




 

Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2552
2 comments
Last Update : 25 ธันวาคม 2554 11:33:45 น.
Counter : 4879 Pageviews.

 

การใช้แผ่นอนามัยขณะตั้งท้องมีผลเสียหรือไม่

 

โดย: 1 IP: 118.173.64.149 24 พฤศจิกายน 2552 15:28:40 น.  

 

ขอบคุณมากนะคะ ส่วนตัวคิดว่าอยู่กลุ่มที่ใช้แผ่นอนามัยแล้วไม่มีปัญหาค่ะ อาจะเป็นเพราะเราเลือกใช้แผ่นอนามัยที่บางสุดๆ แล้วก็ระบุว่ามีรูระบายอากาศทั่วแผ่น ซึ่งใช้แล้วก็รู้สึกสะอาดขึ้น รักษาความสะอาดได้ง่ายกว่าไม่ใส่ค่ะ

 

โดย: redcarrot IP: 110.49.243.221 24 ธันวาคม 2554 4:41:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.