Group Blog
 
 
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
21 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
“ตาขี้เกียจ” ภัยเงียบในเด็ก! รู้เร็วรักษาได้ เพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น

ดวงตา นับเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีความสำคัญด้วยทำหน้าที่ในการมองเห็น  ดังนั้นหากพบความผิดปรกติเกิดขึ้นจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจลุกลามกลายเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียโอกาสการมองเห็นที่ดีได้



ตาขี้เกียจ นับเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นได้กับเด็กเล็ก ซึ่งนอกจากจะสร้างปัญหาในเรื่องการมองเห็นแล้วยังส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้อีกด้วย แพทย์หญิงเมธินี จงเจริญ จักษุแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานี ให้ความรู้ว่า ภาวะสายตาขี้เกียจในภาษาอังกฤษใช้คำว่า lazy eye เป็นภาวะที่สายตาข้างหนึ่งพัฒนาไม่เป็นปรกติในช่วงวัยเด็กซึ่งเป็นผลให้ระดับสายตาข้างนั้นพัฒนาได้ไม่เท่ากับอีกข้างหนึ่ง 



สาเหตุการเกิดภาวะตาขี้เกียจอาจเกิดได้จาก ตาเหล่  ตาเข ซึ่งเป็นได้ทั้งตาเหล่เข้าและตาเหล่ออก ขณะที่อีกสาเหตุหนึ่งพบในผู้ป่วยที่มีค่าสายตาต่างกันมากๆ อย่างเช่น  ตาข้างหนึ่งปรกติแต่อีกข้างหนึ่งพบสายตาสั้นมากหรือสั้นทั้งสองข้าง   อีกทั้งภาวะสายตาขี้เกียจยังพบกับผู้ป่วยสายตายาว สายตาเอียง ซึ่งมีโอกาสเป็นได้เช่นกันโดยตาทั้งสองข้างมีระดับสายตาต่างกันมากๆ




ส่วนอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดตาขี้เกียจแม้จะพบน้อยแต่ก็ถือว่าเป็นสาเหตุคือ การมีสิ่งมาบดบังตา อย่างเช่น หนังตาตกทำให้ตาข้างนั้นมองไม่เห็นหรือมีต้อกระจกเกิดขึ้นก็ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวขึ้นได้เช่นกัน




“ตาขี้เกียจเป็นความผิดปรกติที่เกิดจากการพัฒนาการมองเห็นโดยภาวะดังกล่าวเป็นความผิดปรกติของการมองนับแต่เริ่มต้นพบได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดถึง 10 ขวบซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการมองเห็นดังนั้นหากช่วงเวลานั้นมีความผิดปรกติเกิดขึ้นมีสิ่งมาบดบังขัดขวางการมองเห็นจะทำให้เด็กไม่สามารถมองเห็นได้ อย่างกรณี ตาเหล่เมื่อเด็กมีตาเหล่จะไม่ใช้ตาข้างเหล่มองจะใช้ข้างที่ตรงมอง หากปล่อยไว้ไม่รับการรักษาหรือแม้ภายหลังจะทำการผ่าตัดเพื่อให้ตากลับมาเป็นปรกติตาข้างนั้นจะไม่เกิดพัฒนาการเนื่องจากไม่ได้ใช้มายาวนาน”  



ปัญหาหลักของโรคที่เกี่ยวกับตาภาพโดยรวม สาเหตุที่ทำให้เกิดการมองไม่เห็นแม้จะเป็น  โรคต้อกระจก  ซึ่งพบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ  ในเด็กพบโรคที่เกี่ยวกับพันธุ์กรรมหรือการติดเชื้อนับแต่ตั้งครรภ์ส่วนภาวะตาขี้เกียจพบประมาณ1-5 เปอร์เซ็นต์



“ความผิดปรกติสังเกตได้นับแต่แรกเกิด อย่างเด็กเล็กดูว่ามองหน้าแม่ตอนดูดนม มองตามเสียง มองตามแสงไฟ  มองตามวัตถุที่มีสีสันหรือไม่ หากยังไม่มองหน้าแม่ หรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คล้ายมองไม่เห็น ต้องได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ ส่วนภาวะตาเหล่ ตาเขต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองในการสังเกตความผิดปรกติ เช่นเดียวกับความผิดปรกติทางสายตาของลูกไม่ว่าสายตาสั้น เอียง หรือยาวมากๆ”


...........




Create Date : 21 เมษายน 2556
Last Update : 21 เมษายน 2556 5:49:18 น. 0 comments
Counter : 1251 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

โอพีย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]




Occupation A Certified Nursing Assistant(CNA)@ USA
and Blogger at Bloggang Thailand.




BlogGang Popular Award #10

BlogGang Popular Award #11

Free counters!
Friends' blogs
[Add โอพีย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.