Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2564
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
28 พฤษภาคม 2564

สองวัดสองแผ่นดิน : วัดราชนัดดารามวรวิหาร (3)

 



ทำไมซีรีย์ชุดนี้จึงตั้งชื่อว่าสองวัดสองแผ่นดิน คงมีคำเฉลยแล้วว่า
เพราะวัดที่เกี่ยวเนื่องในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีนั้นมีถึงสองวัด
เพียงแค่เพียงหนึ่งวัดหลวงที่สร้างขึ้นแก่เจ้านายฝ่ายในก็จัดเป็นความพิเศษ
ดังนั้นเมื่อมีการสร้างถึง 2 วัด จึงเป็นเรื่องที่พิเศษมาก
 
แม้กระทั่งก่อนจะเขียนบล็อกนี้ ผมยังเข้าใจว่าเพราะเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนี
ของรัชกาล 5  แต่นั่นกลับไม่ใช่ แล้วเพราะเหตุใดกันเล่า คงต้องย้อนไปที่ประวัติศาสตร์

 
พระนางเจ้าโสมนัสฯ องค์ประสูติเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2377
เป็นพระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับหม่อมงิ้ว
โดยพระบิดาคือพระราชโอรสของรัชกาลที่ 3 กล่าวอย่างภาษาเข้าใจง่ายๆ ว่า
พระองค์เป็นหลานนั่นเอง เพียงชันษาได้ 6 เดือนพระบิดาก็สิ้นพระชนม์โดยโรคไข้ป่วง
 
รัชกาลที่ 3 ในฐานะพระอัยกาก็สงสาร จึงนำตัวเข้ามาในพระบรมมหาราชวัง
โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งมีฐานะเป็นพี่สาวของพระบิดา
หรือป้านั่นเอง โดยเป็นพระราชธิดาองค์โปรดของรัชกาลที่ 3 โดยในปี พ.ศ. 2379
รัชกาลที่ 3 ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างวัดเทพธิดารามพระราชทานแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2382
 
พ.ศ. 2388 เมื่อหม่อมเจ้าโสมนัสพระชันษาได้ 11 ปี กรมหมื่นอัปสรสวรรค์ก็สิ้นพระชนม์
ทำให้รัชกาลที่ 3 ยิ่งทรงเมตตา โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงพระยศขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจ้าเพียงองค์เดียวในรัชกาล ในช่วงเวลานั้น พระองค์น่าจะเข้าสู่ช่วงโสกันต์
ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีโสกันต์ที่มีระเบียบพิธีเช่นเดียวกับ
งานของเจ้าฟ้า ขาดแต่การสร้างเขาไกรลาสและมยุรฉัตรเท่านั้น
 

 
พ.ศ. 2389 รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดราชนัดดารามพระราชทานให้
ซึ่งเป็นวัดที่เราทราบกันดีว่ามีสิ่งก่อสร้างสำคัญ นั่นก็คือ โลหะปราสาท
ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเสฏฐตมมุนินทร์ซึ่งหล่อด้วยทองแดง
ที่ขุดได้จากเมืองจันทึก ที่เป็นแหล่งแร่ทองแดงที่ถูกค้นพบในสมัยนั้น
 
สิ่งที่น่าสนใจบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ช่วง รัชกาลที่ 3
กล่าวถึงพะระพุทธรูปองค์นี้ว่า  ในวันที่ 4 ธ.ค. 232389 ในขณะที่แห่อัญเชิญ
มาจากพระบรมมหาราชวังเพื่อมาประดิษฐานในพระอุโบสถนั้น
เจ้าพระยายมราชซึ่งเป็นแม่กองที่รัชกาลที่ 3 เร่งให้สร้างพระอุโบสถขึ้นนั้น
 
ประกาศบอกบุญแก่ราษฎรให้มาช่วยกันชักพระไปตามถนนบำรุงเมือง
ผ่านเสาชิงช้าไปถึงประตูผี แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนมหาชัย เลียบกำแพงพระนคร
ข้ามคลองหลอดถึงวัดราชนัดดาราม ครั้งนั้นมีราษฎรมาร่วมงานบุญครั้งนี้มาก
 พอชักพระพุทธรูปออกจากกำแพงพระนคร เจ้าพระยายมราชได้ลงมาดูตะเฆ่

ที่วางพระพุทธรูปว่าเชือกที่ผูกสำหรับให้คนช่วยกันชักลากนั้นนั้นเรียบร้อยดีหรือไม่
เพื่อเตรียมคัดให้เลี้ยวไปตามถนนใหญ่ ยังมิทันอะไร ชาวบ้านได้ยินเสียงม้าล่อ
ก็นึกว่าเป็นสัญญาณว่า เริ่มลากได้ เจ้าพระยายมราชวัย 70 ปี ก็กระโดดหนีไม่ทัน
ถูกตะเฆ่ทับเสียชีวิต พร้อมด้วยทนายอีก 2 คน สร้างความสลดใจแก้ผู้คนไปหลายวัน
 

 
พ.ศ. 2394 รัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคต เหล่าข้าราชการได้อัญเชิญพระวชิรญาณภิกขุ
ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ได้มีความเห็นว่า พระองค์เจ้าโสมนัส
ขณะนั้นพระชันษาได้ 17 ปี มีความเป็นขัตยนารีคู่ควรที่จะเป็นอัครมเหสีในพระองค์
จึงได้มีพระราชพิธีอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2394 และทรงสถาปนาขึ้นเป็น
สมเด็จพระนางเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
 
ต่อมาเพียง 6 เดือนพระองค์ก็ทรงพระครรภ์ แต่ก็ทรงพระประชวรมาตลอด
และมีประสูติกาลพระราชโอรส ในวันที่ 21 ส.ค. พ.ศ. 2395 แต่อาการประชวร
ของพระนางเจ้าโสมนัสก็ไม่ดีขึ้น ก็ทรงสิ้นพระชนม์ในวันที่ 10 ต.ค. 2395
รวมพระชนมายุ 18 พรรษา ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่คลองผดุงกรุงเกษมถูกขุดเสร็จ
 
พ.ศ. 2396 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดโสมนัสวิหารที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม
พ.ศ. 2399 หลังพระอุโบสถแล้วเสร็จแล้วให้ ประดิษฐานพระประธาน พระพุทธสิริ
ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 คืบ 6 นิ้ว อาราธนา ซึ่งสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) สร้าง
และอัญเชิญมาจากวัดราชาธิวาส พร้อมให้ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก
 

 
หลังจากเสด็จมาเพื่อทำพระราชพิธีฉลองวัด ทรงมีพระราชประสงค์จะทรงสร้างวัด
ส่วนพระองค์ขึ้นเป็นการคู่เคียงกับวัดโสมนัสวิหารที่ริมคลองผดุงกรุงเกษมบ้าง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อสวนของราษฎรที่ติดต่อกับวัดโสมนัสวิหาร
ใกล้กับป้อมหักกำลังดัสกร รวมเป็นพิเศษผืนใหญ่เพียงพอที่จะสร้างวัดได้
 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
เป็นแม่กองงานสร้างวัด ได้วางผังวัดให้คล้ายกับวัดโสมนัสวิหาร
พ.ศ. 2411 รัชกาลที่ 4 ทรงพระราชทานามว่าวัดนามบัญญัติคู่กับวัดโสมมนัสวิหาร
ไปพลางก่อนที่ทรงเสด็จสวรรคตลงในปีเดียวกันนั้น
 
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5  ทรงเปลี่ยนชื่อวัดให้ตรงกับพระปรมาภิไธยของรัชกาลที่ 4
คือวัดมกุฏกษัตริยารามซึ่งก็ยังคงคล้องจองกับชื่อโสมมนัสวิหารเช่นเดิม
นอกจากนี้ที่บริเวณด้านหลังวิหาร ยังประดิษฐานพระพุทธรูปสององค์
ที่เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 4 และพระนางเจ้าโสมนัสฯ
 
แสดงให้เห็นความตั้งใจของพระองค์ที่จะทรงอยู่เคียงคู่กับพระนางเจ้าโสมนัสตลอดไป




 

Create Date : 28 พฤษภาคม 2564
8 comments
Last Update : 28 พฤษภาคม 2564 16:03:24 น.
Counter : 1020 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณkatoy, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณทนายอ้วน, คุณKavanich96, คุณเริงฤดีนะ, คุณ**mp5**, คุณmariabamboo

 

ขอบคุณที่นำมาฝากกกันจ้า

 

โดย: หอมกร 28 พฤษภาคม 2564 17:28:34 น.  

 

เรื่องราวน่าเศร้านะคะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 28 พฤษภาคม 2564 20:13:50 น.  

 

เคยเข้าไปชมโบสถ์คอนหัวค่ำ สวยมากครับ

 

โดย: ทนายอ้วน 29 พฤษภาคม 2564 9:58:14 น.  

 

ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก 3F - ซุปสาหร่ายวากาเมะ ด้วยนะครับ

 

โดย: ทนายอ้วน 29 พฤษภาคม 2564 16:31:23 น.  

 

สวัสดีครับคุณผู้ชายในสายลมหนาว

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะครับ
วันนี้ได้เข้ามาอ่านจนจบ
ขอบคุณที่นำประวัติความเป็นมา มาให้อ่านกันครับ

 

โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา 30 พฤษภาคม 2564 23:08:48 น.  

 

เป็นประวัติศาสตร์
บอกเล่าเรื่องราวของวัดที่นอกจากจะงดงาม
แต่ยังบอกเล่าเรื่องราว..
ที่แฝงไว้ด้วยความโรแมนติกจริงๆ

 

โดย: เริงฤดีนะ 31 พฤษภาคม 2564 9:57:53 น.  

 

แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ

 

โดย: **mp5** 31 พฤษภาคม 2564 10:51:23 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ

 

โดย: **mp5** 4 มิถุนายน 2564 9:12:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]