Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
30 เมษายน 2564

สองวัดสองแผ่นดิน : วัดโสมมนัสราชวรวิหาร (8)


18 ท้าวประมอตันรับสาร  ท้าวประมอตันยกออกจากเมือง


เมื่ออิเหนาได้อยู่กับนางบุษบา และสียะตราได้พบกับนางวิยะดาแล้ว
ทั้งหมดก็คิดถึงเมืองตนเอง แต่ก็กลัวท้าวกุเรปันและท้าวดาหาจะว่ากระไร
จึงส่งสารแทนตัวไปก่อน ปรากฏว่ากษัตริย์ทั้งสองไม่ติดใจ
และได้เดินทางมายังเมืองกาหลัง เพื่อการอภิเษกตามที่เคยได้หมั้นหมายเอาไว้
 
นอกจากนี้ยังได้ส่งข่าวไปยังเมืองสิงหะส่าหรีและเมืองหมันหยา
ให้นำธิดาคือสุหรานากงและนางจินตะหรามาเข้าพิธิอภิเษกกับอิเหนาด้วย
และส่งสาร์นไปยังท้าวประมอตัน ในฐานะที่เคยดูแลปันหยีและอุณากรรณ
มาร่วมพิธีเพื่อแสดงความยินดีด้วย
 

จิตรกรรม สมัย น ณ ปากน้ำมาถ่ายภาพนี้ไว้นั้นก็ลบเลือนไปมาก จนยากที่ดูออก
รูปในปัจจุบันเป็นการเขียนขึ้นใหม่ โดยการตีความจากภาพเก่าว่าน่าจะเป็นฉาก
ท้าวประมอตันรับสาร ไปจนกระทั่งออกเดินทางมาร่วมงานพิธี
โดยพิจารณาจากจำนวนของมเหสีที่ร่วมมาในขบวน ที่ในพระราชนิพนธ์กล่าวไว้
ว่ามีอยู่ 5 คน ดังนั้นภาพนี้อาจจะใช่หรือไม่ใช่ฉากนี้ก็ได้


 
19. อิเหนาอภิเษก
 
เมื่อเหล่ากษัตริย์วงศ์เทวาได้มาพร้อมกัน ณ เมืองกาหลัง หลังจากทราบเรื่อง
และเข้าใจกันดีแล้ว จึงได้มีการอภิเษกสมรสกันขึ้นระหว่างคู่ตุนาหงัน
พร้อมทั้งอภิเษกธิดาระตูอื่นๆ เป็นมเหสีกษัตริย์วงศ์เทวาจนครบตำแหน่ง
 
โดยบุษบาเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา
สะการะวาตีเป็นมะเดหวีฝ่ายขวา มาหยารัศมีเป็นมะเดหวีฝ่ายซ้าย
บุษบาวิลิศเป็นมะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนาเป็นมะโตฝ่ายซ้าย
ระหนากะระติกาเป็นลิกูฝ่ายขวา อรสานารีเป็นลิกูฝ่ายซ้าย
สุหรันกันจาส่าหรี เป็นเหมาหลาหงีฝ่ายขวา หงยาหยาเป็นเหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย
 
สียะตราอภิเษกกับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด กะหรัดตะปาตีกับบุษบารากา
สุหรานากงครองเมืองสิงหัดส่าหรี กะหรัดตะปาตีครองเมืองกาหลัง.
ตอนจบของเรื่องนี้ ท้าวกุเรปันได้ปลอบใจคนไร้คู่อย่างระตูจรกา
ด้วยการไปสู่ขอนางจินดาส่าหรี ซึ่งเป็นหนึ่งในธิดาของกษัตริย์วงศ์เทวัญให้

เป็นอันจบเรื่องราวของอิเหนา ที่มะงุมมะงาหราตามหานางบุษบาแต่เพียงเท่านี้
 

จิตรกรรม ภาพนี้ดูง่าย เนื่องจากเป็นฉากจบและเขียนไว้ที่ประตูทางเข้า
 

 
สิ่งที่น่าสนใจและยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน คือทำไมจึงเลือกเขียนเรื่องอิเหนา
ซึ่งไม่อยู่ในขนบปรกติ ที่จะต้องเขียนจิตรกรรมเกี่ยวกับพุทธศาสนา
เหตุผลแรกคือ มีเรื่องเล่าว่าการละครที่เฟื่องฟูในสมัยรัชกาลที่ 2 นั้นจบลง
ด้วยในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นพระองค์ไม่ทรงโปรดฯ ด้านการบันเทิง
 
หม่อมเจ้าโสมนัสนั้นทรงฝึกหัดละครโดยชอบเล่นละครเรื่องอิเหนา
เมื่อลุถึงรัชกาลที่ 4 ได้เป็นอัครมเหสี จึงโปรดให้ให้ฟื้นฟูละครหลวงขึ้น
เมื่อสิ้นพระชนม์ลง และรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นการที่ระลึกถึง
จึงโปรดเกล้าฯ ให้เขียนเรื่องอิเหนาขึ้น ซึ่งก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันเรื่องเล่านี้
 
แต่ผมเคยเห็นสิ่งหนึ่งที่เชื่อมโยงถึง ซึ่งยังคงเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
เป็นของประดับพระเมรุ ที่ระบุว่าเป็นหุ่นละครเรื่องอิเหนาในครอบแก้ว ตอนอิเหนาฉายกริช
ที่มีป้ายบรรยายว่า ได้มาจากงานพระบรมศพพระนางเจ้าโสมนัส ในปี พ.ศ. 2395
แม้ไม่อาจยืนยันได้ว่าเกี่ยวข้องกันหรือไม่ แต่อย่างน้อยก็เป็นหลักฐานที่น่าสนใจ
 
ในขณะที่มีอีกหนึ่งความเชื่อว่า เรื่องอิเหนานอกจากเป็นนิยายการผจญภัยที่สนุกสนานแล้ว
เนื้อหาสำคัญที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ก็คือ เรื่องราวของความสัมพันธ์ของเหล่ากษัตริย์ในเรื่อง
ที่มีพันธะว่าจะต้องแต่งงานกันอยู่ภายในวงศ์อสัญแดหวา เพื่อรักษาซึ่งความศักดิ์สิทธิ์
อันนี้จะเป็นแฝงนัยยะทางการเมืองที่รัชกาลที่ 4 ได้แอบซ่อนไว้ในจิตกรรมฝาผนังหรือไม่
 


เหตุผลนี้ อาจสามารถมองเห็นได้จากจิตรกรรมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากเรื่องอิเหนา
ที่เขียนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีราชาภิเษกซึ่งนำมาจากคัมภีร์ปัญจราชาภิเษกที่สันนิษฐานว่า
แต่งโดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพนเพื่อถวายฯ รัชกาลที่ 1 ในคราวเมื่อทรงประกอบ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกล่าวถึงการขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์นั้นมาได้ด้วยเหตุ 5 ประการ
 
1.อินทราภิเษก คือ ราชาภิเษกสำหรับผู้มีอำนาจการเมือง เศรษฐกิจ และบุญญาธิการ
ดุจดังราชาธิราช ประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ พระอินทร์นำเครื่องราชกกุธภัณฑ์
มาถวาย ราชรถมาจรดฝ่าพระบาท และมีฉัตรทิพย์มากางกั้น
2. โภคาภิเษก คือ ราชาภิเษกสำหรับผู้ที่สืบเชื้อสายตระกูลพราหมณ์
เป็นตระกูลมหาเศรษฐี ยังเป็นผู้รู้จักในราชธรรมตราชูธรรม และทศกุศล
อันจะเป็นประโยชน์ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
 
3. ปราบดาภิเษก คือ ราชาภิเษกสำหรับผู้อยู่ในตระกูลกษัตริย์ขัตติยราช
มีฤทธิ์อำนาจและความสามารถในการสู้รบชนะข้าศึกศัตรูได้ครอบครองบ้านเมือง
และทรัพย์สมบัติทั้งหลายกษัตริย์ขัตติยราช ขัตติยะนักรบ ปราบปรามอริราชศัตรูขึ้นเสวยราชย์
4. ราชาภิเษก คือ ราชาภิเษกด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดา
ของพระราชบิดาและพระราชมารดาผู้ทรงครองราชย์สมบัติทรงพระชราแล้ว
 
5. อุภิเษก คือ ราชาภิเษกด้วยการอภิเษกสมรส หาหญิงที่มีตระกูลเสมอกันมา
ทำการอภิเษกสมรสกับพระราชโอรส ซึ่งหญิงนั้นอาจจะมีเชื้อสายกษัตริย์
ในแว่นแคว้นอื่นๆ ที่มีวงศ์ตระกูลดีซึ่งเป็นสวัสดิชาติ
 
ซึ่งการเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นจิตรกรรมเพียงหนึ่งเดียวในประเทศ
จึงอาจเป็นการแสดงให้ทุกคนเห็นว่า

พระองค์นั้นเป็นพระราชโอรสที่ประสูติจากพระราชบิดาในขณะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
และมีพระราชมารดาเป็นเจ้าฟ้าที่สืบสายมาแต่พระราชวงศ์เดียวกัน พระองค์จึงเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก
ควรมีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองราชย์สมบัติมากกว่า แต่พระองค์กลับต้องรอเวลาถึง 27 ปี




 

Create Date : 30 เมษายน 2564
4 comments
Last Update : 13 กันยายน 2564 9:19:42 น.
Counter : 1303 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณทนายอ้วน, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณKavanich96, คุณปรศุราม

 

มีสิทธิ์มากกว่า น่าจะหมายถึงพระปิ่นเกล้าหรือเปล่า
เพราะสมัยนั้นเหมือนมีความเชื่อว่ามีสองกษัตริย์
ป.ล. สรุปว่าอิเหนามีชายาในตำแหน่ง 10 คน เชียว

 

โดย: หอมกร 30 เมษายน 2564 10:51:29 น.  

 

เพิ่งสังเกตุว่าทหารแต่งตัวแบบทหารฝรั่งครับ คงเป็นอิทธิพลของศิลปะตะวันตกที่เข้ามามีบทบาทในสมัย ร4

 

โดย: ทนายอ้วน 30 เมษายน 2564 11:12:36 น.  

 


มาถึงตอน 8 แล้ว
ตามมาชมค่ะ
มีเวลาไปวัดโสมฯเมื่อไหร่
ต้องแวะดูฉากจบอิเหนาให้ได้ค่ะ
(มีข้อมูลจากบล็อกนี้มาแล้ว)

 

โดย: เริงฤดีนะ 30 เมษายน 2564 12:04:45 น.  

 

มาอ่านต่อค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 12 พฤษภาคม 2564 13:16:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]