Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กรกฏาคม 2566
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
13 กรกฏาคม 2566

นกกาน้ำ : แหล่งเรือจมพนมสุรินทร์

 

 
ตอนนี้แหล่งเรือจมพนมสุรินทร์เป็นช่วงที่ถูกปล่อยให้น้ำท่วม
เพื่อรักษาโบราณวัตถุก่อนที่จะมีงบประมาณครั้งต่อไป
มีนกกาน้ำตัวใหญ่อาศัยอยู่เป็นฝูง ผมอาจจะเคยเห็นนกกาน้ำเล็กบ่อยๆ
แต่ไม่เคยเห็นนกกาตัวใหญ่อาศัยอยู่เป็นฝูงแบบนี้มาก่อน

จากเดิมที่เคยเข้าใจว่า
นกกาน้ำที่หาได้ง่ายรองจากนกกาน้ำเล็กคือนกกาน้ำใหญ่
แต่กลายเป็นว่า นกกาน้ำที่หาได้ง่ายรองลงไป
ที่กำลังเห็นอยู่เป็นฝูงใหญ่ฝูงนี้ คือกาน้ำปากยาว
 
นกกาน้ำใหญ่กลับพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก
ใกล้ที่สุดคงต้องขับรถไปถ่ายที่บางตะบูน
ละสายตาจากฝูงนกแล้วเรามาดูแหล่งเรือจมกันดีกว่า

ก.ย. 2556 นายสุรินทร์ ศรีงามดี และภรรยา ได้แจ้งไปยังหน่วยราชการ
ว่าพบเรือโบราณจมน้ำอยู่ในบ่อกุ้ง ที่ ต. พันท้ายนรสิงห์ จ. สมุทรสาคร
หลังการสำรวจโดยกรมศิลปากรที่ 1 เจ้าของที่ได้ตัดสินใจยกบ่อกุ้งดังกล่าว
ให้กับทางราชการเพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีของประเทศต่อไป
 
แล้วเรือโบราณลำหนึ่งนั้นสำคัญอย่างไร
 


นานมาแล้วที่นักวิชาการได้เสาะหาหลักฐาน
ถึงการมีอยู่ของกลุ่มเมืองโบราณที่ชื่อว่าทวารวดี  
หลักฐานสำคัญคือตะเกียงโรมันจากโบราณสถานบ้านพงตึก
ทำให้รู้ว่าดินแดนเหล่านี้มีการค้าขายเชื่อมโยงไปได้ถึงเมดิเตอเรเนียน

ส่วนวิธีการเดินทางนั้น เราพบหลักฐานสำคัญ
คือแผ่นดินเผาประดับเจดีย์จุลประโทน
เป็นรูปชาวต่างชาติโพกผ้าบนศีรษะสองคน
นั่งอยู่บนเรือหัวโค้งคล้ายเรือสำเภา
 
นั่นเป็นชิ้นส่วนของภาพการค้าขายโบราณ
ที่ทำให้เกิดเมืองท่ากลุ่มทวารวดีแต่ไม่เคยมีหลักฐานเพิ่มเติมใดที่ไกลไปกว่านั้น
งานทางวิชาการก็หยุดนิ่ง จนกระทั่งการค้นพบเรือจริงๆ
ที่ใช้เดินทางมาค้าขายล่มอับปางริมอ่าวไทย

ที่มีการยืนยันด้วยหลักฐานเครื่องถ้วยสีเขียวว่า
มาจากแหล่งเตากวนจง มณฑลกวางตุ้ง ตรงกับสมัยปลายราชวงศ์ถัง
ทำให้กำหนดอายุของแหล่งเรือจมนี้ว่ามีอายุกลางถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 14
ที่ประเทศไทยตอนนั้นตรงกับสมัยทวารวดี

ทำให้นี่เป็นหลักฐานสำคัญและโด่งดังมากที่สุด
หลังจากการค้นพบแหล่งเรือจม bilitung ที่อินโดนีเซีย
เพียงแต่เรือพนมสุรินทร์ไม่ได้พบภาชนะดินเผาโบราณมากเท่าที่นั่น
 
แต่ก็เป็นการยืนยันถึงภาพการค้าทางทะเลโบราณในช่วงเวลานั้น
โดยการใช้เรือใบสองเสาที่เรียกว่าเรือ  dhow ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจาก
แถบคาบสมุทรอารเบีย ปัจจุบันก็ยังมีสารคดีใน youtube
ที่แสดงเทคนิคการต่อเรือโดยใช้การเย็บเข้าด้วยกันอยู่
 
ซึ่งหากใครอยากเห็นเรือ dhow อย่างใกล้ชิด
และไม่ไกลจากไทยนั้น มีเรือจำลองชื่อว่า Jewel of muscat
ซึ่งเป็นของขวัญที่สุลต่านแห่งโอมานมอบให้กับรัฐบาล
ประเทศสิงคโปร์ จัดแสดงอยู่ที่ Maritime museum
 

 
สิ่งสำคัญที่ค้นพบจากเรือพนมสุรินทร์ คือชนิดของไม้ที่ใช้ต่อเรือ
การศึกษาพบว่าเป็นไม้เนื้อแข็งที่พบในป่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แสดงว่าอาจจะมีการนำเข้าช่างฝีมือมาทำงานต่อเรือในทวารวดี
หรืออาจจะเป็นเมืองท่าในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยพบแบบสมบูรณ์ครบใบในประเทศไทยมาก่อน
ก็คือภาชนะที่มีก้นแหลมเพื่อใช้เสียบกับข้างเรือ ภายในทาน้ำมันดิน
ที่เรียกว่า torpedo jar ผลิตมาจากคาบสมุทรอารเบีย
และแพร่กระจายไปทั่วในทะเลแถบนั้น
วัตถุประสงค์ คือไว้ขนส่งสินค้าที่เป็นของเหลว
 
นอกจากการค้นพบหลักฐานที่เป็นไม้ที่ใช้สันนิษฐานการต่อเรือ
การพบภาชนะดินเผาทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบเพื่อศึกษาวิธีการขนส่ง
สิ่งหนึ่งที่ค้นพบและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการศึกษาก็คือสินค้าในเรือลำนี้
ซึ่งบางอย่างก็มีความทนต่อการเสื่อมสลาย เช่น งาช้าง เขากวาง เป็นต้น
 
สิ่งที่เป็นอินทรียวัตถุที่ค้นพบ ยังมีจำพวกข้าว หมาก สมุนไพร
หมากนั้นเรารู้กันมานานว่าเป็นสินค้าที่สำคัญ เช่นเดียวกับสมุนไพร
แต่สิ่งหนึ่งที่เราไม่เคยมีหลักฐานก็คือ เมล็ดข้าว ไม่ใช่แกลบที่ถูกเผาทำอิฐ
ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการเฉลยว่า คนสมัยทวารวดีนั้นกินข้าวแบบไหน
 

 
อ่านไปอ่านมาไม่เห็นว่าจะพ้นอ่าวไทย แล้วตะเกียงโรมันบ้านพงตึก
กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 6 เดินทางมาถึงเมืองกาญจนบุรีได้อย่างไร
เราจะย้อนเวลากลับในสมัยนั้น ซึ่งควรจะตรงกับช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1
 
ตะเกียงโรมันอาจจะถูกสร้างที่เมืองอเล็กซานเดรีย
หรืออย่างน้อยก็ต้องเคยผ่านเมืองนี้อย่างแน่นอน
 
เมืองนี้ก่อตั้งขึ้นโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 331 ก่อนคริสตกาล
หลังจากช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ที่พิชิตอาณาจักรไปไกลถึงทวีปอินเดีย
อเล็กซานเดอร์ก็เสียชีวิตลงในปี 323 ก่อนคริสตกาล
 แว่นแคว้นที่พิชิตมาถูกแบ่งโดยขุนพล
หนึ่งในนั้นคือปโตเลมีที่ครอบครองส่วนที่เป็นประเทศอียิปต์ในปัจจุบัน
 
เมืองอเล็กซานเดรียกลายเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ปโตเลมี
ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากมีสิ่งมหัศจรรย์ในโลกโบราณ
หนึ่งในเจ็ดอย่าง คือประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย
และสิ่งที่ถูกเหล่าขานว่าเป็นแหล่งวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย
 
แต่ไม่ใช่เพียงแต่เค้าคนเดียวที่ก้าวขึ้นมาสถาปนาอำนาจ
ปโตเลมีต้องทำสงครามกับอีกหนึ่งขุนพลที่สร้างอาณาจักรซิลูซิด
ที่มีอาณาเขตอยู่ติดกับอาณาจักรโมริยะของอินเดีย
ทำให้อาณาจักรซิลูอิดสามารถนำเข้าช้างมาใช้ทำสงครามได้
 


ในขณะที่อีกฟากของอาณาจักร ปโตเลมีที่ 2 ก็ขัดแย้งกับพวกคาร์เทจ
ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงช้างจากแอฟริกาเหนือ
บีบให้ต้องรื้อฟื้นเส้นทางการค้าทางทะเลในสมัยอียิปต์โบราณ 
โดยตั้งเมืองท่า Arsine ที่ปากคลองสุเอซ สำหรับการต่อเรือสินค้า 
 
สร้างเมืองท่าบนชายฝั่งที่ติดกับทะเลแดงสองเมือง
หนึ่งคือ Myos Hormos ที่สามารถเดินทางบกตรงมายังเมือง Coptos
จากนั้นใช้เส้นทางบกเลียบแม่น้ำไนล์นำช้างแอฟริกาตอนกลาง
มายังอเล็กซานเดรียในการใช้ทำสงคราม

และเมือง Berenice ที่อยู่ต่ำลงไปใกล้กับทะเลอาหรับ
แม้ไกลจากเส้นทางลัดไปเมือง Coptos มากกว่า
แต่มีชัยภูมิของพื้นที่ดีกว่าเหมาะต่อการพัฒนาเป็นท่าเรือ
 
200 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรซิลูซิดถูกพิชิตโดยอาณาจักรโรมัน
ทำให้การนำช้างมาใช้ทำสงครามลดความสำคัญลง
แต่เส้นทางนี้ยังคงใช้โดยพ่อค้าที่แสวงหากำไรจากขายเครื่องเทศ
และผ้าไหมอันมีค่าจากเรือสินค้าของอินเดีย
 
118 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยปโตเลมีที่ 7
ทหารอียิปต์จับกะลาสีชาวอินเดียจากเรือที่อับปางได้
และถูกส่งไปรับการลงโทษที่อเล็กซานเดรีย 

ที่นั่นเค้าได้เสนอว่า ขอให้ส่งตัวกลับบ้านโดยแลกกับการ
บอกความลับของเส้นทางการค้าที่พ่อค้าชาวอินเดีย
ใช้เดินทางมาที่ประเทศอียิปต์ นั่นก็คือลมมรสุม

ที่หากรู้ช่วงเวลา และทิศทางในทะเล
อียิปต์ก็สามารถจะเดินเรือไปแสวงหาสินค้าจากอินเดียได้โดยตรง
นักเดินเรือชาวอียิปต์สามารถหาผลประโยชน์จากความลับนี้ได้ไม่นาน
เมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล เมืองอเล็กซานเดรียก็ถูกพิชิตโดยพวกโรมัน
 


ในสมัยโรมันที่ตรงกับอายุตะเกียงโบราณแห่งบ้านพงตึก
เส้นทางการค้ากับอินเดียยังคงมีความสำคัญ
เมืองท่าทั้งสองได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Berinice
ที่สามารถออกเดินทางไปยังอินเดียได้โดยตรง

มีกงสุลที่โรมส่งมาเพื่อดูแลการเก็บภาษี
ส่วนเส้นทางบกที่ไปยังเมือง Coptos ก็มีการทำหลักหินตามเส้นทาง
รวมไปถึงการจ้างกองทหารเพื่อคุ้มกันพวกพ่อค้าจากการถูกดักปล้น
 
ถึงตรงนี้เราน่าจะเห็นภาพการเดินทางของตะเกียงโรมัน
เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6 ว่าเดินทางมาจากโรมันมาถึงบ้านพงตึกได้อย่างไร
ถึงตรงนี้มันจะเกี่ยวข้องกับเรือพนมสุรินทร์ ที่เชื่อกันว่าจม
ในการเดินทางมายังทวารวดีเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 ได้อย่างไร
 
ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 คาบสมุทรอารเบียและอียิปต์
ที่เป็นเส้นทางเชื่อมโลกตะวันตกสู่อินเดียถูกพิชิตโดยพวกอิสลาม
ทำให้ชาวอาหรับกลายเป็นผู้ที่ครอบครองเส้นทางการค้าเครื่องเทศ
 
พวกเค้ายังค้นพบเส้นทางจากคาบสมุทรอาหรับ
ตรงมายังอินโดนีเซียโดยไม่ผ่านอินเดีย
ทำให้ศาสนาอิสลามนั้นแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะ
แทนที่ศาสนาพราหมณ์และพุทธมหายานที่เคยรุ่งเรืองอยู่

ถึงตรงนี้เราสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวระหว่าง
เรือ dhow พ่อค้าอาหรับ ชาวเมืองทวารวดี สินค้านำเข้า
สินค้าส่งออก และแหล่งเรือจมเข้าด้วยกัน
 
ชาวยุโรปเหลืออาณาจักรไบเซนไทน์ที่มั่นสุดท้ายในการค้าเครื่องเทศ
ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 กรุงคอนแสตนติโนเปิลก็ถูกยึดโดยออตโตมัน
บีบให้ยุโรปต้องแสวงหาเส้นทางการค้าใหม่ 
และค้นพบแหลมกู๊ดโฮปที่สามารถใช้เดินทางมาถึงอินเดียได้ในที่สุด

ชาวโปรตุเกสใช้ความรู้จากชาวอินเดียเดินเรือต่อมาถึงแหลมมลายู
และจะพบกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ดังที่ ม.จ. ชาตรี ได้ผูกโยงเข้ากับฉากตอนต้นเรื่องของหนัง
ในฉากทหารองครักษ์ฝรั่งที่ถือปืนยาวล้อมจับพระสุริโยไท
ขณะจะมาเข้าเฝ้ากลางดึกนั่นเอง



Create Date : 13 กรกฎาคม 2566
Last Update : 14 กรกฎาคม 2566 14:19:17 น. 4 comments
Counter : 645 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku, คุณหอมกร, คุณtuk-tuk@korat, คุณnewyorknurse, คุณเริงฤดีนะ, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณอุ้มสี


 


โดย: หอมกร วันที่: 14 กรกฎาคม 2566 เวลา:7:18:35 น.  

 
น้องนกพาไปย้อนอดีต ทวารวดีค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 14 กรกฎาคม 2566 เวลา:13:35:37 น.  

 
อ่านไปจนจบด้วยความเพลิดเพลิน
ชอบๆๆการเดินทาง
ความเจริญรุ่งเรืองยุคและศิลปะทวาราวดี

ตะเกียงน้ำมันอะลาดินสวยงาม

อยากได้ค่ะ ชอบๆๆ

็HappySunday ค่ะ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 16 กรกฎาคม 2566 เวลา:11:25:05 น.  

 
ตะเกียงสวยมากค่ะพี่


โดย: อุ้มสี วันที่: 20 กรกฎาคม 2566 เวลา:0:08:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]