Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
5 เมษายน 2559

เที่ยวเชียงใหม่ 2558 : สวนสัตว์เชียงใหม่ (2)



จากนั้นก็ไปดูพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ บ้านเพนกวิน ต่อไปที่กรงแรด

หลายๆ สวนสัตว์ทั่วประเทศก็มีแรดจัดแสดง แต่ส่วนใหญ่เป็นแรดขาว
ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา แรดของเอเชียมีเพียงหนึ่งเดียวที่นี่
กาลีเป็นแรดอินเดียที่สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนปาล
ได้น้อมเกล้าถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระองค์พระราชทานให้องค์การสวนสัตว์และได้นำมาเลี้ยงไว้ที่
สวนสัตว์เชียงใหม่เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529
ขณะมีอายุได้ 14 เดือน น้ำหนัก 375 กิโลกรัม
โดยไทยได้ส่งช้างกลับไปถวายเพื่อเป็นของขวัญเชื่อมสัมพันธไมตรี

ในเอเชียมีแรดอาศัยอยู่ 3 ชนิดคือ แรดอินเดีย Rhinoceros unicornis
เป็นแรดเอเชียที่ขนาดตัวใหญ่เทียบได้เท่ากับแรดแอฟริกาเลยทีเดียว
ตัวผู้มีความสูง 1.7 เมตร มากสุดถึง 4 เมตร
น้ำหนัก 2200-3000 กิโลกรัม สูงสุดถึง 3500 กิโลกรัม

เอกลักษณ์คือมีรอยหนังพับ 2 ตำแหน่ง คือ ด้านหลังของไหล่
และด้านหน้าสะโพก เคยกระจายตัวในแนวเทือกเขาหิมาลัยตั้งแต่
รัฐปัญจาบในปากีสถานถึงบางส่วนในพม่า และตอนใต้ของจีน
ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นราว 2400 ตัว โดยพบมากในอัสสัม



ในประเทศไทยเคยมีแรดอาศัยอยู่สองชนิด
แรดนอเดียวหรือแรดชวา Rhinoceros sondaicus
และแรดสองนอหรือกระซู่ Dicerorhinus sumatrensis

แรดชวา มีความสูง 1.4-1.7 เมตร น้ำหนัก 900-2300 กิโลกรัม
มีถิ่นอาศัยในภาคพื้นทวีปเอเชีย ตั้งแต่บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา
เวียดนาม มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะชวา มี 3 สายพันธ์ย่อย คือ

Rhinoceros sondaicus inermis เป็นสายพันธ์ย่อยที่พบในอินเดีย
บังคลาเทศ และพม่า เป็นสายพันธ์ย่อยแรกที่ถูกล่าหมดไปเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน

Rhinoceros sondaicus annamiticus เป็นสายพันธ์ย่อยที่อาศัยในพื้นทวีป
ตั้งแต่พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และเวียดนาม ที่เราอาจได้ยินการเล่าลือ
ถึงความชุกชุมในอดีต แต่เมื่อถึงยุคที่เริ่มมีการอนุรักษ์หรือการก่อตั้งสวนสัตว์
ก็ไม่พบรายงานการพบตัวเป็นๆ ในธรรมชาติอีกเลยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475

แต่เชื่อว่าพวกมันยังอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ทางตอนเหนือของเวียดนาม
แต่ผืนป่าดังกล่าวก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามกับสหรัฐ

พ.ศ. 2532 มีการพบรอยเท้าที่เชื่อว่ามีแรดชวาอยู่ในพื้นที่ 15 ตัว
พ.ศ. 2535 ได้รับการประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าก๊าดเตียน
แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดและอยู่ติดกับประเทศจีน นอของมันจึงมีราคาสูงลิ่ว
พ.ศ. 2553 มีการพบซากที่ถูกยิงและถูกตัดนอที่เชื่อว่าเป็นแรดตัวสุดท้าย



แม่แรดชวาจะเชื่อว่าได้สูญพันธ์ไปจากภาคพื้นทวีป แต่บนเกาะที่ห่างไกลยังมีอยู่
พ.ศ. 2426 เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟการากาตั้ว มันรุนแรงมาก
จนกระทั่งปล่องภูเขาไฟที่เคยเป็นเกาะได้หายไป ส่งผลกระทบต่อช่องแคบชวา
ผู้คนจำนวนเสียชีวิต ที่เหลือต้องอพยพออกไป เมื่อไม่มีมนุษย์อยู่อาศัย
บริเวณปลายแหลมของเกาะชวา ได้กลายเป็นสวรรค์ของเหล่าแรดที่เกือบสูญพันธ์

พวกมันมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกครั้ง พ.ศ. 2474 เมื่อแทบไม่มีรายงานการพบแรดชวา
ในภาคพื้นทวีปอีกเลย เป็นตัวกระตุ้นให้เจ้าอาณานิคมดัตช์ประการให้อูจุงกูลน
เป็นเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าเพื่อการห้ามล่าแรดในธรรมชาติต่อไป

พ.ศ. 2510 มีการสำรวจแรดในธรรมชาติเป็นครั้งแรก พบว่ามีราว 25 ตัว
พ.ศ. 2523 มีการสำรวจประชากรแรดเป็นครั้งที่สอง พบว่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว
การตั้งกล้องดักถ่ายภาพแรดเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากในพื้นที่ราบต่ำชื้นแฉะ
และมีข้อมูลอยู่น้อยมาก ในที่สุดก็ได้ภาพแรดท้องแก่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549

เป็นหลักประกันว่า แม้จะอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธ์แต่ก็ยังคงจะพอไหว

แรดชนิดที่สาม และพบได้ในประเทศไทยก็คือกระซู่ Dicerorhinus sumatrensis
อยู่ในสถานภาพที่ดีกว่าแรดชวา ด้วยยังพบกระจายอยู่ใน 5 เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า
ทั้งในคาบสมุทรมาลายา เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา รวมกันราว 80-90 ตัว
นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามีอยู่ในพม่า และเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียวของไทย

ในอดีตประเทศไทยเคยได้รับกระซู่จากพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย
มีการจัดแสดงอยู่ที่สวนสัตว์ดุสิตจนกระทั่งตายลงในปี พ.ศ. 2529

คำถามคือ ทำไมเดี๋ยวนี้ในสวนสัตว์มีแต่สัตว์ป่านำเข้าจากแอฟริกา
ก็เพราะว่ามันสามารถจัดซื้อได้ตามระเบียบของราชการนั้นเอง
คงไม่มีใครจะเสี่ยงคุกเสี่ยงเสี่ยงตารางจัดหาสัตว์ป่าจากในประเทศแล้ว
สัตว์ป่าที่เป็นของประเทศไทยในปัจจุบัน จึงเป็นสัตว์ที่เกิดสวนสัตว์ทั้งนั้น


เกร็ดความรู้

ในรูปจะเห็นนกยูงอยู่ในกรงแรดด้วย นกยูงก็เป็นหนึ่งในนกที่พบในสวนสัตว์
มีเยอะจนปล่อยให้เดินเพ่นพ่าน ดูเหมือนๆ กัน แต่ความจริงมี 2 สายพันธ์
คือนกยูงอินเดียจะมีขนบนหัวเป็นรูปพัดสีน้ำเงิน
และอีกสายพันธ์คือนกยูงไทยที่หัวจะเป็นจุกขนเป็นสีเขียว



Create Date : 05 เมษายน 2559
Last Update : 8 เมษายน 2559 9:35:37 น. 5 comments
Counter : 1360 Pageviews.  

 
สวัสดีค่ะ...

เคยไปเที่ยวสวนสัตว์เชียงใหม่ 4-5 ครั้งเองค่ะ

ต้นไม้เยอะดี


โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 5 เมษายน 2559 เวลา:17:48:32 น.  

 
เหมือนใส่เสื้อเกราะเลยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 เมษายน 2559 เวลา:20:03:04 น.  

 
ทุกปีมีไฟล์ทบังคับต้องไปเลยค่ะ สวนสัตว์เชียงใหม่
สมัยก่อนเป็นที่เที่ยวสหฯ คือใครเที่ยวก็ได้
แต่ตนนี้ คนไม่มีเงินเที่ยวไม่ได้ละคะ่ แพงจัง ค่าเข้า ค่าโน่น นี่ นั่น แหะ ๆ
แต่ก็ต้องไปเสียตังอยู่ทุ๊กกกกกที
ขอบคุณที่แวะไปนะคะ


โดย: mariabamboo วันที่: 7 เมษายน 2559 เวลา:8:54:16 น.  

 
โอ้ว ดีจัง เพิ่งรู้ว่าสวนสัตว์เชียงใหม่มีแรดด้วยอ้ะ เป็นแรดพระราชทานอีกต่างหาก

ขอบคุณทีเ่อามาแบ่งปันนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 7 เมษายน 2559 เวลา:12:49:37 น.  

 
วันนี้ได้ความรู้เรือง "แรด" ค่ะ


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
zungzaa Literature Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
peeamp Literature Blog ดู Blog
sawkitty Diarist ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
กาบริเอล Travel Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 7 เมษายน 2559 เวลา:21:46:35 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]