Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
23 พฤศจิกายน 2566

อยุธยา : วัดกษัตราธิราช



ผมไม่ได้สนใจวัดนี้โดยตรง จึงขอกล่าวถึงแบบสั้นๆ
ว่าเป็นวัดที่อยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาทางฝั่งตะวันตก
ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่ได้มีการกล่าวถึงวัดนี้
มีเพียงข้อสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่ตั้งค่ายของพม่าในคราวสงคราม

เมื่อเสียกรุงฯ วัดนี้ก็ร้างลง จนกระทั่งได้รับการบูรณะ
ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยเจ้าฟ้าอนุรักษ์เทเวศร์ (วังหลัง)
เรามาวัดนี้เพื่อที่จะตามหาอาคารหลังหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในงาน

Night at the Museum 11 Night Talk
ของ museum siam เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 ในช่วง
แค่ยกย้ายแต่ไม่สลายสูญท้องพระโรงวังพระองค์เจ้างอนรถ
จากมิวเซียมสยามสู่วัดราชา โดยคุณ โลจน์ นันทิวัชรินทร์

พื้นที่เดิมของมิวเซียมสยามมีความสำคัญเป็นอย่างมาก 
เพราะอยู่ตรงข้ามกับปากคลองบางหลวง
ซึ่งเดิมเป็นด่านขนอนเก็บภาษี เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาได้ปรับปรุง
ให้มีความแข็งแรง เรียกว่าป้อมวิไชเยนทร์

ฝั่งตรงข้ามได้ก่อสร้างป้อมที่มีขนาดใหญ่กว่าเป็นรูป 5 แฉก
เรียกว่าป้อมบางกอก รักษาการโดย เชวาเลียร์ เดอ ฟอร์บัง
มีความสำคัญเมื่อคราวเกิดกบฏมักกะสัน เจ้าพระยาวิชเยนทร์
สั่งให้ฟอร์บังจับแขกมะกะสัน ที่กำลังจะออกจากกรุงศรีอยุธยา

และเหตุการณ์ที่สำคัญต่อมา เมื่อผลัดแผ่นดินเข้าสู่สมัยพระเพทราชา
พระองค์ได้ส่งทหารกรุงศรีอยุธยามารบกับฟอร์บัง การล้อมที่ยืดเยื้อ
กว่าแรมปี จบลงด้วยการที่สยามยอมให้ฝรั่งเศสลงเรือออกจากป้อมไป
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก พระเพทราชาสั่งให้รื้อป้อมบางกอกลง




พ.ศ. 2374 รัชกาลที่ 3 ทรงต้องการจะบูรณะและขยายวัดโพธิ์ออกไป
จึงโปรดให้รื้อวังริมวัดโพธิ์ออก เพื่อสร้างเป็นวิหารพระนอน
หากใครเคยอ่าน จดหมายเหตุความทรงจำ กรมหลวงนรินทรเทวี
วังนี้ก็คือที่อยู่ของเจ้าครอกวัดโพธิ์นั่นเอง

รวมถึงบ้านขุนนางบริเวณนั้น เหลือเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมระหว่างถนน
ทรงพระราชทานไม้ที่รื้อออกมาจากพระบรมมหาราชวัง
จากอาคารครั้งตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 มาสร้างวังให้พระราชโอรส
 เรียกว่าวังท้ายวัดโพธิ์ ประกอบไปด้วยวังของ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมาตาพิทักษ์ (พระองค์เจ้าศิริวงศ์)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ (พระองค์เจ้าโกเมน)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ (พระองค์เจ้าคเนจร)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้างอนรถ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี (พระองค์เจ้าลดาวัลย์)

พระองค์แรกประสูติในปี พ.ศ. 2355 ในเวลานั้นก็มีพระชันษาราว 20
ส่วนที่เหลืออีก 4 พระองค์ ประสูติในปี พ.ศ. 2358
การบูรณะวัดโพธิ์นั้นเป็นงานใหญ่ใช้เวลากว่า 16 ปี
โดยมีเจ้านายวังท้ายวัดโพธิ์เป็นแม่งานสำคัญ

โดยพระองค์เจ้างอนรถ เป็นผู้บูรณะพระระเบียง 4 ทิศ
พระองค์เจ้าศิริวงศ์ พระองค์เจ้าโกเมน พระองค์เจ้าคเนจร
เป็นช่างมุกสร้างและประดับประตูหน้าต่างของพระวิหารหลวง
พระองค์เจ้าลดาวัลย์ เป็นผู้สร้างวิหารและปิดทองพระนอน



สมัยก่อนไม่มีสถานที่ราชการ ที่ทำงานก็คือวังเจ้านาย
วังจึงต้องมีท้องพระโรงเพื่อให้ขุนนางเฝ้า
ท้องพระโรงวังเจ้าฟ้าก่ออิฐถือปูนและมีใบเสมาประดับกำแพง

ส่วนท้องพระโรงวังพระองค์เจ้าเป็นอาคารไม้ขนาด 5 ห้อง
แบ่งได้เป็นสองส่วนโดยมีฉากกั้นในแนวตามยาวของตัวอาคาร
ฝั่งหนึ่งเจ้านายประทับว่าราชการ อีกฝั่งให้ขุนนางมาเฝ้า
ยกเว้นท้องพระโรงของพระองค์เจ้างอนรถที่กั้นพระฉากในแนวขวาง

ต่อมานิยมอาคารแบบตะวันตก ธรรมเนียมก่ออิฐถือปูนจึงถูกละไป
เช่นท้องพระโรงวังท่าพระของสมเด็จเจ้าฟ้าพระยานริศนรานุวัติวงศ์
ที่แม้จะก่ออิฐถือปูน แต่รูปแบบอาคารก็เป็นแบบชั้นพระองค์เจ้า

เมื่อท้องพระโรงวังท่าพระปรับมาเป็นแบบก่ออิฐถือปูนแล้ว
ท้องพระโรงของวังชั้นพระองค์เจ้าที่ยังเป็นอาคารไม้
และอยู่ในตำแหน่งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน จึงเหลือเพียงท้องพระโรง
วังบ้านหม้อของพระองค์เจ้ากุญชรในรัชกาลที่ 2 เพียงหลังเดียวเท่านั้น

ลุถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองก็ขยายออกไป วังเจ้านายก็ย้ายตาม
วังเจ้านายที่ใช้เงินแผ่นดินสร้างถือเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน
เมื่อเจ้านายองค์ใดสิ้นก็เป็นพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์
ในเวลานั้น ที่จะโปรดให้ผู้ใดไปครองวังต่อ

เมื่อกลุ่มวังท้ายวัดโพธิ์ไม่มีผู้สืบทอดที่จะครองอาคารนี้ได้
วังจึงต้องทิ้งร้างลง พื้นที่เมืองชั้นในถูกใช้เป็นสถานที่ราชการ
อันเป็นรูปแบบการปกครองแบบตะวันตกแทน ตำหนักทั้ง 5 ถูกรื้อย้าย
กลายมาเป็นที่ตั้งของกระทรวงพาณิชย์เป็นเวลาอีกกว่า 80 ปี




แล้วท้องพระโรงพระองค์เจ้ากลุ่มวังท้ายวัดโพธิ์ทั้ง 5 หลังหายไปไหน

เรามีข้อมูลของท้องพระโรงที่ถูกรื้อย้ายไปเพียง 3 หลัง
หลังที่มีประวัติชัดที่สุด คือ วังพระองค์เจ้างอนรถ
โดยกล่าวไว้ในหนังสือบันทึกของ มจ. แดง งอนรถ ว่า

พ.ศ. 2451 รัชกาลที่ 5 โปรดให้มีการบูรณะวัดราชาธิราช
ทรงระลึกได้ว่าท้องพระโรงของพระองค์เจ้างอนรถนั้นงดงาม
ปัจจุบันไม่มีผู้ดูแลรักษาจึงโปรดให้รื้อมาถวายเป็นหอสวดมนต์

วัดปรินายกที่มีพระประธานสมัยสุโขทัยอันงดงาม
ข้างๆ โบสถ์นั้นมีอาคารไม้ตั้งอยู่ โดยมีความสูงจากพื้นไม่มาก
ซึ่งเป็นระดับเดียวกับการตั้งของรูปแบบอาคารเดิม
นั่นคือท้องพระโรงของวังพระองค์เจ้าศิริวงศ์

ซึ่งอาคารทั้งสองหลังนี้ไปไม่ยาก ด้วยตั้งอยู่กลางกรุงเทพ
จึงเหลือเพียงหลังสุดท้าย อันเป็นที่เป็นที่มาของการเดินทางในครั้งนี้
ท้องพระโรงวังพระองค์เจ้าอุไร ได้ถูกถวายมาเป็นกุฏิเจ้าอาวาส
ที่วัดกษัตราธิราช นอกเกาะเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา

เราถามหาท้องพระโรงหลังนี้กับพระที่อยู่ในอุโบสถ
และได้เส้นทางมาว่าอยู่ในเขตสังฆาวาส ก็ได้รูปมาดังที่เห็น
หากเป็นผู้หญิงก็ไม่น่าจะเข้าไปได้ ดังนั้นคงต้องชมภาพก็แล้วกัน



พ.ศ. 2548 เมื่อกระทรวงพาณิชย์ย้ายไปอยู่ที่สนามบินน้ำ
ได้มอบพื้นที่นี้ให้กับกรมธนารักษ์ซึ่งให้คณะโบราณคดี ม. ศิลปากร
เข้ามาขุดค้นบริเวณนี้ซึ่งทำให้เห็นแนวโครงสร้างด้านใต้ที่เคยเป็นวัง
ก่อนที่จะมีการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

พ.ศ. 2554 ได้มีการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินส่วนต่อขยาย
จากหัวลำโพงถึงท่าพระ ผ่านพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์
ทำให้ต้องมีการดำเนินการทางโบราณคดี

โบราณวัตถุที่ขุดได้บอกเล่าเรื่องราวของพื้นที่นี้
ตั้งแต่สมัยเป็นป้อมบางกอกจนถึงเป็นช่วงเวลาของกลุ่มวังท้ายวัดโพธิ์
ถูกจัดแสดงอยู่ที่ในสถานีสนามไชย สามารถไปรับชมกันได้ทุกวันเลย



Create Date : 23 พฤศจิกายน 2566
Last Update : 28 ธันวาคม 2566 8:59:13 น. 3 comments
Counter : 576 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว


 
มาอ่านเรื่องในเมืองกรุง
ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา:15:39:53 น.  

 
เคยได้เดินดูที่สถานีสนามไชยอยู่ค่ะ

***พ.ศ. 2574 สมัยรัชกาลที่ 3...น่าจะเป็น พ.ศ. 2374 หรือเปล่าคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา:15:59:49 น.  

 


โดย: หอมกร วันที่: 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา:17:39:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]