Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กรกฏาคม 2566
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
10 กรกฏาคม 2566

พระพุทธสิหิงค์ : วัดโคกขาม

 

จาก blog ก่อนหน้าที่มีการเล่าเรื่องพระพุทธสิหิงค์
ซึ่งหากจะย้อนความสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ มักจะมีข้อเขียนว่า
พระพุทธสิหิงค์ในเมืองไทยที่มีหลายองค์ องค์ใดคือองค์จริง

กรุงเทพ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช และองค์ที่ 4 วัดโคกขาม
ซึ่งในความคิดผมนั้น เชื่อว่าเรายังไม่รู้ว่าองค์ใดที่เป็นองค์จริง

รู้เพียงว่าองค์ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ วัดพระสิงห์
ด้วยเป็นเพียงองค์เดียวที่มีพุทธลักษณะตรงตามตำนาน
และตามหลักฐานนั้นพบพระพุทธสิหิงค์ที่เป็นองค์จริงครั้งสุดท้าย
คือทัพเมืองเชียงใหม่ได้อัญเชิญกลับไปคราวสงครามสียกรุงศรีอยุธยา
 
นอกจากนครศรีธรรมราชที่ไกลเกิน ก็เหลือวัดโคกขามที่ผมยังไม่เคยไป
ความจริงวัดนี้ไปไม่ยาก แต่ก็ใช้เวลานานมากกว่าที่คิดจะไป
วันนี้ที่ได้มาก็เพราะว่าเป็นทางผ่านไปถ่ายนกที่สะพานแดง
 
เริ่มกันที่สถานที่ตั้งของวัดนี้ ที่ตั้งอยู่ที่ริมคลองโคกขาม
อันเป็นตำนานของพันท้ายนรสิงห์ที่โดนประหารชีวิต
ด้วยความสัตย์ซื่อถือสุจริตในหน้าที่ของตน
ที่พบต้นเรื่องครั้งแรกจากพงศาวดารฉบับพระวันรัตน์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ 
 
ในขณะที่พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศในสมัยกรุงธนบุรีที่เก่ากว่า
กล่าวเพียงว่าพระเจ้าท้ายสระโปรดให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กลอง
นำไพร่เมืองปักษ์ใต้หกหมื่นเศษ ไปขุดคลองโคกขามให้ลัดเป็นเส้นตรง
มีความกว้าง 8 วา ลึก 5 วา ใช้เวลา 3 เดือนจึงแล้วเสร็จ
 


คำถามแรกคือ ความสำคัญของคลองนี้
คลองโคกขามในปัจจุบันอาจเรียกว่า คลองมหาชัย
ต้นคลองนั้นเริ่มต้นที่คลองด่าน เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยง
กรุงศรีอยุธยากับหัวเมืองทางใต้อย่างเพชรบุรี ที่เรือเดินทางมีขนาดเล็ก
ต้องอาศัยแม่น้ำลำคลองกำบังคลื่นลม จนกระทั่งไปออกทะเลที่แม่กลอง
 
พระพุทธสิหิงค์องค์นี้มีจารึกที่ฐาน 
เป็นอักษรไทย ภาษาไทยสมัยอยุธยา นายประสาร บุญประคอง
ได้ไปอ่านจารึกที่วัดโคกขาม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2521 ความว่า
 

พุทธศักราช 2232 พระสากับเดือน 1 กับ 25
วันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเมีย โทศก
พระญาณโชตได้ถาปนาพระสิหิคะองค์นี้
เป็นทอง ๓๗ ชั่ง ขอเป็นปัจจัยแก่นิพาน

 
พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร
รูปแบบศิลปกรรมนั้นตรงกับพระพุทธสิหิงค์ของล้านนา
ต่างกันที่พระวรกายอวบอ้วน พระแบบนี้พบที่ทางใต้
มีชื่อเรียกว่าพระขนมต้ม เช่นเดียวกับองค์ที่นครศรีธรรมราช
 
เทียบศักราชจารึกนั้นตามฉบับพันจันทนุมาศ
ตรงกับรัชกาลของพระเพทราขาที่ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2225
และมีกบฏเจ้าพระยายมราชเมืองโคราชที่ต้องใช้เวลา 3 ปี ในการปราบ

เหตุการณ์ต่อมาคือ พ.ศ. 2236 กรมการเมืองไชยา มีใบบอกขึ้นมาว่า
พบเจ้าพระยายมราชหนีมานครศรีธรรมราชและรวบรวมผู้คนขึ้น 
พระเพทราขาจึงโปรดให้พระยาเดโช พระท้ายน้ำลงไปปราบปราม
เจ้าพระยายมราชตายในที่รบ กองทัพกรุงศรีเข้าเมืองนครศรีธรรมราชได้
 


กลับไปสิ่งก่อสร้างของวัด ดูจากศิลปกรรมได้แก่ พระประธาน
พบว่ามีพระโอษฐ์เหมือนครุฑที่พบได้สมัยหลังพระเจ้าปราสาททอง
ตัวโบสถ์ก่อนการบูรณะที่มีการแอ่นโค้งทรงสำเภา
เจดีย์คล้ายกับวัดมเหยงค์ที่บูรณะสมัยพระเจ้าท้ายสระ

และที่เราชอบดูกันเพราะมันมักจะทำขึ้นพร้อมวัดเสมอ
ก็คือใบเสมาที่เป็นหินสีขาวใบยาวเอวคอด มีจุกที่ยอด
มีเส้นตรงกลางที่เรียกว่าตาบ ตรงกลางตาบมีสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน
เรียกว่าทับทรวงเทียบได้กับวัดโพธิ์ประทับช้างที่สร้างในสมัยพระเจ้าเสือ
กำหนดได้ว่าเป็นใบเสมาสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง
 
ทั้งหมดโดยรวมนี้เป็นเวลาร่วมสมัยกันที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาปลาย
เมื่อเชื่อมโยงกับเรื่องการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าท้ายสระ
เป็นไปได้ว่า วัดนี้เกิดขึ้นหลังจากการขุดคลองโคกขามให้ลัดตรงนั่นเอง

สิ่งที่น่าสนใจ คือพระประธานและเจดีย์ที่วัดนี้ไม่เหมือนฝีมือช่างท้องถิ่น
แต่เหมือนมีการใช้ช่างที่ส่งตรงมาจากเมืองหลวง
และการมีพระพุทธสิหิงห์จำลองปรากฏ
ทำให้ผมคิดว่าวัดโคกขามนี้อาจจะจะเป็นวัดสำคัญ
 
เมื่อย้อนกลับไปนึกถึงตำหนักทองที่คลองด่าน
ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นที่ประทับแรมเวลาเสด็จประพาสชายทะเล
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ที่นี่ก็อาจจะมีความสำคัญในแบบเดียวกัน
ในระยะทางที่เป็นกึ่งกลางก่อนถึงปากน้ำเมืองสาครบุรี

แต่เมื่อเทียบกับโบสถ์ที่ดูธรรมดา ข้อสันนิษฐานนี้ก็ดูจะขาดน้ำหนักไป
 


พระพุทธสิหิงค์องค์นี้ยังมีมุขปาฐะที่น่าสนใจ กล่าวไว้ว่า


ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา พระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช 
ไม่ยอมเข้าถือน้ำพิพัฒน์สัตยาถือว่าแข็งเมือง
จึงโปรดให้พระยาสุรสงคราม และพระยาราชวังสัน
ซึ่งเป็นสหายรักของพระยารามเดโชเป็นแม่ทัพยกไปปราบ
 
พระยารามเดโชมีหนังสือไปถึงพระยาราชวังสันขอเปิดทางให้ตนหนี
แล้วได้นำพระพุทธรูปองค์นี้ติดไปด้วย แล้วไปพำนักอยู่ที่ตำบลโคกขาม
โดยได้สร้างวัดและบวชเป็นพระ เนื่องจากสัมฤทธิ์ผลตามที่ปรารถนา
จึงเรียกพระพุทธสิหิงค์องค์นี้ว่า หลวงพ่อสัมฤทธิ์สืบมาจนถึงปัจจุบันนี้

 
แม้ตามตำนานชื่อผู้สร้างจะไม่ตรงกับในจารึกที่น่าจะเป็นพระสงฆ์
แต่เรื่องนี้คุ้นๆ มากหากเอาพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศมาลองเทียบ
ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือมุขปาฐะนี้มีมาก่อน พ.ศ. 2521 หรือไม่
ถ้าใช่ก็ตรงกันอย่างน่าประหลาด หรือหากเป็นหลังจากนั้น
ผู้สร้างตำนานก็คงมีความรู้เรื่องพงศาวดารมากในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
 
ในเวลาที่ผมไปนี้พระพุทธสิหิงค์องค์จริงก็ยังอยู่ในกุฏิ
รอให้วิหารสร้างเสร็จ แต่ถ้าใครรอไม่ไหว
ก็สามารถชมพระพุทธรูปองค์จริงนี้ได้ใน 2 เทศกาล
คือช่วงสงกรานต์และช่วงงานประจำปี จะมีการอัญเชิญองค์จริงลงมา



Create Date : 10 กรกฎาคม 2566
Last Update : 11 กรกฎาคม 2566 9:23:20 น. 5 comments
Counter : 693 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณtuk-tuk@korat, คุณเริงฤดีนะ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณkae+aoe, คุณ**mp5**, คุณnewyorknurse


 
จำได้ว่าถ้าจะไปศาลพันท้ายฯ จะต้องผ่านวัดโคกขามใช่มั๊ยครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 10 กรกฎาคม 2566 เวลา:13:48:37 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีพร้อมภาพประกอบจ้า
พรุ่งนี้มาส่งโหวตนะ งบหมดแล้ววันนี้



โดย: หอมกร วันที่: 10 กรกฎาคม 2566 เวลา:13:58:51 น.  

 
อาจจำลองจากพระพุทธสิหิงส์จากทางใต้ก็ได้เนาะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 10 กรกฎาคม 2566 เวลา:14:08:28 น.  

 
อคยไปกราบที่วัดพระสิงห์ส ่ำเสมอ
ไม่ได้นึกว่ามีหลายองค์
สึกแค่ว่าชื่อเหมือนกัน

ขอบคุณสำหรับการวิเคาระห์ข้อมูล


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 10 กรกฎาคม 2566 เวลา:17:37:47 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 13 กรกฎาคม 2566 เวลา:14:18:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]