Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
26 มิถุนายน 2552

พระนครศรีอยุธยา : หมู่บ้านญี่ปุ่น




หากย้อนกลับไปอ่านบลอคที่ผมเขียนเรื่องเมือง Hiroshima
จะเห็นว่าช่วงปี 1600 เป็นปีแห่งขุนศึก มีสงครามใหญ่คือ Sekigahara
Tokugawa Ieyasu เป็นผู้ชนะ เป็นยุครุ่งเรืองแห่งซามูไร
มีการก่อสร้างปราสาทจำนวนมาก และช่วงนี้เองที่ญี่ปุ่นได้มีการติดต่อค้าขาย
กับไทยอย่างเป็นทางการ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ชุมชนชาวญี่ปุ่นจึงได้ถือกำเนิดขึ้นบริเวณตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา
มีความกว้างเลียบแม่น้ำ 1 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามกับหมู่บ้านโปรตุเกส





สมัยอยุธยามักใช้ชาวต่างชาติเป็นทหารอาสาในยามศึก
และเป็นทหารองครักษ์ในยามสงบ เพราะเหตุใดคงไม่ต้องอธิบาย
ผู้นำของหมู่บ้านญี่ปุ่นที่ทุกคนรู้จักและมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง
คือ ออกญาเสนาภิมุข ซึ่งเข้ามาในสมัยพระเอกาทศรถ

จดหมายเหตุของวันวลิตได้กล่าวไว้ว่า คราวที่ออกญากลาโหม
ยึดอำนาจจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช ได้มาสอบถามความออกญาเสนาภิมุข
ว่าจะยกพระอาทิตย์วงศ์ขึ้นครองราชย์แทนนั้น ท่านมีความเห็นเป็นประการใด
แสดงว่าในช่วงนั้นท่านต้องเป็นขุนนางที่ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งคำตอบคือ ไม่ขัดข้อง
และควรที่ออกญากลาโหม จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์





เมื่อออกญากลาโหม ได้เป็นผู้สำเร็จราชการก็เพ็ดทูลว่าออกญาจักรี
เป็นผู้ปลงพระชนม์พระเชษฐาธิราช จึงถูกสั่งประหารชีวิต
ขณะนั้นเมืองนครศรีธรรมราชติดศึกกับฮอลันดา ออกญากลาโหม
ก็เพ็ดทูลพระอาทิตย์วงศ์ว่าเจ้าเมืองนครนั้นก่อกบฏไม่ยอมมาเข้าเฝ้า
จึงสั่งให้ออกญาเสนาภิมุขและชาวญี่ปุ่นทั้งหลายในอยุธยา
ไปปราบกบฏและให้อยู่เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชแทน

ครั้นรบได้ชัยชนะ ออกญาเสนาภิมุขก็ส่งใบบอกมายังเมืองหลวง
แต่ตอนนั้นออกญากลาโหมได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าปราสาททอง
ไปเรียบร้อย แล้วทำลายหมู่บ้านญี่ปุ่นจนราบคาบแล้ว
ช่วงสุดท้ายของชีวิต ออกญาเสนาภิมุขไปปราบกบฏที่เมืองปัตตานี
ได้รับบาดเจ็บ และต่อมาก็เสียชีวิตลง




ที่ญี่ปุ่นในเวลาเดียวกัน Tokugawa Ieyasu ได้เสียชีวิตลงในปี 1633
Tokugawa Iemitsu ก้าวขึ้นสู่อำนาจในปราสาท Edo
ท่านได้ประกาศปิดประเทศ ที่ยาวนานจวบจนถึงยุคเมจิ
จึงเป็นการยุติการค้าขาย การนำเข้าความรู้และวิทยาการจากโลกภายนอก
เหลือจำกัดเหลือเพียงกับประเทศจีนและเนเธอร์แลนด์ในเมือง Nagasaki


นี่คือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการและการจบลง
ด้วยระยะเวลาอันแสนสั้นระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ในสมัยอยุธยา





ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา เกิดจากความร่วมมือระหว่าง
สมาคมไทย - ญี่ปุ่น และ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินสนับสนุน จำนวน 999 ล้านเยน
เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ความสัมพันธ์การทูต เมื่อปี พ.ศ.2530

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ความสัมพันธ์ทางการทูตก็ครบรอบ 120 ปี
จึงมีการปรับปรุงอาคารและปรับนิทรรศการภายในใหม่ทั้งหมด
ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
เพื่อทรงทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2551





บริเวณอาคารแบ่งการจัดแสดงสิ่งต่างๆ ได้แก่

1. ห้องวีดิทัศน์ เกริ่นนำเรื่องราวของชาวญี่ปุ่นในอยุธยา
2. แผนที่เดินเรือมายังกรุงศรีอยุธยา
3. ความรุ่งเรืองของพระนครศรีอยุธยา ผ่านแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ
4. แผนที่ Iudea วาดขึ้นในช่วงที่สถานที่สำคัญต่างๆ ยังอยู่ครบสมบูรณ์
5. แผนที่จากหนังสือของ เดอ ลาลูแบร์
6. ภาพถ่ายทางอากาศเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน
7. การจำลองสินค้านำเข้าและส่งออกในสมัยอยุธยา
8. ชุมชนชาวต่างชาติในกรุงศรีอยุธยา
9. ชุมชนชาวญี่ปุ่นในพระนครศรีอยุธยา ในรูปแบบของ annimation
10. ลำดับเหตุการณ์ความสัมพันธ์ไทย - ญี่ปุ่น

นอกจากนี้ยังมีห้องสมุด สวนญี่ปุ่น ร้านจำหน่ายสินค้าริมน้ำ ค่าเข้าชมคนละ 50 บาท






Create Date : 26 มิถุนายน 2552
Last Update : 1 มิถุนายน 2553 14:11:53 น. 7 comments
Counter : 3073 Pageviews.  

 
กำลังว่าจะไปอยุธยาค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:15:41:38 น.  

 
ไปมาหนึ่งวันยังไปวัดไม่ทั่วเลย
แนะนำไปค้างซักคืนนึงจะดีกว่า


โดย: VET53 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:16:18:28 น.  

 
ได้มาศึกษาประวัติศาสตร์ ข้อมูลระเอียด อ่านเข้าใจง่าย
ขอบคุณมากๆค่ะ


โดย: YUCCA วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:16:45:53 น.  

 
สวัสดีค่ะ
จากบล็อก .... จะได้นั่งกินนอนกินนะคะ
เห็นคนแก่รอบ ๆ ตัว แล้วก็ไม่อยากเหมือนกันค่ะ
ตุ๊กค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:14:12:09 น.  

 
ค่าเข้าชมแพงไหมครับ
ผ่านไปหลายครั้ง ก็ว่าจะเข้าไปหลายที ก็ได้แค่ว่าจะ
ยังไม่เคยเข้าไปชมเลยสักทีครับ


โดย: NATSKI13 วันที่: 28 มิถุนายน 2552 เวลา:22:49:01 น.  

 
เคยเข้าไปเพราะอยากเห็นสวนญี่ปุ่น ปรากฏว่าไม่มี

ควรสร้างบ้านตัวอย่างสไตร์ญี่ปุ่น เพราะที่ดินกว้างขวางมาก ไม่เหมาะที่จะเรียก "หมู่บ้าน "ค่ะ เจ้าของดูเหมือนจะเป็นขาวญี่ปุ่นที่อยู่ในร้านวัยเกษียณ์ที่ต้องการเเต่จะขายสินค้าเท่านั้น


โดย: YUCCA วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:1:23:07 น.  

 
คุณ NATSK113 50 บาทครับ อย่างน้อยได้รู้ว่า สินค้าส่งออกสมัยอยุธยา
ที่จำเป็นมากต่อซามูไรญี่ปุ่นก็คือ... นี่ก็คุ้มแล้ว

คุณ YUCCA เข้าใจผิดหรือเปล่าครับ คำว่าหมู่บ้านญี่ปุ่น หมายความว่าที่นี่ในอดีตคือ ที่นี่คือที่ตั้งของหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นในอยุธยา ตะหาก ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เราเรียนรู้ว่า ในอดีตชาวญี่ปุ่นมาทำอะไรในที่แห่งนี้


โดย: VET53 วันที่: 30 มิถุนายน 2552 เวลา:8:10:17 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]