Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
19 มิถุนายน 2558

แปร๋นท่องกรุง : ถอดรหัสความรู้เรื่องช้าง (ภาคผนวก 2)

Untitled

เพื่อหาคำตอบในเรื่องนี้ ผมซื้อหนังสือพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์
เขียนโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มาเพื่อตามหาเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ช้างสำคัญที่ขึ้นระวางในช่วง 2 รัชกาลแรก มีปรากฏดังนี้
รัชกาลที่ 1 จำนวน 10 ช้าง คือ

พระบรมไกรสร (บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ )
พระอินทรไยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี
พระบรมคชลักษณ์ (อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์
พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์

รัชกาลที่ 2 จำนวน 6 ช้างคือ
พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์
(คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์
ขีดเส้นใต้เพื่อให้เห็นว่า เผือกเอกมีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา เหนือกว่าเผือกโทและตรี

แม้ไม่มีหลักฐานที่เด่นชัดว่า เป็นพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 3 หรือไม่
ในการที่จะทรงโปรดให้มีการตามหาช้างเผือก เพราะคงไม่มีการบันทึกไว้
แต่เราสามารถอ่านได้ในข้อความระหว่างบรรทัดของพงศาวดารเมื่อ

กรมการเมืองนครราชสีมาบอกลงมาว่าได้ช้างพลายช้าง 1 สูง 3 ศอก 1 คืบ 1 นิ้ว
เดิมเป็นช้างดำตามธรรมเนียม ครั้นใช้สอบมาหลายปีก ก็ลอกขาวออกไปทั้งตัว
แต่จักษุ เล็บ ขน หาง เหมือนช้างดำตามธรรมเนียม รับสั่งให้ส่งลงมา
ได้ทอดพระเนตรโปรดว่าสีขาวเหมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ทั้งตัว

ขัดแต่จักษุ เล็บ ขน ไม่เป็นอย่างสีตัว ถ้าจะว่าตามธรรมเนียมโบราณ
ช้างเผือกงาดำก็มี นี่จะเป็นช้างเผือกหางดำจะไม่ได้ฤา
ครั้งนั้นผู้ใดจะกราบทูลว่า กลิ่นตัวเหม็นคาวเป็นช้างโรคก็ได้ไม่
โปรดให้สมโภชที่โรงหน้าพระที่นั่งสุทธาสวรรย์แล้วพระราชทานขึ้นระวางเป็น

พระยามงคลนาคินทร

ในรัชกาลนี้มียังมีการขึ้นระวางช้างสำคัญเป็นจำนวนมากถึง 20 เชือก ได้แก่
พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์
พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร
พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์

พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์
พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช
พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ


Untitled


ช้างทั้งหมดเป็นช้างสีประหลาด งาประหลาด หรือนิ้วครบ
ตลอดรัชกาลไม่มีการพบช้างเผือกเลย

ดังนั้นในข้าบดินทร์ จึงไม่มีทางที่พ่อเหมจะคล้องได้ช้างเผือกเอก

ในปลายรัชกาลการสร้างพระปรางค์วัดอรุณได้สำเร็จลง
มีการร่ำลือกันว่าพระองค์โปรดเกล้าให้นำมงกุฏของพระประธานวัดนางนอง
มาประดับไว้บนยอดนพศูล ผมไม่รู้ว่าเรื่องนี้จริงเท็จประการใด
เพราะปรกติแล้วการก่อสร้างจะต้องมีการเตรียมการมาเป็นอย่างดี

ก่อนหน้านี้ผมจึงปฏิเสธ ส่วนหนึ่งเพราะนพศูลที่เห็นเล็กๆ บนยอดนั้น
หากนำลงมามันจะมีความสูงกว่า 3 เมตร ดังนั้นมงกุฏนั้นย่อมใหญ่
เกินกว่าที่จะเคยสวมอยู่บนพระประธานหน้าตักขนาดไม่กี่ศอกได้
แต่ไม่นานความเชื่อของผมก็เปลี่ยนไป เมื่อพระปรางค์นั้นทรุด

ทำให้กรมศิลปากรต้องทำการตรวจสอบเพื่อบูรณะเสริมความแข็งแรง
การนี้จึงต้องมีการนำมงกุฏบนยอดลงมา เป็นโอกาสพิเศษมาก
ที่เราเองก็ไม่รู้ว่าในชีวิตที่เหลืออยู่นี้จะได้เห็นมงกุฏแบบใกล้ชิดอีกหรือไม่
เมื่อเปรียบเทียบขนาดกับเจ้าหน้าที่ทำให้เห็นว่าคำกล่าวอ้างนั้นมีความเป็นไปได้

เพราะมงกุฏมีขนาดไม่ใหญ่อย่างที่เคยคิด ทำจากทองคำประดับอัญมณีมีค่า
ขนาดเล็กพอที่จะสวมบนเศียรพระประธาน


Untitled


กลับไปในสมัยปลายรัชกาล การขอยีมของสำคัญที่อยู่ถึงบนเศียรพระพุทธรูป
จึงแปลความได้ว่าเป็นการตัดสินใจอย่างฉับพลัน ทำให้บทความนี้นำเสนอว่า
หลังจากการรอช้างเผือกคู่บุญมานาน แต่ก็ไม่มีการพานพบ
พระองค์จึงตัดสินใจนำมงกูฏมาเทิดไว้บนยยอดปรางค์

เพื่อแสดงให้ทุกคนรับรู้ว่า แม้พระชาติกำเนิดจะมิใช่เจ้าฟ้า แม้จะไม่มีช้างเผือกคู่บารมี
แต่พระองค์ก็ประสงค์จะเป็นดั่งพระจักรพรรดิราช ผู้เผยแผ่พระศาสนาอย่างเป็นที่สุด

น่าเสียดายที่ยังมิทันฉลองวัด พระองค์เสด็จสวรรคตลงเสียก่อน

ไม่ว่าข้อสันนิษฐานนี้จะจริงหรือเท็จประการใดก็ตาม
สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อก็คือ มงกุฏบนพระปรางค์วัดอรุณนั้นมีความหมาย
เพราะการสร้างวัดหลวงแต่ละแห่งนั้น ส่วนหนึ่งคือถวายเป็นพุทธบูชา
ส่วนหนึ่งนั้นมีคติทางสัญลักษณ์ที่ทำให้แต่ละวัดนั้นแตกต่างกันเสมอ

ปริศนาที่สำคัญคือ พระพายทรงม้าบนซุ้มปรางค์ทั้งสี่มีความหมายถึงสิ่งใด?

ผมติดค้างคำถามไว้ว่า เหตุใดในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จึงเชื่อว่า
มีความคิดเรื่องพระอินทร์เป็นใหญ่เหนือกว่ารามาวตารในครั้งอยุธยา

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าในสมัยอยุธยาหรือสังคมไทยยุคสมัยใดก็ตาม
มีความเชื่อที่ผสมผสานทุกอย่างให้เข้ากันได้อย่างน่ามหัศจรรย์
ดังนั้นบทบาทของพระมหากษัตริย์จึงมีความเชื่อในการเป็นทั้ง
รามมาวตาร อินทราภิเษก มหาธรรมราชา และพระจักรพรรดิราช

เพียงแต่ในช่วงรัชกาลที่ 1 นักวิชาการกลุ่มหนึ่งสังเกตว่า
มีการนำความเชื่อเรื่องพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่มาใช้อย่างโดดเด่น
ส่วนเรื่องราวรายละเอียดจะเป็นเช่นไรนั้น โปรดติตดตามด้วยใจระทึก

สำหรับผมประวัติศาสตร์ไม่ต่างไปจากวิทยาศาสตร์เพราะมันมีเหตุและผล
วิทยาศาตร์คือการมองไปข้างหน้า ประวัติศาสตร์คือการมองไปเบื้องหลัง

มีเพียงเส้นเวลาที่เราเรียกว่า ปัจจุบันคั่นไว้ก็เท่านั้นเอง



Create Date : 19 มิถุนายน 2558
Last Update : 20 กรกฎาคม 2558 10:02:02 น. 2 comments
Counter : 1911 Pageviews.  

 
รูปมงกุฎนั้นเอง
การสร้างถาวรวัตถุที่ยิ่งใหญ่จะแฝงคติความเชื่อไว้มากมายทีเดียวนะคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 21 มิถุนายน 2558 เวลา:20:30:23 น.  

 
อืมม์...ความรู้ใหม่ค่ะ โหวตให้นะคะ

แหะๆ รูปนั้นถ่ายด้วยไอโฟนสี่ค่ะ ซึ่งเวลาถ่ายกลางคืนนี่เน่าสนิทน่ะนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 22 มิถุนายน 2558 เวลา:9:27:58 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]