Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2557
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
9 มิถุนายน 2557

การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง : พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (1)



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเผยแพร่
ความรู้สู่ประชาชน ครั้งที่ ๒/๒๕๕๗ กิจกรรมเสวนาการอนุรักษ์จิตรกรรม
ฝาผนังในวังหน้า : พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ – วัดพระแก้ววังหน้า

วิทยากร
-นายอลงกรณ์ เทียมจันทร์ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรม และประติมากรรม สำนักโบราณคดี
-ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วันอาทิตย์ที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
//พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ //และ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า)
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ ฝ่ายวิชาการ ๐๒ ๒๒๔ ๑๔๐๒


นั่นคือข้อมูลที่ post ไว้บน facebook ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ที่ชักนำเราให้กลับไปที่นั่นอีกครั้ง โดยก่อนหน้านั้นเราเคยไปฟังบรรยาย
เรื่อง ธรรมราชาธิราช ประกอบการจัดแสดงนิทรรศการพิเศษในชื่อเดียวกัน

หลายคนคงเคยไปไหว้พระพุทธสิหิงค์ และเห็นจิตรกรรมฝาผนังที่อยู่ภายในนั้น
แต่คงมีเพียงไม่กี่คนที่สนใจเดินดูทีละภาพ ซึ่งจะเห็นว่ามันชำรุดไปมากเหมือนกัน
บางห้องก็เกือบหายไปเสียส่วนมาก สาเหตุสำคัญคือความเสื่อมสภาพของผนัง
และมีรอยรั่วของหลังคาเกิดคราบน้ำฝนจนเป็นที่มาของโครงการอนุรักษ์จิตรกรรม



การบรรยายกินเวลาราว 50 นาที โดยวิทยากรคือคุณ อลงกรณ์ เทียมจันทร์
ได้เล่าถึงวิธีเตรียมผนังเพื่อการเขียนจิตรกรรมว่า ต้องใช้นำหินปูนมาตำ
จากนั้นก็นำไปหมักทิ้งไว้ นำมาผสมกับทรายและน้ำอ้อยเพื่อนำไปใช้ฉาบผนัง
เมื่อแห้งดีแล้วใช้น้ำขี้เหล็กราดหลายครั้งๆ เรียกว่าประสะ เพื่อให้ผิวปูนหายเค็ม

วิธีการทดสอบว่าผนังนั้นสามารถใช้งานได้หรือยังให้นำขมิ้นมาขีด
หากเกิดสีแดงแสดงว่ายังใช้ไม่ได้ ต้องทำการประสะไปอีกเรื่อยๆ
จนกว่าเมื่อนำขมิ้นมาขีดแล้ว ไม่เปลี่ยนสีจึงจะถือว่าใช้งานได้
แต่ลึกเข้าไปภายในผนัง ความเค็มของปูนนั้นยังคงซุกซ่อนตัวอยู่

สมัยก่อนความชื้นสามารถระเหยออกได้ไปในอากาศได้ผ่านผิวดิน
ปัจจุบันโบสถ์วิหารมีการเทปูนโดยรอบทำให้เกิดการเก็บกักความชื้น
จนซึมผ่านผนังขึ้นมาทำให้จิตรกรรมฝาผนังโป่งพอง วิธีการแก้มีสองวิธี
หนึ่งการสกัดผนังจนทะลุแล้วสอดแผ่นอลูมิเนียมแทรกกั้นความชื้นใต้ดิน
สองคือการเจาะผนังใต้จิตรกรรมให้กลายเป็นซี่ลูกกรงเพื่อระบายความชื้น

โชคดีที่ช่างในอดีตนั้นชาญฉลาดโดยพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ถูกออกแบบให้มี
ช่องลมระบายอากาศอยู่ด้านล่าง ความชื้นไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาเหมือนที่อื่น
แต่ด้วยเวลาที่ผ่านมาราวสองร้อยปีทำให้เกิดเสื่อสภาพของวัสดุ
พบการจากการทรุดตัวของเนื้อปูนภายในผนังตรงภาพหมายเลข 10
จึงเป็นที่มาของโครงการซ่อมแซมจิตรกรรมบนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์



วิธีการซ่อมแซมนั้นขึ้นอยู่กับความชำรุดของภาพ
ในกรณีที่มีเพียงคราบดำก็จะใช้กระดาษสาชุบน้ำผสมแอมโมเนีย
ปิดทับไปบนภาพจิตรกรรมให้สกปรกนั้นถูกดึงติดกับผิวกระดาษออกมา
หากความชำรุดถึงขั้นชั้นสี เกิดการหลุดร่อนโปร่งพองก็ต้องใช้กาวพิเศษ
ฉีดเข้าไปด้านหลังชั้นสีให้มันยึดจับไว้ หรือจะใช้เคลือบผิวหน้าก็ได้เช่นกัน

การชำรุดแบบต่อไปคือคราบเกลือที่ทะลุกำแพงออกมาจากความชื้น
ก็ต้องค่อยๆ เช็ดออกออกไป การชำรุดแบบสุดท้ายอันตรายมากที่สุด
คือการเสื่อมสภาพของปูนภายในจนเกิดการยุบตัวของผนัง
ก็ต้องเจาะให้เป็นรูปเพื่ออัดปูนแบบโบราณเข้าไปเสริม

แต่หากปูนนั้นเสื่อมสภาพมากจนดูว่าจะพังลงไปทั้งแถบ
ก็จะใช้วิธีตัดชั้นจิตรกรรมด้านนอกออกมาไว้เป็นส่วนๆ
แล้วดำเนินการซ่อมผนังชั้นปูนให้อยู่ในสภาพดีเสียก่อน
จากนั้นนำจิตรกรรมฝาผนังกลับมาแปะไว้ที่ตำแหน่งที่ถูกถอดมา
แล้วจัดการซ่อมสีส่วนที่ซ่อมให้กลมกลืนเหมือนเดิม

จะเห็นได้ว่าการอนุรักษ์ในรูปแบบต่างๆ นั้นจะไม่มีการเขียนใหม่
ยกเว้นฉากที่เคยมีภาพเก่าให้อ้างอิงเรื่องราวก็สามารถเขียนขึ้นใหม่ได้
แต่ต้องใช้สีน้ำที่ลบออกได้ โดยมีสีมาตรฐานที่กำหนดไว้เพียง 12 สี
และภาพที่เติมเข้าไปต้องมีเส้นดิ่งกำกับไว้ให้รู้ว่าเป็นของใหม่

แต่การซ่อมแซมทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะต้องไม่มากเกินไป
จนทำให้รู้สึกว่าบรรยากาศในอาคารเปลี่ยนไปจากเดิม
โดยจะต้องรักษาสภาพโดยรวมให้คงความเก่าของบรรยากาศไว้
เมื่อการบูรณะเสร็จสิ้นจะต้องบันทึกเป็นเอกสารว่ามีการซ่อมแซมส่วนใด



Create Date : 09 มิถุนายน 2557
Last Update : 10 มิถุนายน 2557 16:32:02 น. 4 comments
Counter : 2304 Pageviews.  

 
แต่ยังไงเอาปูนเติมเข้าไปก็มีรอยต่อถาวรอยู่ดีนะคะ
อ่านดูการทำแล้ว ทึ่งคนโบราณจัง


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 มิถุนายน 2557 เวลา:12:44:49 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 มิถุนายน 2557 เวลา:13:59:15 น.  

 
มาหาความรู้ใส่ตัวเช่นเคยค่ะ


แหะๆ เลือกรูปเปิดรูปนั้นเพราะชอบมากๆ เหมือนกันค่ะ

ช็อตพระอาทิตย์ตกนี่ ในเอนทรี่หน้าจะมีอีกหลายรูปเลยค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 10 มิถุนายน 2557 เวลา:15:43:36 น.  

 
ได้เห็นโพสนี้ของพิพิธภัณฑ์ฯ เหมือนกันค่ะ แต่วันอาทิตย์บ่ายด้วย หนูไม่ค่อยสะดวก เลยไม่ได้ไปจองกับเค้า วัดพระแก้ววังหน้ากับหนู แคล้วคลาดกันสองครั้งแล้วค่ะนี่

วิธีการแก้ที่ว่ามีสองวิธี เคยได้ยินแต่วิธีที่สองค่ะ เค้ามีแบบแรกด้วยหรือนี่ ดูจะทำยากกว่าด้วยนะคะ

ภาพจิตรกรรมหลายวัด ที่เคยเห็นมา วิจิตรอลังการทั้งนั้น แต่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์นี่ เหนือคำบรรยายค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 13 มิถุนายน 2557 เวลา:17:03:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]