Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
3 กุมภาพันธ์ 2557

แขกเจ้าเซ็น : สะพานเจริญพาสน์ (2)





ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เกิดเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2440
ได้เขียนไว้ในหนังสือ ภูมิศาสตร์วัดโพธิ์ เล่ม 2 เรื่องในพิธีที่กุฎีคลองมอญ
ตอนท่านเป็นเด็กในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ว่า

ตั้งแต่ขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์มา พิธีเจ้าเซ็นเป็นพิธีที่ไทยเรารู้จักกันดี
พิธีหนึ่งเท่าๆทกับพิธีทางศาสนาอื่นๆ พิธีทำที่สุเหร่าซึ่งเรียกกันว่า กะฎี
เห็นจะทำกันมาตั้งแต่ขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์หรืออาจจะมีมาตั้งแต่สมัยธนบุรีแล้วก็ได้

กิริยาที่เดินนั้นมีจังหวะก้าวเยื้องเฉียงไปมาช้าๆ อย่างที่เรียกว่า
เต้นสองมือตบอกไปตามเท้าที่ก้าว และร้องออกชื่อเจ้าเซ็น ร้องช้าๆยาวๆ
ว่า เซ็น เจ้าเซ็น เซ็น เจ้าเซ็น ยายเดาลา เจ้าเซ็น อาจจะมีคำอะไรอื่นอีก
แต่ส่วนมากฟังซ้ำกันอยู่ดังกล่าวตลอดเวลาที่เดิน


ซึ่งคำร้องที่ถูกต้องคือ ยาอิมาม ยาฮุเซน ยาฮะซัน ยาฮุเซน ยาเมาลา
ยาชะฮีด ชาฮ์กะรีบ ยาฮุ สำหรับคนไทยทั่วไปที่ไม่คุ้นกับภาษา
จึงได้ยินคำร้องดังกล่าวเป็นเจ้าเซ็นไป เป็นที่มาของการเรียกมุสลิม
นิกายชีอะห์ของคนไทยตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า แขกเจ้าเซ็น

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกก็ไม่ต่างคนไทยเชื้อสายอื่นที่ถูกกวาดต้อนไปพม่า
บางส่วนที่หลบรอดก็เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระองค์โปรดเกล้าพระราชที่ดินให้อยู่บริเวณท้ายพระบรมมหาราชวัง
เมื่อประชากรมากขึ้นพวกเค้าก็อาศัยอยู่ทั้งสองฝั่งของคลองบางหลวง



การสัญจรไปมาระหว่างคนสองฝั่งคลองในสมัยแรกคงต้องใช้เรือ
ซึ่งต่อมามีบันทึกถึงการสร้างสะพานเป็นครั้งแรกว่า เป็นสะพานหก
ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสร้างในสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5
โดยใช้โซ่ชักลากเพื่อให้สะพานเปิดหรือปิดให้เรือผ่านได้

สะพานหกชุดนี้เท่าที่ปรากฏหลักฐานเป็นภาพถ่ายจำนวน 3 แห่ง คือ
สะพานหกหน้ากระทรวงมหาดไทย สะพานหกหน้าวัดพิชัยญาติ
และสะพานหกหลังกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นเพียงสะพานหนึ่งเดียว
ที่ยังคงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน หลังวัดราชประดิษสถิตมหาสีมาราม

สะพานหกที่มีบันทึกแต่ไม่ปรากฏภาพถ่ายมี 4 แห่ง คือ
สะพานหกข้ามคลองสระปทุม สะพานหกริมวังพระองค์เจ้าสาย
สะพานหกข้ามคลองมอญและสะพานหกข้ามคลองบางกอกใหญ่
ซึ่งเราสามารถจินตนาการได้จากนิราศยี่สารของ ก.ศ.ร. กุหลาบ

โบสถ์เจ้าเซ็นพวกที่เต้นตบตีอก อยู่ริมตีนตะพานหกฝั่งเหนือหนา
ตะพานหกใหญ่ทยาดประหลาดตา แต่เกิดมาไม่เคยมีเช่นนี้เลย




ถึงสมัยต้นรัชกาลที่ 6 มีการสร้างสะพานเพื่อเฉลิมพระชนมพรรษา
เป็นสะพานชุดเจริญคือ สะพานเจริญรัช 31 อยู่ปากคลองตลาด
สะพานเจริญราษฎร์ 32 อยู่ถนนกรุงเกษม ข้ามคลองมหานาค
สะพานเจริญพาสน์ 33 อยู่ถนนอิสรภาพ ข้ามคลองบางกอกใหญ่

สะพานเจริญศรี 34 อยู่เยื้องหน้าวัดบุรณศิริมาตยาราม ข้ามคลองคูเมืองเดิม
สะพานเจริญทัศน์ 35 อยู่ถนนบำรุงเมือง ข้ามคลองวัดสุทัศน์เทพวราราม)
และสะพานเจริญสวัสดิ์ 36 หน้าสถานีรถไฟกรุงเทพ ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม

สะพานเจริญพาสน์เป็นเพียงสะพานเดียวในชุดนี้ที่สร้างขึ้นในฝั่งธนบุรี
ตัวสะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กความยาว 52 เมตร
ราวสะพานปั้นเป็นรูปพญานาค 5 เศียร จากปีพระราชสมภพมะโรงนักษัตร
กลางสะพานมีแผ่นพระนามาภิไธยย่อ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนิน
ประกอบพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2456
ชาวบ้านจึงเรียกกุฎีล่างหรือกุฎีกลางว่า กุฎีเจริญพาสน์ตามชื่อสะพาน

เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพา ทางการไทยได้สร้างหลุมหลบภัยริมคลอง
ข้างสะพานเจริญพาสน์ ทางฝั่งตลาดยั่งยืนมีความจุ 60 คน ว่ากันว่า
ไม่ค่อยมีใครอยากใช้เท่าใดนัก เพราะมันแคบ มืด หายใจไม่ออก
แม้ต่อมาจะมีการทำปล่องระบายอากาศ แต่ชาวบ้านก็ยังไม่นิยมใช้อยู่ดี



หลังจากการขยายถนนอิสรภาพ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงก่อนปี 2500
ได้มีการขยายความกว้างสะพาน จึงต้องคร่อมทับหลุมหลบภัย
มีการรื้อราวสะพานที่เคยเป็นลำตัวพญานาคที่มีเกล็ดสวยงาม
อีกทั้งป้ายที่เคยอยู่กลางสะพานก็สูญหายไปด้วย

ปัจจุบันมีกุฎีของมุสลิมนิกายชีอะห์อยู่ 4 แห่ง
1. กุฎีหลวง หรือกุฎีเจ้าเซ็น ชาวบ้านเรียกว่ากุฎีบน
เมื่อปี 2490 รัฐบาลได้เวนคืนที่ดินให้แก่กองทัพเรือ
จึงย้ายไปที่ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ

2. มัสยิดผดุงธรรมอิสลาม อยู่ระหว่างกุฎีหลวงแห่งเดิมกับหลังวัดเครือวัลย์วรวิหาร
พ.ศ. 2486 รัฐบาลเวนคืนที่ดินให้แก่กองทัพเรือ จึงย้ายไปอยู่ในตรอก
วัดหงส์รัตนาราม ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกใหญ่

3. มัสยิดฟัลลาห์ หรือกุฎีนอก หรือกุฎีปลายนา ตั้งอยู่ริมถนนอิสรภาพ
ใกล้ปากตอกวัดราชสิทธาราม เขตบางกอกใหญ่
4. กุฎีเจริญพาศน์ หรือกุฎีล่าง หรือกุฎีกลาง อยู่ริมถนนอิสรภาพ
เชิงสะพานเจริญพาศน์ เขตบางกอกใหญ่ ใกล้สถาบันราชภัฎธนบุรี

ของสำคัญที่เคยได้ฟังมาก็คือ ป้ายไม้พระราชทานของรัชกาลที่ 5
หน้าหลุมศพของจุฬาราชมนตรี ที่ว่ากันว่ามีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศ



Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2557
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2557 9:47:18 น. 5 comments
Counter : 4189 Pageviews.  

 
ดูเหมือนจะคุ้นอยู่สองสะพาน สะพานหน้าวัดพิชัยญาติ กับสะพานเจริญรัช 31 น่าจะเคยเดินข้ามสะพานเจริญพาสน์ 33 ด้วย แต่ไม่ได้สังเกตค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:12:36:55 น.  

 

Like ให้เป็นคนที่ 3
ตามมาอ่านขอบคุณที่นำมาฝากนะคะ



โดย: อุ้มสี วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:22:39:29 น.  

 
โหวตหมวดความรู้ให้นะคะ เนื้อหาแน่นปึ้ก เป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อนด้วยค่ะ


ใช่ค่ะ ร้านเรียกว่าอยู่ในเมือง แต่เป็นธรรมชาติมาก เมืองเพชรมีแม่น้ำเพชรไหลผ่านน่ะค่ะ ตรงริมแม่น้ำก็จะมีลักษณะประมาณนี้อยู่น่ะนะคะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:8:35:46 น.  

 
อยากไปตอนมีงาน อยากชิมอาหารอิสลามค่ะ

บองโจวี่ นอกจากหล่อมาก ๆ แล้วยังแหบเสน่ห์ด้วยเนาะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:17:37:44 น.  

 
มาแปะใจให้เพื่อนที่เรารักค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา:20:49:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]