Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2559
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
11 พฤษภาคม 2559

เที่ยวเมืองเชียงใหม่ 2558 : วัดสวนดอก




ครั้งนั้นพระเจ้านครพิงค์เชียงใหม่จึงแต่งให้หมื่นเงินกองกับปะขาวยอด
ปะขาวสายเปนทูต เชิญพระราชสาสนไปขออาราธนามหาสุมณะเถร
ต่อเจ้าพระยาศิริธรรมราชเจ้าพระนครศุโขทัย พระยาศิริธรรมราช
ก็อนุญาตให้มหาสุมณะเถรไปสืบสาสนาในนครพิงค์เชียงใหม่

มหาสุมณะเถรพากัสปสามเณรผู้หลานไปยังเมืองนครพิงค์เชียงใหม่
ท้าวกือนเสด็จออกมาต้อนรับ ถึงตำบลแสนเข้าห่อเชียงเรือ
อาราธนามาสำนักอยู่วัดพระยืน ทิศตะวันออกเมืองลำภูญไชยแล้ว
อาราธนาให้ทำวินัยกรรมอุปสมบทบวชกุลบุตร

มหาสุมณเถรกับพระเถรรามัญ ๑๐ จึงบวชกุมารกัสสปสามเณร
ในนทีสีมาแม่น้ำแมระมิงค์ใกล้วัดจันทพานิเปนปฐม
แล้วบวชกุลบุตรชาวเมืองหริภุญไชย แลเชียงใหม่สืบไปได้โดยลำดับ
พระเจ้านครพิงค์เชียงใหม่ทรงเลื่อมใสในศีลาธิคุณแห่งพระเถรนั้น
จึงอุษยาภิเศกให้ เปนพระมหาสวามิ ชื่อว่าสุมณะบุบรัตนมหาสวามิ

พระมหาสุมณะถวายพระบรมสาริริกธาตุอันขุดได้จากเมืองบางจานั้น
ต่อพระเจ้าเชียงใหม่ พระบรมสาริริกธาตุกระทำอิทธิปาฏิหารย์ต่าง ๆ
แลเสด็จมาเปน ๒ องค์ด้วยกัน เจ้าท้าวกือนา จึงให้สร้างพระอาราม
ณ ป่าไม้พะยอมให้นามว่าวัดบุบผารามสวนดอกไม้หลวง

ให้สร้างพระเจดีย์บันจุพระบรมธาตุองค์หนึ่งไว้ใด้ในวัดบุบผารามนั้น
ส่วนพระบรมธาตุองค์เดิมซึ่งพระมหาสุมณะเถรนำมานั้น
จึงเชิญพระบรมธาตุขึ้นสถิตย์เหนือพระคชาธารอธิฐานเสี่ยงปล่อยไป
ช้างทรงพระบรมธาตุนั้นก็ออกทางประตูหัวเวียงขึ้นสู่จอมดอยอุสุจะบรรพต
พระเจ้าเชียงใหม่จึงสร้างเจดีย์บันจุพระบรมธาตุไว้ ณ ดอยสุเทพ



นั่นคือประวัติการสร้างวัดสวนดอกจากพงศาวดารโยนก
แสดงถึงการเลื่อมใสในพุทธศาสนาที่มีความรุ่งเรืองในสุโขทัย
พ.ศ. 1912 ตรงกับสมัยพระยาลิไทที่ได้ส่งสมณทูตไปลังกา
ซึ่งคนสมัยนั้นถือว่าเป็นต้นธารพุทธศาสนาที่ยังคงมีความรุ่งเรือง
เรียกว่าคณะวัดสวนดอก หรือคณะอรัญวาสีฝ่ายพระสุมนเถระ

พ.ศ. 1966 พระมหาเถระ 25 รูป ฝ่ายอรัญวาสีจากวัดป่าแดง เชียงใหม่
และ 8 รูปจากกัมโพช เดินทางไปศึกษาที่คณะมหาวิหารที่ลังกา
ในปีต่อมาทั้งคณะได้อุปสมบทใหม่ในอุโบสถบนแพที่ผูกไว้ในแม่น้ำกัลยาณี
เมื่อเดินทางกลับได้นำคำสอนไปเผยแผ่ที่อยุธยา สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เชียงใหม่

พ.ศ. 1973 เมื่อกลับไปถึงเชียงใหม่ พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีของวัดป่าแดง
เรียกคณะของตนเองว่าคณะสีหฬภิกขุ เพราะว่าได้ประกอบพิธีอุปสมบทจากลังกา
พระนิกายนี้ได้กล่าวหาพระที่อยู่เดิมว่าประพฤติตนไปในทางที่ไม่เคร่งครัด
ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เพราะต่างฝ่ายต่างโจมตีการผ่านตัวหนังสือ
ชื่อว่าตำนานมูลศาสนาในหนังสือคณะสีหฬภิกขุกล่าวหาคณะวัดสวนดอกว่า

ถือไม้เท้าไปบิณฑบาต เหมือนอย่างถือกะลาขอทาน รับเงินรับทอง มีไร่มีนา
แบ่งเมี่ยงแบ่งหมากให้คฤหัสถ์ออกเสียงสวดไม่ถูกต้อง ใช้อักขระแบบสันสกฤต
ประธานแห่งสำนักคือพระมหาเถระอุทุมพรบุปผามหาสามีแห่งเมืองพัน
ได้อุปสมบทโดยไม่ครบองค์ประชุมจึงถือว่าไม่เป็นพระภิกษุที่สมบูรณ์


คณะวัดสวนดอกก็กล่าวหากลับไปว่าพระญาณคัมภีร์ประธานของคณะสีหฬภิกขุ
ทะเลาะกับพระอุปัชฌาย์ แล้วไปเรียนเวทมนตร์มาจากพ่อค้าและชีเปลือยที่ลังกา
พ.ศ. 1977 พระเจ้าสามฝั่งแกนจึงขับไล่คณะสีหฬภิกขุออกจากเชียงใหม่
ในข้อที่ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน เพราะความขัดแย้งนั้นถึงขั้นเกิดการวิวาททุบตี



พระเจ้าติโลกราชครองราชย์จากการเข้ายึดเมืองพระราชบิดาคือพญาสามฝั่งแกน
ก็เป็นเรื่องทางการเมือง ที่พระองค์จะต้องทรงสนับสนุนพระนิกายฝ่ายตรงข้าม
ซึ่งก็คือคณะสีหฬภิกขุ โดยการสร้างวัดป่าแดงเชิงดอยสุเทพให้เป็นที่ใหญ่โต
เพื่อเป็นกลุ่มอำนาจใหม่และเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระองค์เคร่งครัดในพุทธศาสนา

พ.ศ. 1991 พระเจ้าติโลกทรงทรงผนวช ณ วัดป่าแดง
พระองค์ได้สร้างวัดเจดีย์เจ็ดยอดโดยมีความสำคัญ เป็นที่ตั้งของหน่อโพธ์จากลังกา
และความแปลกใหม่กว่าวัดอื่นด้วยการสร้างสัตมหาสถานแสดงถึงความลึกในศาสนา
นอกจากนี้ยังมีการสร้างเจดีย์ที่เชื่อว่าเลียนแบบพุทธคยาที่ยังสงสัยว่าจริงหรือไม่

แต่ผมสงสัยไปมากกว่านั้น แต่เป็นเรื่องของวัดเจดีย์หลวงที่พระองค์ไปบูรณะ
เพราะในพงศาวดารมีคำเฉพาะเรียกเจดีย์นี้ว่า ราชกูฏ ซึ่งดูผิวเผินก็ไม่มีความหมาย
ราช แปลว่าใหญ่ กุฏ แปลว่า ยอด เจดีย์ที่มียอดใหญ่ แต่ทำไมต้องใช้คำเฉพาะ
คำว่ากูฏยังคงหลงเหลือมาถึงปัจจุบันในคำว่า กุฏาคาร แปลว่าอาคารเรือนยอด

ที่แน่ๆ คือมีการนำพระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่เจดีย์แห่งนี้ แต่บางที่ว่าเป็นหอพระ
พระพุทธรูปที่มีค่าควรเมืองจะตั้งอยู่ในซุ้มจรนำตากแดดตากฝนจะเป็นไปได้หรือไม่
ผมมีทฤษฏีใหม่นำเสนอว่า เจดีย์หลวงที่ถูกบูรณะนั้นอาจจะเป็นอาคารเรือนยอด
เราอาจเคยได้ยินเรื่องโลหะปราสาทที่วัดราชนัดว่าเป็นว่าอาคารหลังที่สามและหลังเดียว

หลังแรกนั้นตั้งอยู่ในอินเดีย หลังที่สองนั้นก็เคยอยู่ในศรีลังกา เป็นไปได้ไหมว่า
พระเจ้าติโลกราชจะจำลองโลหะปราสาทมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวง จึงมีชื่อพิเศษเช่นนั้น
โดยที่ส่วนยอดที่อยู่ตรงกลางอันสูงสุด อาจมีห้องที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
แต่ด้วยวิศกรรมที่ไม่คุ้นเคย น้ำหนักเรือนยอดที่มากเกินไปมันจึงพังทลายลง

พระแก้วมรกตจึงถูกอัญเชิญมาไว้ที่วัดสวนดอก จนกระทั่งพระไชยเชษฐาอันเชิญไป



เรามาที่นี่เพื่อตามหาสิ่งหนึ่งที่หายไป นั่นก็คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม
ซึ่งเป็นศิลปะสุโขทัยที่อยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นทำให้เป็นตัวกำหนดอายุได้ว่า
วัดสวนดอกต้องสร้างขึ้นร่วมสมัยในช่วงเวลาที่รัฐสุโขทัยยังคงรุ่งเรือง
สัมพันธ์กับพงศาวดารที่กล่าวว่าเจดีย์นั้นสร้างในสมัยพระเจ้ากือนานั่นเอง

เจดีย์ทรงดอกบัวตูมเป็นหนึ่งในเจดีย์ทิศทั้งแปดของเจดีย์ประธาน
ที่เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่ถูกยืดทรงให้สอบสูงขึ้น
พ.ศ. 2475 เจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่พบได้น้อยมากในดินแดนล้านนา
หลังจากอยู่มากว่า 600 ปี ถูกบูรณะโดยนักบุญแห่งล้านนาครูบาเจ้าศรีวิชัย
กลายเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่หน้าตาเหมือนกับเจดีย์ทิศอื่น ๆ

เจดีย์ประธานนั้นก็ถูกบูรณะไปในเวลานั้นด้วยเช่นกัน แต่ยังมีสิ่งสำคัญหลงเหลืออยู่
นั่นก็คือโดยส่วนที่เหนือบัลลังค์มีเทวดาจำหลักปรากฏอยู่ เสียดายที่เจดีย์อยู่สูงมาก
เชื่อว่าสืบทอดมาจากศิลปะหริภุญไชยในคติว่าเป็นเทวดาที่เฝ้ารักษาก้านฉัตร
พ.ศ. 2549 เจดีย์ประธานที่มีสีขาวอันเป็นเอกลักษณ์ถูกประดับด้วยทองจังโก

พระอุโบสถ (ปิด)
พระเจ้าเก้าตื้อว่าเป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ พระญาเมืองแก้ว
โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึงหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร
เพื่อเป็นพระองค์ประธานในวัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้
จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่าพระเก้าตื้อแทน



วิหารหลวง (เปิด)
พระพุทธปฏิมาค่าคิง แปลว่าเท่าพระวรกาย สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา
หล่อด้วยทองสำริด ขนาดเท่าพระวรกายของพระเจ้ากือนา
หน้าตักกว้างสองเมตร สูงสองเมตรครึ่ง

ในพงศาวดารโยนกไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ ในตำนานเมืองเชียงใหม่กล่าวว่า
เมื่อขึ้นครองราชย์พระเมืองแก้วได้ทำบุญครั้งใหญ่โดยการสร้างวัดบุปผาราม
ในคราวที่เวนที่สร้างวัดนั้นเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว และได้สร้างพระเงินไว้ 1 องค์
ถัดมาสร้างวัดพระสิงหารามเจ้า และวัดมหาเจดีย์หลวงแล้วกระทำบุญมิได้ขาด


ซึ่งขัดกับหลักฐานทางประวิติศาสตร์ศิลปะที่พบในปัจจุบัน



กู่เจ้านายฝ่ายเหนือสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2450 โดยพระดำริในเจ้าดารารัศมี
ราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ซึ่งทรงเห็นว่าทำเลที่ตั้งของวัดสวนดอกกว้างขวาง
จึงโปรดให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิของ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระญาติ
มาประดิษฐานรวมกัน ณ ที่นี่ รวมทั้งได้ประทานทรัพย์ให้การทำนุบำรุงมาโดยตลอด

ปากซอยเข้าวัดมีร้านก๋วยเตี๋ยวให้เราไปฝากท้อง เย็นตาโฟศรีพิงค์



Create Date : 11 พฤษภาคม 2559
Last Update : 11 พฤษภาคม 2559 14:48:46 น. 1 comments
Counter : 1374 Pageviews.  

 
วัดนี้อุ้มเคยไป
อุ้มชอบมานั่งมองกำแพงแก้วข้างกู่เจ้านายฯ
แล้วก็ให้ทึ่งมากเลยค่ะพี่


โดย: อุ้มสี วันที่: 12 พฤษภาคม 2559 เวลา:8:08:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]