Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
24 พฤษภาคม 2553

พระนครศรีอยุธยา : วัดหน้าพระเมรุ



การซื้อทัวร์ในทริปนี้ ก็อย่างที่เขียนไปแล้ว ก็มีตลาดโก้งโค้ง
ซึ่งก็ไม่มีอะไรน่าเขียนถึง เพราะมันเป็นตลาดที่สร้างขึ้นตามกระแส
อาศัยเพียงว่าตั้งอยู่บนจุดที่เชื่อว่าเป็นขนอนเก็บภาษีในสมัยอยุธยา
จากนั้นก็ไปวัดพนัญเชิง วัดไชยวัฒนาราม และก็จบที่วัดหน้าพระเมรุ

ตามประวัติกล่าวว่าพระองค์อินทร์ ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ทรงสร้างวัดหน้าพระเมรุเมื่อ พ.ศ. 2046 เดิมชื่อ วัดเมรุราชิการาม
อยู่ริมคลองสระบัว ด้านหน้าคือแม่น้ำลพบุรีเก่า เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหน้าพระเมรุ
เนื่องจากอยู่ตรงข้ามกับลานโล่งของพระราชวัง ซึ่งเป็นที่สำหรับออกงานพระเมรุ

น่าจะเป้นวัดเก่าที่มีมาก่อนหน้าสมัยอยุธยา แต่มีเพียงบันทึกว่า
ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิในสงครามช้างเผือกปี 2106
ได้ทรงตั้งพลับพลาระหว่างวัดหน้าพระเมรุและวัดหัสดาวาสเป็นที่
ทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง

นั่นคือมุมมองว่ายังมิได้เสียกรุง แต่หากมองว่า
เมืองไนสมัยนั้นมีเพียง 2 แบบ หนึ่งนั้นคือเมืองเอกราช
ที่มิต้องส่งบรรณาการให้เมืองใด และเมืองประเทศราชที่ต้องส่งบรรณาการ
เท่ากับกรุงศรีอยุธยาได้เสียเอกราชให้แก่หงสาตั้งแต่ปีนั้นเอง
ส่วนสงคราม 2112 นั้นก็คือการกระด้างกระเดื่องของเมืองประเทศราช



สถาปัตยกรรมของวัดหน้าพระเมรุอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น
คือพระอุโบสถไม่มี หน้าต่างแต่เจาะช่องไว้เป็นลูกกรง
เนื่องจากเทคโนโลยี่ในสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้า ต้องใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนัก
จึงไม่สามารถปล่อยให้เป็นช่องว่างของหน้าต่างได้ ซึ่งวัดในสมัยหลัง
พระนารายณ์จะรับวิทยาการสร้างการซุ้มหน้าต่าง
โดยก่ออิฐเป็นแนวโค้งเพื่อรับห้หนักแบบโบสถ์ของชาวยุโรปนั่นเอง

หน้าบันไม้สักลงรักปิดทองสลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคอยู่บนราหู
ล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม 26 องค์ ในพระอุโบสถมีพระประธานนามว่า
พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
หน้าตักกว้าง 9 ศอก สูง 3 วา หล่อด้วยโลหะปิดทองทั้งองค์
เป็นพระสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ตามคติการสร้างพระในสมัยอยุธยาตอนต้น

แต่ลักษณะของพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราช สวมมงกุฎ
มีสร้อยสังวาล ทับทรวง ศิลปะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง
คล้ายกับพระพุทธรูปก่ออิฐในเมรุทิศเมรุรายวัดไชยวัฒนาราม
เข้าใจว่าพระประธานน่าจะได้รับการปฏิสังขรณ์ในนั้นเช่นเดียวกัน

เชื่อกันว่าในสงคราม 2310 นั้น พระเจ้าอลองพญาได้ใช้ที่นี่เป็น
ค่ายตั้งปืนใหญ่เพื่อยิงโทรมพระนคร เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง
ด้วยความใจร้อนของพระองค์ พระองค์สั่งให้ยิงปืนใหญ่โดยไม่ต้องพัก
ทำให้ปืนร้อนจัดจนระเบิดใส่พระองค์ ระหว่างเดินทางกลับพระเจ้าอลองพญา
ทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงสิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง ซึ่งไม่ตรงกับ
พงศาวดารพม่า ที่กล่าวว่าพระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยอาการประชวรจากโรค



นอกจากตัวโบสถ์ที่มีลายไม้แกะสลักและพระประธานที่งดงามแล้ว
ใกล้เคียงกันมีวิหารน้อยหรือวิหารเขียน ซึ่งมีบานประตูไม้แกะสลัก
ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งวัดหน้าพระเมรุได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
ภายในยังมีจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ แต่ปัจจุบันลบเลือนไปมาก

ในวิหารมีพระพุทธรูปนามว่าพระคันธารรา เป็นพระพุทธรูปศิลาสีเขียว
ประทับห้อยพระบาท สมัยทวารวดีประดิษฐานอยู่ ลักษณะองค์พระ
กล่าวได้ว่าสมบูรณ์มีเพียงส่วนเรือนแก้วที่หักหายไป
ภายหลังเมื่อมีการขุดแต่งวัดมหาธาตุพระนครศรีอยุธยา
พบเศษเรือนแก้วที่หายไปจมอยู่ในดินลึกลงไปชั้นล่าง

จึงสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปนี้คงเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุมาก่อน
แต่ก่อนหน้านั้นเชื่อว่าในสมัยพระมหาจักรพรรดิเมื่อเสร็จสงครมช้างเผือก
ได้มีการย้ายที่ตั้งเมืองนครปฐม จากบริเวณองค์พระปฐทเจดีย์มาอยู่ที่
เมืองนครไชยศรี อาจจะมีการอัญเชิญพระพุทธรูปมาจากวัดร้างในบริเวณนั้น
มายังกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากภายหลังมาการค้นพบพระพุทธรูปซึ่งคล้ายกัน
แต่เป็นศิลาสีขาวอีก 4 องค์ ในวัดวัดพระเมรุราชิการาม จังหวัดนครปฐม





Create Date : 24 พฤษภาคม 2553
Last Update : 1 มิถุนายน 2553 13:52:34 น. 5 comments
Counter : 4476 Pageviews.  

 
กำลังอ่านเพลินเลยค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:30:57 น.  

 
ทักทายตอนบ่ายๆ จ้า อิอิ ^__^


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 24 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:39:26 น.  

 
จำได้ว่าเคยไปเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่วัดนี้ สมัยเมื่อเรียนที่เพาะช่าง 42 ปีที่แล้ว
อาจารย์ที่พาไปคือท่านอาจารย์จุลทัศน์ พยัฆรานนนท์

และก็ได้ไปเที่ยวที่นี่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
บรรยากาศไม่เหมือนเดิมกับที่เคยไปในครั้งนั้น
คงเพราะไปด้วยความต้องการที่ไม่เหมือนกัน
และทางวัดได้เปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก

แม้แต่วัดเก่าๆ อีกหลายวัด ก็เช่นกัน

ความเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันคร์ค่ะ




โดย: addsiripun วันที่: 24 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:03:43 น.  

 
ที่น่าสนใจคือรูปแบบที่ไม่ตรงกับศิลปะอยุธยาตอนต้น

1. โบสถ์มีขนาดใหญ่
2. รูปแบบการเรียง แม่น้ำ-โบสถ์-เจดีย์- วิหาร

สิ่งเดียวที่ผมนึกออกก็คือ สมัยก่อนโบสถ์นั่นก็คือวิหารที่มีพระประธานขนาดใหญ่ ต่อมาเมื่อถึงอยุธยาตอนปลายก็กลับเอาวิหารมาเป็นโบสถ์ โดยดูจากใบเสมาขนาดเล็กที่อยู่ในซุ้มท ซึ่งเป็นแบบอยุธยาตอนปลาย

ไม่รู้ว่ามันจะเป็นเช่นนั้นหรือเปล่า ต้องรอผู้รู้มาเฉลยต่อไป


โดย: VET53 วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:25:18 น.  

 
เพื่อนกำลังจะสอบไกด์ เลยพาไปเที่ยวอยุธยา ไปทดสอบกันก่อนสนุกมากเลยค่ะที่มีคนเล่าให้ฟัง แต่สิบกว่าปีแล้วเลยจำได้ส่วนน้อย ลืมซะส่วนใหญ่


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:05:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]