Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
31 พฤษภาคม 2553

พระนครศรีอยุธยา : วัดมเหยงคณ์ (1)




หลังจากเจ้าถิ่นพาไปไหว้วิหารมงคลบพิตร ก็หันมาถามเราว่าอยากไปที่ไหนต่อ
คำตอบคือ อยากไปวัดรอบเกาะเมืองอยุธยา เช่นวัดมเหยงค์ วัดกุฏีดาว ประมาณนั้น
เค้าทำหน้างงสุดฤทธิ์ พี่นั่นมันวัดร้างไม่ใช่หรือ จะไปทำไป ไม่มีพระให้ไหว้หรอก

ต้องอธิบายว่า การมาเที่ยววัดสำหรับเรา มิได้ต้องการไหว้พระขอพรใดๆ
ไม่คิดว่าต้องการทำบุญ ให้ชีวิตพ้นเคราะห์ หยอดเงินยี่สิบบาทแล้วภาวนาขอให้ได้สองขั้น
การมาวัดนั้นต้องการเพียงชื่นชมความงามของถาวรวัตถุที่หลงเหลือมาจากอดีต
ที่ครั้งหนึ่งอยุธยาเคยรุ่งเรืองดั่งเมืองสวรรค์ ผมอยากจะย้อนเวลากลับไปหาสิ่งนั้น

อยุธยาเคยเป็นเมืองชุมชนโบราณ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำเจ้าพระยา มีความเจริญรุ่งเรืองมานาน
ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะเข้ามาตั้งหลักปักฐาน และย้ายเมืองไปยังฝั่งตัวเกาะด้วยเหตุผลด้านชัยภูมิ
ฉนั้นหากเราอยากเข้าใจอยุธยา เราควรจะเที่ยววัดรอบนอกเกาะเมืองเสียก่อน
อย่างเช่น วัดพนัญเชิง วัดใหญ่ชัยมงคล วัดมเหยงค์ วัดกุฏีดาว เป็นต้น



เราจึงข้ามสะพานออกนอกเมือง ผ่านเจดีย์วัดแม่นางสามปลื้มเพื่อไปยังวัดมเหยงค์
ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นโบราณสถาน แปลว่าเราต้องจ่ายตังค์คนละสิบบาทก่อนเข้าไป
เมื่อก้าวเข้าไปในวัด เราก็พบสิ่งที่น่าชื่นชม ก็คือป้ายเล็กๆ ที่บอกถึงความสำคัญ
ของสิ่งก่อสร้างต่าง ที่อยู่ภายในวัดว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร หรือใช้ทำสิ่งใด

ทางเข้าวัดโดดเด่นที่มีฉนวนทางเดิน 2 ช่อง มีกำแพงกั้นสูงระดับศรีษะ
ทางหนึ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ทงหนึ่งสำหรับฝ่ายใน คล้ายกับฉนวนท่าน้ำที่ท่าราชวรดิษฐ์
นอกวังหลวงริมฝั่งเจ้าพระยา ที่ใช้กันเรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ในสมัยรัตนโกสินทร์

โบสถ์ตกท้องช้างคล้ายเรือสำเภา เป็นแบบที่นิยมอยุธยาตอนปลาย
เนืองจากได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีการเจาะช่องหน้าต่าง
โดยใช้เทคนิคก่ออิฐทรงโค้งเพื่อรับน้ำหนักอันเป็นวิทยาการจากยุโรป
ใบเสมาเป็นหินชนวนสีเทาขนาดปานกลาง ตั้งอยู่บนฐานปูนปั้นลายแข้งสิงห์



ด้านหลังเป็นเจดีย์ประธาน ทรงระฆังคว่ำซึ่งเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากลังกาทวีป
เทคนิคก่ออิฐไม่สอปูน โดยก่อให้ชิดกันและใช้เพียงยางไม้เป็นตัวประสาน
เจดีย์ประธาน ตั้งอยู่บนฐานประทักษินรูปปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีบันใดขึ้นทั้งสี่ด้าน
ประดับด้วยรูปปฏิมากรรมรูปช้างอยู่ในซุ้มจรนำด้านละ 20 เชือก รวม 80 เชือก
ส่วนยอดหักโค่นลงมาที่ฐานเจดีย์ รอบๆมีซุ้มพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 20 ซุ้ม

ด้านข้างมีซากพระตำหนักก่ออิฐถือปูน อาคารอาคารตึก 2 ชั้น ทรงสีเหลี่ยมผีนผ้า
เครื่องบนที่เป็นไม้ได้ชำรุดผุผังไปตามกาลเวลา สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระเจ้าท้ายสระ
เมื่อครั้งเสด็จมาควบคุมการบูรณะวัดแห่งนี้ เช่นเดียวกันกับที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ขณะดำรงพระยศเป็นมหาอุปราช ได้สร้างตำหนักเพื่อประทับในการบูรณะวัดกุฏีดาวเช่นกัน

ปี 2112 ในสงครามเสียกรุงครั้งที่ 1 พระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ตั้งทัพหลวง
บัญชาการอยู่ ณ วัดมเหยงค์แห่งนี้ ระยะเวลาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง 9 เดือน
ปี 2310 กรุงศรีอยุธยาเสียให้กับพม่า วัดมเหยงค์จึงถูกทิ้งร้างเรื่อยมา
18 มีนาคม 2484 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดนี้ไว้เป็นโบราณสถาน



Create Date : 31 พฤษภาคม 2553
Last Update : 31 พฤษภาคม 2553 20:46:29 น. 6 comments
Counter : 3467 Pageviews.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ ได้รู้เพื่มเติมเยอะเลย


โดย: NucH (sa-bye-sa-bye TEAM ) วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:15:35 น.  

 
เคยได้ยินว่าการก่ออิฐเนี่ยเขาใช้น้ำอ้อย ผสมกับฟาง มั่วหรือเปล่าน้อเรา

ดูไปก็ขนลุกไปค่ะ ชอบ ๆๆๆ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:33:41 น.  

 

ถ้าให้คะแนนวัดในดวงใจเรา
ที่จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดมาเป็นอันดับ 1 คือวัดหน้าพระเมรุ
ส่วนวัดที่ 2 คือ วัดมเหยงค์ค่ะ
โดยเฉพาะมานั่งมองที่สระน้ำที่มีจอกแหนขึ้นเต็มไปหมด
แล้วก็บริเวณวัดนี่แหล่มชอบมากๆ ค่ะ
ขอบคุณที่นำภาพมาฝากนะคะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:00:07 น.  

 
แวะมาเม้นค่ะ ... อยากไปบ้างจัง เคยไปแต่ วัดหน้าพระเมรุ อ่ะ



โดย: bettygirl วันที่: 31 พฤษภาคม 2553 เวลา:21:34:33 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 1 มิถุนายน 2553 เวลา:10:56:09 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีนะคะ


โดย: kwan_3023 วันที่: 2 มิถุนายน 2553 เวลา:7:29:32 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]