Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กุมภาพันธ์ 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
23 กุมภาพันธ์ 2564

วัดเบญจมบพิตร : พระพุทธชินราชจำลอง






ในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองเหนือลงมา
เพื่อสร้างกรุงเทพมหานครให้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา
ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลกมีการอัญเชิญ
พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาจากวิหารทางทิศเหนือและทิศใต้ลงมา
 
คงเหลือแต่พระพุทธชินราชที่ยังคงประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวง
มีเรื่องเล่าในพื้นที่เมืองพิษณุโลกกล่าวถึงการเคลื่อนย้ายพระพุทธชินราช
ลงมายังกรุงเทพมหานคร เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงต้องการหาพระพุทธรูป
ที่มีความงามเพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
 

“ครั้นเมื่อสร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้น ได้พยายามหาพระพุทธรูปซึ่งจะเปน
พระประธาน ทั้งในกรุงแลหัวเมือง ตลอดจนกระทั่งถึงเมืองเชียงใหม่
เชียงแสน เชียงราย เมืองนครลำพูน เมืองนครลำปาง เมืองน่าน

พระที่ควรจะเชิญลงมาได้ ก็ได้เชิญลงมาโดยมาก ที่เชิญลงมาไม่ได้ก็ได้ให้ถ่ายรูปมาดู
มีพระเจ้า 5 ตื้อ พระเจ้า 9 ตื้อ พระเจ้าล้านทอง เปนต้น ก็ไม่เปนที่พอใจ
จึงคิดเห็นว่าจะหาพระพุทธรูปองค์ใดให้งามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว”

อย่างไรก็ตามเกิดเป็นเรื่องเล่าถึงการอัญเชิญพระพุทธชินราชออกจากเมืองพิษณุโลก
ไม่สำเร็จด้วยเพราะเกิดเหตุอัศจรรย์เป็นเรื่องเล่ามุขปาฐะสำนวนต่างๆ ว่า






“เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 5 มีความประสงค์อัญเชิญพระพุทธชินราชไปประดิษฐาน
เป็นพระประธานวัดเบญจมบพิตร ได้เคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อออกมาจากวิหาร
เพื่อนำไปลงแพที่ลำน้ำน่านหน้าวิหารหลวงพ่อเพื่อล่องลงมายังกรุงเทพ

แต่เมื่ออัญเชิญออกมาแล้วก็เกิดเหตุอัศจรรย์ไม่สามารถเข็นหลวงพ่อเพื่อไปลงแพได้
หรือเมื่อเข็นไปลงแพแล้ว แพก็จอดนิ่งไม่ขยับจึงไม่สามารถอัญเชิญหลวงพ่อลงไปกรุงเทพได้
หลวงพ่อพระพุทธชินราชจึงประดิษฐานในเมืองพิษณุโลกดังเดิม”
 
พ.ศ. 2442 รัชกาลที่ 5 ทรงให้พระประสิทธิปฏิมา จางวางช่างหล่อขวา
ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิมที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
โดยพระองค์ได้ทรงกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ในปรารภเรื่องพระพุทธชินราช
 

ครั้นจะเชิญพระพุทธชินราชลงมาก็เห็นว่าเปนหลักเปนศิริของพิศณุโลก
ประดิษฐานอยู่ในเมืองนั้นตั้งแต่สร้างเมืองมาถึง 900 ปีเศษแล้ว
แลพระพุทธชินสีห์ซึ่งเชิญมาแต่ก่อนก็ไม่เปนที่ชอบใจของชาวเมืองพิศณุโลกเปนอันมาก
ยังมีคำเล่ากันอยู่จนทุกวันนี้ว่า เมื่อเชิญออกจากพระวิหารนั้น ราษฎรพากันมีความเศร้าโศก
ร้องไห้เปนอันมากเงียบเหงาสงัดไปทั้งเมืองเหมือนศพลงเรือน
 
แลแต่นั้นมาฝนก็แล้งไปถึง 3 ปี ชาวเมืองพิศณุโลกได้รับความยากยับไปเปนอันมาก
ตั้งแต่พระพุทธชินสีห์ลงมาถึงกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพก็ทรงพระประชวร
พระโรคมานน้ำได้ปีเศษก็เสด็จสวรรคต ราษฎรพากันกล่าวว่า
 
เพราะที่ท่านไปเชิญพระพุทธชินสีห์อันเปนศิริของเมืองพิศณุโลกลงมานั้น
เห็นว่าการที่ถือต่างๆ เช่นนี้จะไม่ควรถือก็ตาม แต่ไม่ควรจะทำการกุศล
ให้เปนที่เดือดร้อนรำคาญ ไม่เปนที่พอใจของคนเปนอันมาก
จึงได้ปรารภที่จะคิดหล่อขึ้นใหม่ให้เหมือนพระพุทธชินราช 

 



พระพุทธชินราชจำลอง มีขนาดหน้าตัก 5 ศอก คืบ 5 นิ้ว น้ำหนักทองที่ใช้หล่อ 3,940 ชั่ง
รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อเป็นส่วนๆ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2444
แล้วอัญเชิญล่องเรือมาแต่งที่กรมทหารเรือ ถึงเมื่อวันที่  2 พฤศจิกายน 2544
พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ 2 เป็นแม่กองตกแต่ง
 
ประกอบด้วย การลงรักปิดทอง การแต่งพระเศียรและหล่อพระเปลวเพลิงใหม่
หลังจากตกแต่งองค์พระแล้วเสร็จ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาอัญเชิญ
พระพุทธชินราชจำลองไปประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร วันที่ 11 ธันวาคม 2444
ในการนี้ได้ประทับในพลับพลาเพื่อทอดพระเนตรการเคลื่อนย้ายองค์พระหน้ากรมทหารเรือ
 
เมื่ออัญเชิญพระพุทธชินราชขึ้นประดิษฐานแล้ว ต่อมาถึงปลายปี พ.ศ. 2452
จึงโปรดเกล้าฯให้จ้าง นายซึรุฮารา (Mr.Tsuruhara) ครูช่างในโรงเรียนวิชา
ช่างกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำการปิดทองจนแล้วเสร็จ
และโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภช ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2453

พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์หินอ่อน
มีเรือนแก้วซึ่งรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ทำถวายเมื่อ พ.ศ. 2455 แต่ช่างทำไม่งาม
รัชกาลที่ 7 จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขใหม่จนสวยงามตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
 
สิ่งที่น่าสนใจคือ ผมสังเกตว่า หลายวัดในปัจจุบันหากจะหาพระประธานใหม่
ก็มักนิยมเป็นพุทธชินราชจำลอง กลายเป็นขนบความงามของคนรุ่นปัจจุบัน
ที่ผมยังหาคิดไม่ออกว่าเป็นเพราะอะไร ส่วนตัวที่เวลาไปวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
พิษณุโลก แล้วเห็นว่าพระพุทธชินราชงดงามนั้น น่าจะเป็นเพราะซุ้มเรือนแก้ว
 
ซึ่งทำด้วยไม้แกะสลักที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้ทำขึ้นไปถวายนั่นเอง


ปล. ภาพทั้งหมดถ่ายจากพิพิธภัณฑ์กรมอู่ทหารเรือ ธนบุรี



Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2564 14:31:49 น. 5 comments
Counter : 2031 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณทนายอ้วน, คุณSleepless Sea, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณKavanich96, คุณtuk-tuk@korat, คุณSai Eeuu, คุณหอมกร


 
เพิ่งจะรู้นี่แหละว่าซุ้มเรือนแก้วของพระพุทธชินราชทำด้วยไม้จ้า
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเหล่านี้เป็นประโยชน์มากเลยจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:15:31:16 น.  

 
พระพุทธชินราชองค์งามจริงๆครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:15:32:26 น.  

 
มาอ่านเรื่องราวของพระพุทธชินราช ได้ความรู้ดีครับ
ซุ้มเรือนแก้ว ทำให้ดูสวยขึ้นมากเลยครับ


โดย: Sleepless Sea วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:17:30:56 น.  

 
สวัสดีตอนมืดๆวันอังคารครับ


ขอบพระคุณสำหรับกำลังให้บล็อก - วัดป่าสัก เชียงแสน เชียงราย นะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:19:55:18 น.  

 
นึกว่าซุ้มแก้วมีมาแต่เดิมค่ะ

น่าสนใจค่ะลิงค์ที่ส่งให้ ขอบคุณค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:15:40:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]