Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
29 มกราคม 2564

วัดเสนาสนานราม : ตำนานพระอินทร์ :


วิหารพระอินทร์แปลง

ไปอยุธยาก็ออกบ่อย แต่ละครั้งก็แทบไปไม่ซ้ำกัน ถามว่าไปครบทุกวัดยัง
คำตอบคือไม่ มีอีกตั้งหลายวัดที่ยังไม่เคยไป เช่น กลุ่มวัดร้างที่อยู่ตรงบึงพระราม
ดังนั้นไปทุกครั้งเราก็จะได้พบของใหม่เสมอ เช่นวัดนี้ที่ไปตอนมีงาน
ตามรอยพระยาโบราณราชธานินทร์ 666 ปีแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
 
จุดประสงค์ของการเดินทางไปวัดนี้ ก็เพื่อไปชมหนึ่งในชุดพระพุทธรูปลาว
ที่ถูกอัญเชิญมากรุงเทพในคราวทำลายกรุงเวียงจันทน์ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ซึ่งทุกๆ องค์ล้วนเป็นพระสำคัญ เช่นพระอินทร์แปลง
 
ประวัติว่า ตอนแรกก็หล่อไม่สำเร็จ จนกระทั่งมีคนแก่เดินเข้ามา
แล้วคล้อยหลังพบว่า หล่อองค์พระได้ในที่สุด จึงตั้งชื่อว่าพระอินทร์แปลง
ด้วยเชื่อว่าบุญบารมีของพระพุทธรูปองค์นี้ คนธรรมดาหาสร้างได้ไม่
ต้องเป็นระดับสักกะเทวราชเสด็จลงมาช่วย ด้วยการจำแลงเป็นชายแก่
 

มาฆมาณพถูกจับไปฆ่า

 หลังจากเชิญลงมาจากเวียงจันทน์ก็ไปพักค้างไว้ที่หนองคาย
อัญเชิญมาเฉพาะพระสำคัญคือพระบางเท่านั้น จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4
จึงโปรดให้อัญเชิญพระลาวที่เหลือลงมา เพื่อนำไปเป็นพระประธานในวัด
ที่สร้างในสมัยนั้นหลายวัด กลายเป็นตำนานพระสุก พระเสริม พระใส
 
พระอินทร์แปลงน่าจะถูกอัญเชิญลงมาด้วยในครั้งนั้น ด้วยมุ่งหวังจะนำมาเป็น
พระประธานที่วัดมหาพฤฒราม ซึ่งโปรดเกล้าให้บูรณะมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497
แต่การซ่อมแซมนี้ใช้เวลานานมาก ซึ่งมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2409
และปรากฏหลักฐานว่า พระเณรในวัด ต้องย้ายไปอยู่วัดข้างเคียง
 
ระหว่างนั้นพระองค์ก็ทรงโปรดเกล้าให้บูรณะวัดเสื่อที่พระนครศรีอยุธยา
แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2406 จึงพระราชนามว่า วัดเสนาสนาราม
พร้อมกับพระราชทานพระอินทร์แปลงประดิษฐานไว้ในพระวิหาร
โดยมีการเขียนภาพจิตกรรม ที่เกี่ยวข้องไว้ นั่นก็คือเรื่องตำนานพระอินทร์
 
ความจริงตอนถ่ายมาก็ไม่ได้ดูว่าเป็นเรื่องอะไร ถ่ายสุ่มๆ ไปแบบนั้น
แต่พอมานั่งอ่านว่าเขียนเรื่องตำนานพระอินทร์ก็เลยเปิดภาพที่ถ่ายมาดู
ก็พบว่าน่าจะพอไหว ก็เลยอยากเขียนไว้ในบล็อก ความจริงก่อนหน้า
ก็เคยเขียนเรื่องนี้ที่อยู่ในหอไตรวัดระฆัง แต่ที่นั่นเขียนไว้เพียงตอนสร้างศาลา
 

พระราชาให้เรือน

เรื่องมฆมาณพ    
           

ในอดีตกาล มาณพชื่อว่ามฆะ ในอจลคามในแคว้นมคธ คุ้ยฝุ่นด้วยปลายเท้า
ในที่แห่งตนยืนแล้ว ได้ทำให้เป็นรัมณียสถาน แล้วพักอยู่
ผู้คนคนหนึ่งเอาแขนผลักเขา นำออกจากที่นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง
เขาไม่โกรธต่อคนนั้น ก็กระทำซ้ำเช่นเดิม ก็มีผู้อื่นผลักเค้าออกไปอีก
 
เขาคิดเสียว่า คนเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับสุขแล้วกรรมนี้ ก็เป็นความสุขแก่ตน
 
วันรุ่งขึ้น เขาได้ถือเอาจอบไปทำที่ลานที่ใหญ่กว่าเดิมให้เป็นรัมณียสถาน
ผู้คนทั้งหลายก็พากันไปพักอยู่ในที่นั้น ครั้นในฤดูหนาว เขาได้ก่อไฟให้คนเหล่านั้น
ในฤดูร้อนได้ให้น้ำ ต่อมาเขาคิดว่า ควรเที่ยวทำถนนหนทางให้ราบเรียบ
จึงออกไปจากบ้านแต่เช้าตรู่ทำหนทางให้ราบเรียบ เที่ยวตัดรานกิ่งไม้ที่ควรตัดรานเสีย
 
ระหว่างการทำถนนนั้น  เขาได้สหายร่วมอุดมการณ์เพิ่มเติมมา 33 คน               
นายบ้านเห็นชายเหล่านั้นแล้วคิดว่า การทำความดีนั้นเขาจะไม่ส่วนตอบแทนใดๆ
แต่หากชนทั้งหลายนั้นได้ทำความชั่ว เช่น ต้มเหล้า ก็จะทำให้เขาได้ภาษีบ้าง
มฆะมาณพและสหายต่างปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น นายบ้านจึงหาเรื่องไปฟ้องพระราชา
 
ว่าเหล่าผู้ที่ทำความดีนั้นเป็นพวกโจร พระราชาจึงตรัสว่าให้ไปจับตัวมาลงโทษเสีย
นายบ้านจึงไปจับมฆะมาณพและสหายทั้ง 33 คนมาที่พระราชวังเพื่อให้พระราชาตัดสิน
พระราชามิทันได้ฟังความจากฝ่ายมฆะก็ตัดสินให้รับโทษ ด้วยการให้ช้างเหยียบ
แต่ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของคนเหล่านั้น ช้างจึงไม่อาจเข้าไปใกล้ได้
 

 มาฆมาณพและสหายสร้างศาลา

เมื่อเห็นเช่นนั้น พระราชาจึงสอบถามความ กลับเป็นว่าพวกเขาโดนใส่ร้ายโดยนายบ้าน
พระราชาจึงพระราชทานตัวนายบ้านพร้อมทั้งบุตรและภริยาให้เป็นทาส
ช้างตัวนั้นให้เป็นพาหนะสำหรับขี่ ส่วนบ้านก็ให้ตกเป็นที่อาศัยของมฆมาณพ

เหล่าสหายของมฆมาณพเห็นผลของการทำความดี จึงไปปรึกษากันว่า
จะทำสิ่งใดให้เป็นความดีมากยิ่งๆ ขึ้นไป จึงตกลงกันว่า จะสร้างศาลาขนาดใหญ่
ตรงทางแยกใหญ่ทั้ง 4 ทาง เพื่อให้ชาวบ้านได้มาพักอาศัย
 
มฆมาณพนั้นมีภริยา 4 คน คือนางสุนันทา สุจิตรา สุธรรมา และสุชาดา
นางสุธรรมาอยากได้บุญใหญ่จึงติดสินบนช่างไม้
ให้หาวิธีอย่างไรก็ได้เพื่อที่จะนำไม้ที่นางแอบถากเก็บไว้แล้วสลักคำว่า
ศาลานี้ชื่อสุธรรมา ไปทำเป็นช่อฟ้าของศาลาที่เหล่ามาฆมาณพจะสร้าง
 
นางสุธรรมาจึงได้ร่วมกุศลสร้างศาลาด้วย เมื่อสร้างศาลาสำเร็จแล้ว
จึงแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งสร้างเป็นที่สำหรับอยู่ของพวกอิสรชน
ส่วนหนึ่งสำหรับคนเข็ญใจ ส่วนหนึ่ง สำหรับคนไข้ นอกจากนี้
สหายทั้ง 33 คน  ได้ปูกระดานบนศาลา 33 แผ่น และตกลงกันว่า
 
หากมีคนมานั่งที่กระดานของใคร ผู้นั้นก็จะเป็นคนปรนนิบัติผู้ที่มาพัก
ตรงกระดานแผ่นนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหาร การบีบนวด เป็นต้น
ช้างที่มฆมาณพได้มาถูกใช้เป็นพาหนะรับผู้ที่มาแล้วนำไปสู่ศาลา
 

 
มาฆมาณพจุติเป็นพระอินทร์ จับอสูรโยนลงมา
นางสุชาดายังคงเอาแต่แต่งตัว ตายไปแล้วเกิดเป็นกระสา 

นอกจากนี้มาฆมาณพปลูกต้นทองหลางต้นหนึ่งไว้ใกล้กับศาลา
แล้วปูแผ่นศิลาไว้ที่โคนต้นทองหลางนั้น ผู้คนที่ผ่านทางเข้าศาลา
มองเห็นช่อฟ้าที่สลักชื่อไว้ต่างพูดกันว่า ศาลานี้เป็นของนางสุธรรมา
นางสุนันทาจึงคิดว่า อยากจะทำอะไรเพื่อจะได้แบ่งบุญกุศลนั้นมาบ้าง
 
นางจึงจ้างคนมาขุดสระโบกขรณีที่ข้างศาลาเพื่อคนที่มาพักจะได้กินน้ำและอาบน้ำ
นางสุจิตราเห็นดังนั้นจึงคิดว่านางสุธรรมาให้ช่อฟ้า นางสุนันทาสร้างสระโบกขรณี
นางก็ควรสร้างอะไรบ้าง คิดแล้วนางจึงสร้างสวนดอกไม้ให้ดูรื่นรมย์
 
นางสุชาดาคิดว่า นางเป็นทั้งลูกลุงของมาฆมาณพ เป็นทั้งบาทบริจาริกา
มีฐานะสูงกว่าเมียคนอื่นๆ ดังนั้นบุญกุศลที่มฆมาณพได้ทำก็เป็นของนางเหมือนกัน
คิดได้เช่นนั้นแล้ว นางได้แต่แต่งตัวของตนเท่านั้น ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไป
 
ตลอดชีวิตมฆมาณพได้บำเพ็ญวัตตบท 8 ได้แก่ บำรุงมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อ
ผู้เจริญในตระกูล  พูดคำสัตย์  ไม่พูดคำหยาบ  ไม่พูดส่อเสียด  กำจัดความตระหนี่  ไม่โกรธ  
เมื่อมาฆมาณพสิ้นชีวิต จึงได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
สหายของเขาทั้ง 33 คนก็ไปเกิดเป็นเทวดาในที่นั้น ส่วนช่างไม้ก็ไปเกิดเป็นวิศวกรรมเทพ
 
ต้นทองหลางอุบัติเป็นต้นปาริชาติ แผ่นศิลามาเป็นทิพยอาสน์ของพระอินทร์

พวกอสูรที่อาศัยอยู่ในดาวดึงส์คิดกันว่า มีเทพบุตรมาเกิดจึงเตรียมการเลี้ยงน้ำทิพย์
แต่พระอินทร์ได้ทรงนัดหมายพวกเทวดาทั้งหลายว่า มิให้ผู้ใดดื่มน้ำทิพย์ของพวกอสูร
เมื่อพวกอสูรดื่มน้ำทิพย์เมาทั่วกันหมด พระอินทร์ทรงคิดว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ควรเป็นที่อยู่ของพวกเทพเท่านั้น จึงได้ชักชวนเหล่าเทวดา จับเหล่าอสูรผลักตกไป
 
หลังจากนั้นวันดีคืนดี เมื่อเหล่าอสูรคิดถึงวิมานบนสวรรค์ ก็จะพากันไต่เขาพระสุเมร
ขึ้นไปทำสงครามกับเหล่าเทวดา แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะรบชนะพระอินทร์ได้


 พระอินทร์จำแลงมอบฟักทองทองคำให้ธิาช่างปั้นหม้อ

ต่อมาเมื่อนางสุธรรมา นางสุนันทา และนางสุจิตรา เสียชีวิตลงก็ได้ไปเกิดเป็นนางฟ้า
เป็นชายาและใช้ชีวิตอันเป็นทิพย์กับพระอินทร์พร้อมหน้ากันทั้ง 3 คน ขาดแต่นางสุชาดา
ที่รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว แต่งหน้าให้ขาว ทาปากสีแดง แต่ไม่ทำ บุญกุศล
นางจึงไปเกิดเป็นนกกระยางขาว คอยาว มีปากยื่นยาว เที่ยวจับปลากินอยู่ในลำห้วย
 
วันหนึ่ง พระอินทร์ก็คิดถึงนางสุชาดา ด้วยไม่ได้มาเกิดพร้อมกันบนสวรรค์
จึงใช้เนตรทิพย์ส่องลงไป ก็เห็นนางกลายเป็นกระยาง เที่ยวจับปลาอย่างสัตว์เดรฉาน
พระองค์จึงเสด็จลงไป นางนกกระยางเห็นพระอินทร์ก็จำได้ จึงก้มหน้าด้วยความอับอาย
พระอินทร์จึงตรัสสั่งสอนนาง ถึงการทำบุญการทำกรรมที่ทำให้บุคคลต่างได้รับผลนั้น
 
ด้วยความเมตตา พระอินทร์จึงนำนางนกกระยางไปปล่อยไว้ในสระบนสวรรค์ดาวดึงส์
ฝ่ายเทพธิดาทั้งหลายที่อดีตเคยเป็นบ่าวของนางสุชาดา เมื่อรู้ว่านางไปเกิดเป็นนกกระยาง
แล้วพระอินทร์นำมาปล่อยไว้ในสระโบกขรณี ต่างองค์ต่างก็มาเผ้าดูและซุบซิบนินทา
นางนกกระยางได้ฟังก็อับอาย ทูลขอพระอินทร์กลับไปอยู่ในซอกเขาตามเดิม
 
พระองค์จึงพานางมาส่งที่เดิม แต่กำชับให้นางรักษาศีลห้าอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะศีลข้อที่หนึ่ง แล้วพระองค์จะให้นางกลับเป็นใหญ่เหนือทุกคน
ซึ่งนางก็ให้สัจจะ ตั้งแต่นั้นมา นางนกกระยางก็เลือกจับเฉพาะปลาตายกินเป็นอาหาร
แม้จะอดๆ อยากๆ หลายวันจึงจะได้กินปลาตายสักตัว นางก็อุตส่าห์อดทน
 
วันหนึ่ง พระอินทร์ปรารถนาจะลองใจนาง จึงจำแลงองค์เป็นปลาตายลอยน้ำมา
เมื่อนางนกเห็นเข้าก็ดีใจ ใช้จะงอยปากคาบปลานั้น พอจะกลืนลงท้อง
ปลาก็กระดิกตัวขึ้น นางนกกระยางตกใจกลัวผิดศีล รีบคายปากปล่อยปลาลงน้ำไป
 
พระอินทร์จึงทรงปลาบปลื้มยินดี อนุโมทนากับนางนก แล้วเสด็จกลับไป
นางนกกระยางใช้ชีวิตอยู่อย่างอดอยากถึง 500 ปี จึงสิ้นชีวิตลง
ด้วยอานิสงส์แห่งการรักษาศีลอย่างเคร่งครัด นางจึงได้กลับไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง
โดยเป็นธิดาในเรือนช่างปั้นหม้อในนครพาราณสี
 

 อสูรกัญญาเสี่ยงพวงมาลัยเลือกคู่

นครพาราณสีในครั้งนั้นเป็นช่วงที่ศาสนาอันตรธานไปนานแล้ว
แม้ศีล 5 ก็ยังหาคนรักษาได้ยาก มีแต่นางสุชาดาธิดาช่างปั้นหม้อเท่านั้น
ที่รักษาศีล 5 ได้อย่างเคร่งครัด วันหนึ่งพระอินทร์จำแลงเพศเป็นคนแก่
เนรมิตฟักทองทองคำบรรทุกยานน้อยเข้าไปในหมู่บ้าน
 
ร้องประกาศว่าหากใครเป็นผู้รักษาศีล ก็จงมารับฟักทองทองคำไป
พวกชาวบ้านก็จนปัญญาเพราะไม่รู้ว่าศีลคืออะไร นางสุชาดาคิดว่าตัวเองเป็นผู้รักษาศีล
 ฟักทองทองคำนี้คงนำมาเพื่อตนเป็นแน่ นางจึงไปหาชายชราจำแลง ไปขอรับฟักทอง
ชายชราจำแลงซักถามทบทวนศีลกับนางจนมั่นใจจึงยกฟักทองทองคำให้
 
จากนั้นนางก็รักษาศีลต่อจนสิ้นชีวิต ด้วยอานิสงส์ของการรักษาศีล
 
เมื่อสิ้นชีวิตอีกครั้ง นางสุชาดาจึงไปอุบัติเป็นธิดาของท้าวเวปจิตติแห่งอสูรพิภพ
ท้าวเวปจิตติดำริจะทำวิวาหมงคลให้ธิดาสาว
จึงป่าวประกาศให้พวกอสูรมาประชุมกันเพื่อให้ธิดาเลือก
พระอินทร์ทรงตรวจดูว่าบัดนี้นางสุชาดาไปเกิดที่ไหนหนอ
 
พบว่านางไปอุบัติเป็นอสูรกัญญาในพิภพอสูรแล้วและวันนี้นางกำลังจะเลือกคู่
พระองค์จึงเนรมิตกายเป็นอสูรผู้เฒ่า ไปประทับยืนอยู่ท้ายแถวอสูรทั้งหลาย
เมื่อถึงเวลาเลือกคู่ครอง ท้าวเวปจิตติก็บอกธิดาให้เลือกคู่ได้ตามปรารถนา
โดยการนำพวงมาลัยไปคล้องอสูรที่นางชอบใจ
 
นางสุชาดาอสูรกัญญาชายตามองไปยังเหล่าอสูร ด้วยบุพเพสันนิวาสที่เคยอยู่ร่วมกัน
เมื่อเห็นอสูรเฒ่า นางอสูรกัญญาก็หลงรักซัดพวงมาลัยไปให้
อสูรเฒ่าจึงรีบเข้ามาคว้าจับแขนนางพาเหาะหนีไป พร้อมประกาศว่าเราคือพระอินทร์
ฝ่ายพวกอสูรพอรู้ว่าพระอินทร์จำแลงกายเป็นอสูรเฒ่า มาชิงนางอสูรกัญญาไปแล้ว


เหล่าอสูรตามมาเพื่อชิงธิดายักษ์คืน
 
จึงรีบพากันไล่ตาม และบอกพวกอสูรด้วยกันให้รีบมาช่วยกันชิงตัวนางสุชาดากลับ
พระอินทร์พานางสุชาดามาได้ครึ่งทาง ได้ขึ้นราชรถเทียมม้าสินธพพันหนึ่ง
ที่มาตลีเทพบุตรจอดรออยู่ควบขับหนีกลับสวรรค์ดาวดึงส์
 
ครั้นเมื่อราชรถควบผ่านสิมพลีวันอันเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ
ลูกพญาครุฑได้ยินเสียงฝีเท้าม้าสินธพก็ตกใจร้องด้วยความกลัวตาย
พระอินทร์จึงรับสั่งให้มาตุลีเทพบุตรชักราชรถกลับเพราะมีเมตตาไม่ต้องการให้ลูกครุฑตกใจ
พอมาตุลีเทพบุตรชักราชรถกลับมา พวกอสูรก็พากันตกใจ คิดว่ามีกองทัพเทวดามาช่วย
 
จึงแตกกระเจิงหนีกลับอสูรพิภพปล่อยให้พระอินทร์พานางอสูรกัญญากลับดาวดึงส์
ฝ่ายท้าวเวปจิตติอสูร ตรัสถามบรรดาอสูรที่กลับมาว่าใครพาธิดาของเราไป
พอรู้ว่าเป็นพระอินทร์ ดำริว่าเป็นผู้ประเสริฐสุดเหนือใครในสวรรค์นี้แล้ว
แม้ลูกเขยจะเป็นศัตรูกันแต่ก็เป็นถึงจอมเทพ คิดแล้วจอมอสูรก็พอใจอยู่ลึกๆ จึงเงียบเฉยเสีย
 
เมื่อกลับถึงดาวดึงส์ พระอินทร์ก็ทรงแต่งตั้งให้นางสุชาดาอสูรกัญญาเป็นพระชายา
ให้เป็นเทวีหัวหน้านางฟ้อน 25 โกฏิฝ่ายพระนางสุชาดาได้กราบทูลขอพรองค์เทพว่า
ข้าแต่มหาราช ในเทวโลกนี้หม่อมฉันเป็นเหมือนกำพร้า ไม่มีบิดา มารดา หรือพี่น้องหญิงชาย
เมื่อพระองค์เสด็จไปที่ใด โปรดพาหม่อมฉันไปกับพระองค์ด้วยเถิด
 
พระอินทร์ทรงประทานพรให้ ตั้งแต่นั้นมาพระนางสุชาดาจึงเป็นพระชายาที่ได้อยู่เคียงข้าง
พระอินทร์ตลอดมานับตั้งแต่นั้นสงครามระหว่างเทวดากับอสูรก็ค่อยๆ เลิกรากันไป
เพราะจอมอสูรกับจอมเทพกลับกลายมาเป็นพ่อตาลูกเขยกันไปแล้ว
 

 รูปที่คาดเดากันว่าเป็นขรัวโต และวิหารพระอินทร์แปลง

สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในจิตกรรมชุดนี้คือ ตอนมาฆมาณพไปทำบุญตามวัดต่างๆ
ช่างเลือกเขียนภาพโดยใช้ฉากจากวัดที่มีอยู่จริงที่สร้างขึ้นมาในช่วงเวลาของรัชกาลที่ 4
สังเกตจากเจดีย์ประธานที่เป็นทรงระฆัง ฟังดูไม่น่ายากเพราะเราทราบชื่อวัดทั้งหมด
แต่ผมลองดูก็ไม่ง่ายที่จะชี้ว่าเป็นวัดใด โดยอาศัยรูปแบบการก่อสร้าง
 
แม้จะมีข้อสังเกตที่สำคัญก็คือแต่ละวัดย่อมมีหน้าบันที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน
วัดเดียวที่ผมจะมั่นใจ ก็คือวัดเสนาสนาราม เพราะวิหารพระอินทร์แปลงเป็นเอกลักษณ์
สิ่งที่น่าสนใจคือการวาดภาพบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เช่นภาพวาดขรัวโต
ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าใหม่ เช่นเดียวกับที่ได้เคยกล่าวไว้ในจิตกรรมของพระที่นั่งทรงผนวช




 

Create Date : 29 มกราคม 2564
9 comments
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2564 9:01:06 น.
Counter : 1967 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณKavanich96, คุณหอมกร, คุณnewyorknurse

 

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นจังหวัดในดวงใจอุ้ม
วัดนี้อุ้มไป 2 ครั้ง
แต่ไม่เคยมาถึงพระอุโบสถหลังนี้เลย
ส่วนมากอยู่แค่พระวิหารแค่พระนอน
ไว้งวดหน้าจะเดินให้รอบวัด

 

โดย: อุ้มสี 29 มกราคม 2564 16:30:50 น.  

 

ต๊ะไว้ก่อน เดี๋ยวมาอ่านค่ะ วันนี้มีนัด

 

โดย: tuk-tuk@korat 29 มกราคม 2564 17:36:26 น.  

 

ไปครั้งสุดท้ายวิหารนี้ซ่อมอยู่ครับ ยังแอบเข้าไปจนได้ มีไม้อะไรต่ออะไรเต็มไปหมด ดีที่รอดออกมาได้ อิอิ

 

โดย: ทนายอ้วน 29 มกราคม 2564 20:02:39 น.  

 

 

โดย: โอน่าจอมซ่าส์ 29 มกราคม 2564 20:03:05 น.  

 

เป็นวัดใหม่ที่รู้จัก สำหรับเราด้วยค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 30 มกราคม 2564 13:10:48 น.  

 

สวัสดีคราบ แวะมาเยียมคราบ

 

โดย: ทนายอ้วน 30 มกราคม 2564 19:48:52 น.  

 

ผู้ชายในสายลมหนาว Travel Blog ดู Blog
ขอบคุณที่นำมาฝากกันจ้า

 

โดย: หอมกร 1 กุมภาพันธ์ 2564 8:51:33 น.  

 

วัดกะโลทัย บังเอิญขับผ่านตอนไปหาร้านอาหารเลยได้แวะค่ะ
เป็นเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์นอกสุโขทัยหรือเปล่าคะ

ตอนนี้กำลังซุ่มเขียนเรื่องพิมาย ยากจังเลยค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 3 กุมภาพันธ์ 2564 7:08:39 น.  

 

ต่ออีกนิด เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์
เคยเห็นที่ กำแพง เพชรบูรณ์ ที่ อุตรดิถถ์เหมือนจะเหลือแต่ฐาน
ละก็พิดโลก มีสององค์นะคะ

น่าจะที่บ้านตากด้วยค่ะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 3 กุมภาพันธ์ 2564 7:11:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]