Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
25 มิถุนายน 2555

เที่ยวชมศิลป์ ถิ่นพระพุทธบาท : วัดสมุหประดิษฐาราม (2)



หลวิชัยคาวี แสดงตอนแม่เสือก่อนที่จะพบลูกวัวหลงทาง

ก่อนที่จะเล่าเรื่องจิตรกรรมฝาผนัง เรามาทำความรู้จักกันมันกันก่อนดีกว่า
แน่นอนว่าอุโบสถนั้นเป็นอาคารชนิดก่ออิฐถือปูน ภายในเป็นผนังสีขาว
ช่างโบราณจึงคิดที่จะเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสนาไว้เพื่อความสวยงาม
และให้ความรู้กับชาวบ้านโดยเฉพาะผู้หญิงที่ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ

เรื่องที่เขียนนั้นจึงแบ่งเป็นสองหมวดใหญ่ หนึ่งคือพุทธประวัติตอนสำคัญๆ
เช่น พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตอนมารผจญ
ตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ ตอนเสวยวิมุติหลังเด็จตรัสรู้ เป็นต้น
อีกส่วนนั้นมักจะเขียนภาพชาดกบนห้องภาพสีเหลี่ยมที่อยู่ระหว่างหน้าต่าง

ชาดก คือเรื่องราวหรือชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า
สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง
เป็นสัตว์บ้าง ในยุคพุทธกาลทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ
เช่นเมื่อเกิดฝนโบกขรณีขึ้น พระองค์ก็เล่าว่านี่มิใช่ครั้งแรก แต่ในอดีตนั้น ....

เรื่องราวนั้นสืบทอดต่อมาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก เรียกว่า นิบาตชาดก
มีทั้งหมด 22 หมวด 550 เรื่อง หรือรู้จักกันในพระเจ้าห้าร้อยชาติ
โดยเป็นเพียงคำฉันท์สั้นๆ หนึ่งบรรทัด สองบรรทัดบ้าง
คนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ จึงมีการแต่งหนังสือประกอบเรียกว่าอรรถกถา




สมุทโฆษ ตอนเรือแตก สองกษัตริย์ต้องพลัดพราก

เป็นร้อยแก้วธรรมดา มีตัวละคร เหตุการณ์ต่างๆ จนถึงบทสรุปของชาดก
มี10 ชาติสุดท้ายที่เป็นเรื่องยาว และรู้จักกันดีคือทศชาติหรือพระเจ้าสิบชาติ
โดยพระองค์ได้บำเพ็ญทานบารมีสูงสุดในชาติสุดท้าย คือมหาเวสสันดรชาดก
เรียกว่า มหาชาติ มีความยาวถึง 13 กัณฑ์ วัดที่มีพื้นที่น้อยอาจจะเขียนเฉพาะชาตินี้

วัดในขนบ เช่นวัดหลวง วัดในตัวเมือง มักเลือกที่จะเขียนเรื่องราวเกี่ยวทศชาติ
วัดขนาดใหญ่ก็มักจะเขียนครบ10 เรื่อง และอาจจะมีเวสสันดรชาดกเพิ่มเป็นสามสี่ห้อง
วัดที่มีขนาดเล็กเพียง 6-8 ห้อง จำต้องเลือกพระชาติที่สำคัญๆ เท่านั้น
วัดที่มีห้องน้อยแถมเล็กมาก อาจจะเลือกที่จะเขียนเวสสันดรชาดกเรื่องเดียว

เมื่อห่างไกลจากศูนย์กลางแห่งกฎระเบียบ หมายถึงวัดนั้นอยู่ในชนบทที่ห่างไกล
ช่างพื้นบ้านมักเลือกที่จะเล่าเรื่องที่ใกล้ตัวกว่านั้น ซึ่งเราถือว่าเป็นชาดกเช่นกัน
เป็นชาดกที่ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก เรียกว่า ชาดกนอกนิบาต หรือปัญญาสชาดก
สันนิษฐานว่าผู้แต่งคือภิกษุชาวเชียงใหม่ และน่าจะแต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2000-2200

เพื่อเป็นการสอนศาสนาโดยใช้ชาดก โดยแต่งเป็นชาดกนอกนิบาต 50 เรื่อง
ผนวกกับปัจฉิมภาคอีก 11 เรื่อง ที่ใกล้ตัวที่สุดคือ มหาปทุมชาดก
พบที่วัดบางขุนเทียนใน วัดเปาโรหิตย์ วัดกำแพงบางจาก คงคาราม
วัดหน้าพระธาตุ และวัดทุ่งศรีเมือง แต่ยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดียิ่งกว่า
ในละครจักรๆ วงศ์ เช่น สังข์ทอง หนวิชัยคาวี สมุทโฆษ เป็นต้น

เราจำต้องรู้ชาดกทั้งหมดที่มี มิฉะนั้นคงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจจิตรกรรม
ข่าวร้ายก็คือ แต่ละเรื่องนั้นยาวมาก เต็มไปด้วยเรื่องราวและตัวละคร
แต่ข่าวดีก็คือ แต่ละวัดนั้นล้วนจับตอนสำคัญๆ ที่แทบจะไม่แตกต่างกัน




จันทโครพ แสดงตอนจัทโครพถูกโจรฆ่าตาย ทางขวานางโมราไปกับโจรป่า


Create Date : 25 มิถุนายน 2555
Last Update : 25 มิถุนายน 2555 17:33:28 น. 4 comments
Counter : 2908 Pageviews.  

 
อ่านภาพยากมากค่ะ
ได้ความรู้จากคุณ VET53 มากถึงวิธีการหา
ขอบคุณค่ะ

ที่วัดอ่างศิลาปกติท่านจะเปิดโบสถ์วันเสาร์ - อาทิตย์
ก็ไปขอท่านเจ้าอาวาสที่กำลังเจิมรถ ท่านก็ให้คนมาเปิดให้ชมค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 25 มิถุนายน 2555 เวลา:21:53:21 น.  

 
ชมพระอาทิตย์พรุ่งนี้นะคะ
วันนี้เมื่อยแล้ว ^^



โดย: addsiripun วันที่: 25 มิถุนายน 2555 เวลา:22:24:38 น.  

 
ง่ะ รู้ชาดกทั้งหมด เง่อ..
ยากจังค่ะ แหะๆ


555

รีวิวนี้ที่จริงเขียนง่ายกว่าหลายๆ รีวิวที่ผ่านมานะคะ พวกรีวิวที่พักที่เที่ยว เราทุ่มเท+เสียเวลามากกว่านี้เยอะเลยค่ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 26 มิถุนายน 2555 เวลา:8:12:19 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้เรื่องภาพจิตรกรรมฝาผนัง

เราต้องรู้เรื่องชาดกทั้งหมดที่มี...ยากมากเลยนะคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 4 กรกฎาคม 2555 เวลา:18:15:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]