Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
25 เมษายน 2559

เที่ยวเมืองเชียงใหม่ 2558 : วัดเจดีย์หลวง (2)



วัดนี้ถูกทิ้งร้างเป็นระยะเวลานานกว่า 400 ปี ตั้งแต่มีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
กระทั่ง พ.ศ. 2423 พระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าและสร้างวิหารหลวงขึ้นใหม่สร้างด้วยไม้ตามแบบล้านนา

พ.ศ. 2471-2481 สมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย
ได้มีการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นปกคุลมโบราณสถานต่างๆ ออก
แล้วสร้างเสริมเสนาสนะขึ้นใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา

ในวิหารประดิษฐานพระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรสูง 18 ศอก
หล่อด้วยทองสำริด มีพระอัครสาวกยืนด้านซ้ายและขวา รอบพระประธาน
มีพระพุทธรูปนั่งตั้งอยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปแบบสุโขทัย ล้านนา
หรือพระพุทธสิหิงค์ แต่ที่โดดเด่นที่สุดเพราะตั้งอยู่บนฐานสูงหน้าพระประธาน

พระไภษัชยคุรุ พระพุทธรูปนั่งทรงเครื่องในหัตถ์ข้างซ้ายประคองหม้อยา
แน่นอนว่าเป็นพระพุทธเจ้าในนิกายมหายาน คำถามคือ มาตั้งไว้ที่นี่ทำไม
ต้องเข้าใจว่า หลังจากพุทธนิกายมหายานได้รับความนิยมทางตอนเหนือ
ของเทือกเขาหิมาลัย แพร่หลายเข้าไปในจีน ส่วนหนึ่งก็แพร่กลับลงมาพม่า
และแน่นอนว่า ล้านนากับพม่าก็มีการเดินทางติดต่อค้าขายกันเป็นประจำ



สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจนผมต้องเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ก็คือ ธรรมาสน์ จปร.
ตอนแรกนึกว่าเป็นของที่ได้รับพระราชทานมา ลงรักปิดทองประดับกระจกด้วย
เป็นธรรมาสน์ชั้นหนึ่ง แต่เมื่อเดินไปอ่านด้านหลังก็เห็นว่าเป็นของใหม่
เพราะมีการติดชื่อผู้บริจาคอยู่ ทำให้ได้รู้ว่ามีคนทำของแบบนี้ขายด้วย

มองไกลๆ จะดูคล้าย ดูใกล้ๆ งานจะไม่ละเอียดเท่าของจริง
ที่สำคัญธรรมาสน์ จปร. เก่าจะไม่มีอุปกรณ์ประกอบแบบนี้
ต่อมาผมก็ได้เห็นแบบนี้ในอีกวัดหนึ่งในกรุงเทพ แตกต่างกันที่
วัดนี้เคยมีของแท้แต่ถูกไฟไหม้ ก็เลยต้องไปซื้อของใหม่มาตั้งแทน

สิ่งสุดท้ายในวัดนี้ก็คือเสาอินทขีล ประดิษฐานอยู่ภายในวิหารจัตุรมุขทรงไทย
สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยในทุกๆปี ช่วงเดือนพฤษภาคมจะมีงานพิธีบูชา
ประวัติว่าเดิมอยู่ที่วัดสะตือเมืองแล้วจึงย้ายมาที่วัดเจดีย์หลวง
โดยมีความเชื่อสองกระแส หนึ่งคือย้ายมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกราช
เพราะโดนพระเถระอยุธยาทำของใส่เพื่อให้ชนะสงคราม จึงต้องทำพิธีแก้

อีกกระแสว่า พ.ศ. 2343 พระเจ้ากาวิละย้ายออกจากเวียงป่าซางเข้าสู่นครเชียงใหม่
ในยุคเก็บผักใส่ช้าเก็บข้าใส่เมือง เรียกชื่อเมืองเชียงใหม่ว่า เมืองรัตตนติงสาภินวปุปรี
พร้อมก่อรูปกุมภัณฑ์รูปสุเทวฤษไว้ใกล้หออินทขีล ที่วัดโชติอารามวิหาร



กระแสที่สองเขียนไว้เพียงว่า ก่อรูปปั้นไว้ใกล้เสาอินทขีล
หนึ่งคือกุมภัณฑ์ น่าจะหมายถึงยักษ์หรือรากษสชั้นสูงที่เฝ้าดูแลสวรรค์
สุเทวฤษีน่าจะหมายถึง ฤาษีวาสุเทพในตำนานผูู้สร้างนครหริภุญไชย
ผมไม่เห็นทั้งสองสิ่งนี้อยู่ภายใน มีแค่รูปเทวดาบนกำแพงแก้วเท่านั้นเอง

ถ้าย้อนกลับไปในสมัยพระเจ้าติโลกราช ศาสนาพุทธนั้นลงหลักมั่นคง
ถ้าตัดเรื่องไสยศาสตร์เวทมนต์ออกไป ก็เชื่อได้ว่าพระองค์ก็คงอยากที่จะย้าย
เสาหลักเมืองตามแนวคิดใหม่ เพื่อไปไว้ที่เจดีย์ใหญ่อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล

เสาอินทขีลคือหลักของเมืองตามความเชื่อของลัวะ
ลัวะหรือละว้า จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ –เขมร ที่ไม่มีภาษาเขียน
เป็นชนชาติดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามบริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขง
เชื่อว่าชาวลัวะเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาบุกเบิกในแคว้นบริเวณรัฐฉานประเทศพม่า
ตอนใต้มณฑลยูนนานประเทศจีน ประเทศลาว เวียดนาม และกัมพูชาตอนเหนือ

เมื่อชาวโยนกราชวงศ์มังรายขยายอิทธิพลลงมายังที่ราบเมืองเชียงใหม่
ซึ่งเป็นถิ่นฐานของพวกลัวะมาก่อน ก็ให้เกียรติในฐานะเป็นเจ้าของแผ่นดิน
ให้เป็นผู้ทำพิธีตั้งเสาอิทขีล แม้กระทั่งต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังมีประเพณีว่า
ก่อนที่เจ้าเมืองคนใหม่จะเข้านั่งเมือง ก็ต้องให้ชาวลั๊วะจูงหมานำหน้าเข้าประตูเมือง

คล้ายกับในรัฐไทยใหญ่ ก่อนที่เจ้าฟ้าจะขึ้นปกครองแผ่นดิน
ต้องให้คนลัวะขึ้นไปนั่งบนหอคำก่อนถึงจะสามารถสถาปนาตนเองได้


เชียงใหม่ : วัดสะตือเมือง




 

Create Date : 25 เมษายน 2559
6 comments
Last Update : 26 เมษายน 2559 14:15:43 น.
Counter : 1621 Pageviews.

 

ธรรมาสน์ จปร. วัดในกรุงเทพฯ นึกไม่ออกค่ะ ทีแรกคิดว่าอยู่วัดเบญ ลองเข้าไปอ่านใหม่ ไม่ใช่นี่นา


บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


*** ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องจิตรกรรมฝาผนังด้วยค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 25 เมษายน 2559 14:17:18 น.  

 

ที่ไปมาคราวที่แล้ววิหารเสาอินทขีลปิดอ่ะคราบ โชคดีจังเลยได้เข้าไปข้างใน แถมบูรณะใหม่ด้วย

 

โดย: ทนายอ้วน 26 เมษายน 2559 4:45:07 น.  

 

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ทางประวัติศาสตร์ ชอบเรื่องราวแบบนี้มากเลย

 

โดย: NaiKonDin 26 เมษายน 2559 12:57:05 น.  

 

มาเอาความรู้เช่นเคยค่ะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Max Bulliboo Klaibann Blog ดู Blog
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Food Blog ดู Blog
moresaw Funniest Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าใครแกล้งน้องหมาค่ะ แต่ฮามาก

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 26 เมษายน 2559 15:03:12 น.  

 

เราเป็นศรัทธาวัดเจดีย์หลวงตั้งแต่เด็กเท่าทีจำได้เมือแม่พาไปวัดค่ะ
ภาพเก่ายังคงติดอยู่ในความทรงจำเสมอ

ในวันพระ จัดเตรียมอาหารไปวัด ไปจัดสำรับ สิบโมงมีทำวัด หลังพระฉันเสร็จแต่ละบ้านจะแบ่งอาหารที่นำมาให้สำรับต่าง ๆ ได้รับประทานร่วมกัน
ได้รูจักผู้เฒ่าผู้แก่มากมาย

วันใส่ขันดอกจะไปช่วยขนดอกไม้ที่เขามาใส่บาตรจากวิหารไปด้านนอก
ช่วยแลกสตางค์เพื่อนำไปส่ในบาตร 108 บาตร

วันที่ 15 มีการทำบุญรดน้ำดำหัวพระสงฆ์ และผู้เฒ่าผู้แก่ค่ะ
+


ปล.
จัดเพลงแรกแล้วค่ะ

อยากบอกว่าอาหารที่ทำง่ายกว่าได้ทำหลายอย่างในวิชาชีพเยอะค่ะ


 

โดย: tuk-tuk@korat 26 เมษายน 2559 15:52:45 น.  

 

ว่าไปแล้ว ยังมีวัดในกรุงเทพฯ อีกหลายวัด น่าไป แล้วยังไม่ได้ไป ด้วยความคุ้นเคย เลยไปวัดซ้ำ ๆ ไงคะ วัดอื่นไปไม่ถูกบ้าง ไปแล้วไม่เปิดบ้าง (วัดทองธรรมชาติ วัดทองนพคุณ) เลยไม่ค่อยอยากดุ่ม ๆ ไปคนเดียวค่ะ

วัดบรมนิวาส เพิ่งเห็นเมื่อเร็ว ๆ นี้เองค่ะ เค้าถ่ายภาพมาลง สงสัยในงานเดียวกันแน่เลย เดินกับสยามทัศน์

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 27 เมษายน 2559 6:34:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]