Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

พ.ศ.2552 … เสนอเลือกเบิกจ่ายยาให้ข้าราชการบางกลุ่ม ??? .... ข้าราชการ ก็เตรียมตัวไว้บ้าง






เสนอเลือกเบิกจ่ายยาให้ข้าราชการบางกลุ่ม

18 พค. 2552 17:51 น.

เมื่อวันที่ 18 พ.ค. คณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการบริหารงบประมาณด้านสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา จัดการเสวนาเรื่อง การติดตามและตรวจสอบบริหารงบประมาณด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2551

โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมและสะท้อนถึงปัญหาอุปสรรคของงบประมาณด้าน สาธารณสุขทั้งในส่วนของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และค่าใช้จ่ายสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ซึ่งข้อสรุปที่ได้คณะกรรมาธิการสาธารณสุขจะนำเสนอผ่านส.ว.เพื่อให้รัฐบาล แก้ไขต่อไป

นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการบริหารงบประมาณด้านสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า

ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยข้าราชการมีแนวโน้มที่จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยปี 2551 ตั้งงบประมาณไว้ 3.87 หมื่นล้านบาทแต่กลับมีการใช้งบประมาณทั้งสิ้น 5.49 หมื่นล้านบาท
แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยนอกจำนวน 3.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผู้ป่วยในใช้เพียง 1.6 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้กว่า 80%ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกคือค่าใช้จ่ายด้านยา ดังนั้นภาระของภาครัฐคือ งบประมาณด้านการรักษาพยาบาลของข้าราชการที่จำเป็น ต้องควบคุม

นายเจตน์ กล่าวอีกว่า การเริ่มต้นแก้ไขคือ

ต้องแก้ไขพ.ร.ก.ว่าด้วยการรักษาพยาบาลที่รับผิดชอบระบบ สวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ให้มีงบประมาณในส่วนการบริหารจัดการที่ชัดเจน ให้มีหน่วยงานที่เป็นกลางมาดำเนินการตรวจสอบบริหารจัดการในส่วนนี้ให้มี ประสิทธิภาพ

ซึ่งน่าจะยกฐานะของสำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) ทีอยู่ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขมาทำหน้าที่ในส่วนนี้ เพราะสกส.เป็นหน่วยงานที่คิดระบบจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนผู้ป่วยในของข้าราชการไม่สูงมากนัก

ส่วนการเบิกค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกให้สถานพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการโดยตรง แทนที่ข้าราชการต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน และควรเลือกจ่ายเฉพาะบางกลุ่ม บางโรค เช่น ผู้ป่วยโรคที่ยามีราคาแพงบางชนิด เป็นต้น

“ปีงบประมาณ 2551 ตั้งงบไว้ 3.87 หมื่นล้านบาท แต่ใช้จริง 5.49 หมื่นล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าปีงบ 2552 ตั้งงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลข้าราชการไว้ 4.8 หมื่นล้านบาท จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เบิกเงินคงคลังเกิน งบประมาณก็จะไม่เพียงพอ และต้องเบิกงบประมาณกลาง เมื่องบกลางมีน้อย จำเป็นต้องเบิกงบคงคลังคืน แต่นายกรณ์ จาติกวาณิช รมว.คลัง สัญญาว่าจะไม่เบิกเงินคงคลัง จึงเห็นแววว่าจะเกิดปัญหาอย่างแน่นอน”นายเจตน์ กล่าว

นายเจตน์ กล่าวด้วยว่า ที่น่าเป็นห่วงมากคือ เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ที่มีกว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ไม่ได้เบิกจ่ายงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลจากกรมบัญชีกลาง แต่ใช้งบประมาณจากท้องถิ่น ซึ่งไม่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเลย แต่สิทธิต่างๆมีสิทธิเหมือนข้าราชการที่เบิกจากกรมบัญชีกลางทุกประการ

ดังนั้น หากต้องการพิจารณางบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขทั้งหมด จำเป็นต้องมีข้อมูลในส่วนนี้ด้วย ซึ่งตัวเลขก็คำนวณจากระบบสวัสดิการข้าราชการปี 2551 มีจำนวน 5 ล้านกว่าคนใช้งบประมาณ 5.49 หมื่นล้านบาท แต่เจ้าหน้าที่ส่วนนี้ 3 ล้านคนก็คิดว่าคงเป็นจำนวนมาก แต่ข้อมูลไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ

นายเจตน์ กล่าวอีกด้วยว่า ในส่วนของระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ......

แม้ว่าจะได้รับงบประมาณรายหัวเพิ่มเป็น 2,406บาท แต่ปัญหาคือ ต้นทุนทางการแพทย์ก็เพิ่มขึ้นด้วย อาทิ เงินเดือนบุคลากรที่เพิ่มทุกปี ปีละ 6% ซึ่งงบประมาณรายหัว 40%จะถูกกันให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นเงินเดือนบุคลากร เหลือ 60%เป็นค่าดำเนินการ

ดังนั้นการที่รัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณรายหัวในแต่ละปีจะต้องเพิ่มงบประมาณมากก ว่า 6% หากน้อยกว่านี้ถือว่าไม่ได้เพิ่มอะไรเลย

นายเจตน์ กล่าต่อด้วยว่า สำหรับกองทุนประกันสังคม(สปส.) ....

ที่ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก เพราะงบประมาณรายหัวได้ในระดับที่เพียงพอ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ฐานระบบข้อมูลยังเป็นแบบเก่า ไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างกลไกและระบบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการแพท ย์ให้เกิดคุณภาพ รวมถึงกลไกการจ่ายเงินที่จูงใจและส่งเสริมประสิทธิภาพในการให้บริการให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ ซึ่งสปส.ตั้งใจที่จะพัฒนาระบบอยู่




อืม ... ดูแล้ว คงมีแวว ที่จะออกมาตรการใหม่ ๆ ...
ข้าราชการ ทั้งหลาย ก็อาจต้องปรับตัวกันอีกแล้ว ...

" แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยนอกจำนวน 3.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผู้ป่วยในใช้เพียง 1.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้กว่า 80%ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกคือค่าใช้จ่ายด้านยา "

ผมไม่แน่ใจว่า ที่ท่านพูดนี้ ได้มีใครให้ข้อมูลกับท่านบ้างหรือเปล่าว่า ปกติ ก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว เพราะ ปริมาณผู้ป่วยนอกกับในนั้น ต่างกันมาก ..

ค่าใช้จ่าย ผู้ป่วยนอก กับ ผู้ป่วยใน ก็จะประมาณ ๔ ต่อ ๑ มาตั้งนานแล้ว ...

แล้วที่บอกว่า ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอก ส่วนใหญ่ เป็น ยา ... แบบนี้ ก็คงต้องปรับลด การใช้ยาลง งั้นหรือ ???


พ.ศ.2552 ...กรมบัญชีกลางคุมเข้มเบิกจ่ายยา ขรก. ไม่ทำตามเกณฑ์ เรียกเงินคืนคลัง //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=12-12-2016&group=29&gblog=1

พ.ศ.2552 … คลังตั้งทีมรื้อค่ารักษา ข้าราชการ 7 หมื่นล. ... คลังหน้ามืด!ค่ารักษาขรก. พุ่ง1.5แสนล. //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=08-12-2009&group=29&gblog=2

พ.ศ.2552 … สรุปอภิปราย “มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ใน สวัสดิการการ ของ ข้าราชการ” //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=26-02-2010&group=29&gblog=3

พ.ศ.2552 … เสนอเลือกเบิกจ่ายยาให้ข้าราชการบางกลุ่ม ??? .... ข้าราชการ ก็เตรียมตัวไว้บ้าง //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=18-05-2009&group=29&gblog=4

พ.ศ.2553 … คลังเปิดทางให้ ข้าราชการนอนรักษาร.พ.เอกชนได้ ..... (ดูเหมือนดี แต่มันจะดีจริงหรือ ???) //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-09-2010&group=29&gblog=5

พ.ศ.2554 … ขรก.จ๊ากแน่ คลังเลิกจ่าย ยานอก9กลุ่ม (ไทยโพสต์) ....นำกระทู้มาลงไว้เป็นข้อมูล //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=25-01-2011&group=29&gblog=6

พ.ศ. 2555 … จ่ายยาต้นแบบให้ข้าราชการ (เบิกได้)แต่หมออาจต้องจ่ายเงินตัวเองให้ DSI.. //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=22-07-2012&group=29&gblog=8

พ.ศ.2556 ...คลังรุกอีกคุมเข้ม"ป่วยนอก"ขรก.วางแนวให้"เหมาจ่าย"เผยเจอข้อมูลส่อทุจริตเวียนรับยารพ.600ครั้ง/ปี //www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=05-11-2012&group=29&gblog=7

พ.ศ.2557 … ปัญหายาข้าราชการ....ประเด็นที่ยังไม่มีใครพูดถึง ... โดยนาวาอากาศโท นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=25-10-2012&group=29&gblog=9

พ.ศ.2559 … กรมบัญชีกลาง “เตะหมูเข้าปากหมา”?ตัดงบ 60,000 ล้าน ให้ บ.ประกันบริหารค่ารักษา ขรก. //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=29-09-2016&group=29&gblog=10

พ.ศ.2560 … ขบวนการใช้สิทธิขรก.โกงยา “สวมสิทธิ-ยิงยา-ช็อปปิ้งยา” – ปี’59 ใช้บริการกว่า 27.8 ล้านครั้ง //www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=14-08-2017&group=29&gblog=11





 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2552   
Last Update : 14 สิงหาคม 2560 23:04:36 น.   
Counter : 759 Pageviews.  

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักการดีแต่ต้องรีบ“ปฏิรูปวิธีดำเนินการ” ... พญ. เชิดชู









ยาวหน่อย ค่อยๆ อ่านได้อะไรดีๆ เยอะเลยครับ ...


หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักการดีแต่ต้องรีบ“ปฏิรูปวิธีดำเนินการ”

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา


สืบเนื่องจากบทความเรื่อง “คิดถึงคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ 3 เมย. 2552 หน้า 11 ที่ได้กล่าวถึงความริเริ่มของนพ.สงวนในการเป็นผู้บุกเบิกระบบหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนไทย 47 ล้านคนที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพจนเป็นผลสำเร็จในปีพ.ศ. 2545 ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลไทยรักไทยในยุคนั้นที่เป็นผู้อนุมัติโครงการ “30 บาทรักษาทุกโรค”ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วประเทศและเป็นโครงการประชานิยม ที่ได้รับความนิยมและชื่นชมยินดีจากประชาชนมากที่สุด

นพ.สงวนฯและพวก ได้เป็นผู้คิดริเริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพเพื่อต้องการให้ประชาชนทุกคนมี ความสามารถในการ “เข้าถึง” บริการด้านสุขภาพโดยไม่ต้องกังวลกับการมีเงินจ่ายหรือไม่ แต่เมื่อพรรคไทยรักไทยได้นำโครงการนี้ไปใช้ ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่านพ.สงวนฯ ไม่มีโอกาสที่จะอยู่แก้ไขปัญหาความสับสนวุ่นวายที่เกิดขึ้นหลังจากการนำโครงการนี้มาใช้

มีการกล่าวถึงประโยชน์ของโครงการนี้ที่เกิดขึ้นอย่างมากมายจากการที่ประชาชน ไทยได้รับ “หลักประกันสุขภาพ”โดยไม่ต้องจ่ายเงินประกันส่วนตัวเพิ่มเติมใดๆจากการเป็นประชาชนไทยที่เสียภาษีให้รัฐบาล ประชาชนที่มีสิทธิตามโครงการนี้สามารถมารับการตรวจรักษาสุขภาพโดยไม่มีภาระค่าใช้จ่าย ทำให้สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทยหรือTDRI ได้เคยสรุปว่า โครงการ 30บาทรักษาทุกโรคนี้เป็นโครงการที่ “แก้จน” ให้แก่ประชาชนได้ดีกว่าโครงการแก้จนหลายๆโครงการที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ในการแก้จนจริงๆเสียอีก

แต่อย่างไรก็ตามประชาชนไทยทุกคน(ถึงแม้จะเสียภาษีตามอัตรารายได้ของตน) ก็ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงการหลักประกันสุขภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

ประชาชนที่ไม่มีสิทธิใน “หลักประกันสุขภาพ”มีอยู่ 2 ประเภทได้แก่ ข้าราชการ(ที่ยอมทำงานเงินเดือนน้อยกว่าเอกชน) ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงการหลักประกันสุขภาพ และ ประชาชนไทยที่เป็นลูกจ้างภาคเอกชน ก็ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหลักประกันสุขภาพ แต่ต้องจ่ายเงินจากค่าจ้างรายเดือนทุกๆเดือนของตนเอง(สมทบกับเงินของนายจ้าง และของรัฐบาล) จึงจะมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามโครงการประกันสังคม

ฉะนั้นโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้ จึงไม่ได้ทำให้ “ประชาชนไทย”มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่าเทียมกันทุกคนดังคำกล่าวอ้างของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)แต่อย่างใด


............................



เพิ่มเติม
วิกฤติบริการสาธารณสุข?
นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ เปิดปมร้อน 10 ปี สปสช. รพ.รัฐขาดทุนถ้วนหน้า – หมอ พยาบาลป่วน หวั่นอนาคตระบบสาธารณสุขไทย เอาไม่อยู่
//thaipublica.org/2012/03/sutham-evaluation10-years-nhso/

บทความ ตั้งแต่ 27 มีนาคม 2555 แต่เนื้อหา เหตุการณ์ ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบัน ( และ อนาคต???)



...................................


กว่าจะเป็น'ระบบประกันสุขภาพ'   
TCIJ 05 พฤศจิกายน 2555
//tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=1420





แก้ปัญหาโครงการประชานิยม 30บาทก่อนประเทศจะล่ม ด้วยแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำโรงพยาบาลให้เป็นของชุมชนปฏิรูปสังคมไทยให้เข้มแข็ง

โดย ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร 29 เมษายน 2558 12:21 น.

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000048860

วิพากษ์ข้อเสนอในการแก้ปัญหาโครงการประชานิยม30 บาท ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร

โดย แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา 2 พฤษภาคม 2558 19:04 น.

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000050272

Breakdown ค่าใช้จ่ายโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะ Brokeหรือไม่?

โดย อ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ 29 เมษายน 2558 10:28 น.

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000048775

โรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทยขาดทุนเพราะ ใคร?:บทวิเคราะห์หาสาเหตุ

โดย อ.ดร.อานนท์ศักดิ์วรวิชญ์/ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร 21 เมษายน 2558 15:44 น.

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000045566

ค่าใช้จ่ายในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสปสชกับ Rand Health Insurance Experiment: เมื่อคนใช้ไม่ต้องจ่ายชาติจะฉิบหายได้หรือไม่?

โดย อ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ 18 มีนาคม 2558 15:35 น.

//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000031735

เจาะงบ สปสช.ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวประชาชนผิดประเภทแจกทำวิจัยและไม่ใช่หน่วยบริการตามกม.มีชื่อ”นพ.สมศักดิ์”รมช.สาธาธารณสุข– คตร. สั่งปลัดสาธารณสุขเร่งรัด สปสช.หาคนผิดลงโทษ

//thaipublica.org/2015/01/public-health-services-52/





 

Create Date : 14 เมษายน 2552   
Last Update : 13 กันยายน 2560 13:38:02 น.   
Counter : 1598 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]