Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

“น้ำลดตอผุด” : ๑๕ ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า + ข้อมูลประกอบการติดตามข่าวการแก้ไข พรบ.หลักประกันสุขภาพ



“น้ำลดตอผุด” : ๑๕ ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า

ผศ.นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
ไทยรัฐ

​เริ่มแต่พรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งได้ใช้เวลาเพียงข้ามคืนตัดสินใจก่อกำเนิดระบบการรักษาฟรีทั่วหล้าเมื่อ ๑๕ ปีก่อน เพื่อใช้เป็นสปริงบอร์ดสำหรับคะแนนเสียงแบบถล่มทลาย นับแต่นั้นเป็นต้นมา ระบบสาธารณสุขของประเทศได้ถูกผูกติดไปกับการเมืองแบบแยกไม่ออก ระบบนี้แม้โดยหลักการจะถือว่าดีมากแต่กลับทำให้โรงพยาบาลทั่วประเทศประสบปัญหา “ขาดทุนบักโกรก” จนทำให้คุณภาพการรักษาตกต่ำ คนทำงานประสบปัญหาโดนฟ้องร้อง ร้องเรียน เพราะภาระงานมากมายมหาศาลแบบไม่อั้นตามคำโฆษณาชวนเชื่อจากพ่อค้าคนกลางอย่าง “สปสช” ที่เร่งเร้าให้ประชาชนแห่มาโรงพยาบาลทั้งเช้าค่ำบ่ายดึก หลังจากมดงานแบกรับภาระจนหลังหักและส่งเสียงเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองยอมรับความจริงและเร่งแก้ปัญหาก่อนจะสายเกินแก้

ในที่สุด รัฐบาลพิเศษในชุดปัจจุบัน ก็กล้าที่จะยอมรับความจริงว่าระบบกำลังเข้าสู่ภาวะโคม่า และต้องเร่งผ่าตัดแก้ไขโดยด่วน มิฉะนั้นหากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ภาวะกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่กล้าแตะต้องพ่อค้าคนกลางและทีมงานในอุปการะจะเป็นอุปสรรคและทำให้ระบบล่มจมและที่สุดคนเจ็บป่วยทั่วประเทศจะกลายเป็นคนที่ต้องรับกรรมในที่สุด

อะไรคือตอที่ผุดขึ้นมาภายหลังย้ำลดมีอะไรบ้างและรัฐบาลจะจ่ายยาได้ถูกโรคหรือไม่

(1) “๓๐บาทรักษาทุกโรค” แม้ทุกวันนี้จะยกเลิกการเก็บไปแล้ว แต่สโลแกนนี้ก็ยังยากจะลืมเลือน เฉกเช่นเดียวกับคำว่า “แฟ้บและผงซักฟอก” ความเป็นจริงแล้วระบบนี้ไม่ได้อนุญาตให้รักษาทุกโรค หากแต่รักษาบางโรคที่พ่อค้าคนกลางกำหนดให้รักษาและต้องด้วยวิธีที่กำหนดให้เท่านั้น หากทำนอกเหนือจากที่กำหนด โรงพยาบาลและแม้แต่แพทย์อาจต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมข่าวไม่พอใจผลการรักษาจึงเพิ่มมากขึ้นนับแต่พ่อค้าคนกลางถือกำเนิดขึ้น

(2) “การรั่วไหลของเงิน” กรรมการของ บริษัท สปสช.ที่เต็มไปด้วยสารพัดองค์กรและมูลนิธิที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างสอดรับไปพร้อม ๆ กับการก่อกำเนิดของสปสช.นี้ในยุครัฐประหารเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว นัยว่าคนชงกฎหมายนี้ กับคนที่ดูแลสารพัดมูลนิธิและองค์กร เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน รู้ดีว่าช่องโหว่ของกฎหมายที่ตนเองเขียนมากับมือมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรจึงจะดูดเงินภาษีออกจากระบบไปเข้าองค์กรและกระเป๋าของตนเองได้มากที่สุดโดยไม่น่าเกลียด ล่าสุดก็มีการเปิดโปงการรับเงิน ๒๐ กว่าล้านปีภายใน ๑ ปีของมูลนิธิไม่แสวงหากำไร (???) ในการจัดให้มีโครงการรับโทรศัพท์บริการให้คำปรึกษาโรค ที่น่าตลกคือตัวละครของมูลนิธิก็คือหนึ่งในคนที่ออกมาคัดค้านไม่ให้แก้ไขกฎหมาย

(3) “เสียงที่ถูกเมินเฉยหรือไปไม่ถึงพ่อค้าคนกลาง” ผลของการที่ บริษัทปล่อยให้มีกรรมการที่เป็นคนนอกซึ่งไม่ทำงานด้านการรักษาพยาบาลโดยตรง มาคอยชี้นำและถกเถียงเพียงเพื่อเอาชนะคะคาน แต่กลับไม่มีเก้าอี้สำหรับมดงาน(lay person)ที่ต้องอยู่หน้างานจริง ๆ ทำให้ปัญหาที่แท้จริงไม่สามารถสื่อไปถึงเบื้องบน ผลคือระบบสาธารณสุขอยู่ในอาการโคม่าเช่นทุกวันนี้

(4) “ความถูกต้องวัดกันด้วยจำนวนมือ ไม่ได้ด้วยข้อเท็จจริง” เช่นเดียวกับข้างต้น คนนอกที่เสียงดังแต่ไม่ได้เป็นคนทำงานด้านการรักษาและช่วยชีวิตผู้ป่วยจริง ๆ สามารถใช้ connection เพื่อทำให้เกิดภาวะ block vote ในลักษณะ “พวกมากลากไป” อาทิเช่น การตัดสินว่า “การทำหมันแล้วท้องคือความเสียหายที่แพทย์ก่อ” “การกำหนดควบคุมวิธีการรักษาแบบคิดเองเออเองทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาโรค” เป็นต้น จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมมดงานตัวจริงถึงได้รังเกียจระบบพ่อค้าคนกลาง ทำให้ประเด็นนี้คือหนึ่งในประเด็นหลักที่ต้องรีบแก้ไข และในขณะเดียวกันก็เป็นประเด็นที่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากคนที่ได้รับเงินค่าเบี้ยประชุมทางตรงและผลประโยชน์ทางอ้อมตลอด ๑๕ ปีที่ผ่านมา

(5) “สังคมผู้สูงอายุ” ทุกวันนี้ประเทศไทยถือว่าได้เข้าสู่Aging societyเรียบร้อยแล้ว ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยง่ายแต่รักษายาก แถมต้นทุนในการรักษาก็สูงกว่าคนหนุ่มสาวมาก แต่งบประมาณมีจำกัด จึงเป็นหน้าที่ของวิญญูชนคนไทยทุกคนที่ต้องตัดสินใจว่าจะเอาเงินจากไหนมาถมให้เต็มโดยยังคงทำให้ระบบการรักษามีทั้ง “คุณภาพและยั่งยืน”ไปพร้อม ๆ กัน หรือจะปล่อยให้หนองระเบิดและระบบล่มไป จนทำให้ลูกหลานเราต้องเดือดร้อน

(6) “คนไทยหนีภาษีแยอะและเสียภาษีทางตรงน้อยมาก” ฐานข้อมูลระบุว่าทั้งประเทศมีคนยื่นภาษีเพียง ๑๐ ล้านคนจากประชากรเกือบ ๗๐ ล้านคน และมีเพียง ๔% ที่เสียภาษีทางตรง (คนเสียภาษีน้อยมาก) ในขณะที่ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีเทียบต่อ GDP ของไทยต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมากมายนัก (คนหนีภาษีแยอะมาก) ทำให้รายรับที่จะนำมาถมกับโครงการนี้มีจำกัดจำเขี่ย แต่ฝ่ายการเมืองผ่านกลไกการเลือกตั้งกลับไม่เอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหา

(7) “เครือบริษัท ส.มหาชน” นอกเหนือจาก สปสช.แล้วยังมีสารพัดองค์กรที่คอยดูดเงินภาษีที่ควรเข้าสู่ระบบการรักษาโดยตรงออกไปสู่กระเป๋าของกลุ่มผูกขาดความดี ประมาณการณ์ว่า เฉพาะ “สสส.” ที่เกิดมาพร้อมกับ พ่อค้าคนกลาง รับเงินไปแล้วรวมไม่ต่ำกว่า “๕๐,๐๐๐ล้านบาท” หากนับทั้งเครือข่าย คาดว่ามีเงินรั่วไหลออกไปแล้วไม่ต่ำกว่า ๑๕๐,๐๐๐ล้านบาท!!!! เงินจำนวนนี้หากกลับเข้าสู่ระบบการรักษาโดยตรง โดยตัดพ่อค้าคนกลางและเครือบริษัท ส. ออกไป คงทำให้พี่ตูนถนอมสุขภาพขาไปได้อักโข และหมายถึงคนไข้ตาดำ ๆ อีกหลายชีวิตได้มีโอกาสรับการรักษาที่มีคุณภาพอย่างมาก

(8) “DRG” สำหรับคนทั่วไปคงไม่รู้จักคำ ๆ นี้ แต่สำหรับคนทำงานในโรงพยาบาล ถือว่าเป็นคำที่คุ้นเคย เพราะเป็นเครื่องมือที่พ่อค้าคนกลางใช้ชักดาบโรงพยาบาล โดยการบังคับให้โรงพยาบาลรักษาไปก่อนแล้วค่อยจ่ายเงินคืน ปัญหาที่โรงพยาบาลพบคือ เงินคืนที่พ่อค้าจ่ายให้โรงพยาบาลไม่เท่ากับทุนที่ต้องใช้ไปในการรักษาผู้ป่วย ผลคือคลังสำรอง (เงินบำรุง)ที่สะสมมาตั้งแต่เปิดโรงพยาบาลเกลี้ยงท้องพระคลัง ตามที่เป็นข่าวว่ารพ.มีฐานะใกล้ล้มละลาย (แต่ที่ตลกร้าย คือ พ่อค้าคนกลางกลับได้รับรางวัลดีเด่นจากหลากหลายหน่วยงานที่สามารถกดราคาค่ารักษา โดยการเอาชีวิตผู้ป่วยตาดำ ๆ มาเป็นเดิมพัน)

(9) “งานนอกสั่ง” จุดประสงค์ของการตั้งพ่อค้าคนกลางเพื่อให้เป็นที่พักเงินที่รัฐโอนมาให้แล้วให้ไปจัดหาสถานพยาบาลสำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีฐานะยากไร้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด แต่พ่อค้าหัวใสใช้วาทกรรม “ความเท่าเทียม” ขยายขอบเขตปล่อยให้เศรษฐีขับรถsupercarเข้ามาแบ่งเค้ก ผสมโรงกับวาทกรรม “มนุษยธรรม” “อนาถา” ปล่อยให้คนต่างชาติที่ไม่ได้เสียภาษีให้ประเทศแห่เข้ามารักษาฟรีแล้วชักดาบ นอกจากนี้ยังตีความเข้าข้างตัวเองว่ามีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการรักษารวมทั้งจัดหายาและเครื่องมือแพทย์ ที่คนทำงานไม่ได้ต้องการและไม่เห็นด้วย ผลคือประชาชนตาดำ ๆ ต้องพบกับการรักษาที่ด้อยคุณภาพลงทุก ๆ วัน จนมดงานต้องโดนฟ้องร้อง ในขณะที่พ่อค้ารับแต่ความชอบไป

(10) “ระบบอุปถัมภ์ระหว่างเครือข่ายบริษัทและองค์กร” นับเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข ปัญหาธรรมาภิบาลในเครือบริษัท ส.นี้มีมานานแล้ว หากใครภักดีต่อท่านประมุข ก็จะได้รับการตอบแทนด้วยการนั่งในเก้าอี้บอร์ดสารพัด แม้จะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญอะไรเลย เช่น โยกจาก สปสช. ไป สสส. ไป สถานีทีวี ไป สวรส. ไป สช. ครบวาระในบริษัทลูกแห่งนี้ ก็ย้ายไปอีกบริษัท แล้วโยกกลับมาใหม่ บางคนเป็นเภสัชมานั่งในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องยา พรุ่งนี้กลายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องผู้สูงอายุ (ประมาณว่าแก่ข้ามชั่วคืน!!!) การผ่องถ่ายเงินระหว่างองค์กรด้วยให้การให้งบไปศึกษาวิจัยผ่านการพิจารณาจากคนกันเอง แต่ไม่เคยถูกประเมินว่างานที่ทำออกมาคุ้มค่าเงินหรือไม่ ใครหน่วยก้านดีว่านอนสอนง่ายก็ส่งไปดูงานศึกษาต่อต่างประเทศ ที่ตลกร้ายคือคนเหล่านี้กลับอ้างว่ารัฐบาลไร้ธรรมาภิบาลไปซะได้ ทั้ง ๆ ที่พวกพ้องทำกันเป็นเรื่องปกติ ในต่างประเทศคนเหล่านี้ล้วนต้องแจ้งบัญชีทรัพทย์สินและที่มาที่ไปของรายได้และการเสียภาษีทั้งสิ้น

​มาถึงขนาดนี้แล้ว ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะกล้าผ่าตัดมะเร็งร้ายแค่ไหน ได้แต่ภาวนาอย่าให้เป็น มวยล้มต้มคนดู ก็แล้วกัน

ที่มา เฟสบุ๊ค Thiravat Hemachudha

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10155605314786518


................................

ข้อมูลประกอบการติดตามข่าวเรื่องการแก้ไขพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ณ ปี 2560 ทำไม สทับซ้อนกระทรวงสาธารณสุข

14 ปี สวรส. ให้ทุนวิจัยไปกว่า 3 พันล้าน ผันจากสสส.-สปสช.-อื่นๆ กว่า 2 พันล้าน สะพัดสุดช่วงปี48 –50 ปีละกว่า500 – 600 ล้าน พร้อมเปิดรายชื่อผู้รับทุนทั้งหมด

//thaipublica.org/2015/11/thaihealth-16/

สตง.เปิดรายชื่อโครงการที่รับเงินจาก สสส.-สปสช.-สวรส. ปี 2546 – 2557 กว่า 2 พันล้าน

//thaipublica.org/2015/11/thaihealth-15/

อดีตประธานสปสช.ระบุบอร์ดสปสช. มีอำนาจล้น – เลขาสปสช. อนุมัติเงินได้ครั้งละ 1พันล้าน มากกว่านายกรัฐมนตรีและรมต.

//thaipublica.org/2011/10/national-health-board/

เปิดรายงานดีเอสไอระบุสปสช. ไม่มีหน้าที่ซื้อยา-เวชภัณฑ์ แถมเอาเงินส่วนลดจากองค์การเภสัชไปใช้เองเที่ยวต่างประเทศ ซื้อรถตู้ ให้เงินทำวิจัย – 4 ปี ได้เงินไปกว่า 240ล้านบาท

//thaipublica.org/2015/03/public-health-services-57/

สตง.ตรวจสอบการดำเนินงานสปสช.ระบุไม่โปร่งใสใช้งบสุขภาพถ้วนหน้า เหมาจ่ายรายหัวผิดประเภทเกือบ 100 ล้าน

//thaipublica.org/2011/12/oag-national-health-transparency/

บอร์ดสปสช.ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวของประชาชนผิดประเภทผลประโยชน์ทับซ้อน สวมหมวกหลายใบ รับเงินจากสปสช.เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.กองทุนหลักประกัน- กฏหมายป.ป.ช.มาตรา100

//thaipublica.org/2015/01/public-health-services-53/

เจาะงบสปสช. ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวประชาชนผิดประเภท แจกทำวิจัยและไม่ใช่หน่วยบริการตามกม.มีชื่อ”นพ.สมศักดิ์”รมช.สาธาธารณสุข – คตร. สั่งปลัดสาธารณสุขเร่งรัด สปสช.หาคนผิดลงโทษ

//thaipublica.org/2015/01/public-health-services-52/

ประเทศไทยกับความโปร่งใสทางการคลัง(2) : 114 กองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ ข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ ไม่ครบถ้วนไม่ทันสมัย

//thaipublica.org/2017/06/thailand-trasparency-reseach-group-31-5-2560-2/

รมว.สธ.-ผอ.งบฯเข้าพบ'ประยุทธ์'คาดถกปม5รพ.รัฐถังแตก

//www.bangkokbiznews.com/news/detail/749193

***วันที่ 21 มิถุนายน 2560****
แจงคง30บ.รักษาทุกโรคแก้กม.ปิดช่องเงินเหลือให้NGO

//www.bangkokbiznews.com/news/detail/760552


ที่มา เฟสบุ๊ค Thiravat Hemachudha

 

https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/10155605285466518

..................................

“น้ำลดตอผุด: 15 ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า” เป็นมุมมองสำคัญของ ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท ในช่วงเวลาที่ “รัฐบาลบิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จัน

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/985310
“น้ำลดตอผุด: 15 ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า” เป็นมุมมองสำคัญของ ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท ในช่วงเวลาที่ “รัฐบาลบิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จัน

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/985310
“น้ำลดตอผุด: 15 ปีกับการรักษาฟรีทั่วหล้า” เป็นมุมมองสำคัญของ ผศ.นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท ในช่วงเวลาที่ “รัฐบาลบิ๊กตู่” พลเอกประยุทธ์ จัน

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/985310



Create Date : 16 กรกฎาคม 2560
Last Update : 13 กันยายน 2560 12:59:17 น. 2 comments
Counter : 1163 Pageviews.  

 
‘รพ.มเหสักข์’ ออกจากบัตรทอง ต.ค.นี้ ขณะที่ประกันสังคมมี 3 รพ.จ่อลาออกในปี 61
Fri, 2017-08-25 13:28 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/08/14473

'รพ.มเหสักข์' กทม.ออกจากระบบบัตรทอง ด้านประกันสังคมมี 3 รพ.ลาออกจากระบบในปี 61 'รพ.ยันฮี กทม., รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ จ.นนทบุรี และ รพ.ศรีระยอง จ.ระยอง'

ศูนย์ข่าวผู้บริโภครายงานเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ว่า การเตรียมออกนอกระบบของ รพ.มเหสักข์ ทำให้กระทบกับประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทองกว่าแสนราย จากการสอบถามผู้ใช้สิทธิบางรายแจ้งว่า ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้แจ้งให้ผู้ป่วยที่เข้าไปรักษาหรือไปพบแพทย์ตามใบนัด จะถูกแจ้งให้หาโรงพยาบาลเพื่อย้ายสิทธิไปรักษา สปสช.เขต 13 เร่งประสาน รพ.ใน กทม.ให้เป็นหน่วยรับช่วงต่อ ซึ่งทาง รพ.มเหสักข์จะให้บริการไปถึง 30 ก.ย.60 นี้ ช่วงระหว่างรอเปลี่ยน รพ. ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิได้ที่ รพ.เดิมได้

นางสาวสุวรรณา ธนบุญสมบัติ ผู้ประสานงานศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเขตป้อมปราบ-พระนคร ให้สัมภาษณ์กับศูนย์ข่าวผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ปัญหาที่ได้รับเรื่องร้องเรียนในชุมชนว่า ตอนนี้ รพ.มเหสักข์ได้ส่งจดหมายถึงชาวบ้านที่ใช้สิทธิบัตรทองใน รพ.เพื่อแจ้งการลาออกโครงการบัตรทอง ทำให้ชาวบ้านหลายรายวิตกกังวลเรื่องไม่มีที่รองรับการใช้สิทธิบัตรทอง จึงรีบหา รพ.เพื่อย้ายสิทธิเอง และเกรงว่าหากให้ สปสช.ดำเนินการจัดสรรจะได้ รพ.ที่อยู่ไกลที่พักอาศัยเดินทางลำบาก

“ชาวบ้านกังวลมากหากแจ้งย้ายสิทธิช้าจะทำให้ได้รพ.ที่ไกลบ้านเดินทางลำบาก หรืออาจจะไม่มี รพ.ที่รองรับสิทธิเลย จึงอยากให้ สปสช.รีบประสาน รพ.ที่จะรองรับผู้ใช้บริการทุกรายที่ต้องย้ายออกจาก รพ.มเหสักข์ด้วย” นางสาวสุวรรณา กล่าว

ด้านนางสาวชนัญชิดา ตัณฑผลิน เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน กรุงเทพฯ กล่าวว่า เบื้องต้นขอให้ผู้ใช้บริการติดตามประกาศของ สปสช.อย่างใกล้ชิด ซึ่งขณะนี้ได้ติดต่อประสานงานหาหน่วยบริการรองรับแล้ว อย่าเพิ่งตื่นตระหนก รีบลงทะเบียนย้ายหน่วยบริการ เพราะทาง สปสช.จะจัดสรรให้ผู้รับบริการได้มีที่รักษาพยาบาลครบทุกราย แต่หากมีข้อสงสัย ให้ติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน หรือสายด่วน สปสช. 1330

“หาก สปสช.จัดสรรหน่วยบริการให้แล้ว ทางผู้ใช้บริการไม่ได้รับความสะดวกก็สามารถแจ้งย้ายเปลี่ยนสิทธิ์หน่วยบริการได้ ในรอบปีสามารถย้ายสิทธิ์ได้ 4 ครั้ง จึงไม่อยากให้ตื่นตระหนกในตอนนี้” นางสาวชนัญชิดา กล่าว

ขณะที่ในส่วนของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมนั้น มีรายงานว่า ในปี 2561 มี 3 โรงพยาบาลที่จะลาออกจากระบบประกันสังคม คือ รพ.ยันฮี กรุงเทพมหานคร, รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ จ.นนทบุรี และ รพ.ศรีระยอง จ.ระยอง

เอกสารประกอบ:
PDF icon รายชื่อสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมปี 2561
https://www.hfocus.org/sites/default/files/files_upload/hospitalout61.pdf


โดย: หมอหมู วันที่: 26 สิงหาคม 2560 เวลา:14:04:40 น.  

 

สปสช.ยัน รพ.มเหสักข์ออกจากบัตรทอง ไม่กระทบผู้ป่วย สธ.-กทม.สั่ง รพ.ในสังกัดดูแล
Fri, 2017-08-25 14:25 -- hfocus
https://www.hfocus.org/content/2017/08/14474

สปสช.ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนกหลัง รพ.มเหสักข์ออกจากระบบบัตรทอง ระบุประสาน รพ.ใกล้เคียงรองรับดูแลต่อเนื่องแล้ว ไม่กระทบผู้มีสิทธิ์แน่นอน พร้อมเผย รมว.สธ. ปลัด สธ. และ ผู้ว่า กทม.สั่ง รพ.สังกัด พร้อมดูแล

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีที่โรงพยาบาลมเหสักข์ ซึ่งเป็น รพ.เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แจ้งเตรียมออกจากการเป็นหน่วยบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ในเดือนตุลาคม 2560 ว่า หน่วยบริการภายใต้ระบบบัตรทอง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1.หน่วยบริการของภาครัฐ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดให้ต้องเป็นหน่วยบริการในระบบเพื่อดูแลผู้มีสิทธิ์ และ 2.หน่วยบริการเอกชน ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของหน่วยบริการเอกชนเองในการเข้าร่วมดูแลประชาชน โดยจะต้องเป็นหน่วยบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนดเท่านั้น ซึ่งการเข้าออกจากระบบถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ดังนั้นกรณีการออกจากระบบของ รพ.มเหสักข์จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้งยังไม่มีผลกระทบ เพราะเป็นการแจ้งล่วงหน้า เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมในการรองรับ

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า กรณีของ รพ.มเหสักข์ เท่าที่ทราบขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงโรงพยาบาล ซึ่งอาจทำให้สถานที่ของ รพ.คับแคบลง และอาจส่งผลกระทบต่อการบริการได้ ดังนั้นจึงได้ขอออกจากระบบไป ซึ่ง สปสช.เขต 13 กทม.ได้มีการวางแผนและเตรียมความพร้อมไว้แล้ว โดย นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข, นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ได้เป็นห่วงและได้ขอให้หน่วยบริการภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ กทม.ที่อยู่ใกล้เคียงมาช่วยรองรับดูแลผู้มีสิทธิที่ขึ้นทะเบียน รพ.มเหสักข์ เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

ทั้งนี้ในการบริการของ รพ.มเหสักข์ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1.ระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ มีประชากรผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนจำนวน 72,219 คน และ 2.ระดับหน่วยบริการรับส่งต่อ โดยเป็นหน่วยบริการรับส่งต่อจากศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ซึ่งมีผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียน 13,732 คน และคลินิกเอกชนในระบบบัตรทองในพื้นที่ มีผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียน 27,464 คน ซึ่งประชาชนที่ขึ้นทะเบียนผู้มีสิทธิ์กับ รพ.มเหสักข์ ไม่ต้องตื่นตระหนก เนื่องจากยังคงสามารถรับบริการได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 นี้ และหลังจากนั้น สปสช.จะมีการโอนย้ายผู้มีสิทธิที่ขึ้นทะเบียน รพ.มเหสักข์ไปรับบริการยังหน่วยบริการใกล้เคียงแทน ส่วนกรณีที่มีผู้มีสิทธิที่ขึ้นทะเบียน รพ.มเหสักข์ บางส่วนขณะนี้ได้เริ่มขอย้ายหน่วยบริการก็สามารถทำได้ อย่างไรก็ตามหากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ผ่านทางสายด่วน สปสช. 1330 ได้

“การออกจากระบบบัตรทองของ รพ.เอกชน เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ซึ่ง สปสช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการเตรียมการเพื่อรองรับการดูแลผู้มีสิทธิบัตรทองเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบไว้แล้ว” โฆษก สปสช. กล่าว

ทั้งนี้ประชาชนที่มีสิทธิบัตรทองที่ รพ.มเหสัหข์ ขอให้ดำเนินการดังนี้

1.ประชาชนสิทธิเครือข่าย รพ.มเหสักข์ สามารถเข้ารับบริการที่เดิมได้ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2560

2.ประชาชนที่มีความประสงค์จะขอลงทะเบียนเปลี่ยนสิทธิใหม่ สามารถติดต่อขอลงทะเบียนเปลี่ยนสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป ณ สถานที่ดังต่อไปนี้

1) รพ.มเหสักข์ (แผนกโอพีดีใหม่) ชั้น 2 ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1-15 กันยายน 2560 เวลา 08.30 – 15.30 น.

2) จุดรับลงทะเบียนบัตรทองที่สำนักงานเขต 27 เขต ที่เปิดให้บริการ ให้บริการในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 –16.00 น. (สอบถามเขตที่เปิดให้บริการ โทร.1330 หรือตรวจสอบข้อมูลได้ที่//bkk.nhso.go.th คลิ๊กเลือก สำหรับประชาชน เลือกแผนที่จุดรับลงทะเบียน 27 เขต)

3) จุดรับลงทะเบียนบัตรทอง ที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ชั้น 1 ด้านข้างประชาสัมพันธ์ ให้บริการทุกวันเวลา 08.00 – 19.00 น.

4) เอกสารการประกอบการลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการใหม่ ใช้สำเนาบัตรประชาชนเพียงใบเดียว กรณีที่เป็นเด็กใช้สูติบัตรเด็กและสำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง


โดย: หมอหมู วันที่: 26 สิงหาคม 2560 เวลา:14:10:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]