Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ทางเลือกของผู้ประกันตนในการรับบริการสาธารณสุข ... พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา




ทางเลือกของผู้ประกันตนในการรับบริการสาธารณสุข

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
13 พ.ค. 54


เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 กระทรวงแรงงานได้จัดการสัมมนาความรู้คู่แรงงานไทย/ผู้ประกันตนไทย

เรื่อง ทางเลือกประกันสุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตนระบบประกันสังคม : เสือ หรือ จระเข้

โดยมีนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้กล่าวเปิดการประชุม

ซึ่งปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงการประกันสังคมในประเทศไทยว่า หลายๆประเทศทั่วโลก ได้ใช้ระบบประกันสังคมในการสร้างสวัสดิการให้แก่คนในชาติ เป็นการทำให้คนในสังคมมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่รอรับความช่วยเหลือจากรัฐฝ่ายเดียว โดยได้อ้างคำกล่าวของนายอำพล สิงหโกวินทร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมว่า “การจะรอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเดียวนั้น ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายแล้ว ประชาชนก็จะต้องอยู่ตามยถากรรม เพราะฉะนั้นคนในสังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อจะทำให้เป็นระบบที่ยั่งยืน”

ในประเทศไทยนั้น ระบบประกันสังคม เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2515 โดยการตั้งกองทุนเงินทดแทน ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน โดยการให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีที่ประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องจาการทำงาน โดยเริ่มจากสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 20คน ในเขตกทม.ก่อน แล้วค่อยขยายไปจนครบทุกจังหวัดในปีพ.ศ. 2531

ต่อมาได้มีการประกาศพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 นับเป็นการประกันสังคมเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง 8 อย่างคือ ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เหมือนกับในประเทศอื่นๆ


พลอากาศตรี นายแพทย์บรรหาร กออนันตกูล วิทยากรรับเชิญ ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการมีระบบประกันสังคมว่า ประเทศที่ให้กำเนิดการประกันสังคมครั้งแรกในโลกคือประเทศเยอรมัน โดยนายกรัฐมนตรีคนแรกของเยอรมันคือ บิสมาร์คที่ปกครองประเทศในสภาพที่มีสงครามจากเพื่อนบ้าน จึงต้องการที่จะสร้างอาวุธไว้ป้องกันประเทศ โดยมอบให้บริษัท Krupp ที่ผลิตเหล็กกล้ารับสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่บริษัทไม่มีคนงานเพียงพอ บิสมาร์คจึงคิดสร้างเมืองใหม่ และหาคนมาทำงานในโรงงานแห่งนี้ จึงต้องมีการให้หลักประกันแก่คนทำงาน เพื่อให้คนงานมีความมั่นใจว่าจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจการงาน และสุขภาพ เปรียบเหมือนกับมีปัจจัยสี่ มีเงินเดือน มีที่อยู่อาศัย ได้รับการดูแลเมื่อเจ็บป่วย บุตรหลานได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษา มีความปลอดภัยในการทำงาน

หลักการในการจัดให้มีการประกันสังคมจึงเกิดขึ้น เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถอยู่เพียงคนเดียวได้ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ย่อมต้องการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยมีแนวคิดว่า คน 1,000 คน จะมีคนเจ็บป่วยเพียง 10-20 คน ฉะนั้นถ้าเก็บเงินทุกคนเพียง 5% ไว้จ่ายค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนที่อาจจะป่วยเพียง 10-20 คน เงินที่เก็บไว้ก็เพียงพอในการจ่ายเป็นค่ารักษาได้ เป็นการช่วยให้ประชาชนทุกคนอยู่ได้ และมีความสุข โดยการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ระบบประกันสังคมจึงเป็นระบบที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการ จ่ายเงินเข้ากองทุน โดยลูกจ้างและนายจ้าง(ซึ่งถือว่าเป็นผู้ได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการทำงานของลูกจ้าง) จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุนประกันสังคม เพื่อจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่ผู้ทำงาน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบ ในอัตรา ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ



สำหรับประเทศไทยนั้น มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมอยู่ 9.5 ล้านคน และมีเงินสมทบจากลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาลอยู่ในกองทุนประกันสังคมเกือบ 800,000 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งสิ้น 8 อย่าง และได้รับการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ คลอดบุตร

ในขณะที่พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ได้เกิดขึ้นภายหลังระบบประกันสังคม มีหลักการในการให้การดูแลรักษาสุขภาพแก่ประชาชน 47 ล้านคน ที่ไม่ได้รับสิทธิในกองทุนประกันสังคมหรือสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ เมื่อเริ่มต้นโครงการนี้ ประชาชน 20 ล้านคนที่เป็นผู้ยากจน จะไปรับบริการด้านสาธารณสุขโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ในส่วนผู้ที่ไม่ยากจน จะต้องจ่ายเงินในการไปรับบริการสาธารณสุขครั้งละ 30 บาท

แต่ต่อมา ในปีพ.ศ. 2550 นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ประกาศยกเลิกการจ่าเงินครั้งละ 30 บาท ทำให้ประชาชน 47 ล้านคน (ปัจจุบันเพิ่มเป็น 48 ล้านคน) ได้รับสิทธิในการไปรับบริการสาธารณสุขโดยไม่ต้องจ่ายเงินเลย

ทำให้ประชาชน 48 ล้านคนนี้ มีสิทธิมากกว่าประชาชนในกลุ่มผู้ประกันตน ที่ยังต้องจ่ายเงินสมทบ จึงจะมีสิทธิได้รับบริการด้านสุขภาพ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นและเป็นอยู่มา 4 ปีแล้ว แต่ก็ไม่มีใครออกมาเอะอะโวยวายแต่อย่างใด จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ มีกลุ่มคนที่ตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” ได้ออกมาเรียกร้องกับผู้ตรวจการแผ่นดินว่า สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ละเมิดสิทธิผู้ประกันตน ในการเก็บเงินจากผู้ประกันตน มาเป็นค่ารักษาสุขภาพ ในขณะที่ประชาชน 48 ล้านคนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ต้องจ่ายเงินของตนเองเลย ในการได้รับการบริการด้านสุขภาพ และเรียกร้องให้ผู้ประกันตน เลิกจ่ายเงินสมทบด้านสุขภาพ1.5% และให้ไปใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแทน

การเรียกร้องของกลุ่มพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนในขณะนี้ จึงทำให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ประกันตนว่า จะเลือกไปอยู่กับบัตรทอง เลิกจ่ายเงินสมทบ 1.5% หรือให้เอาเงิน 1.5%ที่ต้องจ่ายสมทบนี้ ไปจ่ายสำหรับสิทธิประโยชน์อื่นๆเพิ่มเติมแทนการรักษาสุขภาพ แต่ในส่วนการดูแลรักษาสุขภาพนั้น ก็จะไปใช้บริการบัตรทองแทน

กระทรวงแรงงานร่วมกับสภาองค์การลูกจ้างและสภาแรงงานหลายๆแห่ง จึงได้จัดสัมมนาให้ข้อมูลและความเข้าใจในสาระสำคัญ หรือหลักการของการประกันสังคม และสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจาการประกันสังคม รวมทั้งเปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสียของการรับบริการด้านสุขภาพจากระบบประกันสังคมและบัตรทอง เพื่อให้ผู้ประกันตน สามารถแสดงความคิดเห็นว่า จะต้องการระบบประกันสุขภาพแบบใด?

หลังจากฟังวิทยากรให้ข้อมูลเรื่องหลักการประกันสังคมและสิทธิประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ เปรียบเทียบระหว่างประกันสังคมและบัตรทองแล้ว ผู้จัดการสัมมนาได้จัดการประชุมกลุ่ม โดยแบ่งผู้เข้าประชุมเป็น 4 กลุ่ม

ผลการประชุมกลุ่มตามรายกลุ่ม มีดังนี้

กลุ่มที่ 1

ข้อดีของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

- พอใจในการรักษาโรคทั่วไปของโรงพยาบาลรัฐมากกว่าโรงพยาบาลเอกชน
- พอใจในสิทธิคุ้มครองการว่างงาน คือ ได้รับเงินทดแทน
- ข้อเสียของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ
- โรงพยาบาลไม่ดูแล ให้บริการล่าช้า โดยส่วนใหญ่พบในโรงพยาบาลเอกชน
- ได้รับยาไม่ตรงกับโรค เช่น ได้ยาพารา อย่างเดียว
- พอใจในการได้สิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

ข้อเสนอแนะ

- 1. ต้องการช่องทางเฉพาะทั้งผู้ป่วยนอกทั่วไป และผู้ป่วยนอกโรคเฉพาะด้าน
- 2. ต้องการการรักษาที่ได้ยาตรงกับโรค
- 3. ขอให้ขยายเวลาในการให้เงินสงเคราะห์บุตร จาก 6 ปี ขยายเป็น 12 ปี
- 4. ขยายสิทธิในการรักษาการเจ็บป่วยทั่วไป ไปใช้ที่โรงพยาบาลอื่นได้ด้วย ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
- 5. การทำฟัน ควรจ่ายตามจริง และไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- 6. อยากให้ขยายรับบัตรทองที่มีรายได้ให้เปลี่ยนมาเป็นสิทธิประกันสังคม
- 7. ให้ขยายรับครอบครัวผู้ประกันตนมาใช้สิทธิประกันสังคมแทนบัตรทอง
- 8. ต้องการให้ทำวิจัยเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ระหว่างบัตรทองและบัตรประกันสังคม


กลุ่มที่ 2

ปัญหา/อุปสรรคของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

• ไม่ค่อยแจกแจงรายละเอียดให้ผู้ประกันตนทราบสำหรับสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น
• เจ้าหน้าที่ สายด่วน ไม่บริการให้ด่วน ข้อมูลไม่ชัดเจน โอนสายหลายทอด
ข้อเสนอแนะ
• ข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทำได้เลย และข้อมูลที่ยังมีไม่เพียงพอควรทำวิจัยเพิ่มเติม ครอบคลุมความคิดเห็นจากผู้ประกันตน ผู้ให้บริการ สำนักงานประกันสังคม และแพทย์ บุคคลากรทางแพทย์
• ปรับปรุงการบริการของสายด่วน
• ปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการของสถานบริการ
• มีการสุ่มตรวจคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการของ รพ.คู่สัญญาเป็นประจำ
• ส่งเสริมให้มีการประกวด รพ.ดีเด่น (top ten) และ รพ.ยอดแย่ (bottom ten)
• การทำฟัน ควรให้สถานพยาบาลเบิกจาก สปส. ไม่ต้องให้ผู้ประกันตนจ่ายเงิน
• ไม่ควรใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวแก่ รพ. ควรจ่ายตามจริง เพื่อคุณภาพการบริการที่ดี
• ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาได้ทุก รพ.ที่เป็นคู่สัญญา ไม่ใช่เฉพาะที่เลื่อกดังนั้น กรณีฉุกเฉิน ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่ว่าจะฉุกเฉินกี่ครั้ง (ปกติไม่น่าจะมีการฉุกเฉินบ่อยเกินความจำเป็น)
• ให้รัฐจ่ายสมทบเงินเข้าระบบประกันสังคม อย่างน้อยเท่ากับนายจ้างและลูกจ้าง
• เปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวของผู้ประกันตน เข้าระบบประกันสังคม
• ให้ สปส.เป็นองค์กรอิสระ แต่มีการคัดเลือกกรรมการโปร่งใส กรรมการไม่เป็นชุดเดียวกับที่เป็นกรรมการที่เกี่ยวช้องกับระบบอื่นๆ เช่น บัตรทอง ควารมีนักวิชาการทางการแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ร่วมเป็นกรรมการการแพทย์ในจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานการรักษาที่ดีขึ้น
• ให้เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล
• ควรใช้ระบบเหมาจ่ายรายหัวแก่ รพ. ควรจ่ายตามจริง เพื่อคุณภาพการบริการที่ดี


กลุ่มที่ 3

• ข้อดีของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ

• ส่วนใหญ่พึงพอใจในการรักษาโรคทั่วไปของ สปส.
• ผู้ประตนรู้สึกมีความมั่นคงในการอยู่ในระบบประกันสังคม
ปัญหา/อุปสรรคของระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ
• ปัญหาของโรงพยาบาลเอกชน ที่ให้บริการไม่มีคุณภาพและไม่น่าพึงพอใจ
• กรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินและโรควิกฤต ที่เข้าใช้บริการสถานพยาบาลแตกจากที่เลือกไว้ ถูกปฏิเสธการรักษา และเรียกเก็บเงินสด
• การให้การรักษาพยาบาลไม่ครอบคลุมทุกกรณีเหมือนกับบัตรทอง
ข้อเสนอแนะ
• ให้จัดทำประชาพิจารณ์ ไปยังผู้ใช้แรงงานในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของประกันสังคม เพื่อให้สามารถแสดงความคิดเห็น
• เพิ่มสิทธิในการรักษาพยาบาลให้เท่าเทียมหรือมากกว่า สปสช. ที่เหมาะสมกับโรค
• มีระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยในประกันสังคมได้
• มีระบบการให้บริการโรคจากการประกอบอาชีพอย่างครบวงจร
• สนับสนุนให้มีการสมทบกองทุนประกันจากบุคคลภายนอกเพื่อให้กองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีศักยภาพการจัดการมากขึ้น
• ให้เปลี่ยนแปลง คกก. กองทุนประกันสังคม โดยไม่ให้มี คกก. กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง
• ปรับปรุงระบบการตรวจสุขภาพประจำปี ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และครอบคลุมตามลักษณะงาน
• ให้นำคู่มือประกันตนไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง
• ให้มีการวิจัยระบบบริการประกันสุขภาพ
• มีคณะกรรมการปกป้องกองทุนประกันสังคม


กลุ่มที่ 4 ประชามติของกลุ่ม ไม่ย้ายไปอยู่กับสปสช. 100% ให้ยกเลิกเพดานการจ่ายเงินสมทบ ให้เก็บร้อยละ 5 ทั้งหมดทุกระดับรายได้ ให้สปสช.งดสิทธิรักษาฟรีผู้มีรายได้

ข้อดีของระบบประกันสังคม มีรพ.และหมอเฉพาะทาง รักษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้รับบริการดี โรคเรื้อรังมีการรักษาต่อเนื่อง ป่วยหยุดงานได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ด้วยตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องเป็นภาระกับสังคม กำหนดทิศทางได้ด้วยตนเอง

ข้อเสีย ของระบบประกันสังคม วินิจฉัยโรคล่าช้า หน้างอ รอนาน บริการแย่ ยาไม่มีคุณภาพ แพทย์ออกใบรับรองโดยไม่เป็นธรรม ประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ไม่ทั่วถึง บางเรื่องประกาศแล้ว แต่ทำไม่ได้ บริการทันตกรรมยังให้จ่ายเพิ่มอีก

ข้อเสียของการบริหารกองทุน

เสียเวลานานเป็นวันในการติดต่อกับสปส. ขาดหน่วยงานย่อยให้บริการจุดเดียวในทุกพื้นที่

ข้อเสนอแนะ

• ให้องค์กรแรงงาน จัดให้มีการวิจัย และสำรวจเพื่อการปรับปรุงระบบประกันสังคมทั้งหมดและด้านสุขภาพให้ดีขึ้น ตามข้อมูลที่เป็นจริง โดยให้ ประกันสังคมเป็นผุ้สนับสนุนงบวิจัย
• ให้เพิ่มวงเงินค่าสัมมนาประกันสังคมเป็น ๔๐๐๐๐ บาทต่อรุ่น
• ให้เพิ่มช่องทางให้ผู้ประกันตนจัดขอการสัมมนาดังกล่าวได้ เพิ่มจากช่องทางผ่านสภาองค์กรลูกจ้าง
• ให้เข้ารักษาได้ทุกโรค ทุกภาวะ ตลอดเวลา ที่โรงพยาบาลของรัฐ
• ให้จัดแพทย์ พยาบาล และบุคคลกรให้เพียงพอทั้งนอกและในเวลา
• ให้ผู้ประกันตนเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ทันที ไม่ต้องรอครบ ๑ ปี
• ให้จัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคมทุกจังหวัด โดยให้รักษาผู้ประกันตนที่ได้รับสารพิษ และป่วยจากการทำงานด้วย
• ให้มีหมอด้านโรคจากการทำงาน สารพิษด้วย
• ให้ควบรวมกองทุนเงินทดแทนเข้ากับกองทุนประกันสังคมในกรณีรักษาพยาบาล
• ให้จัดเงินกู้สวัสดิการดอกเบี้ยต่ำโดยประกันสังคมเอง ไม่ต้องผ่านธนาคาร เพื่อปัจจัยในเรื่องที่อยู่อาศัย เครืองอุปโภค และ บริโภค พาหนะ
• ให้บริษัทห้างร้านจัดให้พนักงานในด้านสิทธิประโยชน์ ปีละ ๑ ครั้งอย่างน้อย
• ให้เพิ่มบทลงโทษ และค่าปรับ กับนายจ้างที่เก็บเงินประกันสังคมแล้วไม่ส่งในกำหนด หรือส่งไม่ครบ หรือใช้ฐานอื่นนอกจากรายได้มาหักเงินประกันสังคม
• ไม่ให้นำกองทุนประกันสังคมไปเป็นองค์กรอิสระเด็ดขาด
• ให้การเลือกตั้งกรรมการประกันสังคม เป็นแบบกลุ่ม และมีการพัฒนาบ้าง
• อยากให้ขยายความคุ้มครองเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ โดยการเพิ่มเพดานสิทธิประโยชน์
• ให้มีการรักษาผู้ประกันตนให้ดีที่สุดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่นผ่าตัดดั้งเดิม ต้องใช้เวลานาน เช่นผ่าตัดผ่านกล้องที่ใช้เวลาน้อยไม่เจ็บนาน กลับบ้านได้เลย
• ให้เรียกชื่อผู้ประกันตน โดยเรียกทั้งชื่อและนามสกุลให้ครบถ้วน (หมายถึงการเรียกชื่อในโรงพยาบาล)
• สถานที่ให้ผู้ประกันตนที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ถูกส่งตัวไป โดยมูลนิธิช่วยเหลือต่างๆ ตามที่มูลนิธิสังกัด
• ให้เสนอรัฐบาลงดรักษาฟรีแก่ผู้ที่มีรายได้เพื่อจะได้มาดูแล
• ให้แรงงานเฝ้าระวังการแทรกแซงของ NGOs ในองค์กร ถ้าพบเห็นให้แจ้งสภา, สหภาพ
• กรณีทำฟัน
• ให้จัดศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ การใช้สิทธิในด้านประกันสังคมในพื้นที่ซึ่งมีผู้ประกันตนจำนวนมาก โดยจัดตั้งศูนย์ระดับอำเภอ ค่อยๆ ขยายครอบคลุม
• ให้สิทธิประโยชน์ครอบคลุมในการป้องกันโรคด้วยวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ตับอักเสบ
• ให้แก้ไขระเบียบการสนับสนุนงบอุดหนุนองค์กรแรงงานแก่ผู้ประกันตนไม่ให้ใช้ระเบียบเบิกจ่ายแบบราชการ
• ขอให้มีการจัดประชุมสัมมนาเช่นนี้ในแรงงานและผู้ประกันตนในภูมิภาคต่างๆ
• ในระยะเวลาภายใน 1 เดือนข้างหน้า ขอให้หน่วยงานที่มีผู้ประกันตนในหน่วยงานต่างๆ ได้เข้าร่วมอย่างกว้างขวาง โดยให้สภาองค์การลูกจ้างเป็นผู้จัดและให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้จ่ายงบประมาณในการจัดสัมมนา
•


สรุปผลสำรวจประชาพิจารณ์จาการตอบแบบสอบถามผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม

ความพึงพอใจด้านบริการสุขภาพในระบบประกันสังคม

• ไม่พึงพอใจ 30 คน (15.96%)
• พึงพอใจ 132 คน (70.21%)
• ไม่ระบุ 25 คน (13.30%)
• พอใจและไม่พอใจ 1 คน (0.53%)

จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม = 188 คน


ระบบหลักประกันสุขภาพที่ต้องการ
• ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3 คน (1.60%)
• ระบบประกันสังคม 177 (94.15%)
– โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง 120 คน (67.80%)
– ต้องมีการเปลี่ยนแปลง 36 คน (20.34%)
– ไม่ระบุเหตุผล 20 คน (11.30%)
– ต้องเปลี่ยนแปลงและไม่ต้องเปลี่ยนแปลง 1 คน (0.56%)
• ไม่แสดงความเห็น 8 คน (4.25%)
• ด้านการให้บริการ
• ให้มีการจัดประกวดโรงพยาบาลที่รับประกันสังคมเพื่อพัฒนาการให้บริการ
• ให้มีการตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมและโรงพยาบาลที่ให้บริการประกันสังคม
• ไม่พอใจบริการในทุกด้านของโรงพยาบาลในประกันสังคม ต้องการให้ปรับปรุง
• ให้บริการช้า ต้องรอนาน คนมาใช้บริการเยอะ
• ปรับปรุงด้านบริการให้เหมาะสมกับเงินสมทบที่จ่ายไป
• ให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
• ใช้บัตรเพียงใบเดียวในการเข้ารับการบริการในทุกโรงพยาบาลและไม่ต้องสำรองจ่ายเงินก่อน
• ควรมีโรงพยาบาลที่มาจากแรงงานไม่ใช่มาจากภาครัฐและเอกชน
• ด้านสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการสุขภาพ
• ให้โรงพยาบาลในประกันสังคมตรวจรักษาอย่างเอาใจคนไข้ ไม่ใช่ตรวจ แล้วจบๆ ไป
• ให้มีสิทธิเข้ารับการรักษาได้ทุกโรค และครอบคลุมทุกผู้เชี่ยวชาญ เช่นการฟอกไตควรให้ฟรีทุกอย่างรวมถึงอุปกรณ์ในการฟอกไต
• ปรับปรุงเรื่องทันตกรรมโดยผู้ประกันตนไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายก่อนและให้เพิ่มงบให้มากขึ้น
• ให้เพิ่มเงินค่าคลอดบุตร
• ให้เพิ่มคุณภาพของการรักษาเช่น ยา เครื่องมือแพทย์ ที่มีมาตรฐานและทันสมัย
• ให้ขยายการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร (เช่น แรกเกิด-15 ปี)
• บุตรของผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ด้วย
• ให้มีสิทธิเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลโดย และให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
• ให้ประกันสังคมมีโรงพยาบาลไว้เฉพาะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเอง จะได้ให้บริการผู้ประกันตนได้อย่างทั่วถึง
• ให้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลอื่นๆ เพิ่มขึ้น
• ให้แก้ไขกรณีการจ่ายยาไม่ตรงกับโรค
• ให้ปรับปรุงเรื่องยารักษาโรค ไม่ใช่ให้แต่ยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้ปวดเกือบทุกโรค
• ให้รักษาสิ่งดีๆ ไว้
• เพิ่มสิทธิในการตรวจสุขภาพประจำปี โดยไม่ต้องเสียเงิน
• ให้ประกันสังคมดูแลผู้ประกันตนตลอดชีวิต ไม่ใช่ดูแลจนเกษียณเท่านั้น
• ความคิดเห็นด้านอื่นๆ
• ให้นำผู้อยากจน (มีรายได้อยู่แล้ว ไม่ใช่ยากจน) ออกจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
• ผู้เสียภาษีทุกคนยินดีให้ความช่วยเหลือผู้ยากจนเท่านั้น
• ให้แรงงานช่วยกันนำเอา NGOs ออกจากระบบแรงงาน
• ขอให้แรงงานตั้งมั่นในการเป็นเสรีชน อย่าทำตัวเป็นขอทาน ให้รับผิดชอบตัวเอง
• ยินดีร่วมจ่ายสมทบ แต่อยากจ่ายน้อยลง
• ให้เพิ่มสิทธิประโยชน์และพร้อมจะจ่ายเงินสมทบเพิ่ม
•





Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
Last Update : 13 กันยายน 2560 13:28:54 น. 1 comments
Counter : 1655 Pageviews.  

 
เจิมๆๆๆเจิมๆๆ
ได้ประโยชน์หลายสถานเลยค่ะ
เมื่อเข้ามาอ่าน
พักผ่อนบ้างนะคะคุณหมอหมู

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 17 พฤษภาคม 2554 เวลา:11:18:00 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]