Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

ตัวอย่างปัญหา ประกันสังคม .. โรงพยาบาลเอกชน และ ความต้องการของผู้ป่วย ???




มีผู้ตั้งกระทู้ในห้องสวนลุม เห็นว่า มีประเด็นน่าสนใจ ก็นำมาลงบล๊อกด้วยเลย ช่วงนี้ยิ่งนึกไม่ค่อยออกว่าจะเขียนอะไรซะด้วย ..

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8719209/L8719209.html#10


###### ดิฉันจะเลือกใช้ประกันสังคม ระหว่าง โรงพยาบาลเอกชน VS โรงพยาบาลรัฐ ดีคะ ?#######

ตอนนี้เลือกโรงพยาบาลของเอกชนอยู่คะ.... เพราะ สะดวกดี.. บริการดี.. รวดเร็ว..และ ไม่ต้องลางานด้วย

แต่บางครั้งรู้สึกแย่ เพราะ เคยคุยกับหมอว่า ทำไมไม่ให้ดิฉัน พบแพทย์เฉพาะทางคะ ดิฉันอยากส่องกล้องคะ......

คุณหมอก็บอกว่า .... บอกตรงๆ คุณต้องเข้าใจนะว่า ประกันสังคม ปีนึง โรงพยาบาลเบิกได้แค่ 1,300 เท่านั้น ส่วนบัตรทอง โรงพยาบาลเบิกได้ 2,000 ต่อปี (นึกในใจ กรรม เยอะกว่าประกันสังคมอีก )

ตอนนี้ทางเราก็ประคับประคองอยู่ คุณรู้ไหมว่า การส่องกล้องทางเดินอาหาร ครั้งหนึ่ง 12,000 บาท ถ้าเราส่งไปส่องกล้องทั้งหมด ของผู้ใช้ประกันสังคม เราก็แย่ซิ อยู่ไม่ได้....

ถ้าคุณอยากส่องกล้อง ผมแนะนำให้ไปโรงพยาบาลรัฐนะ ถูกกว่ากันเยอะเลย.....





คุณหมอพูดจบ ดิฉันอึ้งเลยคะ พูดไม่ออก.............

หลัง จากวันนั้น หายสงสัยเลย ว่าทำไมให้ยาถูกๆ และ การตรวจก็พอทำเป็นพิธี แยกหมอ และ พื้นที่ ต่างหาก ระหว่าง ผู้ใช้บัตรประกันสังคม กับ ผู้จ่ายสด เพราะ รักษายังไงก็ได้ แต่ทั้งหมด ห้ามไม่ให้เกิน 1,300 ไม่อย่างนั้น ขาดทุน....

เฮ้อ...สุดท้ายก็เงิน

จากคุณ : The greatest voice of all
เขียนเมื่อ : วันปีใหม่ 53 21:03:56




มีคนเข้าไปแสดงความเห็นพอสมควร ..

ผมเลยเข้าไปแจมมั่ง ..



อยากจะแสดงความเห็น ใน ๒ ประเด็น

๑. ถ้าเป็นความต้องการของผู้ป่วยเอง โดยที่ไม่มีข้อบ่งชี้ว่า จำเป็นต้องทำ .. ไม่ว่า มีสิทธิ์อะไร ก็ไม่ควรที่จะทำ

แต่ถ้า " จำเป็น มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ " ... ไม่ว่า มีสิทธิ์อะไร ก็ควรทำ...

... การตรวจรักษา ทุกอย่าง มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่า ควรจะทำเมื่อไหร่ ... ทุกอย่าง มีข้อดี ข้อเสีย ทั้งนั้น จึงต้องคิดก่อนว่า คุ้มที่จะเสี่ยง กับผลเสียที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ ???

....... กรณี ของ จขกท. ผมก็ไม่ทราบว่า จำเป็นหรือไม่ ที่ต้องทำ ... แล้วถ้าทำแล้ว เกิดปัญหา กระเพาะทะลุ เกิดแผลจากเครื่องมือในขณะทำ หรือ มีสำลัก อาเจียนเข้าไปในหลอดลม ฯลฯ .. คนที่จะแย่ ไม่ใช่ หมอ (รพ. ) ตัวผุ้ป่วยเอง นั่นแหละ จะ หนักสุด


๒. รพ.เอกชน ( ไม่ว่า อะไร ที่เป็น "ธุรกิจเอกชน" ) ก็ต้องทำใจว่า เขาทำธุรกิจ ก็ต้องหวังกำไร เป็นธรรมดา เขามีต้นทุนที่มากกว่า รพ.รัฐ เยอะ เวลาไปรักษา ก็จะต้องจ่ายเยอะ เพราะนอกจากค่ายา ค่าตรวจ ก็ยังต้องคิดรวม ค่าตึก ค่าแอร์ ค่าจ้างทำความสะอาด ดอกเบี้ย ฯลฯ แถมต้องบวก " กำไร " เข้าไปอีกด้วย ...

.... ธุรกิจ หรือ กิจกรรม อะไรที่เขาเห็นว่า ทำไปแล้ว ขาดทุน เขาก็ต้องเลิกทำ ...( ผมว่า คนทำธุรกิจ ค้าขาย ทุกคน ก็คิดเหมือนกัน ไมว่าจะเป็น แม่ค้าพ่อค้าข้างถนน หรือ ธุรกิจ หมื่นล้านก็ตาม )

...... จึงเห็นว่า ช่วงหลัง ๆ รพ.เอกชน หลายแห่งที่ ยกเลิกเข้าโครงการ ที่ร่วมกับรัฐ เพราะ เขาลองทำแล้ว มันไม่ไหวจริงๆ ( รพ.เอกชน ที่ต่างจังหวัด ก็ยกเลิกสัญญากับ ประกันสังคม เยอะมากเหมือนกัน )


เพียงแต่ การบริการทางแพทย์ นอกจาก " กำไร " ทางธุรกิจแล้ว ยังต้องมี " จรรยาบรรณ " และ " หลักวิชาการแพทย์ " รวมอยู่ด้วย

ซึ่งบางครั้ง ก็ขัดแย้งกัน ... คงขึ้นอยู่กับ แพทย์ หรือ เจ้าของโรงพยาบาล (นักธุรกิจ จะเป็นแพทย์หรือไม่ก็ตาม ) จะเลือกว่า สิ่งไหน สำคัญกว่า ..



แถม ..

แพทย์ต้องมี จรรยาแพทย์ (จรรยาบรรณ) แล้วคนอื่น อาชีพอื่น ไม่ต้องมีหรือ ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=30-08-2009&group=7&gblog=31


หมอ ... มีสิทธ ิ... ที่จะปฏิเสธ .... คนไข้ที่ไม่ฉุกเฉิน..... หรือเปล่า ???

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=20-08-2009&group=7&gblog=29


ช่องทางร้องเรียน เกี่ยวกับ เรื่อง ...ยา ....หมอ ....คลินิก .....โรงพยาบาล ...

//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=23-02-2009&group=7&gblog=18



สำหรับท่านที่ใช้สิทธิประกันสังคม .. แนะนำให้อ่านกระทู้นี้ครับ .. คุณ นักอ่านตัวยง เขียนไว้ ละเอียดดีมาก ๆ ครับ


****** เคล็ดลับในการใช้ประกันสังคมให้คุ้ม!!!! ******

//topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2009/07/L8067388/L8067388.html





Create Date : 02 มกราคม 2553
Last Update : 13 กันยายน 2560 13:37:07 น. 4 comments
Counter : 2648 Pageviews.  

 
อ่านเห็นการเปิดกระทู้ว่า "อยากส่องกล้อง" ก็ดูแล้วใจหายค่ะ
และไม่แน่ใจว่า เจ้าของกระทู้เคยส่องกล้องมาสักครั้งแล้วหรือยัง แต่หากเป็นตัวอาชา ตอนนี้หมอทุกทีก็ต้องการส่องกล้อง แต่อาชากำลังย้ายโรงพยาบาลหนีแบบสุดหล้าฟ้าเขียวเลยค่ะ

อาชาเป็น Ulcer ที่ลำไส้ใหญ่ กระจายทั่วลำไส้ และเป็น Crohn's ที่ลำใส้เล็กค่ะ เป็นมาสิบสามปี หลายที่ก็ส่องกล้อง ครั้งแรกก็ผ่านไปได้ด้วยความทุลักทุเล เพราะยาซึมไม่ออกฤทธิ์ และหมอที่ส่องให้ในครั้งแรก ก็ไม่มีความประสงค์ที่จะวางยาสลบ ก็ถือว่าเจ็บปวดอยู่เหมือนกันค่ะ ทำให้กลัวไประยะใหญ่ๆ

ครั้งที่สอง ส่องที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใกล้ย่านเซียร์รังสิต แถวๆ ปทุมธานีน่ะค่ะ ครั้งที่สองนี้ทำให้กลัวการส่องกล้องไปเลย แทบจะเรียกได้ว่าหลอนประสาทตัวเอง ทำให้กลัวว่าหากส่องอีก ตัวเองอาจจะเจอสิ่งเลวร้ายกว่านั้น คือในห้องผ่าตัดทางวิสัญญีแพทย์คำนวนน้ำหนักส่วนสูงผิด อาชาตื่นขึ้นมากลางคัน ขณะที่ทำการส่องกล้องอยู่ และจากการตื่นนั้นเราก็ด้วยความตกใจ และคุณหมอก็มือหนักมาก ทำให้เกิดการเจ็บปวดขึ้นอย่างมาก หมอสั่งให้วิสัญญีอัดยาเข้าไปอีก ทำให้เราหลับหลังจากส่องกล้องนานถึงสี่ชั่วโมง กว่าจะรู้สึกตัว และกว่าจะได้ขึ้นห้องพักถือว่าเกือบจะหกชั่วโมง ทำให้รู้สึกว่า การส่องกล้องนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าทำนัก หากอาการเราไม่ได้ส่อถึงเค้าอันตรายที่จะต้องรักษาด้วยวิธีนี้

และการส่องกล้อง หากตัวโรคไม่แอคทีพ ก็ไม่น่าเจอประเด็นการรักษาใดๆ นอกจากมีเค้าว่าจะเป็นเนื้อร้ายเช่น "มะเร็ง" แต่คนเราหากดูแลร่างกาย และใส่ใจความเป็นไปของร่างกายให้มากพอ เราจะทราบค่ะว่า ร่างกายเราเกิดความเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด

ก็อยากให้ทุกคนที่มองการส่องกล้องเป็นทางเลือก ได้โปรดคิดพิจารณาทบทวนให้ละเอียด ให้ทบทวนแล้ว ทบทวนอีก ว่าที่คุณคิดหรือตัดสินใจนั้น มันเหมาะแก่เวลาหรือไม่นะคะ

ด้วยรักและปราถนาดี ห่วงใยสุขภาพคุณค่ะ


อาชา

(สาวรักม้า ไม่พิศมัยการดื่มของมึนเมาค่ะ)


โดย: อาชา (archa-girl ) วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:13:33:51 น.  

 
"คุณหมอก็บอกว่า .... บอกตรงๆ คุณต้องเข้าใจนะว่า ประกันสังคม ปีนึง โรงพยาบาลเบิกได้แค่ 1,300 เท่านั้น ส่วนบัตรทอง โรงพยาบาลเบิกได้ 2,000 ต่อปี (นึกในใจ กรรม เยอะกว่าประกันสังคมอีก ) "

ทำไมประกันสังคมที่เราจ่ายเงินเดือนละ 750 บาท ได้สิทธิการรักษาน้อยกว่าบัตรทองคะ ไม่เข้าใจ จริงๆ ค่ะ



โดย: SuJern (SuJern ) วันที่: 14 มีนาคม 2558 เวลา:10:48:16 น.  

 
Nation TV - เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย
"รพ.เอกชนทิ้งประกันสังคม... สะเทือน 14 ล้านคน!
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV23 สิงหาคม 2560 18:53 น.8,933แชร์
//www.nationtv.tv/main/content/social/378564259/

เสียงดังฟังชัดของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่บอกให้สำนักงานประกันสังคมเร่งหาทางออกกรณีโรงพยาบาลเอกชนแห่ถอนตัวออกจากระบบประกันสังคมหลังขาดทุนหนักรพ.เอกชนทิ้งประกันสังคม...

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม สุรเดช วลีอิทธิกุล ได้ชี้แจงถึงสาเหตุของปัญหานี้ว่า ไม่ใช่มาจากการขาดทุน แต่เป็นเรื่องของการปรับแผนธุรกิจของโรงพยาบาลเอกชนเอง และเมื่อมีโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งออกจากระบบประกันสังคมไป ก็มีรายใหม่เข้ามาในระบบด้วยเหมือนกัน เฉลี่ยปีละ 1-3 แห่งขณะเดียวกัน สำนักงานประกันสังคมยังอยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์ ให้ผู้ประกันตนและนายจ้างเพิ่มเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม อีก 5-10% จากปัจจุบันที่เก็บไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน เพื่อเพิ่มค่ารักษาพยาบาลรายหัวให้กับโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม และนำมาเป็นเงินจ่ายชดเชยให้กับผู้ประกันตนยามชราภาพ

ด้านโรงพยาบาลเอกชน แม้ว่าจะมีความหวังที่จะได้เงินค่ารักษาพยาบาลรายหัวมากขึ้น แต่ยืนยัน หากค่ารักษาพยาบาลรายหัวยังคงอยู่ที่ 1,460 บาท ซึ่งเป็นอัตรานี้มานานถึง 4 ปี ไม่รวมค่ารักษากรณีป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และโรคที่รักษายาก เช่น มะเร็งตับ ลิ้นหัวใจรั่ว และหัวใจขาดเลือด โรงพยาบาลเอกชนก็มีแต่จะขาดทุนและต้องออกจากระบบประกันคม เพราะแบกรับภาระต้นทุนต่อไปไม่ไหว โดยเฉพาะค่าแรงบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีการปรับเพิ่มขึ้นปีละ 20%

ขณะเดียวกัน นายแพทย์กำพล พลัสสินทร์ ผู้บริหารเครือโรงพยาบาลจุฬารัตน์ ยังเผยถึงแนวโน้มการถอนตัวของโรงพยาบาลเอกชนออกจากระบบประกันสังคมด้วยว่า หากยังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน โดยเฉพาะการกำหนดอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินค่ารักษาพยาบาลรายหัวให้มีความชัดเจน คงต้องเห็นโรงพยาบาลเอกชนอีกหลายแห่งต้องหายไปจากระบบประกันสังคม

จากการตรวจสอบข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม พบว่าปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนอยู่ในระบบประกันสังคม 80 แห่ง ลดลงจากปี 2551 ที่มี 104 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลรัฐ มีจำนวน 158 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีอยู่ 153 แห่ง ขณะที่จำนวนผู้ประกันตนเพิ่มมาอยู่ที่ 14.3 ล้านคน จากปี 2551 ที่มีผู้ประกันตน 9.1 ล้านคน ตัวเลขนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความแออัดในการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน เนื่องจากจำนวนโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมลดลง สวนทางกับจำนวนผู้ประกันตนที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 ล้านคน ส่งผลให้ผู้ประกันตนต้องใช้เวลาในการรักษาพยาบาลไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงแม้ว่าสำนักงานประกันสังคมจะพยายามหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาโรงพยาบาลเอกชนหนีออกจากระบบประกันสังคม แต่แน่นอนว่าการเพิ่มเงินสมทบประกันสังคมย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนไม่น้อยกว่า 14 ล้านคนอย่างแน่นอน และสุดท้าย "มนุษย์เงินเดือน" ก็หนีไม่พ้นต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเหมือนเคย"


โดย: หมอหมู วันที่: 26 สิงหาคม 2560 เวลา:14:16:58 น.  

 
ประกันสังคมปัดเงินรายหัวน้อยทำ รพ.เอกชนลาออก เผยเพิ่มอัตราค่ารักษา “โรคซับซ้อน” กู้ รพ.รัฐขาดทุน
โดย MGR Online

28 สิงหาคม 2560 16:27 น. (แก้ไขล่าสุด 28 สิงหาคม 2560 16:58 น.)
//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000088229

ประกันสังคมปัดเงินรายหัวน้อยทำ รพ.เอกชนลาออก เผยเพิ่มอัตราค่ารักษา “โรคซับซ้อน” กู้ รพ.รัฐขาดทุน
ประกันสังคมปัด รพ.เอกชนลาออกจากระบบ เหตุเงินเหมาจ่ายน้อย เผย รพ.ยันฮี ลาออกเพราะต้องการเป็น รพ.เฉพาะทาง ชี้ รพ.รัฐขนาดใหญ่เจอปัญหาขาดทุนมากกว่า ปรับเกณฑ์จ่ายค่ารักษาโรคซับซ้อน กู้สถานการณ์แล้ว รพ.เอกชนรับอานิสงส์ด้วย

วันนี้ (28 ส.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงกรณี รพ.เอกชน 3 แห่ง ประกอบด้วย รพ.ยันฮี รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ และ รพ.ศรีระยอง จ.ระยอง ถอนตัวจากสถานพยาบาลระบบประกันสังคมในปี 2561 ว่า รพ.ยันฮีดูแลผู้ประดันตนทั้งหมด 156,579 คน รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์ ดูแลผู้ประกันตน 149,313 คน และ รพ.ศรีระยอง ดูแลผู้ประกันตน 19,817 คน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าผู้ประกันตนจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะได้จัดสถานพยาบาลทดแทนให้กับผู้ประกันตน โดยขณะนี้ได้ดำเนินการทยอยแจ้งแก่ผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39 เพือ่ให้เลอืกเปลียนสถานพยาบาลแล้ว ซึ่งสามารถดำเนินการได้ภายในวันที่ 31 ต.ค.นี้ แต่หากไม่ได้ดำเนินการ สปส.จะเลือกสถานพยาบาลที่ใกล้สถานประกอบการที่สุดแก่ผู้ประกันตน

เมื่อถามถึงสาเหตุที่ รพ.เอกชนทยอยลาออกเกี่ยวกับอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์น้อยหรือไม่ นพ.สุรเดชกล่าวว่า สปส.มั่นใจว่าอัตราค่าบริการทางการแพทย์นั้นไม่น้อยเกินไป และการที่ รพ.เอกชนลาออกก็ไม่ได้ให้สาเหตุว่า รพ.ขาดทุนจากประกันสังคม อย่างที่ขอลาออกในปี 2561 เช่น รพ.ยันฮี ก็ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง แต่การที่จะเป็นโรงพยาบาลในระบบประกันสังคมก็จะมีเกณฑ์กำหนดไว้ เช่น ต้องมีแพทย์สาขานั้นนี้ซึ่งทางโรงพยาบาลก็แจ้งว่าไม่ได้อยากทำ แต่อยากทำในสิ่งที่ตนเองถนัด ส่วน รพ.เกษมราษฎร์ รัตนาธิเบศร์นั้น มี รพ.การุญเวช ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกันและอยู่ห่างกัน 300 เมตร จึงให้ รพ.การุญเวชรับเพียงแห่งเดียว ส่วน รพ.ศรีระยอง เพราะจำนวนผู้ประกันตนน้อยเกินไป แต่ก็มี รพ.ที่อยู่ใกล้ๆ กันรองรับ ทั้งนี้ แม้จะมี รพ.เอกชนลาออก 3 แห่ง แต่ก็มี รพ.เอกชนเพิ่มเข้ามาในระบบในปี 2561 อีก 2 แห่ง คือ รพ.มิชชั่น และ รพ.เปาโล เกษตร (รพ.เมโยเดิม)

“โรงพยาบาลที่ขาดทุนจริงๆ คือ โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ที่ดูแลผู้ป่วยโรคยากและซับซ้อน ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) และคณะกรรมการการแพทย์ เห็นว่าควรปรับปรุงในเรื่องของการจ่ายเงินรักษาโรคยาและซับซ้อนให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา คาดว่าจะช่วยให้โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น และ รพ.เอกชนก็ได้รับอานิสงส์จากการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้ด้วย” เลขาธิการ สปส.กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามถึงความเป็นไปได้ในการตั้ง รพ.ประกันสังคม นพ.สุรเดชกล่าวว่า ผู้ประกันตนส่วนใหญ่อยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งมี รพ.รัฐ รพ.เอกชน เพียงพอที่จะรองรับ และถ้า สปส.จะสร้างเพียงแห่งเดียวก็เหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติ แต่ถ้าสร้างก็ต้องสร้างเยอะในเมืองใหญ่ ทำให้ต้องดูดแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต่างๆ มา รวมถึงดูดมาจากพื้นที่ห่างไกลก็จะเกิดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์กระจุกอยู่ในตัวเมืองเพิ่มขึ้นอีก เกิดความเหลื่อมล้ำกับพื้นที่ห่างไกลไปอีก และไม่เป็นธรรมต่อระบบสุขภาพในภาพรวมของประเทศ


โดย: หมอหมู วันที่: 28 สิงหาคม 2560 เวลา:19:11:04 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]