เชิญร่วมเสวนา"ระยองกับการพัฒนาสู่ยุค 4.0"การขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และ TOD

สมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดระยองและบริษัท ระยองพัฒนาเมืองจำกัด
ขอเชิญชาวระยองและท่านที่ประกอบการธุรกิจในพื้นที่จังหวัดระยองร่วมสัมมนาครั้งสำคัญ
ระยองกับการพัฒนาสู่ยุค 4.0
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดระยอง ด้วยการ
พัฒนาระบบขนส่งมวลชน และพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD)
ด้วยรัฐบาลได้ประกาศให้จังหวัดระยองเป็นหนึ่งในสามจังหวัดเป็นพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา) เพื่อมุ่งสู่การเป็นฐานทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic CorridorDevelopment หรือ EEC) โดยการวางแผนลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ และสิ่งอำนวยความสะดวกบริการภาครัฐ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต ตามด้วยสิทธิประโยชน์ประเภทต่างๆ เช่น
- สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นของคนต่างด้าว ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกกำหนด
- สิทธิในการนำช่างฝีมือ ผู้บริหารหรือผู้ชำนาญการ ซึ่งเป็นคนต่างด้าว เข้ามาและอยู่อาศัยในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว
- สิทธิในการที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดเป็นเวลา 13 ปี ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
- สิทธิประโยชน์ในด้านธุรกรรมการเงิน เช่น สิทธิในการถือครองเงินตราต่างประเทศ เป็นระยะเวลานานกว่าที่กำหนดไว้ตามกฎหมายอื่น
- สิทธิการเช่าที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษสูงสุดมีกำหนดระยะเวลาสูงสุดถึง 99 ปี
รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จครบวงจร(One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในการประกอบกิจการ
โดยมุ่งหวังให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น
· การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย500,000 ล้านบาท
· การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน400,000 ล้านบาท
· การลงทุนในด้านการพัฒนาเมืองใหม่เช่น การก่อสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน และที่อยู่อาศัยประมาณ 400,000ล้านบาท
· การลงทุนด้านการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและสุขภาพประมาณ 200,000 ล้านบาท
คาดว่าภายในระยะเวลา 1-5ปีจะมีความต้องการใช้พื้นที่เพื่อการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประมาณ 70,259 ไร่ ประกอบด้วย
· อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะใช้พื้นที่รองรับประมาณ 18,000 ไร่
· อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ ประมาณ 7,259 ไร่
· อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารการเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ 21,500 ไร่
· อุตสาหกรรมการบิน ประมาณ 500ไร่
· อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ประมาณ 20,000 ไร่
· และอุตสาหกรรมดิจิทัลและการแพทย์ครบวงจร ประมาณ 3,000 ไร่
(ที่มา: การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
สำหรับจังหวัดระยองจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงเป็นอันดับสองประเทศ (รองจากกรุงเทพมหานคร) โดยในปี2557 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ระบุ GPP ของจังหวัดอยู่ที่874,547 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคน 1,008,615 บาท ที่จำนวนประชากรประมาณ667,000 คน กล่าวได้ว่า จังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศโดยมีจำนวนถึง 23 แห่ง (รวมนิคมของรัฐและของเอกชน) เนื้อที่ประมาณ 40,000 ไร่แบ่งเป็น
· นิคมอุตสาหกรรมจำนวน 8 แห่ง
· เขตประกอบการอุตสาหกรรมจำนวน 5 แห่ง
· ชุมชนอุตสาหกรรมจำนวน 5 แห่ง
· สวนอุตสาหกรรมจำนวน 2 แห่ง และ
· นิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ระหว่างการจัดตั้งจำนวน 3 แห่ง
โดยมีโรงงานจำนวน19,440 โรงจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมมากถึง 160,000 อัตรา
ในปี2562 รัฐบาลประกาศขยายขอบเขตการให้บริการสนามบินอู่ตะเภาเพื่อเป็นศูนย์การเดินทางและศูนย์รวมการขนส่งสินค้าของพื้นที่เขตเศรษฐกิจEEC และยังประกาศเปิดให้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูง(กรุงเทพ-ระยอง) ในปี 2564ไม่รวมการลงทุนเชื่อมต่อรถไฟทางคู่จากสายแก่งคอย-มาบตาพุดซึ่งคาดว่าจะเปิดบริการเติมรูปแบบในปี 2562
ตัวเมืองระยองตั้งขนาบข้างโดยย่านอุตสาหกรรมสำคัญปัจจุบันมีสภาพเป็นศูนย์เศรษฐกิจพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่เป็นที่ตั้งของพื้นที่ค้าปลีกไม่น้อยกว่า 500,000 ตารางเมตรทั้งพื้นที่ค้าปลีกดั้งเดิมและพื้นที่ค้าปลีกสมัยใหม่ เช่นเดียวกับที่อยู่อาศัยซึ่งได้เริ่มเปลี่ยนแปลงจากการขยายตัวแนวราบมาเป็นการขยายตัวแนวตั้ง
ด้วยสภาพการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคของรัฐบาลการลงทุนอุตสาหกรรม และการลงทุนภาคการพาณิชย์ของเอกชน เมื่อประกอบกับแนวนโยบายการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษดังที่กล่าวแล้วนั้นปัจจุบัน จังหวัดระยองจึงมีสภาพเป็นใจกลางศูนย์เศรษฐกิจของภาคตะวันออกไปโดยปริยาย
อย่างไรก็ตามแม้จังหวัดระยองจะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาลและการลงทุนขนานใหญ่ของภาคเอกชนแต่การลงทุนและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของจังหวัดในช่วงเวลาที่ผ่านมายังขาดทิศทางและมีการบูรณาการแผนที่มีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากเนื้อเมืองส่วนใหญ่เติบโตไปตามธรรมชาติการใช้ที่ดินมีความหนาแน่นเฉพาะพื้นที่สองข้างทาง ขาดการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งงานกับที่อยู่อาศัยดังเช่น ระบบการเดินทางและการขนส่งสินค้า ซึ่งพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลเนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะมีพื้นที่บริการอยู่อย่างจำกัดและไม่ได้มาตรฐานด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พื้นที่ชั้นในและพื้นที่ย่านชานเมืองเกิดปัญการคับคั่งการจราจรสำหรับการขนส่งสินค้า ยังคงพึ่งพาระบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ซึ่งได้เพิ่มปริมาณการแออัดการสัญจรบนผิวถนนมากขึ้นไปอีกในขณะที่ความสามารถการรองรับของถนนมีอยู่อย่างจำกัด ทั้งนี้ ไม่นับรวมปัญหาด้านมลภาวะอุบัติเหตุ คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ที่นับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้นตลอดเวลา
เพื่อให้เกิดการบูรณาการรูปแบบการพัฒนาที่เด่นชัดให้จังหวัดระยองมีศักยภาพในระดับสูงในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานดำเนินไปควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยภาคเศรษฐกิจจริงเติบโตไปพร้อมกับความยั่งยืนของเมืองและจังหวัดระยองมีความสามารถการแข่งขันในระดับสูงตามนโยบายของรัฐบาล สมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดระยองจึงได้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรและภาคส่วนต่างๆ จัดการสัมมนาเรื่อง ระยอง 4.0 ขึ้นทั้งนี้ เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชนจะได้สรุปผลการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาและร่วมกันเสนอแนวทางในการพัฒนาจังหวัดระยองสู่อนาคต ต่อไป
กำหนดการสัมมนา
12.30-13.00 ลงทะเบียน
13.00-13.20 เปิดการสัมมนาโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง
13.20-14.20 การบรรยายรายละเอียดการศึกษาเส้นทางขนส่งมวลชนและการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง
มวลชนเมืองระยองโดย ผศ.ดร.ศักรธร บุญทวียุวัฒน์ และ ผศ.ดร.ธนภณ พันธเสน จาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14.20-15.45 การเสวนาเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาระยอง 4.0และประสบการณ์การพัฒนาเมืองขอนแก่น
หรือขอนแก่นโมเดล
โดย ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์ฐาปนาบุณยประวิตร อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย
อาจารย์สุรเดชทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะผู้ก่อตั้งบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด
15.45-16.00 พักรับประทานอาหารว่าง
16.00-17.00 การแสดงความคิดเห็นของผู้ร่วมประชุมดำเนินรายการโดย คุณภูษิต ไชยฉ่ำ กรรมการสมาคม
การค้าอสังหาริมทรัพย์จังหวัดระยองและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด
17.00 สรุปและปิดการประชุม
ท่านใดสนใจข่าวจากเพจSmart Growth Thailand
กด LIKE ติดตามข่าวได้ที่ แฟนเพจด้านล่างนี้เลยครับ