พิษณุโลก จับมือกับ ขอนแก่น แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

บทความโดย นายพิชิต ขอผล

หัวหน้าฝ่ายผังเมือง กองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

การศึกษาดูงานจากจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจังหวัดขอนแก่นแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่เมืองขอนแก่นการวางแผนระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบา (Light Rail Transit) เชื่อมโยงกับหน่วยบริการต่างๆของเมืองการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน โดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development , TOD) โดยหลายภาคส่วนของจังหวัดพิษณุโลกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก เทศบาลนครพิษณุโลกเทศบาลตำบลวัดจันทร์ หอการค้าจังหวัดพิษณุโลก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว สมาคมATSME ชมรมธนาคารจังหวัด ภาคประชาสังคม ผู้อำนวยการวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยการต้อนรับจากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ผู้บริหารเทศบาลนครขอนแก่น คณะผู้จัดตั้งบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) ภาคส่วนต่างๆจังหวัดขอนแก่น



จังหวัดขอนแก่น แบ่งเขตการปกครอง 26 อำเภอ 198 ตำบล 2,331 หมู่บ้านมีประชากรรวม 1,766,06 คนมีเส้นทางคมนาคมสำคัญคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 มีทางรถไฟผ่านเส้นทางจากกรุงเทพฯ - หนองคายมีท่าอากาศยานพาณิชย์ 1 แห่ง ห่างจากตัวเมือง กิโลเมตร เส้นทางบินกรุงเทพฯ – ขอนแก่น -กรุงเทพ ฯ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 55 นาที วันละ 8 เที่ยวบินและอยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เป็นจังหวัดที่ถือได้ว่าอยู่ศูนย์กลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายในเมืองยังขาดระบบโครงข่ายคมนาคมที่เหมาะสม ประชาชนใช้การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล รถมอเตอร์ไซต์เป็นส่วนใหญ่ทำให้มีปัญหาการจราจรในพื้นที่เมืองเกิดขึ้นในทุกวันโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน 


จังหวัดขอนแก่นมีการศึกษาจัดทำแผนแม่บทและศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นเพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองขอนแก่น(2551) , การศึกษาระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ในภูมิภาคเพื่อการจราจรปลอดภัยอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น (2554)กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน(กปถ.) , การศึกษาวิจัยโครงการศึกษาระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) เมืองขอนแก่น (2555) เทศบาลนครขอนแก่น, การออกแบบรายละเอียดระบบการดำเนินการเดินรถของระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ(BRT) (2555) ต้นแบบเมืองภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด , โครงการพัฒนารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ(Bus Rapid Transit, BRT)เมืองขอนแก่นและปัจจุบันมีการศึกษาและเปรียบเทียบการนำเอาระบบขนส่งมวลชน (BRT, Tram และ LRT)โดยละเอียดทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่าจะใช้ระบบการขนส่งมวลชนระบบรางเบา(Light Rail Transit) เชื่อมโยงกับหน่วยบริการต่างๆของเมือง 5 เส้นทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน โดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development ,TOD)


เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง รวมกัน 5แห่งในพื้นที่เมืองขอนแก่น มีความร่วมมือกันจัดตั้งบริษัทจำกัดเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวโดยงบประมาณในการลงทุนเบื้องต้นจะมาจากภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดจัดตั้งเป็นบริษัทขึ้นมาในชื่อบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมืองจำกัด(KKTT) เพื่อลดภาระในการใช้งบประมาณของภาครัฐ ทำให้เกิดความสำเร็จในโครงการได้ทันต่อสภาพการณ์ในอนาคตจะมีการผลักดันโครงการดังกล่าวให้เป็นการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานประจำจังหวัดขอนแก่นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสนับสนุนการทำระบบรางเบา(TRAM) ชูจุดเด่นในการประกอบและผลิตขึ้นเองภายในประเทศเพื่อทำให้ต้นทุนโครงการลดลงประกอบกับโครงดังกล่าวจะนำเรื่องการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนโดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development , TOD) หรือการพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟฟ้าพาดผ่านเข้ามาร่วมคำนวณความเป็นไปได้ของโครงการด้วยจากการประชุมคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.)ครั้งที่ 1/2558มีการเสนอให้รับทราบแผนแม่บทและศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรมเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขอนแก่น และโครงการศึกษาออกแบบเพื่อก่อสร้างระบบรถโดยสารด่วนพิเศษต้นแบบในภูมิภาคคณะกรรมการฯให้จังหวัดขอนแก่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมและอนุมัติให้ สนข. ดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารกับระบบขนส่งระบบราง (TRAM)และศึกษาถึงรูปแบบการลงทุนของเอกชนที่จะเข้ามาร่วมพร้อมศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA)



คณะศึกษาดูงานจังหวัดพิษณุโลกให้ความสนใจในแนวทางการดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดขอนแก่นสอบถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิธีการท างานที่ให้นำมาซึ่งความสำเร็จในโครงการโดยเฉพาะการตัดสินใจร่วมตัวกันของภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดเพื่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่นตนเองไม่รอแต่เพียงจากงบประมาณภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการขนส่งมวลชนที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นของเมืองเพิ่มความสุขให้กับประชาชนทุกๆคน การดังกล่าวเป็นแนวทางที่คณะศึกษาดูงานจังหวัดพิษณุโลก จะสามารถนำมาต่อยอดระบบการขนส่งมวลชนระบบรางเบา(Light Rail Transit) การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนโดยใช้หลักการขนส่งที่มุ่งเน้นการพัฒนา (Transit Oriented Development , TOD) โครงการสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนได้หรือไม่ต้องติดตามดูผลการดำเนินงานต่อไป 






Create Date : 06 กันยายน 2558
Last Update : 21 กันยายน 2558 21:11:49 น.
Counter : 2631 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rattanakosin.BlogGang.com

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด