พิษณุโลก 2020 เขตเศรษฐกิจลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีน โดย ฐาปนา บุณยประวิตร
พิษณุโลก 2020

เขตเศรษฐกิจลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีน

ฐาปนา บุณยประวิตร สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

www.smartgrowththailand.com/ www.smartgrowthasia.com www.asiamuseum.co.th




บทนำ

ตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกร่วมกับหอการค้าจังหวัดพิษณุโลกสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก และสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกจะจัดการสัมมนาเรื่องแนวทางการขับเคลื่อนจังหวัดพิษณุโลกตามยุทธศาสตร์การผังเมือง “พิษณุโลก 2020: เขตเศรษฐกิจการลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีน” ในวันที่ 24-25 สิงหาคม 2558 ณ.ศาลาประชาคม ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกนั้น ผู้เขียนเห็นว่าการจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นความก้าวหน้าของวงการผังเมืองหลายประการโดยความก้าวหน้าที่มองเห็นได้ชัดมีอยู่หลายประการ ดังนี้

• ประการแรก ความสามารถของเครือข่ายภาครัฐและเอกชนในจังหวัดพิษณุโลกในการแปรความยุทธศาสตร์การพัฒนาจากผังเมืองรวมจังหวัดที่อยู่ระหว่างการยกร่างให้เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองให้มีศักยภาพในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของจังหวัด

• ประการที่สองผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกมีศักยภาพในการบูรณาการแผนงานโครงการ ทั้งในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ แผนงานระดับประเทศ แผนงานระดับภาคและแผนงานระดับจังหวัดที่สอดคล้องกับแนวคิดการวางผังเมืองรวมซึ่งนำมาจากเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth Principles) และเป็นไปตามแนวนโยบายใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองในการใช้ผังเมืองรวมจังหวัดเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืน และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน

• ประการที่สามยุทธศาสตร์การผังเมืองได้เปลี่ยนแปลงจากการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นส่วนใหญ่มาเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

• ประการที่สี่ความร่วมมือของภาคส่วนรัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อสร้างขีดความได้เปรียบและความสามารถการแข่งขัน

เพื่อให้มองเห็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนจังหวัดพิษณุโลกตามแนวนโยบาย พิษณุโลก2020: เขตเศรษฐกิจการลงทุนใหม่สี่แยกอินโดจีนผู้เขียนจึงขอสรุปนโยบายและแผนงานสำคัญๆ ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งเพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคตโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนในอนาคต และเขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนในอนาคตรายละเอียด ดังนี้

โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งในอนาคต



ภาพแสดงแนวคิดโครงข่ายการคมนาคมและขนส่งจังหวัดพิษณุโลกในอนาคต

โครงข่ายคมนาคมและขนส่ง ตามคาดประมาณการลงทุนจากปัจจุบันจนถึง 20 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย รถไฟรางคู่สายเหนือ-ใต้และสายตะวันออก-ตะวันตกสนามบินนานาชาติ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจของจังหวัดศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานเมืองศูนย์กลางการประชุมและท่องเที่ยว และเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งสำคัญ ที่จะมีการพัฒนาสรุปได้ดังนี้

• การยกระดับสนามบินให้เป็น International Airport สามารถรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางทางอากาศไปยังศูนย์เศรษฐกิจประเทศต่างๆได้มากกว่า 10 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมต่อกับศูนย์เศรษฐกิจของประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย บังคลาเทศเมียนมาร์ ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศในโอเชียเนียโดยการปรับปรุงสนามบินในครั้งนี้พิษณุโลกจะมีหน่วยบริการศุลากรเพื่อให้บริการตรวจรับการขนส่งสินค้าทางอากาศด้วย

• การเปิดให้บริการรถไฟฟ้า High Speed Rail สายกรุงเทพมหานคร-พิษณุโลก-เชียงใหม่ในปี 2563 โดยสถานีหลักของ HSR ตั้งอยู่ในใจกลางเทศบาลนครพิษณุโลกคาดว่าจะมีผู้เดินทางใช้บริการเข้าออกด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงไม่น้อยกว่าวันละ 8,000 คนภายในปี 2566

• การเปิดบริการของรถไฟทางคู่สายเหนือ-ใต้(Northern-Southern Heavy Rail) รถไฟทางคู่สายนี้เป็นรถขนส่งสินค้าเป็นส่วนใหญ่เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าเส้นทางมาบตาพุด-สระบุรี-พิษณุโลก-เชียงรายและอาจเชื่อมต่อกับรถไฟขนส่งสินค้าของประเทศจีนในอนาคตคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565

• การเปิดบริการของรถไฟทางคู่สายตะวันตก-ตะวันออก(East-West Heavy Rail) รถไฟทางคู่สายนี้เป็นรถที่ใช้ขนส่งสินค้าและบริการการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างศูนย์เศรษฐกิจเมียนมาร์-ไทย-ลาว-เวียดนามตามนโยบายของโครงการ GMS ปัจจุบันรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังศึกษาออกแบบคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568

สำหรับการเชื่อมต่อการเดินทางในปัจจุบันจังหวัดพิษณุโลกมีสภาพเป็นใจกลางของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและเป็นศูนย์รวมและกระจายการเดินทางอยู่แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางด้วย Transit bus ของบริษัท ขนส่ง จำกัด สำหรับโครงข่ายถนน จังหวัดพิษณุโลกมีโครงข่ายถนนที่มีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับภูมิภาคต่างๆที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น การเชื่อมต่อทางถนนสายตะวันตก-ตะวันออกตามทางหลวงหมาย 12 หรือการเชื่อมต่อทางถนนสายเหนือใต้ผ่านทางหลวงหมายเลข 117 และ 11

โครงข่ายการขนส่งมวลชนในอนาคต

จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคของประเทศรัฐบาลมีโครงการพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนให้เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างศูนย์การพัฒนาพื้นที่ปัจจุบัน รัฐบาลได้มีโครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทางเลือกการเดินทางที่มีคุณภาพแก่ประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นระบบการสัญจรหลักสำหรับอนาคตรวมทั้งสร้างประสิทธิภาพการเดินทางภายในย่านเศรษฐกิจโดยการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกันซึ่งได้แก่ การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสนามบินจังหวัดพิษณุโลกสถานีขนส่งทั้งสองแห่ง ศูนย์พาณิชยกรรมเซ็นทรัลพลาซ่าและมหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยรถไฟฟ้ารางเบา โครงการดังกล่าวคาดว่าจะให้บริการได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า



ภาพแนวคิดการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลกในอนาคต

เขตเศรษฐกิจพิเศษสี่แยกอินโดจีนในอนาคต



แผนที่แสดงที่ตั้งเขตเศรษฐกิจในอนาคตของจังหวัดพิษณุโลก

เขตเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดพิษณุโลกในอนาคตแบ่งออกเป็น4 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. เขตเศรษฐกิจพาณิชยกรรม (Economic and Commercial Zone) ภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่ประเภทใจกลางเมือง(Downtown), พาณิชยกรรมเมือง (Urban Center) และศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยชานเมือง (Suburban Center) พื้นที่ใจกลางเมืองและย่านพาณิชยกรรมของจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบันมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายโทรคมนาคม การสื่อสาร โครงข่ายถนน สาธารณูปโภค ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบบริการสาธารณะ เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการและศูนย์ธุรกิจเอกชนระดับภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นศูนย์ภาคของธุรกิจการเงินและการค้าระหว่างประเทศพร้อมด้วยพื้นที่ค้าปลีก (retail spaces)มากกว่า 600,000 ตารางเมตรและจะเพิ่มขึ้นอีก 400,000 ตารางเมตรในปี 2565 ภายหลังการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าความเร็วสูงพื้นที่ในศูนย์การพัฒนาจะเป็นพื้นที่ที่มีอำนาจการซื้อและเป็นศูนย์รวมแหล่งงานที่มีคุณภาพของจังหวัดพิษณุโลก



ทัศนียภาพย่านพาณิชยกรรมจังหวัดพิษณุโลกในอนาคต

2. เขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ (Industrial and Logistics Zone) ภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่ประเภท Commercial and Logistics Center ทั้ง 3 แห่ง ทั้งศูนย์บึงพระซึ่งเป็น Regional Logistics Hub ศูนย์ Logistics เต็งหนามและศูนย์ Logistics สี่แยกอินโดจีน ศูนย์ logistics ผสมผสานพาณิชยกรรมทั้ง 3 แห่งจะมีศักยภาพในการให้บริการติดต่อการค้าระหว่างประเทศและภายในประเทศการขนส่งและการกระจายสินค้า จุดตรวจและปล่อยสินค้าทั้งทางทางอากาศ ทางถนนและทางรถไฟมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมและขนส่งทั้งรถไฟขนส่งสินค้าสายเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตก รถไฟฟ้ารางเบาที่เชื่อมต่อไปยังศูนย์เศรษฐกิจใจกลางเมืองและสนามบินนานาชาติมีคลังสินค้าและ TruckTerminal, Rail Terminal พร้อม container yardและระบบขนถ่ายที่ทันสมัย

3. เขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและเกษตรจังหวัดพิษณุโลก(Phitsanulok Agricultural and Food Innovation Industry Zone) มีที่ตั้งภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่ พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์บึงพระกำหนดพื้นที่พัฒนาจำนวน 3,000 ไร่กำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาที่ดินและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุนกิจการอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม การแปรรูปผลิตผลการเกษตร การผลิตส่วนประกอบอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงการวิจัยและพัฒนา และการตรวจสอบมาตรฐานในสาขาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเขตอุตสาหกรรมนี้อนุญาตให้เฉพาะกิจการที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลางถึงสูงและเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวเท่านั้น



ทัศนียภาพจำลองเขตนวัตกรรมอาหารและเกษตรจังหวัดพิษณุโลก

4. เขตนวัตกรรมการผลิตและการวิจัยและพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก(Phitsanulok Research and Development for Innovation Productand Service Zone) เขตนวัตกรรมการผลิตและการวิจัยและพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งภายในศูนย์การพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยและนวัตกรรม หรือพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยพิษณุโลกหรือมีพื้นที่พัฒนาจำนวน 2,000 ไร่ กำหนดการพัฒนาที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน อาคารฝึกอบรมและห้องปฏิบัติการรองรับการวิจัยและพัฒนาการแสดงผลงานวิจัย และการตรวจสอบมาตรฐานในสาขาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องพร้อมที่อยู่อาศัยสำหรับนักวิจัยและบุคลากร

5. เขตอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก (Phitsanulok Industrial Zone) ประกอบด้วยพื้นที่ 2 บริเวณได้แก่ พื้นที่เขตอุตสาหกรรมหัวรอมีพื้นที่ 800 ไร่ และเขตอุตสาหกรรมวังน้ำคู้มีพื้นที่ 800 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมทุกประเภทยกเว้นอุตสาหกรรมปิโตเคมี อุตสากรรมเคมีและอุตสาหกรรมตารมประกาศควบคุมอุตสาหกรรมอันตรายของกระทรวงอุตสาหกรรม


อนึ่ง ท่านที่สนในร่วมสัมมนา ขอให้ลงทะเบียนได้ที่ฝ่ายผังเมืององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ 055 247411 วันที่ 24 สิงหาคมสำหรับหน่วยงานราชการและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น รับจำนวน 200 คน และวันที่ 25 สิงหาคม สำหรับภาคเอกชนและประชาชน รับจำนวน 150 คน 






Create Date : 12 สิงหาคม 2558
Last Update : 21 กันยายน 2558 21:13:53 น.
Counter : 3268 Pageviews.

0 comments
ภาพประวัติศาสตร์ไทย II อากง สมาชิกหมายเลข 7115969
(31 พ.ค. 2568 19:05:56 น.)
เผากันต่อหน้า jiab bangkok
(25 พ.ค. 2568 01:13:33 น.)
ดีลลับ​คือ​กับดักมรณะ​ (Secret​ deal​ is​ a death trap) ปรศุราม
(21 พ.ค. 2568 17:40:44 น.)
อิสราเอลโจมตีทางอากาศถล่มภาคเหนือกาซา ดับแล้ว 50 ศพ เจ็บอื้อ sunmachon
(15 พ.ค. 2568 02:52:26 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rattanakosin.BlogGang.com

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด