การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและระดับเมือง: หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย


วงการผังเมืองของสหรัฐเมริกาได้พิสูจน์แล้วว่าปัจจัยที่แท้จริงในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนนั้นต้องเกิดจากความแข็งแกร่งของศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองโดยศูนย์เศรษฐกิจดังกล่าวจะต้องมีศักยภาพในการจ้างงานและการสร้างงานในระดับสูงมีระบบทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเชื่อมต่อทางกายภาพที่สนับสนุนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมรวมทั้งความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมและขนส่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนและการขนส่งสินค้าด้วยการขนส่งทางรางซึ่งนับเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าและการเดินทางที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สำหรับประเทศไทย ได้เวลาแล้วที่ต้องหันมาทบทวนการพัฒนาศูนย์เศรษฐกิจเสียใหม่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจไม่ได้อยู่ที่การเติบโตของศูนย์พาณิชยกรรมกรุงเทพมหานครแต่เพียงอย่างเดียวแต่หัวเมืองขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในพื้นที่ต่างจังหวัดจะต้องมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตและสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับประเทศและเพื่อให้ศูนย์เศรษฐกิจทุกขนาดในพื้นที่ต่างจังหวัดเติบโตและมีศักยภาพอย่างแท้จริงในการหล่อเลี้ยงเส้นเลือดใหญ่ของประเทศจึงจำเป็นจะต้องนำแนวคิดและทฤษฎีการวางผังและการออกแบบเมืองมาประยุกต์ใช้และนี่คือภารกิจอันสำคัญของการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) กฎหมายผังเมืองForm-Based Codes และ LEED-ND ที่จะชี้นำให้ทุกท่านได้เข้าใจแนวทางออกแบบเมืองซึ่งเป็นฐานรากที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจและแม่แบบของการเป็นเมืองสุขภาวะพบกับรายละเอียดการวางผัง การออกแบบเมือง การวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์เมืองและการกำหนดเจตนารมณ์ของศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างจากการสัมมนาในครั้งนี้

การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและระดับเมือง:หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย





วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09.00-16.00 น.คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมท๊อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก



จังหวัดพิษณุโลก

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจพิเศษสี่แยกอินโดจีน

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย



ทัศนียภาพภายในเขตอุตสาหกรรมนวัตกรรมอาหารและสมุนไพรจังหวัดพิษณุโลกพื้นที่ Green Industryที่เป็น Walkable Community และแหล่งสร้างงานใหม่ของคนวัยหนุ่มสาวและผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กของภาคเหนือตอนล่าง

หลักการและเหตุผล

รัฐบาลได้กำหนดบทบาทจังหวัดภาคเหนือตอนล่างเป็นพื้นที่ศูนย์เศรษฐกิจตอนบนของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อการค้าการลงทุน การเดินทาง การขนส่งและการบริหารจัดการทรัพยากรซึ่งได้ให้จังหวัดตากเป็นพื้นที่ประสานการค้าชายแดนด้านทิศตะวันตกส่วนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือล่างเป็นพื้นที่บริการของภาคการผลิต การพาณิชย์ การบริการและการพัฒนานวัตกรรม โดยจังหวัดพิษณุโลกมีบทบาทเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะ 20 ปีนั้นรัฐบาลได้วางแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่ง เช่น การลงทุนรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ซึ่งมีสถานีตั้งอยู่บริเวณใจกลางจังหวัดพิษณุโลกรถไฟทางคู่สายแม่สอด-พิษณุโลก-มุกดาหารและการพัฒนาศูนย์โลจิสติกส์ระดับภาคของจังหวัดพิษณุโลกและอำเภอแม่สอด ทั้งนี้เพื่อรองรับการการลงทุนของภาคเอกชนและการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตามโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาทิ โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และโครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

จากบทบาทดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ภาคเหนือตอนล่างมีบทบาทสำคัญทั้งการเป็นศูนย์รวมของการเชื่อมต่อ (Connectivity Hub) การเดินทางและการขนส่งสินค้าและศูนย์การผลิตและการบริการเชิงพาณิชย์ (Commercial and Manufacturing Center) ที่สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่เข้าสู่กระบวนการห่วงโซ่การผลิตและการบริการทั้งนี้ ภาครัฐในฐานะของผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและวางแผนการใช้ทรัพยากรและภาคเอกชนในฐานะของผู้ขับเคลื่อนการลงทุนและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างมีความสามารถสูงสุดในการบริหารจัดการผลผลิตให้เกิดมูลค่าและคุณค่าซึ่งจะทำให้พื้นที่ทั่วทั้งภาคมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน

ในการวางแผนด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานนั้นปัจจัยแรกที่จำเป็นจะต้องเร่งรัดดำเนินการได้แก่การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจในระดับภาคและระดับเมือง โดยต้องวางแผนการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับการส่งเสริมเศรษฐกิจโดยเฉพาะกิจกรรมการผลิต การบริการ การขนส่ง และอยู่อาศัยของประชาชนด้วยการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินการคมนาคมและขนส่งให้เกิดการประหยัดการใช้พลังงานก่อให้เกิดมูลค่าในระบบการผลิตและการบริการ สำหรับการวางการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นจำเป็นจะต้องกำหนดกิจกรรมการใช้ที่ดินที่ก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดและมีความคุ้มค่ามากที่สุดใช้นวัตกรรมในกระบวนการผลิตเพื่อประหยัดการใช้ที่ดินและทรัพยากร ในขณะเดียวกันแต่ละกิจกรรมจะต้องสอดประสานและสามารถพึ่งพาในระบบห่วงโซ่ได้โดยไม่ทำลายสภาพแวดล้อมและคุณค่าที่ดีของพื้นที่ในส่วนของการคมนาคมและขนส่งจะต้องวางผังให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินทางและการขนส่งมีความประหยัดด้วยการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะและการปล่อยก๊าซพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศส่งเสริมระบบการขนส่งสาธารณะที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชนและในภาคการผลิต

กรณีการวางแผนด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานระดับภาคและระดับเมืองของจังหวัดพิษณุโลกผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลกเสนอให้ปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด(Smart Growth Principles) ที่เรียกว่า ศูนย์การพัฒนาพื้นที่ (Urban Development Center) เพื่อยกระดับกายภาพเมืองและโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานซึ่งได้แบ่งศูนย์การพัฒนาพื้นที่ออกเป็น ศูนย์การพัฒนาพื้นที่ใจกลางเมือง (Downtown Center) ทำหน้าที่เป็นศูนย์เศรษฐกิจในระดับภาค เป็นศูนย์รวมสถาบันสำคัญของรัฐและเอกชนศูนย์การพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมเมือง (Commercial Urban Center) ทำหน้าที่ในการผสมผสานกิจกรรมพาณิชยกรรม การค้าปลีกการโรงแรมและท่องเที่ยว และการเชื่อมต่อเศรษฐกิจระดับภาคและเมืองเป็นศูนย์รวมการเดินทางและกิจกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การนันทนาการและการอยู่อาศัยศูนย์การพัฒนาพื้นที่เขตเมือง (General UrbanCenter) ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์พาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยระดับเมืองและระดับย่านศูนย์การพัฒนาพื้นที่ชานเมือง (SuburbanCenter) ทำหน้าที่เป็นศูนย์พาณิชยกรรมย่านชานเมืองและอำเภอ มีบทบาทในการเป็นศูนย์เศรษฐกิจการผลิต และการบริการของย่านชานเมืองและชนบทศูนย์การพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมและโลจิสติกส์ (Commercial and Logistics Center) ทำหน้าที่การเป็นคลังสินค้าและศูนย์การกระจายสินค้าเน้นการรวบรวมสินค้าด้วยการขนส่งทางถนนในระดับพื้นที่เพื่อส่งต่อไปยังจุดหมายปลายทางด้วยระบบการขนส่งทางรางและการขนส่งทางอากาศสำหรับศูนย์การพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยและนวัตกรรม (University and Innovation Center)ทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนา ผลิตบุคลากรฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริการ รวมทั้งการบริหารจัดการเมืองและทรัพยากรโดยศูนย์การพัฒนาพื้นที่ดังที่กล่าวมาเป็นรูปแบบมาตรฐานที่เมืองศูนย์เศรษฐกิจสำคัญของโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน

เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการวางผังปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่ได้มาตรฐานสู่การปฏิบัติและยกระดับมาตรฐานทางกายภาพและโครงสร้างของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างให้มีความพร้อมในการรองรับการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและศูนย์การเชื่อมต่อที่สำคัญของภูมิภาคในอนาคตจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก 2020เขตเศรษฐกิจใหม่สี่แยกอินโดจีนจึงได้ร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่างและสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย จัดการสัมมนาเรื่องการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมือง :หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทยโดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและองค์กรประชาชนได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูและนำเสนอข้อคิดเห็นเพื่อประยุกต์วิธีปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้ในบริบทของไทยและบริบทของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างต่อไป

กำหนดการสัมมนาเรื่อง

การปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมือง :หนทางหลักสู่การสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทย

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ โรงแรมท๊อปแลนด์จังหวัดพิษณุโลก

จัดโดย จังหวัดพิษณุโลก

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พิษณุโลก2020 เขตเศรษฐกิจพิเศษสี่แยกอินโดจีน

สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

08.30-09.00 ลงทะเบียน

09.00-09.10 พิธีเปิดการประชุม

09.10-10.00 การบรรยายพิเศษเรื่อง นโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับภาคและเมืองของรัฐบาล

โดย รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

10.00-10.15 พักรับประทานอาหารว่าง

10.15-11.15 การบรรยายเรื่อง การวางผังและการออกแบบศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาดโดย อาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย

11.15-12.00 การบรรยายเรื่อง การเติบโตประชากรและตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจเพื่อการบริหารจัดการศูนย์เศรษฐกิจระดับภาคและเมืองโดย ดร.ณัฐกิษฐ์ นบนอบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

12.00-13.00 พักรับประทานอาหารเที่ยง

13.00-14.00 การบรรยายเรื่อง โครงสร้างพื้นฐานและการเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก-ตะวันออกโดย ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

14.00-14.05 พักรับประทานอาหารว่าง

14.15-15.30 การเสวนาเรื่อง แนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจภาคเหนือตอนล่างและศักยภาพ

ในการเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

วิทยากรจากผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหอการค้าไทย

ดำเนินรายการโดย คุณณฐกร โซ่จินดามณีประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก

15.30-16.00 การเปิดอภิปรายเพื่อ เสนอข้อคิดเห็นและการเสนอโครงการเพื่อการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจ

ดำเนินรายการโดยคุณพิชิต ขอผล องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

16.00 ปิดการประชุม

ลงทะเบียนได้วันนี้– 20 พฤศจิกายน 2558 (รับผู้ร่วมสัมมนา จำนวน 300 คน) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ติดต่อคุณนุจรีลาชาวนา โทร 087-8481903

อีเมล์ : photofti@hotmail.com




Create Date : 25 ตุลาคม 2558
Last Update : 25 ตุลาคม 2558 6:55:27 น.
Counter : 1571 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rattanakosin.BlogGang.com

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด