ครม.ไฟเขียวตั้ง'กรมราง' ภารกิจเชื่อมระบบขนส่ง




ครม.ไฟเขียวตั้ง'กรมราง' ภารกิจเชื่อมระบบขนส่ง

เกริ่นนำ

ขนส่งทางราง ก็คล้ายกับกระดูกงูเรือ ที่เป็นโครงสร้างหลักพื้นฐานของเรือ

ฉันใดก็ฉันนั้นครับ กรมขนส่งทางรางก็มีความสำคัญเป็นยิ่งยวดในการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชน (ขนคน ขนสินค้าครั้งละมากๆ)ทั้งระหว่างเมือง (ภูมิภาค) ทั้งภายในเมือง นอกเมือง และบางครั้งระหว่างประเทศ

โดยกำหนดทิศทางที่แน่นอน ระบบรางเป็นเป็นขนส่งมวลชนหลักแล้วมีขนส่งมวลชนรอง Feeder เชื่อมต่อเข้าสู่ขนส่งมวลชนหลักเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในอนาคต ทั้งในรูปการลงทุน และในรูปของการสร้างคุณภาพชีวิตอย่างไรก็แล้วแต่ระบบขนส่งมวลชน ก็ต้องออกแบบควบคู่กับการวางผัง ออกแบบเมืองจะเกิดมูลค่าสูงสุด ได้ทั้ง TOD การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนและบริเวณใกล้เคียง

หมายเหตุ ศัพท์เทคนิค ที่ใช้กันประจำถ้ามีระบบรางไปที่ไหนที่นั่นจะมี Transit-Oriented Development อักษรย่อคือ TODคือการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน และบริเวณโดยรอบ

TOD หรือ Transit-OrientedDevelopment เป็นรูปแบบการพัฒนาและจัดการเมืองหรือพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนให้เกิดความกระชับ(Compact) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mixed-Use)-ADMIN

เข้าสู่บทความ

ครม.เห็นชอบตั้งกรมการขนส่งทางรางคุมระบบรางประเทศเคาะอัตรากำลัง 203อัตรา ตีกรอบค่าใช้จ่ายปี 60 ที่ 208.33 ล้านบาท พร้อมเข็นพ.ร.บ.ขนส่งทางรางเพิ่มประสิทธิภาพทำงานเต็มสูบ ด้าน คสช.ใช้ ม.44 เปิดทางรฟม.จ้างบริษัทเดิมเดินรถส่วนเชื่อมต่อเตาปูน-บางซื่อระบุเพื่อความสะดวกจ้างบริษัทอื่นจะยุ่งยาก รฟม.คาดเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง 1สถานี ได้ราว ส.ค.-ก.ย.60

เมื่อวันอังคาร นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ....(การจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง)โดยให้มีการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางขึ้นในสังกัดกระทรวงคมนาคมมีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรมทำหน้าที่เป็นหน่วยงานส่วนกลางในการเสนอแนะนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์ วางแผนโครงข่ายบริหารงานด้านการขนส่งทางรางของประเทศกำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานระเบียบทางด้านความปลอดภัยด้านการซ่อมบำรุงทางและด้านการประกอบการ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศ

ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางรางถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มภารกิจด้านการขนส่งมีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศให้มีโครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ เชื่อมต่อกับการขนส่งระบบอื่นและประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในระดับประเทศและภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในการเดินทาง

โดยโครงสร้างส่วนราชการ ประกอบด้วย กลุ่มตรวจสอบภายใน,กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร,สำนักงานเลขานุการกรม,กองกฎหมาย,กองกำกับกิจการขนส่งทางราง,กองมาตรฐานความปลอดภัยและบำรุงทางและกองยุทธศาสตร์และแผนงาน พร้อมทั้งกำหนดกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสมกับภารกิจที่จำเป็นต้องดำเนินการรวมทั้งสิ้น 203 อัตรา โดยให้ตัดโอนอัตรากำลังของสำนักงานโครงการพัฒนาระบบรางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มากำหนดไว้ในกรมการขนส่งทางราง 20 อัตราและสรรหาบุคลากรเพื่อขอบรรจุอัตรากำลังเพิ่มเติมอีก 183 อัตรา ประมาณการกรอบค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในการจัดตั้งกรมในปี2560 อยู่ที่ 208.33 ล้านบาท โดยไม่รวมกับงบลงทุนตามแผนการลงทุน

นอกจากนี้ได้จัดทำแผนการขนส่งทางรางที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแยกภารกิจด้านการกำกับดูแลออกจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้แก่ การปรับแก้ พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494เพื่อให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางพ.ศ....โดยได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่รวม 3 บริษัทของ รฟท.เพื่อฟื้นฟูกิจการในการให้บริการ

นายณัฐพรกล่าวอีกว่า ที่ประชุม ครม.ยังมีมติเห็นชอบการกำหนดร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ.... โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางรางที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ให้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านการขนส่งทางรางและเสนอความเห็น การให้คำปรึกษาต่อ ครม. พร้อมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางรางซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม หรือรองปลัดฯที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานมีอำนาจในการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขใช้อำนาจดำเนินการ

“การจัดตั้งกรมการขนส่งทางรางดังกล่าวเป็นการยกฐานะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบรางในสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรขึ้นเป็นกรมการขนส่งทางราง เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนารูปแบบการลงทุนและบริหารจัดการโครงการลงทุนทางรางของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”นายณัฐพกล่าว

ด้าน พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุม คสช.ได้ออกคำสั่ง คสช. มาตรา 44เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เฉลิมรัชมงคล)จากหัว

ลำโพง-บางซื่อ และสายสีม่วง จากบางใหญ่-บางซื่อซึ่งปัจจุบันสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อ รางรถไฟฟ้าพร้อมใช้งานแล้ว แต่ยังไม่มีคนเดินรถจึงออกคำสั่งให้รฟม.ไปจ้างบริษัทเดินรถใดก็ได้ให้เข้ามาดำเนินการในช่วงสถานีดังกล่าวที่ไม่มีผู้เดินรถอาจจะเป็นบริษัทเจ้าเดิมก็ได้ เพื่อให้ประชาชนเดินทางได้สะดวกขึ้นคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนสูงสุด

"นายกรัฐมนตรีเป็นห่วง ไม่อยากให้มองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ลงทุนในรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่เดินรถอยู่แล้วแต่ถ้าคำนึงถึงความเป็นจริง การต้องไปจ้างบริษัทเจ้าอื่นมาดำเนินการมันจะยุ่งยากค่าใช้จ่ายกับประชาชนสูงขึ้น ดังนั้นคงจะเป็นเจ้าเดิมมาดำเนินการและมีข้อตกลงแบ่งสันปันส่วนกัน ซึ่งนายกฯ ย้ำว่าจะต้องเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และไม่ทำให้รัฐเสียเปรียบ ยังได้มีข้อกำหนดว่าหากใช้อำนาจมาตรา 44 ในเรื่องนี้แล้ว ไม่ต้องไปนำกฎหมายลงทุนร่วมรัฐเอกชนหรือทีพีพี มาใช้ เพื่อให้รวดเร็วหากการเจรจากับบริษัทเดิมเพื่อให้ได้ในราคาที่ถูก แต่เจรจาไม่สำเร็จรฟม.สามารถจ้างบริษัทอื่นได้ แต่ต้องคำนึงถึงประชาชนและรัฐ"พล.ท.สรรเสริญกล่าว

ด้าน พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ รฟม.เปิดเผยความคืบหน้าการเดินรถเชื่อมต่อ 1 สถานี ระยะทาง 1 กิโลเมตร (กม.)ช่วงสถานีเตาปูน-สถานีบางซื่อ แล้ว ว่าโดยหัวหน้า คสช.จะออกคำสั่งตามมาตรา 44เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการเดินรถ 1 กม.ดังกล่าว สาเหตุที่ต้องใช้คำสั่งพิเศษเนื่องจากติดข้อกฎหมายไม่สามารถดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 56ที่อาจจะขัดต่อกฎหมาย ประกอบกับมีผู้ร้องคัดค้านไม่ให้รายเดิมเดินรถเพราะจะทำให้เกิดการผูกขาด แต่ทาง รฟม.ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก จึงให้บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ที่เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเข้ามาเดินรถสถานีบางซื่อต่อเนื่องไปสถานีเตาปูนซึ่งเป็นแนวทางที่ดำเนินการได้เร็วที่สุด โดยก่อนหน้านี้ได้เจรจากับ BEMเรื่องงบลงทุนติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณจำนวน 693 ล้านบาท และว่าจ้างเดินรถปีละ 52 ล้านบาท

"รฟม.จะเรียก BEM มาเจรจาเดินรถต่อรองการเดินรถ 1 สถานีเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด จากนั้นจะนำผลการเจรจาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม.ในวันที่ 11 ม.ค.60 และเสนอให้ ครม.อนุมัติ แล้วก็จะเซ็นสัญญากับเอกชนทันทีหลังจากนั้นจะใช้เวลาติดตั้งระบบ 6 เดือน และทดลองเดินรถ 2 เดือนจึงคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือน ส.ค.-ก.ย.60" พ.อ.ยอดยุทธกล่าว

พ.อ.หญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า นายกรัฐมนตรีต้องการดูแลประชาชนทุกกลุ่ม โดยรถไฟชั้น 3เป็นการดูแลประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งรถไฟชั้น 3เป็นการเริ่มต้นปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะใหม่เนื่องจากกระทรวงคมนาคมไม่ได้ปรับปรุงระบบดังกล่าวมานานซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้มีการพัฒนาความสะอาด รูปลักษณ์ด้วยการทาสีใหม่ให้ดูน่าใช้ดังนั้นนายกฯ ขอความร่วมมือประชาชนที่ใช้บริการว่า อยากให้ช่วยกันรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของขบวนรถไฟ เพื่อเก็บไว้ใช้ได้นานๆ และฝากไปถึงเจ้าหน้าที่ของรฟท.ว่าอยากให้ทุกท่านช่วยกันดูแล และใส่ใจประชาชนที่ใช้บริการด้วย

เครดิตข่าวไทยโพสต์ 28 ธันวาคม 2559

goo.gl/jem3Cb




Create Date : 04 มกราคม 2560
Last Update : 4 มกราคม 2560 7:38:59 น.
Counter : 1044 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rattanakosin.BlogGang.com

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด