แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง TOD (บทความจากเว็บ KTS KHON KAEN TRANSIT SYSTEM)



Smart Growth Thailand ขออนุญาตนำบทความมาแบ่งปันเผยแพร่ เพิ่มเติมจาก เว็บ KTS KHON KAEN TRANSIT SYSTEM เกี่ยวกับเรื่อง แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง TOD (Transit-Oriented Development)ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมากมายมหาศาล เป็นแนวคิดยุคใหม่ของไทย(แต่ในต่างประเทศเค้ามีมาเป็นสิบปีแล้ว)ซึ่งนอกจากจะเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทุกทิศทุกทางที่ระบบขนส่งมวลชนพาดผ่าน(หรือบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ) ยังสามารถสร้างเมืองต่างๆ ให้มีความสามารถในการแข่งขันอีกเป็นอย่างมากนอกจากนั้น ระบบขนส่งมวลชน เป็นหนึ่งใน “หัวหอก” สร้างการเชื่อมต่อการสัญจรของคนกลุ่มใหญ่ อาจจะทั้งประเทศเลยก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับระบบขนส่งมวลชนนั้นๆจะออกแบบเป็นเช่นไร -admin

เข้าสู่บทความเครดิต เว็บKTS KHON KAENTRANSIT

(โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบขนส่งสาธารณะในเขตจังหวัดขอนแก่นและผลกระทบสิ่งแวดล้อม)

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง TOD

TODหรือTransit-OrientedDevelopment เป็นรูปแบบการพัฒนาและจัดการเมืองหรือพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนให้เกิดความกระชับ(Compact)ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน(Mixed-Use)

เมืองที่ได้รับการพัฒนา TOD หรือเรียกว่าเมืองกระชับมักมีองค์ประกอบดังนี้

Corecommercial area – พื้นที่ย่านการค้าหลัก แบบผสมผสาน - ร้านค้า แหล่งบันเทิง ร้านอาหาร สำนักงาน

Residentialarea – พื้นที่ย่านพักอาศัย อยู่ในรัศมีที่สามารถเดินถึงย่านการค้าและระบบขนส่งได้สะดวก ( ~ 10 นาที) มีรูปแบบที่พักอาศัยหลากหลาย

PublicUses – พื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ ลาน / พลาซา พื้นที่สีเขียว อาคารสาธารณะต่างๆ

SecondaryArea - ย่านพักอาศัยหนาแน่นน้อย / เบาบางมีโครงข่ายทางเดินและจักรยาน และโครงข่ายถนนเชื่อมกับ พื้นที่หลัก


ที่มา : Calthorpe, P. (1993). The Next AmericanMetropolis: Ecology, Community, and the American Dream. New York: PrincetonArchitectural Press.

1. เมือง Orestad, Copenhagen ประเทศ Denmark

โครงการ Orestadถูกออกแบบมาให้รองรับประชากรอยู่อาศัยประมาณ 20,000 คนซึ่งจะอาศัยและทำงานภายในเมืองใหม่นี้ เมืองใหม่สามารถรองรับการจ้างงานได้มากถึง80,000 คนเนื่องจากออกแบบให้ตั้งอยู่บนโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสาธารณะของโคเปนเฮเกนทำให้ไม่เกิดปัญหาในการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างเมืองใหม่กับส่วนอื่นๆของโคเปนเฮเกนตำแหน่งที่ตั้งของเมืองใหม่สามารถเดินทางสู่สนามบิน และสถานีรถไฟ ได้ในเวลาเพียง6-7 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้รถไฟที่ผ่านเมืองนี้ยังสามารถเชื่อมโยงข้าม Oresund Bridge สู่เมือง Malmo ในประเทศสวีเดนได้อย่างสะดวกภายในครึ่งชั่วโมง

Orestadแบ่งเป็นชุมชนหลักๆ ตามแนวเส้นทางรถไฟคือ ชุมชนด้านเหนือ เป็นส่วนที่ได้รับการพัฒนามากที่สุดเป็นที่ตั้งของชุมชนอยู่อาศัยมากกว่า 1,000 หน่วย มีอาคารสาธารณะที่สำคัญ เช่น Concert Hall และเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาหลายแห่งชุมชนเมือง Orestad (Orestad City) เป็นย่านธุรกิจการค้าเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม โรงแรม และ ย่านพักอาศัยหนาแน่นสูงชุมชนด้านใต้ส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ สำนักงาน และอาคารพักอาศัยหนาแน่นปานกลาง-สูงอาคารและสภาพแวดล้อมทางกายภาพในพื้นที่เมืองใหม่ได้รับการออกแบบให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง

ความหลากหลายของประเภทที่พักอาศัยหนาแน่นปานกลาง– สูง ใน Orestad

ที่มา: //clausib.blogspot.com/2012/08/8-tallet-restad.html


ผังแสดงเมืองใหม่ Orestad(ซ้าย)

ที่มา://www.e-architect.co.uk/copenhagen/orestad-2-0-development

โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยแบบความหนาแน่นสูงในย่านกลางเมืองOrestad(ขวาบน)

ย่านมหาวิทยาลัยใน Orestad(ขวากลาง - ล่าง)

ที่มา ://en.wikipedia.org/wiki/%C3%98restad


ระบบขนส่งสาธารณะ (Metro Line) ที่เชื่อมต่อ Orestadกับส่วนอื่นๆของ Copenhagen

ที่มา: //clausib.blogspot.com/2012/08/8-tallet-restad.html


2. เมือง Portland, OR ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมืองปอร์ดแลนได้นำแนวคิด “Smart City”  มาใช้กับการกำหนดแนวทางการพัฒนา  ประกอบด้วยเสาหลัก 5 ประการคือ

การกำหนดแนวเขตการพัฒนาหรือ การจำกัดพื้นที่การพัฒนา (Growth Boundaries) และ การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mixed Uses)

การเข้าถึงบริการสาธารณะ และการเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่ง (Mobility and Accessibility)

การสร้างความหมายให้กับพื้นที่เมือง (Place Making and Community Building)

การให้ความสำคัญกับการฟื้นฟู รักษาอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของเมือง (Ecological Restoration and Conservation)

การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในชุมชนพร้อมกับการเสริมสร้างศักยภาพให้กับประชาชนแบะชุมชนต่อการพัฒนาเมือง (Community Capacity Buildingand Civic Engagement)

การพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานรอบแนวโครงข่าย MAX Light Rail ของ Portland, OR

ที่มา: //www.streetsblog.org/2010/05/25/how-portland-sold-its-banks-on-walkable-development/



การพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานรอบแนว MAX ในย่านใจกลางเมือง Portland, OR

และการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับคนเดินในชุมชนชานเมืองPortland

ที่มา: //www.ehabweb.net/portland/#.U7ekqJR_uSo


เครดิต KTS KHON KAEN TRANSIT SYSTEM ขอขอบพระคุณ มา ณ ที่นี้ครับ

//www.kts2016.com/page.php?id=3




Create Date : 09 ธันวาคม 2559
Last Update : 9 ธันวาคม 2559 5:31:40 น.
Counter : 2017 Pageviews.

0 comments
the apple falls far from the tree - ลูกไม้หล่นไกลต้น-(DNA mutation ? ) ปรศุราม
(21 มิ.ย. 2568 16:39:37 น.)
เผากันต่อหน้า jiab bangkok
(25 พ.ค. 2568 01:13:33 น.)
ตำรวจ อัยการ ทำสำนวนอ่อน คุณแม๊ กินรวบ รับเงินหลายล้าน #แตงโมนิดา : อิจศรินทร์ จุฑาสุขสวัสดิ์ sunmachon
(23 พ.ค. 2568 15:08:47 น.)
ลำปางวิกฤติ ชามตราไก่สะเทือน เมื่อทุนจีนรุกราน สมาชิกหมายเลข 7115969
(16 พ.ค. 2568 21:31:30 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Rattanakosin.BlogGang.com

เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]

บทความทั้งหมด