ภาพที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์กลางคมนาคมพหลโยธิน

ภาพที่ 2 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
ด้วยการพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินตามโครงการแบบTransit-oriented development(TOD)ที่เชื่อมโยงกับระบบคมนาคมขนส่งจำนวนหลายระบบ ประชากรหรือผู้ใช้บริการจำนวนมหาศาลย่อมเดินทางเข้าออกหรือผ่านในบริเวณดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลต่อการเพิ่มความหนาแน่นของประชากรและพื้นที่กิจกรรมทางการค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ในบริเวณพื้นที่ของศูนย์พหลโยธิน (ภาพที่ 2) กรุงเทพมหานครโดยสำนักผังเมือง ยึดถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518และล่าสุดพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2558 กำหนดให้มีการรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง จากกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการเพื่อประกอบการปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ ต่อไปจึงมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นแก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว เพื่อรับฟังแนวทางการพัฒนาหลักการวิชาการ ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการระดมความคิดเห็นด้วยรูปแบบระดมความคิดเห็นเพื่อการวางแผน(Planning charrette) (National Charrette Institute at Michigan StateUniversity, n.d.) โดยการระดมความเห็นมีสาระสำคัญ ดังนี้
วัตถุประสงค์การประชุมเชิงปฏิบัติการ
1.1 เพื่อรับฟังสภาพปัญหา ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง
1.2 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การพัฒนาเมืองและปัญหาการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสร้างการมีส่วนรวมในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
1.3 เพื่อนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับจากกระบวนการประชุมดังกล่าวมาใช้ประกอบการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(ปรับปรุงครั้งที่ 4)
กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานเอกชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการศูนย์พหลโยธินกว่า 100 ราย
การดำเนินงาน
จำแนกเป็นรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลและการบรรยาย (ภาพที่ 3 - ภาพที่ 9) ดังนี้
รูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงความคิดเห็น
ใช้รูปแบบการระดมความคิดเห็นเพื่อการวางแผน(Planning charrette)โดยมีประเด็นพิจารณาร่วมกัน ดังนี้
1.1 สภาพปัญหาในพื้นที่ปัจจุบัน
1.2 ผลกระทบเมื่อดำเนินการก่อสร้างตามโครงการศูนย์พหลโยธิน
1.3 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่ตามโครงการบศูนย์พหลโยธิน
ผู้บรรยายหลักและนำการปฏิบัติการ Planningcharrette
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สญชัย ลบแย้ม อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณมหารลาดกระบัง
ผู้บรรยายร่วม
คุณพุทธมนต์ รตจีน หัวหน้ากลุ่มโครงข่ายและการเชื่อมต่อการขนส่งกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

ภาพที่ 3 รอง ผอ.สนผ. (คุณประภาพรรณจันทร์นวล) และผู้บรรยาย

ภาพที่ 4 บรรยากาศการประชุม

ภาพที่ 5 ผู้เข้าร่วมทยอยลงทะเบียน

ภาพที่ 6 ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น

ภาพที่ 7 บางส่วนของการระดมความคิดเห็น

ภาพที่ 8 ผศ.ดร.สญชัยฯ กล่าวสรุป

ภาพที่ 9 การปิดการประชุม Planning charrette
อภิปรายผลและสรุป
ผู้เข้าร่วมPlanning charrette ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกันกันอย่างหลากหลายโดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สภาพปัญหาในพื้นที่ปัจจุบัน
1. สภาพการจราจรติดขัด
2. การเดินทางเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่สะดวกเช่น เชื่อมต่อรถโดยสารประจำทางสจากสถานีขนส่งหมอชิตมายังระบบรถไฟฟ้า
3. ปัญหาสภาพแวดล้อมเช่น น้ำท่วมขัง มลพิษทางเสียง ฝุ่นควันจากยวดยาน
4. ความแออัดเสื่อมโทรมของชุมชนในพื้นที่
5. การเข้าถึงของรถโดยสารประจำทาง(ขสมก.) มายังสถานีขนส่งหลัก เช่น สถานีรถไฟฟ้า และสถานีขนส่งหมอชิต มีอุปสรรค ไม่ได้รับความสะดวก
ผลกระทบที่อาจเกิดเมื่อดำเนินการก่อสร้างตามโครงการศูนย์พหลโยธิน
1. มลพิษจากการก่อสร้างเช่น วัสดุตกหล่น ฝุ่น ละออง และเสียงจากการปฏิบัติงานก่อสร้าง
2. การจราจรที่อาจติดขัดเพิ่มขึ้นเนื่องจากเส้นทางการสัญจรมีอยู่อย่างจำกัด
3. ค่าใช้จ่ายและอุปสรรคที่เกิดจากการเดินทางระหว่างระยะก่อสร้างที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่จำเป็นต้องเดินทางสัญจรในย่านนั้น เช่นจากความล่าช้า (delay) การโก่งค่าโดยสารการปฏิเสธรับผู้โดยสาร
4. เนื่องจากโครงการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่(กว่า 2,325 ไร่) และหากไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลกระทบเชิงสังคมเช่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและผู้สัญจรผ่านย่านดังกล่าวได้
ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่ตามโครงการศูนย์พหลโยธิน
1. การออกแบบและวางแผนระบบการเดินทางสัญจรเชื่อมต่อ สำหรับคนทุกคน (Inclusive design) อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสม
2. ระบบขนส่งมวลชนเสริมหรือFeeder เช่นรถโดยสารประจำทางทั้งภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ขสมก. และรถร่วม)ตลอดจนรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (บขส.) ควรได้รับการวางแผนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงและจุดจอด
3. การออกแบบวางแผนระบบสาธารณูปโภคเช่น ระบบระบายน้ำ และท่อร้อยสายไฟ ที่อาจพิจารณาใช้ท่อรวมใต้ดิน หรือ common duct เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
4. การพิจาณาปรับปรุงกฎหมายหรือใช้กฎหมายที่มีอยู่เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการศูนย์คมนาคมพหลโยธินเช่น การจัดรูปที่ดิน การโอนสิทธิในการพัฒนา (Transferof development right: TDR) และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายผังเมืองหรือกฎหมายควบคุมอาคารเดิมให้เกิดการส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนและการพัฒนาแบบ TOD เพิ่มมากขึ้น และมีประสิทธิภาพต่อผู้สัญจรและผู้ประกอบการลงทุน
5. เพื่อให้การติดต่อสั่งการ และประสานงานมีความกระชับและมีประสิทธิภาพเชิงบูรณาการควรจัดตั้งบรรษัทพัฒนาศูนย์พหลโยธิน ในลักษณะของ One-stop service
6. ภาครัฐควรส่งเสริมและจัดหาที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในภาคใช้แรงงานให้บริการ (labor-based service sector) เช่นแม่บ้าน ดูแลเด็กเล็ก และซักรีด เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนผู้อยู่อาศัยและทำงานในโครงการตามหลักการTOD (สญชัย ลบแย้ม, 2557a, 2557b;Chung, Choi, Park, & Litman, 2014)
รายการอ้างอิง
สญชัย ลบแย้ม. (2557a). การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและเมืองอย่างยั่งยืน:การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน. In สัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน(Transit oriented Development)ตามแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth). ราชบุรี: สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม.
สญชัย ลบแย้ม. (2557b). แนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบระบบขนส่งมวลชนชี้นำ. In 2014 National Planning Conference: GreenestCity (pp. 4-1-413). Bangkok,Thailand: สมาคมการผังเมืองไทย.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม. (2559).โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธินและการพัฒนาตันแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม.กรุงเทพมหานคร.
Chung, Y., Choi, K.,Park, J., & Litman, T. (2014). Social exclusion and transportation services: Acase study of unskilled migrant workers in South Korea. HabitatInternational, 44, 482490.
National Charrette Institute at Michigan State University. (n.d.). Charrettesystem. Retrieved May 1, 2017, from http://charretteinstitute.org/