ตะพาบ กม.275 "หนอนหนังสือ"
มาช้ายังดีกว้าไม่มา ตะพาบตัวนี้เพิ่งมาถึงฝั่ง ตะพาบ กม.275 ในโจทย์ของคุณต่อ toor36 “หนอนหนังสือ” สือๆๆๆ . .
 (ภาพจากอินเตอร์เน็ต) . เรากับหนังสือ มันเริ่มต้นยังไงนะ? หากเริ่มจากตอนประถมก็น่าจะเป็นนิทานการ์ตูนเด็กๆ ที่คุณแม่ยื่นให้ เป็นพวกหนังสืออ่าน ง่ายเน้นภาพเป็นหลัก อย่างเรื่องวันจันทร์ที่สดใส (เล่มนี้ไปหามาได้ตอนโต) ชัยพฤกษ์ การ์ตูน ก็ได้อ่านกับเขาด้วยนะ และชอบทาร์ซานกับเจ้าจุ่นที่ลงในเดลินิวส์มาก รวมถึง นิทานเล่มเล็กของสนพ.สตรอเบอรี่ ภาพสวย อ่านสนุก . เราเองรู้สึกว่า ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หาหนังสืออ่านค่อนข้างง่ายและสะดวก ตอนเรียนประถมนั้น หลังโรงเรียนก็มีแผงหนังสือเก่ามาขายหลังเลิกเรียน ช่วง ป.ห้า ป.หก ก็ปันตังค์ค่าขนมมาซื้อ ตอนนั้นการ์ตูนปกไม่เกินสิบบาทก็ขายครึ่งราคา(มั้งนะ ลีมๆ) ยัง มีแผงหนังสือในตลาดซอยอารีย์ (ที่นี่เป็นทางผ่านระหว่างโรงเรียนและบ้านเลย) อาแปะคน ขายออกแนวดุดุหน่อย บางวันเป็นลูกสาวเขามาช่วยขาย แผงไม่ใหญ่แต่อัดแน่นด้วยนิตยสาร หนังสือพิมพ์ และการ์ตูนแทบทุกหัวเลยนะ จำได้ว่าหลังฉากที่นั่งเป้นโกดังเก็บเล็กๆ ที่แน่น มาก ปัจจุบันที่ตรงนั้นกลายเป็นคอนโด เป็นร้านอาหารไปหมดแล้ว พอข้ามสะพานลอยเดิน เข้าซอยบ้านมาก็มีร้านของชำที่มีมุมหนังสือเล็กๆ วางขายอยู่ด้วย . หากเป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็จะได้ซื้อหนังสือการ์ตูนประมาณ 2เล่ม จากการติดสอยห้อย ตามพ่อไปเดินเล่นในห้างเช่นเมอร์รี่คิงส์ สะพานควายบ้าง แถวนั้นมีร้านสาขาของวิบูลย์กิจ อยู่หน้าโรงหนังเฉลิมสิน ถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเราเลย เจอครั้งแรกนี่เหมือนได้เข้าไปในแดน สวรรค์ (ปานนั้น55) ต่อมาจึงค่อยรู้จักร้านเจซีสาส์น อ้อ อีกที่ที่ได้ไปก็ร้านสาขาของวิบูลย์กิจ ที่ห้างมาบุญครอง .
 บางส่วนที่ยังอยู่ . จากแบมือขอเงิน มาสู่ควักเงินซื้อเอง ช่วงแรกๆ ที่ซื้อการ์ตูนคือขอตังค์พ่อ-แม่ แบบว่าหยิบมาแล้วให้ท่านจ่ายตังค์ให้ เหมือนเป็น เด็กที่ถูกตามใจเลยนะนี่ TT ต่อมาชักเกรงใจก็เริ่มแชร์ อย่างพ่อจะซื้อให้แค่หนึ่งเล่ม ทีนี้เรา อยากได้เล่มอื่นก็ออกเอง หรือถ้าเล่มนั้น 25 บาท เราก็ออกสิบบาท พ่อจ่ายสิบห้าบาท อิอิ (ตอนนั้นการ์ตูนปกเฉลี่ยน 15บาท) พอขึ้น ม.1นี่จำได้ว่า ซื้อเองแล้วล่ะ . คนอื่นติดเกม แต่เราติดการ์ตูน เราเป็นคนติดการ์ตูนญี่ปุ่นมากๆ เล่มแรกๆ ก็น่าจะโดราเอมอนนี่แหละ เพราะหาซื้อง่าย และแพร่หลายที่สุด เรื่องฮิตๆ อย่างดรากอนบอล , คำสาปฟาโรห์ ก็อ่านนะ อย่างเรื่อง หลังนี่ตอนเห็นครั้งแรกคือแบบอู้หูวาดภาพสีสวยจัง ทึ่งมาก แต่เรื่องที่อ่านแล้วโคตรชอบสุดๆ ตอนประถมคือ ตำนานแห่งริว สี่เล่มจบ ยืมเพื่อนอ่าน มันมาก อ่านเป็นบ้าเป็นหลัง 55 .
 . หลงใหลไปกับตัวหนังสือในนิตยสารการ์ตูน จำพวกนิตยสารการ์ตูนเราก็ชอบนะ รู้สึกว่ามันดูต่างจากรวมเล่มดี พอซื้อมาปุ๊บฉีกซองก็เปิด อ่านหน้าคอลัมน์ก่อนการ์ตูนซะอีก เช่น เดอะซีโร่ , กิฟท์ แม็กกาซีน , ไอศกรีม , เฟรนด์ ,นอน-โน่ , วีคลี่ สเปเชี่ยล ฯลฯ มีทั้งรายสัปดาห์ รายเดือน ตอนนั้นเยอะแยะ มาก และด้วยรูปเล่ม การแต่งภาพ จนถึงการแปล เราว่าฝั่ง สนพ. วิบูลย์กิจทำได้โอเค เช่น ถ้าเทียบ เดอะซีโร่ จากวิบูลย์กิจ กับ ทาเล้นท์ ของมิตรไมตรี
 หน้าเปิดเล่มนี่แหละ ใครข้ามเราไม่ข้าม
 กิฟท์ แม็กกาซีน คอลัมน์แน่นสุดๆ . ที่ที่อุดมด้วยการ์ตูน!! WOW พอเข้า ม.ต้น ย้ายบ้านและมาเรียนแถวห้วยขวาง มีร้านเช่าการ์ตูนทั้งร้านใกล้บ้านและร้านหน้า โรงเรียน ที่ตลาดก็มีแผงขายการ์ตูนที่ตลาด ลด10% ด้วยนะ ละแวกนั้นก็ยังมีร้านอื่นๆ อีก 2-3 จุด หนำซ้ำยังแผงหนังสือเก่าแบบที่วางขายบนแคร่อีกแผงสองแผง โอ๊ย ชีวิตไม่ต้องไปไหน วนมันอยู่แถวนี้เลย 55 เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่อ่านการ์ตูนงอมแงมมาก ก็เคยโดนที่บ้านบ่นเหมือน กัน และที่งอมแงมนี่ถึงขนาดแวะไปร้านเช่าก่อนเข้าโรงเรียนก็เคยมี (น่าตีเหลือเกิน) . การ์ตูนไม่ใช่ยาพิษเสมอไป จำได้ว่าช่วงที่ถนนสายนี้เปรี้ยว (Orange Road)กำลังบูม จะมีกระแสโจมตีจากผู้ใหญ่ ว่าเป็นการ์ตูนติดเรท ลงสกู้ปนสพ. เลยนะ ซึ่งไอ้เราที่เป็นผู้ใช้จริง เอ๊ยอ่านจริง ก็รู้สึกว่ามันก็มี บ้าง แต่ไม่ถึงกับอล่างฉ่างขนาดที่ผู้ใหญ่คิด ที่บ้านเราก็ไม่ได้ว่าอะไร (คงไม่รู้ว่าเราอ่านกะเขา ด้วย ^^ ) การ์ตูนนั้นไม่ใช่สิ่งไร้สาระเสมอไป เราได้เรียนรู้หลายๆ อย่างจากวิถีชีวิตในการ์ตูน เช่น ไหมขัดฟันจากไซเฟอร์ อารยธรรมโบราณจาก คำสาปฟาโรห์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จากโดราเอมอน เป็นต้น และพออ่านเยอะๆ เข้าก็เริ่มจดจำชื่อ และลายเส้นของนักเขียนที่อ่าน บ่อย และชื่นชอบได้
 เรื่องต่างๆ ในความทรงจำสู่เวอร์ชั่นลิขสิทธิ์ . แล้วนอกจากการ์ตูนญี่ปุ่นล่ะ อ่านอะไรอีก? คู่สร้างคู่สม เรียกได้ว่าเป็นหนังสือคู่บ้านตั้งแต่เราเด็กๆ ที่บ้านซื้อทุกเล่มจริงๆ ช่วงนั้น เคยติดคอลัมน์เล่า เรื่องผีที่ทาวเวอร์ออฟลอนดอน มากกกก คือเฮ้ย หลอนก็หลอน แต่มันยิ่งอยากรู้ และเค้า เขียนต่อกันหลายเล่มเป็นซีรี่ส์เลยก็ว่าได้ เสียดายที่ที่บ้านไม่ได้เก็บไว้ ดวงในคู่สร้างคู่สมก็ แม่นอยู่นะ . พี้ชยักษ์ วรรณกรรมเยาวชนเล่มแรกที่อ่านแล้วสปาร์กจอยมาก ตอนไปเที่ยวบ้านยายช่วงปิดเทอมสมัย ประถม ไปเจอหนังสือเล่มหนึ่งวางอยู่บนโต๊ะ พอหยิบมาอ่านแล้วเหมือนได้ผจญภัยไปกับเจมส์ ด้วย ตื่นเต้น ชอบ สนุกมาก นี่แหละคือ พี้ชยักษ์ ได้เจอหนที่สองที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย (เดี๋ยวมันหนังสือเด็กนะ 555) ก็ยืมมาอ่านอีก หนที่สามนี่เจอที่ร้านหนังสือก็เลยได้พากลับมา บ้านด้วย (แต่จ่ายตังค์แล้วนะ) และในกลุ่มวรรณกรรมเด็ก ก็มี บทเพลงฤดูใบไม้ผลิ อีกเรื่อง ที่ละมุนมาก อ่านแล้วอ่านอีก อ่านซ้ำอ่านซากก็ไม่เบื่อ และหนังสืออีกเล่มที่อ่านเมื่อไหร่ก็เย็น ใจก็คือ เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก
 . ช่วงเริ่มทำงาน จากการ์ตูน และวรรณกรรม สู่ นิตยสาร นิยายสืบสวน และหนังสือต่างหมวด ริง คำสาปมรณะ ผลงาน ซุสุกิ โคจิ เป็นนิยายที่จุดประกายการอ่าน J book ของเรา ก็โอ้โห อะไรวะเนี่ย ทำไม มันลุ้นได้ขนาดนี้ ถ้าจะบอกว่าอ่านแล้ววางไม่ลงก้คงจะไม่เกินไป หลังจากนั้นทุกครั้งที่มีงาน หนังสือ ก็จะมุ่งตรงไปบู้ท สนพ.บลิส เป็นอันดับแรก พนักงานขายแต่ละคนถูกเทรนด์มาดี ถามเรื่องไหนเป็นไง ตอบได้หมด รักตรงนี้ . Esquire Thailand เป็นนิตยสารที่ซื้ออ่านช่วงวัยทำงาน ท่ามกลางนิตยสารผู้ชายหลากหลายตัวเลือกทั้งไทยแท้ และอิมพอร์ต แต่ก็เลือกอ่าน Esquire ไม่ใช่เพราะความเป็นนิตยสารหัวนอกที่อ่านแล้วจะล้ำ กว่าชาวบ้าน แต่รวมๆ ในเล่มแล้วก็อ่านได้เกือบหมด แม้โหมดฟชั่นจะดูหัวนอกไปหน่อยก็ตาม ก็อ่านมาร่วม10ปีเลยนะ ผ่านการเปลี่ยนบอกอมาหลายคน จนวันหนึ่งที่เรารู้สึกอิ่มตัวกับแนว นิตยสารเลยเลิกอ่านไป ปัจจุบันในบ้านเราก็ปิดตัวไปแล้ว . หนึ่งปีแสนสุขในโปรวองซ์ โดย ปีเตอร์ เมลย์ ซื้อจากคอลัมน์แนะนำหนังสือใน Esquire นี่แหละ พอซื้อมาอ่านทีแรกคือ แบบ ฮืออ ไม่อินเลยอ่ะ จนแล้วจนรอดก็อ่านไปไม่พ้นบทแรกสักที แต่อีกห้าปีถัดมา มันก็ได้ กลายเป็นหนังสือที่รักชุดหนึ่งในใจเราไปเลย คงรอให้ถึงช่วงเวลาที่เหมาะที่ควรล่ะมั้ง ชุดนี้มี ไตรภาค และยังมี แสนสำราญงานชิม อีกหนึ่งเล่ม โอ๊ย อันนี้คือดี อ่านแล้วหิวเลย
 . และในหมวดเรื่องสั้นและนิยาย ก็ได้สัมผัสงานสาบเลือดไทย เช่น งานของคุณ วาณิช จรุงกิจอนันต์ และ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นต้น . แม้จะดูเหมือนติดการ์ตูนและนิยาย แต่หมวดพัฒนาตนเองก็อ่านนะ ^^ ชอบ หนังสือของ สนพ.สสท. ส่วนมากเป็นหนังสือที่แปลจากต้นฉบับญี่ปุ่น แต่เราว่าเนื้อหาเข้ากับการปรับ ใช้ในบ้านเราได้ดีทีเดียวนะ เคยอ่านของฝรั่งบ้างแต่บางเล่มดูไกลตัวไป
 . . เลือกการ์ตูนญี่ปุ่นที่อยู่ในความประทับใจ โชเน็น และโชโจ อย่างละสองเรื่อง ให้เพื่อนหน่อย . คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา ของ อ.ฟุมิยะ ซาโต และ อ.โยซาบุโร่ คานาริ (ช่วงหลังผู้แต่งเปลี่ยนมาเป็น อ.อามางิ เซย์มารุ) อ่านแล้วชอบในทันที ด้วยความที่ชอบอ่านแนวสืบสวนเป็นทุนเดิม ถึงแม้จะแทบ ไม่เคยเดาตัวฆาตกรถูกก็ตาม 55 สมองอันน้อยนิดซีรี่ส์ชุด 27เล่มแรกคือปิ๊งมาก . เซ็นต์เซย่า ของ อ.มาซามิ คุรุมาดะ เรื่องฮิตตั้งแต่ตอนประถม แรกๆ ก็ยืมเพื่อนอ่านจากพิมพ์ของมิตร ไมตรี เพราะวิบูลย์กิจพิมพ์ออกมาช้ากว่าเจ้าอื่น แต่คุณภาพดีเลย ได้ตามอ่านตั้งแต่เล่มแรก จนจบ นอกจากเนื้อเรื่องแล้ว ชอบการดีไซน์ชุดคลอธที่เอามาประกอบเป็นสัญลักษณ์ตาม กลุ่มดาวมากๆ แต่เราอ่านแค่ภาคหลักนี้อย่างเดียว ภาคอื่นๆ ที่เขียนมาเพิ่มไม่ได้ตามอีกเลย . ลีลาศพาฝัน หรือฉันจะเต้นรำในชุดขาว ในยุคแรก การ์ตูนโชโจของ อ.ไซโตะ จิโฮ ที่ตอนเด็กอ่าน แล้วเฉยๆ แต่พอวันเวลาผ่านไปยิ่งอ่านก็ยิ่งชอบ เข้าใจความรู้สึกตัวละครมากขึ้น อ.ไซโตะ เขียนภาคต่อ และตอนพิเศษในหลายปีต่อมา จะว่านักอ่านโตตามนักเขียนก็ไม่ผิด ด้วยวุฒิ ภาวะและการเห็นโลกที่มากขึ้น จึงอินกับภาคต่อที่มีความเป็นผู้ใหญ่ที่ได้สลัดคราบวัยแรก รุ่นของภาคแรกอย่างหมดจด . เช่นเดียวกับ Cipher ของ อ.นาริตะ มินาโกะ อีกเรื่องที่ยิ่งอ่านยิ่งรัก การ์ตูนแนว Slice of life ไม่มีแฟนตาซี ไม่มี แอกชั่น เนื้อเรื่องเป็นเหมือนการจ้องมองชีวิตประจำวันของสองแฝดหนุ่มจากนิวยอร์ก ที่มี ทั้งเรื่องราวของแผลในใจวัยเด็ก มิตรภาพ ความรัก ครอบครัว มุมมองชีวิต และเรื่องนี้ไม่ใช่ การ์ตูนวายอย่างที่บางคนเข้าใจเด้อ .
 . นอกจากสี่เรื่องนี้ก็มีอีกหลายเรื่องที่ถูกหยิบมาอ่านแล้วอ่านอีก เพราะแต่ละเรื่องก็มีความ สนุกในแบบฉบับของตนเอง . จากอ่านเพียว สู่อ่านแล้วถ่ายเท การอ่านที่มากขึ้นๆ แต่หลายครั้งพอทักตัวเองว่า เออ เรื่องนั้นเป็นไงแล้วนะ เรื่องนี้ฉากนี้มัน ออกมาตอนไหน บางทีก็ลืมหรือไปจำสลับกับเรื่องอื่นก็มี มักเป็นกับนิยายมากกว่าการ์ตูนซึ่ง ยังมีภาพให้เห็นได้ง่าย จึงลองปรับแผนการอ่านของตัวเองใหม่ ให้เป็นอ่านแล้วไม่ปล่อยผ่าน พยายามจดโน๊ตทำรีวิวเท่าที่พอจะทำได้ และพบว่านอกจากกันลืมแล้วยังช่วยจัดระเบียบ สมองตัวเองได้อีกทางหนึ่งด้วย เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งเค้าว่าเมื่อมีอินพุตต้องมีเอาท์พุตมัน จึงสมดุลกัน แต่เวลาทำรีวิวทีนึงก็ค่อนข้างใช้เวลาเพราะยังไม่คล่องแบบอ่านปุ๊บทำปั๊บ 55 แต่ก็จะพยายามนะ มาช้ายังดีกว่าไม่มา ^^ . บ่นนานไปแล้วลุง พอ พอ ^^ สุขสันต์วันสงกรานต์ แล้วพบกันใหม่ครับ .................................................................. ขอบคุณคุณฟ้าใสวันใหม่ ที่โบกมือทักกวักมือเรียกในการเขียนตะพาบครั้งนี้ครับ .......................................................................... แก้ไข : 15/04/2564 เพิ่มเครดิตที่มารูปเปิด ด้านบน
Create Date : 14 เมษายน 2564 |
Last Update : 15 เมษายน 2564 11:33:38 น. |
|
34 comments
|
Counter : 12438 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณtoor36, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณmariabamboo, คุณเซียน_กีตาร์, คุณปรศุราม, คุณชีริว, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณSweet_pills, คุณTui Laksi, คุณทนายอ้วน, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณThe Kop Civil, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก, คุณ**mp5**, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณอุ้มสี |
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 14 เมษายน 2564 เวลา:22:35:33 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 เมษายน 2564 เวลา:7:06:23 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 15 เมษายน 2564 เวลา:11:30:53 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 15 เมษายน 2564 เวลา:12:20:33 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 เมษายน 2564 เวลา:23:23:31 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 15 เมษายน 2564 เวลา:23:43:07 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 เมษายน 2564 เวลา:6:59:26 น. |
|
|
|
โดย: Tui Laksi วันที่: 16 เมษายน 2564 เวลา:14:35:01 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 16 เมษายน 2564 เวลา:20:15:06 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 เมษายน 2564 เวลา:23:15:19 น. |
|
|
|
โดย: Tui Laksi วันที่: 17 เมษายน 2564 เวลา:6:10:01 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 เมษายน 2564 เวลา:6:25:10 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 17 เมษายน 2564 เวลา:23:35:34 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 เมษายน 2564 เวลา:7:25:21 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 เมษายน 2564 เวลา:6:24:59 น. |
|
|
|
โดย: Tui Laksi วันที่: 19 เมษายน 2564 เวลา:8:33:27 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 19 เมษายน 2564 เวลา:9:32:40 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 20 เมษายน 2564 เวลา:0:18:55 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 21 เมษายน 2564 เวลา:2:19:48 น. |
|
|
|
|
|
ผมก็เริ่มเก็บเงินซื้อเองตอน ม.1 นะ ช่วงลิขสิทธิ์ใหม่ๆ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะช่วงที่ผม ป.5 มั้ง หลังยุคลิขสิทธิ์เข้ามา เดอะทาเลนท์ ไปเลยครับ แล้วตอนนั้นมันกระทันหันมาก คิดดูว่าจากที่เราซื้ออ่านเล่มละ 15.- บาท แต่บูมราคา 25.- แถมเรื่องที่ลงน้อยกว่าด้วย สะอึกครับ ซื้อไม่ไหว ตอนหลังซื้อแบบรวมเล่มเอา แต่รายสัปดาห์ไม่ไหวจริงๆ ต้องยอมรอเวลา นอกจากว่าจะมีเพื่อนที่ซื้อพวกรายสัปดาห์ ก็จะเข้าไปอ่านหน่อย (ชอบสปอย)
นิตยสารการ์ตูนผมก็ติดตามหลายหัวนะ ตั้งแต่นิตยสารที่เย็บแม็กที่ชื่อ A Club Anime หรือแม้แต่พวกใหม่หน่อยที่ออกช่วงปี ค.ศ. 2000 กว่าๆ เสียดายปลวกกินไปหมดแล้ว ถ้ายังรอดถึงตอนนี้มีคนรับซื้อหลายตังค์นะนั่น
พวกนิตยสารผมเลิกซื้อมันก็มีหลายๆ เหตุผล มีเจ้านึงข้อมูล ล้าหลังไม่ทันการณ์ โทรทัศน์ฉายไปแล้ว พึ่งมาลง เขียนจดหมายไปตำหนิโดนท้าให้เลิกซื้อ!? นี่มันโง่สุดๆ แล้ว ไม่ตอบจดหมายเสียยังจะดีเสียกว่า สิ่งที่ควรทำคือยอมรับและแก้ไข ผมเสียดายที่ไม่ได้เก็บจดหมายที่เขาท้าทายไว้ ที่ทำก็แค่เลิกซื้อทันที แล้วไปอ่านฟรีตามร้านหนังสือเอา (ไม่มีก็ไม่อ่าน) บอกได้เลยว่าพออินเตอร์เน็ตเริ่มมา (ยุค ICQ) ผมยิ่งรู้สึกเลยยว่าตัดสินใจถูกต้องที่เลิกซื้อ นิตยสารหัวนั้น ในกลุ่มเพื่อนผมหลายๆ คนค่อยๆ เลิกซื้อนิตยสารหัวนั้น โดยให้เหตุผลว่า มันเอานิตยสารของต่างประเทศมาทำ มันง่ายไป จริงๆ สมัยก่อนทำหนังสือมันก็แบบนั้นแหละ แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ดี เราก็เห็นความชุ่ยของข้อมูลซึ่ง เหมือนเอาคนพออ่านภาษาญี่ปุ่นออก + มีความรู้ภาษาจีนหน่อยๆ มาแปล ข้อมูลมันเลยเพี้ยน
คู่สร้างคู่สม ที่บ้านผมก็รับนะ ผมไม่ค่อยได้อ่านเท่าไหร่ มีอ่านบ้างแต่ไม่ได้อ่านทั้งเล่ม ช่วงเริ่มทำงาน ของผมอ่านพวกธรรมะ กับจิตวิทยาครับ แต่ตอนนี้กระจายหลายสายมาก แล้วแต่อารมณ์
ถ้าพูดถึงนิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นในไทย ผมกล้าพูดเลยว่ามีแค่ A Club , Anime สองหัวนี้เท่านั้นที่พอจะต่อกรกับนิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นของจีน (ผมเคยรีวิวในบล็อกด้วยนะเออ) แต่ของจีนก็ดูจะแพ้พวก Newtype ของญี่ปุ่นนะ (แน่ล่ะประเทสต้นตำหรับนี่)
การ์ตูนเดี๋ยวนี้ผมเน้นพวกที่อ่านแล้วสบายๆ ไม่เครียด ออกไปในทางเฮฮามากกว่าครับ