ชวนอ่านหนังสือธรรมะ : ๑๐ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า
.

เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว คือ สิบชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ที่ได้บำเพ็ญบารมีทั้งสิบประการก่อนจะมาประสูติเป็น เจ้าชายสิตธัตถะจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวทั้งสิบชาติและบารมีที่ก่อกำเนิด นั้นถือเป็นตัวอย่างของการประพฤติปฏิบัติ ให้ตระหนักถึงกฎแห่งกรรม ทำความดี ละเว้นความ ชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ . .
 . ชาติที่ ๑ เตมิยชาดก เนกขัมมบารมี คือ การตั้งมั่นในการทำดี เพื่อละกิเลสกามทั้งปวง เตมีย์กุมารระลึกชาติเห็นการเวียนว่ายตายเกิดในชาติก่อน จึงแสร้งทำเป็นคนขาพิการ หูหนวก เป็นใบ้ เพื่อเลี่ยงจากการสืบต่อบัลลังก์กษัตริย์ เพื่อตัดเวรตัดกรรมในปัจจุบัน ทำให้ถูกเนรเทศจากวัง ก่อนจะถูกฆ่า พระเตมีย์ได้เปิดเผยความจริงแก่สารถี และปฏิเสธการ กลับเข้าวัง นำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของพระบิดามารดา และผู้คนมากมาย . “อายุของคนเรานั้นสั้นนัก ไม่ว่าเด็กหรือหนุ่มสาวล้วนต้องตายทั้งนั้น ถึงแม้จะมีสมบัติมากมายก็เอาชนะความตายไม่ได้เช่นกัน” . . . เรื่องที่ ๒ มหาชนกชาดก วิริยบารมี คือ ความเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ระหว่างที่พระมหาชนกลงเรือเพื่อออกค้าขายต่างเมือง หวังนำทรัพย์สินไปกู้บ้านเมืองคืน เรือได้เกิดอำปางในมหาสมุทร พระมหาชนกยังคงมีสติสมบูรณ์และเพียรว่ายน้ำอย่างไม่ย่อ ท้ออยู่นานถึงเจ็ดวัน นางมณีเมขลาเห็นถึงความอุตสาหะ จึงได้ช่วยเหลือนำไปสู่จุดหมาย . “คนที่มีความเพียร หากต้องตายในขณะที่กำลังทำความเพียรอยู่ ก็ไม่อาจมีใครมาตำหนิติเตียนได้.. หากหมดกำลังใจหรือท้อถอยเสียแต่ต้น เราก็หมดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ” . . . เรื่องที่ ๓ สุวรรณสามชาดก เมตตาบารมี คือ ความมีเมตตา ปรารถนาดี ไม่เห็นแก่ตัว และไม่ถืออคติ ระหว่างออกไปตักน้ำ สุวรรณสามถูกศรยิงอย่างไม่ตั้งใจ จนบาดเจ็บเจียนตาย กลับไม่ถือ โทษผู้ทำร้าย หากใจยังพะวงห่วงบิดามารดาที่เฝ้ารอตนอยู่ ผลแห่งความกตัญญูนี้จึงนำพา ให้เขาและพ่อแม่พบกับปาฏิหาริย์แห่งความสุข . “บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ไม่โกรธ เพราะความโกรธทำให้ตกนรก” . . .
 . เรื่องที่ ๔ เนมิราชชาดก อธิษฐานบารมี คือ ความเกรงกลัวต่อบาป มุ่งมั่นทำดีละเว้นความชั่ว จนได้รับผลแห่งความดี พระอินทร์ได้นำพาเจ้าเนมิราชไปเยี่ยมชมนรกและสวรรค์ ทำให้พระองค์รู้ซึ้งถึงกฏแห่งกรรม แม้ถูกชักชวนให้ประทับอยู่บนสวรรค์ ก็ไม่คล้อยตามแต่จะขอปฏิญาณตั้งมั่นทำความดี รักษา ศีล ปฏิบัติธรรมอยู่บนโลกมนุษย์เช่นเดิม เพื่อผลบุญในภายภาคหน้า . “แม้การทำทานจะให้ผลน้อยกว่า แต่ก็ควรทำทั้งทานและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไปพร้อมๆ กัน” . . . เรื่องที่ ๕ มโหสถชาดก ปัญญาบารมี คือ ความรอบรู้และรู้จักไตร่ตรองสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ มีเหตุผล จะเป็นเกราะปกป้องกาย แม้ถูกทำร้ายก็จะแคล้วคลาด ชื่อเสียงและความสามารถของมโหสถที่เลื่องลือไปถึงพระเนตรพระกัณฑ์ จนถูกพระราชาเรียก ตัวเข้าวัง แต่แน่นอนเมื่อมีคนเก่งเกินหน้าเกินตา ย่อมมีผู้ริษยาและคิดร้าย แต่มโหสถก็พ้นภัยมา ได้ทุกครั้ง และไม่ถือโทษโกรธ อีกทั้งยังออกตัวช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากการรุกรานของ กษัตริย์เมืองอื่นอีกด้วย . “ความดีที่กอปรด้วยคุณธรรม ย่อมนำความเจริญมาให้อย่างไม่เสื่อมคลาย” . . . เรื่องที่ ๖ ภูริทัตชาดก ศีลบารมี คือ การระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดทุกข์ ภูริทัต ถูกพราหมณ์ทำร้ายตน ก็มิได้ทำร้ายกลับ กลับยอมให้ตนถูกทำร้ายเจ็บเจียนตาย แต่ ด้วยบุญบารมีที่บำเพ็ญมา จึงได้พบผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือให้รอดชีวิต . “การตกแต่งตนเองให้งดงามด้วยเครื่องประดับมากน้อยเพียงใด ก็ยังไม่งดงามเท่าประดับด้วยศีล” . . . เรื่องที่ ๗ จันทกุมารชาดก ขันติบารมี คือ ความอดทนต่อความทุกข์ แม้จะต้องเสียทรัพย์ อวัยวะ หรือชีวิต เพื่อการหลุดพ้นในบั้นปลาย แม้พระจันทกุมาร จะถูกปุโรหิตใจร้ายเป่าหูพระราชา ให้ร้ายใส่ความจนภัยถึงตัวนับครั้งไม่ถ้วน จันทกุมารก็อดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ กระทั่งฟ้ามีตา พระอินทร์จึงยื่นมือปกป้องและช่วยเหลือ ผู้ประพฤติธรรม . “ผู้ที่คิดร้ายย่อมได้รับภัยแก่ตัว” . . .
 . เรื่องที่ ๘ มหานารทกัสปชาดก อุเบกขาบารมี คือ การวางใจเป็นกลาง ไม่โกรธไม่เกลียดแม้มีเรื่องให้ทุกข์ อังคติราช พระราชาผู้หลงผิดเรื่องบาป บุญ เพราะหลงเชื่อคนใกล้ชิดโดยไม่ไตร่ตรอง ด้วย เหตุนี้นารทพรหมจึงจำแลงกายเป็นนารถฤาษีมาชีแจ้งแถลงไขเรื่องบาปบุญที่แท้จริงจนพระ ราชาหลุดพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ . “บาปที่สั่งสมไว้ก็เหมือนเรือที่บรรทุกของทีละน้อย เมื่อมากเข้าเรือก็จม…” . . . เรื่องที่ ๙ วิธุรชาดก สัจจบารมี คือ การตั้งมั่นในความซื่อสัตย์ และความยุติธรรม ปุณณกยักษ์ลวงวิฑูรบัณฑิตมาฆ่าเพื่อนำหัวใจไปให้นางอิรันทตี แต่เมื่อได้ฟังธรรมจาก วิฑูรบัณฑิตจึงล้มเลิกความตั้งใจ วิฑูรบัณฑิตรอดมาเพราะการแสดงธรรม และได้เดินทางไป หาต้นเหตุ คือนางวิมลา มเหสีของพญานาค โดยไม่กลัวอันตรายถึงแก่ชีวิต เพราะเชื่อว่าผู้ รักษาธรรม ธรรมย่อมรักษาเรา . “บุคคลที่มีทั้งธรรมและปัญญา ย่อมเอาชนะภัยทั้งปวงได้“ . . . เรื่องที่ ๑๐ เวสสันดรชาดก ทานบารมี คือ การตั้งมั่นช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ว่าจะสิ่งของหรือธรรมทาน . พระเวสสันดร โอรสแห่งเมืองสีพี ยกช้างเผือกเพื่อช่วยเหลือเมืองกลิงคราษฏร์ที่เดือดร้อน จน ชาวเมืองสีพีไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงต้องออกไปบำเพ็ญภาวนาในป่าพร้อมภรรยาและลูก แต่ เจ้ากรรมนายเวรในร่างขอทานชูชก เป็นเหตุให้พระเวสสันดรต้องยอมสละลูกทั้งสอง แต่ท้ายที่ สุดผลแห่งกรรมดีที่ทำไว้ก็นำพาให้พ่อและลูกได้พบกันและจบลงด้วยความสุข . “การทำบุญควรทำด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์เป็นที่ตั้ง เพราะการทำบุญที่หวังผลตอบแทน มีแต่จะทำให้เกิดความโลภ และสร้างกิเลสเพิ่มมากขึ้น”
 . . ทศชาติชาดกเล่มนี้ ร้อยเรียงภาษาที่สละสลวยแต่เข้าใจง่าย และมีภาพประกอบช่วยให้ ดึงดูดในการอ่านมากเท่าตัว ยิ่งเป็นภาพสไตล์กราฟฟิกช่วยปรับภาพลักษณ์ของหนังสือ พุทธศาสนาให้ดูทันสมัย น่าอ่านยิ่งขึ้น .
 ภาพบางส่วนจากตอน เนมิราชชาดก
 ภาพบางส่วนจากตอน จันทกุมารชาดก . . ทศชาติชาดก ๑๐ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ : เรียบเรียง ธรวรรณ์ ตั้งชีวาวิวัฒน์ : วาดภาพประกอบ สนพ. อมรินทร์ธรรมะ ในเครืออมรินทร์พริ้นติ้งฯ
cr. : youtube : Natazeer Meditation Music Sleep
. . ชวนอ่าน ๑๐ชาติสุดท้ายก่อนเป็นพระพุทธเจ้า https://www.facebook.com/comeonreading
Create Date : 06 มีนาคม 2564 |
Last Update : 6 มีนาคม 2564 11:01:11 น. |
|
28 comments
|
Counter : 1204 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณทนายอ้วน, คุณเริงฤดีนะ, คุณกะว่าก๋า, คุณnonnoiGiwGiw, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณtoor36, คุณเนินน้ำ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณSleepless Sea, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณSai Eeuu, คุณkatoy, คุณlife for eat and travel, คุณชีริว, คุณเซียน_กีตาร์, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก |
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:12:06:59 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:12:27:05 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:13:44:17 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:15:50:22 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:18:55:34 น. |
|
|
|
โดย: เนินน้ำ วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:19:17:10 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:20:06:48 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 มีนาคม 2564 เวลา:21:06:09 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 มีนาคม 2564 เวลา:5:49:38 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 7 มีนาคม 2564 เวลา:19:34:36 น. |
|
|
|
โดย: Sai Eeuu วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:5:06:17 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:5:59:47 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:14:37:48 น. |
|
|
|
โดย: katoy วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:15:40:06 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:22:11:59 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 มีนาคม 2564 เวลา:5:19:49 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 9 มีนาคม 2564 เวลา:9:26:09 น. |
|
|
|
|
|
เรื่องย่อของแต่ละชาดกทำให้อยากอ่านทั้งหมดอีกครั้ง