|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
Bumu...เขียนถึงญี่ปุ่น

มาแล้ว มาแล้ว... วันนี้ขอเลียนแบบชื่อหนังสือคุณปราบดา หยุ่นที่เขียนถึงญี่ปุ่นเหมือนกัน (แต่คนละแบบ ของเราเพิ่งกลับมาจากญี่ปุ่นเลยอยากเขียนถึง :) อยากรู้จังว่าจะมีใครมั๊ยน๊าที่ไปญี่ปุ่นแล้วไม่ชอบ...คงมีแหละ แต่ยังไม่เคยเจอซักที
คราวนี้ก็ไปโตเกียวเหมือนเดิม ครั้งสุดท้ายที่ไปประมาณห้าปีมาแล้ว ความทรงจำชักลางเลือน...จำได้แค่ภาพโตเกียวแบบโหลๆที่เห็นได้ตามสื่อทั่วไปกะความรู้สึกว่าทุกอย่างน่ารักดีเลิศไปหมด โตเกียวคราวนี้ให้ความรู้สึกแตกต่าง...มีด้านที่ยังชอบอยู่เหมือนเดิม ของน่ารัก คนดูดีมีระเบียบ แต่ได้เห็นอีกด้านที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนคือ ความไร้ชีวิตจิตใจของเมืองนี้...
ทุกอย่างที่โตเกียวมีความเป็นอัตโนมัติไปหมด ไม่ว่าจะเป็น...ตู้ขายตั๋ว ขายเครื่องดื่ม ขายอาหาร แม้แต่คนก็ดูเหมือนหุ่นยนต์ในสายพานการผลิตใหญ่ คนทำงานทุกคนใส่สูท ขึ้นรถไฟไปทำงาน(พอหย่อนก้นลงนั่งต้องกางโทรศัพท์มือถือออกมาราวกับว่ามันเป็นสิ่งเดียวที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากโลกอัตโนมัติอันนี้ได้) วัยรุ่นผู้หญิงทุกคนดูดีไปหมดจนน่ากลัวเหมือนอยู่ในหนัง The Stepford Wives
ที่แย่ที่สุดคือเวลาเข้าไปในร้านอาหารฟาสฟู้ดที่มีเคาเตอร์ให้คนนั่งเรียงเป็นแถวหลังจากผ่านขั้นตอนสั่งอาหารกับตู้อัตโนมัติเรียบร้อยแล้ว ให้ความรู้สึกเหมือนเราเป็นวัตถุอันหนึ่งในระบบการผลิตที่ดีไซน์ไว้อย่างดีแล้ว...แทบไม่มีที่เหลือให้คุณแสดงความ"มีชีวิตจิตใจ"ของคุณออกมาได้เลย (อาจจะเว่อร์ไปหน่อย แต่รู้สึกประมาณนี้จริงๆ)
การแสวงหา "ความสมบูรณ์แบบ" นี่ฟังดูดีนะ แต่พอเจอสังคมที่เหมือนจะสมบูรณ์แบบตามอุดมคติแล้วมันกลับน่ากลัวพิกล เหมือนคนไม่ใช่คน เห็นอย่างงี้แล้ว appreciate ความไม่เพอร์เฟกต์ขึ้นมาเยอะเลย เพราะความไม่สมบูรณ์แบบนี่แหละที่ทำให้รู้สึกว่าคนเป็นคน
แต่ก็ตั้งข้อสังเกตไปอย่างงั้นแหละ ความจริงก็ยังชอบโตเกียวอยู่...ฮิ ฮิ :D ชอบในแบบที่เค้าเป็นแหละ
เขียนต่อ>>
ชอบได้ยินคนเปรียบนิวยอร์กกับโตเกียวอยู่บ่อยๆ คราวนี้ได้ลองเทียบด้วยตัวเองแล้วคิดว่าไม่เหมือนนะ อย่างนึงคือ สังคมที่โตเกียวดู homogeneous กว่าที่นิวยอร์กมาก เห็นชัดๆเลยเวลานั่งรถไฟ ดูเหมือนๆกันหมดไม่มีใครที่ดูแปลกแยกจากกลุ่มเท่าไหร่ ทั้งหน้าตาและการวางตัว
แต่ที่นิวยอร์กนี่...ในรถไฟขบวนนึงจะมีคนร้อยพ่อพันแม่ หัวดำ หัวทอง หัวน้ำตาล คนทำงานออฟฟิศ คนใช้แรงงาน คนไร้บ้าน ปนเปอยู่ด้วยกันหมด ทำให้รู้สึกว่ามันหลากหลาย มีชีวิตชีวากว่า ใครอยากทำไรก็ทำ ใครอยากแต่งอะไรก็แต่ง ใครอยากพูดเสียงดังก็พูด ตราบใดที่มันไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้าน คงเพราะงี้มั๋งที่ทำให้มีคนพูดว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นใครมาจากไหน ทันทีที่คุณมานิวยอร์ก คุณจะรู้สึกเหมือนเป็นชาวนิวยอร์กที่แท้จริง...(เพราะนิวยอร์กมีที่สำหรับทุกคน)
ว้าา...บล็อกนี้ชักเริ่มยาวแล้ว...ขอเขียนชมโตเกียวในบล็อกหน้าละกัน :)
- - -
ปล. ยืมชื่อหนังสือเค้ามา ขอให้เครดิตคนแต่งหน่อย เดือนก่อนเตร็ดเตร่ไปบล็อกคุณ foneko เห็นไต้ฝุ่นเพิ่งคลอดเล่มนี้ ปราบดาหยุ่น เขียนถึงญี่ปุ่น เลยไปซื้อมาดู เห็นเป็นโอกาสดีที่จะได้อ่านงานเขียนของคุณปราบดาเพราะเป็นหัวข้อที่เราสนใจ (ไม่รู้ทำไมก่อนหน้านี้คิดว่างานเขียนของเค้าไม่ใช่สไตล์เราเลยไม่เคยอยากลองอ่านเลย)
ตอนแวะเมืองไทย ไปเดินหาซื้อแต่สงสัยจะใหม่ไปหน่อยแม้แต่ที่ร้านนายอินทร์ก็หมด (คนขายบอกมีสี่เล่มแต่มีคนจองทางอินเตอร์เนทไว้แล้ว) สุดท้ายไปได้ที่ซีเอ็ดคาร์ฟูร์..วางเด่นเป็นสง่าไม่มีใครแย่ง ฮ่า ฮ่า
หัวใจที่ไม่มีบ้าน บทแรกก็โดนเลย ตั้งแต่เด็กๆเป็นคนต้องเดินทางบ่อยมาก บางทีรู้สึกเหมือนมีดวงต้องอยู่ไกลบ้าน เมืองไทยเป็นบ้านเพราะมีพ่อแม่อยู่ เป็นที่ตั้งของบ้านที่เราอยู่อาศัยและเติบโตมา มีเพื่อนๆอยู่ หลายปีมานี้ย้ายมาอยู่เมกาจนกลายเป็นบ้านอีกแห่งนึงของเราไปแล้ว และญี่ปุ่นก็ผูกพันกับมันมานานจนรู้สึกคุ้นเคย ถ้าจะต้องไปอยู่ที่นั่นคงไม่รู้สึกแปลกอะไรมากนัก
คุณปราบดาเขียนว่าเค้าไม่เคยรู้สึกคิดถึงบ้านเพราะไม่ว่าจะอยู่กรุงเทพ นิวยอร์ก โตเกียว (ดูหรูเนอะ:) ก็รู้สึกเหมือนอยู่บ้าน เพราะบ้านอยู่ในใจเค้าไม่ได้ติดอยู่ที่สถานที่ แต่สำหรับเราบ้านคือ ที่ที่มีความรักอยู่ ที่ไหนที่มีคนที่เรารักอยู่ก็คือบ้านของเรา ถ้าคิดในแง่นี้บ้านเราตอนนี้ก็คือที่ที่พ่อแม่อยู่ เพราะไม่ว่ากลับไปครั้งไหนก็ให้ความรู้สึกว่า "กลับถึงบ้าน" แล้ว ตอนนี้แม้เราจะมีที่อยู่ของตัวเองที่นี่แต่มันเหมือนเป็นแค่สถานที่ที่เราเรียกว่า "บ้าน" ในการสนทนากับคนอื่นเท่านั้น
แต่เราก็ไม่ใช่พวกคิดถึงบ้านอยู่เสมอเวลาอยู่ไกลบ้านนะ เพราะกว่าครึ่งชีวิตก็อยู่ไกลบ้าน มันเลยเหมือนรู้สึกชิน บางทีเวลาต้องเดินทางไปหลายที่ในทริปเดียว(อย่างคราวนี้)จะเกิดอาการงงเล็กๆ ประมาณว่าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนมากเกินในเวลาไม่กี่อาทิตย์และทุกที่ที่ไปก็มีบ้านในบางลักษณะอยู่ ทำให้รู้สึกงงๆ แต่ที่แน่ๆคือ เวลากลับถึงบ้านที่เมืองไทยแล้วจะหยุดนึกถึงที่อื่นได้...คงเพราะเราถึง"บ้าน"แล้วจริงๆ :)
นส.เล่มนี้เราอ่านวันเดียวจบ ความรู้สึกตอนอ่านจะว่าประทับใจมากก็ไม่ใช่แต่อ่านได้เรื่อยๆ ไม่รู้คิดไปเองรึป่าวแต่รู้สึกว่าคุณภาพของบทความใน นส.เล่มนี้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ บางอันเหมือนคนเขียนเขียนตอนสมาธิดี อ่านแล้วเนียนนุ่มลุ่มลึก บางอันเหมือนเขียนแบบฉาบฉวย แต่ที่แน่ๆรู้สึกถึงความพยายามโยงไอเดียให้เป็นคำคม(โดยเฉพาะตอนท้ายแต่ละบทความ) บางทีรู้สึกขัดๆนิดหน่อย ของอย่างงี้เราว่าฝืนไม่ได้ มันน่าจะสะท้อนออกมาในงานเขียนเองตามธรรมชาตินะ (รึป่าว...ไม่รู้เหมือนกัน)
พูดถึงคุณปราบดา...วันนั้นคุยกะแม่ ก็วนมาเรื่องนี้ เราก็พูดประมาณชื่นชมความสามารถเค้านะ เล่าให้แม่ฟังว่าเค้ามีสำนักพิมพ์ตัวเอง และทำโปรเจกต์อยู่ทางญี่ปุ่นด้วย ซึ่งเราคิดว่าเป็นตลาดที่เจาะยาก (ที่ผ่านมามีแต่ญี่ปุ่นเจาะไทยจนพรุน ไทยไปเจาะญี่ปุ่นไม่ค่อยเคยเห็น เลยแอบยกย่องนิดนึง) ก็พูดๆไป แม่ก็บอกว่า คนๆนี้เค้า...(หยุดไปพักนึง ทำท่าคิด) "เค้าเหมือนเป็นคนหัวก้าวหน้าทางศิลป์มาก"
เราฟังดูเหมือนเป็นคำชมแต่น้ำเสียงของแม่ทำไมมันออกอีกอย่างนึง เลยถามแม่ว่าแม่รู้ได้ไง แม่บอก "ก็ดูจากเวลาเค้าให้สัมภาษณ์ทางทีวี...เค้าพูดอะไรแม่ฟังไม่เคยรู้เรื่องเลย" เท่านั้นแหละ...ฮาแตก สรุปว่าแม่ไม่เข้าใจเค้าแต่ก็ไม่อยากว่าเค้า เลยพยายามหาคำพูดที่ดูดีมาอธิบายแทน เห็นอย่างงี้แล้วนึกถึงคนรุ่นหกสิบอีกหลายคนที่อาจรู้สึกเหมือนกัน เป็นความซื่อๆตรงๆของคนสูงวัยที่ดูน่ารักดี :)
Create Date : 13 พฤศจิกายน 2550 |
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2550 6:39:23 น. |
|
9 comments
|
Counter : 965 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: หน่อยอิง วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:7:47:06 น. |
|
|
|
โดย: Bumu_Chan วันที่: 14 พฤศจิกายน 2550 เวลา:2:32:25 น. |
|
|
|
โดย: DeaR*HikAru* วันที่: 14 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:40:14 น. |
|
|
|
โดย: pecochan วันที่: 15 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:27:14 น. |
|
|
|
โดย: Bumu_Chan วันที่: 15 พฤศจิกายน 2550 เวลา:0:52:41 น. |
|
|
|
โดย: Rive Gauche วันที่: 15 พฤศจิกายน 2550 เวลา:9:59:02 น. |
|
|
|
โดย: Bumu_Chan วันที่: 15 พฤศจิกายน 2550 เวลา:23:09:52 น. |
|
|
|
|
|
|
|
และช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ***