|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
sustainability over throwawayism
update: 0.7.06.10
- - -
最近、東京ではゴミの問題が深刻な社会問題になってきている。 物が増えて、 人々が便利でぜいたくな消費生活を楽しめるようになったため、 ほしいものを次々と買い、 あきると平気でどんどん捨てるといった大変な事態が起こっている。
その結果、東京の近郊だけではゴミ処理が不可能になり、 遠く離れた地方にまでゴミを捨てに行くので、 地方にはゴミの山ができつつある。
それと同様に、先進国の自分勝手な論理のために、 開発途上国の自然が破壊されていくのも問題である。
この問題を解決するためには、 まず、私たち一人一人が貴重な資源を無駄にしないように、 自分たちの生活を反省してみる必要がある。
ものを買う前に本当に必要なものかどうかよく考え、 買ったものは最後まで大切に使わなければならない。 また、どうしても捨てなければならない時にも、 ほかの人が使えるものかどうか、 再利用の可能性を考えてみるべきであろう。
: : : :
เว้นช่วงนานไปหน่อย เลยเริ่มขี้เกียจ ขอแปลเฉพาะย่อหน้าสุดท้ายละกัน (ความจริงใจความหลักที่จะพูดถึงก็ย่อหน้านี่เท่านั้นล่ะ)
ก่อนจะซื้ออะไร คิดให้ดีก่อนว่าจำเป็นจริงๆรึป่าว ของที่ซื้อมาแล้ว ต้องใช้ให้คุ้มค่าจนถึงที่สุด แล้วเวลาต้องทิ้งของ ก็ควรคิดดูว่า มีใครเอาไปใช้ต่อได้มั๊ย หรือสามารถนำไปรีไซเคิลได้มั๊ย
ความจริงก็เป็นความคิดที่พื้นๆมากๆ แต่ทำไมที่ผ่านมาเราทำไม่ค่อยได้ ก็เลยเอามาแปะเตือนใจตัวเองไว้
แค่ประโยคแรก "ก่อนจะซื้ออะไร คิดให้ดีก่อนว่าจำเป็นจริงๆรึป่าว" แค่นี้ก็ตกม้าตายง่ายๆแล้ว เพราะถ้าคิดตามมาตรฐานนี้จริงๆ เราคงไม่ต้องซื้ออะไรอีกนาน (นอกจากกับข้าว อาหาร) ซึ่งในโลกแห่งล้านแปดวัตถุที่เป็นอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก แค่ก้าวเท้าออกจากบ้าน ก็เหมือนโดนพายุสิ่งของและบริการสารพัด โถมกระหน่ำเข้ามา จนตั้งตัวไม่ติดแล้ว
ประโยคถัดมา "ซื้อแล้ว ต้องใช้ให้คุ้มค่าถึงที่สุด" เหมือนจำได้ว่า เป็นอะไรที่ผู้ใหญ่ชอบพูดให้ฟังตอนเด็กๆ แต่เดี๋ยวนี้ของรุ่นใหม่มีออกมาไม่เว้นแต่ละวัน ให้ใช้จนถึงที่สุดมันก็ทำยากอีกนั่นแหละ เพราะบางทีคนเราก็อยากได้ของใหม่ๆบ้างนี่นา แล้วพอของใหม่มา ก็ต้องโละของเก่าทิ้งไป ทั้งๆที่อายุการใช้งานยังเหลืออยู่ ก็ทำให้"ใช้จนถึงที่สุด"ไม่ได้อีกนั่นแหละ
สุดท้าย "ถ้าต้องทิ้ง ให้คิดว่ามีใครเอาไปใช้ได้มั๊ย หรือรีไซเคิลได้ป่าว" อันนี้เจอกับตัวเองอยากจัง บางทีมัน"มี" คนที่ให้ไปใช้ต่อได้ หรือเอาไปรีไซเคิลได้ แต่มันต้องเสียเวลาในการสอบถามโน่นนี่ หาที่ทิ้งที่เหมาะสม จนสุดท้ายแล้ว คิดการหลับหูหลับตาทิ้งๆไป มันง่ายกว่าเป็นไหนๆ เลยเกิดเป็น ภาวะจำยอม ...
ที่บอกเจอกับตัวเองคือ ตอนซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ทีนี้ต้องทิ้งเครื่องเก่า (มันเยินแล้ว) แต่รู้ว่าเค้าแนะนำให้ ส่งไปที่ศูนย์รีไซเคิล เราก็เดินไปที่ร้านมือถือที่ซื้อมา เรา: รู้มั๊ยว่าถ้าทิ้งไปกับขยะธรรมดาได้มั๊ย คนขาย: ถ้าจะทิ้งก็ทิ้งไปเลยไม่เห็นต้องถาม (แปลว่าความจริงไม่ควร แต่ถ้าแอบทิ้งก็ทำไปเลยไม่ต้องบอกใคร)
เราก็แบบ เอาไงดีฟะตู คุณธรรมในตัวมันบอกว่า ไม่ควรๆ แต่จะทำดีก็ลำบ๊าก ลำบาก ต้องเดินไปขอถุงจากทางร้าน แล้วส่งไปรษณีย์ไป แต่ถ้าเอามักง่ายเข้าว่า ก็ทิ้งมันไปเลย
อย่างเงี้ย... เราว่าคือ สาเหตุที่ทำไมคนเราถึงรู้ทั้งรู้ว่าสิ่งที่ควรทำมันคือไร แต่ก็ไม่ทำ ไปเลือกทำอีกทาง เพราะมัน"ง่าย"กว่าอะ
ความดีทำยาก ความเลวทำง่าย
คำสอนของแม่ลอยมาเข้าหู...
แต่ตั้งแต่นี้ไปกะจะใช้ชีวิตอย่างประชาชนโลกที่มีคุณภาพ(มากขึ้น) สร้างขยะให้น้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ เคยเขียนถึงเรื่องขยะไปครั้งนึง นานมากๆแล้ว ตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่เกิดจิตสำนึกเพื่อส่วนร่วมขึ้นมา โดยไม่มีสาเหตุ ยังจำได้ว่า พยายามนึกกิจกรรมที่ทำแล้วไม่สร้างขยะให้โลกด้วยนะ อย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง (เช่า) ยืมหนังสือจากห้องสมุดมาอ่าน ฯลฯ
พักนี้กระแสรักษ์โลกเริ่มเข้ามาเป็นกระแสหลัก ฝรั่งก็คิดคำศัพท์เท่ห์ๆมาใช้อีกตามเคย อย่างสโลแกน "sustainability over throwayaism" ความยั่งยืนเหนือลัทธิใช้แล้วทิ้ง
เราเริ่มชอบแนวคิดนี้ขึ้นมาเหมือนกัน คือ ก่อนซื้ออะไร คิดให้หนักๆหน่อยว่า ชอบอันนี้จริงๆมั๊ย แล้วซื้อของดีหน่อย อาจจะแพง แต่ใช้ได้นานไปเลย ในระยะยาวแล้ว การคิดแบบนี้น่าจะดีกว่าซื้อของถูกๆ ใช้แล้วทิ้งๆนะ
จากนี้ไปต้องพยามมากขึ้น! yosh!
Create Date : 25 มิถุนายน 2553 |
Last Update : 6 กรกฎาคม 2553 21:25:08 น. |
|
4 comments
|
Counter : 983 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: bagbypat IP: 119.31.37.138 วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:59:46 น. |
|
|
|
โดย: Bumu_Chan IP: 67.83.5.104 วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:35:00 น. |
|
|
|
โดย: bagbypat IP: 58.11.8.175 วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:40:56 น. |
|
|
|
|
|
|
|