Group Blog
All Blog
### ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย ###











ประวัติ ความเป็นมา ของธงชาติไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริจะเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี
เพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎร
ที่ต้องสั่งซื้อธงผ้าพิมพ์รูปช้างมาจากต่างประเทศ
และบางครั้งเมื่อเกิดความสะเพร่าติดธงผิด
 รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้นเป็นที่น่าละอาย
หากเปลี่ยนเป็นธงแถบสี ราษฎรก็สามารถทำธงใช้เองได้
และจะช่วยขจัดปัญหาการติดผิดพลาด
ได้ทรงพยายามเลือกสีที่มีความหมายทางความสามัคคี
และมีความสง่างาม ก่อนออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่
 ได้ทรงทดลองใช้ธงริ้วขาวแดงติดอยู่ที่สนามเสือป่าหลายวัน



ภายหลังจึงตกลงพระทัยใช้สีน้ำเงินแก่เพิ่มขึ้นอีกสีหนึ่ง
 การเพิ่มสีน้ำเงินนี้ปรากฎพระราชหัตถเลขาในบันทึกส่วนพระองค์
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2460 ว่า
ได้ทอดพระเนตรบทความแสดงความเห็นของผู้ใช้นามแฝงว่า
”อะแคว์ริส” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ
ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2460
ได้ทรงแปลข้อความนั้นลงในบันทึกด้วย
มีความโดยย่อว่า เพื่อนชาวต่างประเทศของผู้เขียน (อะแคว์ริส)
ได้ปรารภถึงธงชาติแบบใหม่ว่ายังมีลักษณะไม่สง่างามเพียงพอ
ผู้เขียนก็มีความคิดเห็นคล้อยตามเช่นนั้น
และเสนอแนะด้วยว่าริ้วตรงกลางควรจะเป็นสีน้ำเงิน
ซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถ้าเปลี่ยนตามนี้แล้ว
ธงชาติไทยก็จะประกอบด้วยสีแดง ขาว น้ำเงิน
มีสีเหมือนกับธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษ
 และธงดาวของสหรัฐอเมริกา
ประเทศพันธมิตรทั้งสามคงเพิ่มความพอใจประเทศไทยยิ่งขึ้น
เพราะเสมือนกับยกย่องเขา
ทั้งการที่มีสีของพระมหากษัตริย์ในธงชาติ ก็จะเป็นเครื่องเตือน
ให้ระลึกถึงพระองค์ในวาระที่ประเทศไทย
ได้เข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้
เมื่อทรงทดลองวาดภาพธงสามสีลงในบันทึก
ทรงเห็นว่า งดงามดีกว่าริ้วขาวแดงที่ใช้อยู่



ต่อมาเมื่อเจ้าพระยารามราฆพ
(ขณะนั้นยังเป็นพระยาประสิทธิศุภการ)
ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ได้นำแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความเห็น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ทรงเห็นชอบ
รับสั่งว่าถ้าเปลี่ยนในขณะนั้นจะได้เป็นอนุสรณ์
ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้พระยาศรีภูริปรีชาร่างประกาศแก้แบบธงชาติ
และได้ทรงนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อฟังความเห็น
ที่ประชุมลงมติเห็นชอบธงสามสีตามแบบที่คิดขึ้นใหม่



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้น
เรียกว่า พระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
ออกประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2460
มีผลบังคับภายหลังวันออกประกาศ
ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว 30 วัน ลักษณะธงชาติมีดังนี้
คือ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน
มีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างของธงอยู่กลาง
มีแถบสีขาวกว้าง 1 ใน 6 ของความกว้างของธงข้างละแถบ แล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบขาวประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบ
และพระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์”
ส่วนธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิมนั้นให้ยกเลิก


ความหมายของสีไตรรงค์ คือ

สีแดง หมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ

สีขาว หมายถึง ศาสนาซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์

สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศ





ที่มาของภาพ ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย(ธงไตรรงค์) thaiflag.org

ที่มาของเรื่อง ขอขอบคุณ fb ราชบัลลังค์และจักรีวงศ์








Create Date : 25 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 15:44:46 น.
Counter : 7177 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ