Group Blog
All Blog
### ที่มาของคำว่า "ในหลวง" ###




"ในหลวงของคนไทย"









คำว่า "ในหลวง"

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 ได้ประทานพระอธิบายที่มาว่า

.... ดูเหมือนมูลจะมา แต่วิธีปกครองของไทย ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์

เอาสกุล Family เป็นหน่วย เรียกว่า “ครัว”

 อันเป็นที่ทำอาหารมาเรียก ก็พอคิดเห็นได้

คงเป็นเพราะแต่ละสกุล มากบ้างน้อยบ้างเอาเป็นกำหนดยาก

 แต่สกุล 1 คงต้องมีเรือนครัวไฟหลังหนึ่ง สำหรับทำอาหารกินด้วยกัน

 จึงเอาครัว เป็นหน่วยด้วยประการฉะนี้

ก็การปกครองสกุลหรือครัว พ่อย่อมปกครอง เป็นธรรมดา

จึงเรียกผู้ปกครองขั้นต้นว่า “พ่อครัว”

คนภายหลังเอาคำพ่อครัว

ไปเรียกหัวหน้าพนักงานทำอาหาร Cook นั้นเป็นด้วยเข้าใจผิด

ต่อมาถึงขั้นที่ 2 อาศัยเหตุที่สกุลต่างๆ

อันตั้งบ้านเรือน อยู่ในท้องที่อันเดียวกัน มักเป็นญาติพี่น้องเกี่ยวดองกัน

จึงให้พ่อครัวคนใดคนหนึ่ง เป็นผู้ปกครองสกุลทั้งหลาย

 รวมกันเรียกว่า “พ่อบ้าน”

ต่อมาอีกขั้น 1 หลายบ้านเช่นนั้น รวมกันเป็น “เมือง”

มีกำหนดที่แผ่นดิน เป็นอาณาเขตปกครองคั่นต้น

(ในเอกสารต้นฉบับสะกดตามที่ให้ไว้ว่า คั่นต้น)

เรียกผู้ปกครองว่า “พ่อเมือง” คงเป็นคนเกิดในเมืองนั้นเอง

แต่เมืองชั้นนี้ เป็นเมืองน้อย ต้องขึ้นต่อเมืองใหญ่ต่อขึ้นไป

 จึงเรียกกันว่า “เมืองขึ้น”

ต่อไปอีกขั้น 1 ถึงเมืองใหญ่ จะเรียกว่า “เมืองออก”

หรืออย่างไร ไม่ทราบแน่

แต่พระเจ้าแผ่นดินให้มีผู้มาอยู่ปกครอง ผู้ปกครองนั้นเรียกว่า “ขุน”

เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ได้บังคับบัญชาเหล่าเมืองน้อย

ที่เป็นเมืองขึ้นอย่างประเทศราชขึ้นต่อเมืองหลวง

ต่อขึ้นไปก็ถึงเมืองหลวง ที่พระเจ้าแผ่นดินปกครอง

เดิมเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า “พ่อขุน” เช่น พ่อขุนรามคำแหง

สังเกตในศิลาจารึกสุโขทัย เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า พ่อขุน

เพียงรัชกาลพระเจ้ารามคำแหง

รัชกาลต่อมา จารึกเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า “พระญา”

หรือคำอื่น หาเรียกว่าพ่อขุนไม่

เหตุใดจึงเลิกใช้คำว่าพ่อขุน ก็ดูเหมือนจะพอคิดได้

ด้วยคำว่า พ่อขุน หมายความว่า “เป็นใหญ่ในสกุล”

หรือถ้าว่าอีกอย่างหนึ่ง เป็นแต่ไทยด้วยกัน

เมื่อขยายราชอาณาเขต ออกไปปกครองถึงบ้านเมือง ของชนชาติอื่นๆ

มีพระเกียรติยศสูงกว่า พ่อขุน น่าสันนิษฐานว่า

จะใช้คำ “ขุนหลวง” หมายความเป็นขุนใหญ่ กว่าขุนอื่นทุกชาติทุกภาษา

คือ “ราชาธิราช” ก็เป็นได้

แต่ไม่พบใช้คำ “ขุนหลวง” ในจารึกสุโขทัย

ก็ไม่กล้ายืนยันว่าคำนี้ จะเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย

เพราะเหตุนั้น แต่เมื่อถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

คำที่คนพูดกันเรียก พระเจ้าแผ่นดินว่า “ขุนหลวง”

ถ้าคำนั้นเกิดขึ้น สมัยสุโขทัย อาจจะเอาใช้ใน กรุงศรีอยุธยา

 ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

เมื่อรวมเมืองเหนือ กับเมืองใต้เข้าเป็นอันเดียวกันก็เป็นได้

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า

“ขุนหลวง” กันแพร่หลาย มาจนตลอดสมัย

เรียกพระเจ้าแผ่นดินที่ ยังเสวยราชย์อยู่ว่า “ขุนหลวง”

เรียกพระเจ้าแผ่นดิน ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยเอาคำอื่น

ประกอบเข้าข้างท้ายให้รู้ว่า องค์ไหน เช่น เรียกว่า “ขุนหลวงเสือ”

“ขุนหลวงท้ายสระ” “ขุนหลวงบรมโกศ” “ขุนหลวงหาวัด”

และ “ขุนหลวงพระที่นั่งสุริยามรินทร”

แม้พระเจ้ากรุงธนบุรีก็เรียกกันว่า “ขุนหลวงตาก” เป็นที่สุด

คำว่า “ขุนหลวง” นี้เป็นมูลที่ตัดเอาคำ “หลวง” ข้างท้าย
ไปประกอบ ใช้

หมายความว่า เนื่องด้วยพระเจ้าแผ่นดิน เช่นว่า “คนหลวง” “ช้างหลวง”

“เรือหลวง” หมายความว่า คน ช้างและเรือ อันเป็นของขุนหลวง

 แล้วพูดลดคำ “ขุน” ให้คงเหลือเพียง ๒ พยางค์โดยสะดวกปาก

เลยเกิดคำ “ของหลวง”

 หมายความสรรพสิ่ง บรรดาซึ่งเป็นของ พระเจ้าแผ่นดิน

แล้วใช้เลยไป โดยไม่สังเกตความ ถึงเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า “ของหลวง”

คำนี้มีอยู่ในตำรากระบวนเสด็จประพาส

ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้ประชุมข้าราชการ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ๒๐ คน

ประชุมกันแต่งขึ้น ในตำรานั้นเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า “ของหลวง”

เช่นว่า “ปลูกพลับพลารับเสด็จของหลวง” ดังนี้

 เห็นจะใช้เรียกกันมา แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว

คำว่า “ในหลวง” ก็อยู่ในคำพวกเดียวกัน เห็นจะมาแต่ “ในวังขุนหลวง”

หรือ “ในกิจการของขุนหลวง”

 แล้วก็เลยเรียกหมายความต่อไป ถึงพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน

ตามสะดวกปากว่า “ในหลวง” อย่างเดียวกับคำว่า “ของหลวง”

คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า ‘ของหลวง” มีแต่ในตำรา

ที่แต่งครั้งกรุงธนบุรี ถึงตำราที่แต่งในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์

ใช้คำว่า “ในหลวง” ทั้งนั้น หาใช้คำของหลวงไม่

 อาจจะเป็นเพราะสั่งให้เลิกใช้คำ “ของหลวง”

และใช้คำ “ในหลวง” แทนเมื่อสมัยนั้นก็เป็นได้

สมาคมประวัติศาสตร์ อธิบาย ที่มาคำว่า "ในหลวง" ว่า

เป็นคำที่คนในวังใช้เอ่ยพระนาม ของ ร.๕

ตั้งแต่ยังทรงประทับอยู่ใน พระบรมมหาราชวัง

 ที่เป็นเช่นนี้คาดว่า เพราะคนในสมัยนั้นไม่กล้าเอ่ยพระนามตรงๆ

เลยใช้การเรียกสถานที่ ที่ประทับอยู่คือ ในวังหลวง แทน

 เมื่อเรียกกันเป็นประจำ ก็กร่อนลงเหลือเพียง ในหลวง

ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือ

ใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า 'นายหลวง'

ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง

และสาเหตุทำไมจึงเรียกนายหลวง มาจากธรรมเนียมแต่ดั้งเดิม

ที่จะไม่ออก พระนามของพระมหกษัตริย์โดยตรง

เพราะเชื่อว่าคนธรรมดาบุญไม่ถึง

รวมทั้งราษฎรสมัยก่อน น้อยมากจะรู้จัก พระนามของพระมหากษัตริย์

 จึงมีคำแทน เช่นเรียกชื่อวังของท่านบ้าง หรือเรียกสิ่งที่แทนบ้าง

 เช่น พระเจ้าท้ายสระ พระเจ้าบรมโกฎิ

ส่วน "ในหลวง" เป็นคำกลางๆ

ใช้เรียกพระมหากษัตริย์ ในรัชกาลปัจจุบันโดยไม่จำเพาะพระองค์



ขอบคุณที่มา fb. Kunnatee Thailande







Create Date : 18 พฤษภาคม 2557
Last Update : 18 พฤษภาคม 2557 11:23:12 น.
Counter : 4230 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ