Group Blog
All Blog
### ประวัติการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า ###










"สะพานพระพุทธยอดฟ้า"

อาถรรพณ์ที่เป็นเหตุ ให้ต้องสร้างสะพานพุทธฯนั้น

เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในพิธีฝังเสาหลักเมือง ของกรุงเทพมหานคร

ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕

เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามฤกษ์แล้ว ขณะที่พราหมณ์กำลังเลื่อนเสาลงหลุม

ก็พบเหตุประหลาด มีงูเล็กๆ ๔ ตัวปรากฎอยู่ก้นหลุม

โดยไม่มีใครสังเกตเห็นมาก่อน ครั้นจะหยุดเสาเมืองไว้ก็ไม่ได้

 เพราะพิธีทุกอย่างต้องเป็นไปตามฤกษ์

พราหมณ์จึงจำต้องปล่อยเสาลงหลุม

และกลบดินฝังงูเล็ก ๔ ตัวนั้นไว้กับเสาหลักเมืองด้วย

เรื่องนี้ทำให้

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปริวิตกเป็นอันมาก

บรรดาโหราจารย์ทั้งหลายต่างทำนายตรงกันว่า

เหตุการณ์นี้เป็นอวมงคลคือ เป็นเรื่องไม่ดี

แต่ไม่มีใครบอกได้ว่าจะทำให้เกิดเหตุร้ายสิ่งใด

บ้างก็ทำนายว่าพระราชวงศ์จักรี จะสิ้นสุดลงในเวลา ๑๕๐ ปี

ซึ่งก็สร้างความวิตกให้ผู้คนตลอดมา

จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ซึ่งทรงเชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ นอกจากจะทรงทำพิธีแก้อาถรรพณ์

ด้วยการฝังเสาหลักเมือง ขึ้นอีกเสาหนึ่งคู่กันแล้ว

 ยังทรงมีพระราชดำริ ที่จะสร้างสะพานเชื่อมเมืองหลวงใหม่

กับเมืองหลวงเก่าให้ติดต่อถึงกัน

แต่ในยุคนั้นยังไม่มีเทคโนโลยี สามารถสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างขนาดนั้นได้

จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๗ ซึ่งกำหนดจะมีงานเฉลิมฉลอง

กรุงเทพมหานคร ๑๕๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๗๕

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึง

พระราชดำริในรัชกาลที่ ๔ ที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

เชื่อม ๒ ฝั่ง อีกทั้งยังทรงเห็นว่า กรุงเทพมหานคร

ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก และขยายไปทางด้านตะวันออก มากกว่าด้านอื่น

แต่ทางด้านฝั่งธนบุรีมีพื้นที่ติดกัน เป็นเรือกสวนและมีผู้คนอาศัยอยู่มาก

การไปมากับฝั่งพระนคร ยังยากลำบากต้องใช้แต่ทางเรือ

ไม่วันใดวันหนึ่งก็ต้อง สร้างสะพานเชื่อมถึงกัน

ถ้าสร้างเสียแต่วันนี้ จะได้ประโยชน์เร็วขึ้น

ทั้งในโอกาสฉลองกรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี

ก็ควรจะมีสิ่งที่เป็นอนุสรณ์สถานสร้างไว้ เพื่อระลึกถึง

พระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลก

ที่สร้างกรุงเทพมหานครขึ้น

เมื่อโปรดเกล้าฯให้คณะอภิรัฐมนตรี สภาประชุมปรึกษาหารือกัน

 ก็เห็นชอบพระราชดำริที่จะสร้างอนุสรณ์สถาน ๒ สิ่งคู่กัน

โดยเชิญชวนประชาชนร่วม เฉลิมพระเกียรติสนองพระเดชพระคุณ

 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

คือ พระบรมรูปองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

ผู้สร้างกรุงเทพมหานคร กับอีกสิ่งหนึ่งคือ สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่เป็นพระราชดำริมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔

โดยกำหนดสถานที่ปลายถนนตรีเพชร ฝั่งพระนคร

ข้ามไปลงที่บริเวณด้านวัดประยุรวงศาวาส

จากนั้นตัดถนนกระจายไปในเขตฝั่งธนบุรี

พระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

อุปนายกราชบัณฑิตสถาน ซึ่งทรงอำนวยการแผนกศิลปากร

เป็นผู้ออกแบบ เป็นพระบรมรูปทรงเครื่องขัตติยาภรณ์

ประทับเหนือราชบัลลังก์ และหล่อด้วยทองสำริด

สูงจากฐานถึงยอด ๔.๖๐ เมตร ฐานกว้าง ๒.๓๐ เมตร

มีฐานศิลาอ่อนเป็นเวที ที่ตั้งพระบรมรูปหล่ออีกตอนหนึ่ง

สะพานข้ามแม่น้ำนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

พระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคมอำนวยการสร้าง

ซึ่งทรงรับสั่งให้ กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง เป็นผู้ออกแบบโครงสร้าง

แสดงทางขึ้นลงทั้ง ๒ ข้างและตัวสะพาน พร้อมด้วยขนาดและรายการ

เพื่อเปิดประมูลจากบริษัทต่างๆ บริษัททดอร์แมนลอง จากประเทศอังกฤษ

เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง เป็นสะพานเหล็กยาว ๒๒๙.๗๖ เมตร

กว้าง๑๖.๖๘ เมตร ท้องสะพานสูงเหนือน้ำ ๗.๕๐ เมตร

สามารถยกสะพานขึ้นลง เพื่อเปิดทางให้เรือขนาดใหญ่ผ่านได้

 ออกแบบให้มีรูปลักษณ์เหมือนลูกศร มีปลายอยู่ที่ฝั่งธนบุรี

งบประมาณการสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ทั้ง ๒ สิ่งนี้

กำหนดประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ

ทรงบริจาคราชทรัพย์ ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง

และรัฐบาลสมทบงบประมาณแผ่นดิน อีกจำนวนหนึ่ง

 อีกทั้งทรงมีพระราชดำริ ที่จะเปิดรับบริจาคเงินจากประชาชน

ให้มีส่วนร่วมในการสร้างด้วย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามสะพานนี้ว่า

"สะพานพระพุทธยอดฟ้า"

ทางขึ้นลงทางฝั่งธนบุรีนั้น จะใช้ทางเดียวกันเป็นถนน ๒ เลน

แต่ทางฝั่งพระนคร แยกทางขึ้นลงออกจากกัน

และตรงทางโค้งที่ทางขึ้นทางลง มาบรรจบกัน

เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

 หันพระพักตร์ไปยังถนนตรีเพชร

เบื้องหลังก่อเป็นกำแพงหินอ่อนกั้น เบื้องหน้ามีเครื่องบูชาและมีน้ำพุ

๒ ข้างตอม่อสะพานทั้ง ๒ ฝั่ง ทำเป็นเสาสูงไว้ข้างละต้น รวมเป็น ๔ ต้น

มีลักษณะสอบขึ้นข้างบน ภายในกลวงมีบันได ขึ้นไปด้านบนได้

ซึ่งบนสุดมีหน้าต่างกระจก ๔ ทิศติดไฟฟ้าไว้ภายใน

เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณ แก่เรือที่จะผ่านสะพาน

เมื่อสะพานปิดไฟจะเปิด เรือสามารถมองเห็นได้แต่ไกล

ไฟจะดับเมื่อสะพานเปิด เสาทั้ง ๔ ยังเป็นเครื่องประดับสะพานด้วย

 ที่โคนเสามีคำจารึกประวัติ การสร้างสะพานอยู่ด้านหนึ่ง

อีกด้านหนึ่งจารึกนามสะพาน พร้อมปีพระพุทธศักราช ๒๔๗๕

 ที่เป็นปีประกอบพระราชพิธี เปิดพระปฐมบรมราชานุสรณ์

และสะพานเหมือนกันทั้ง ๒ ฝั่ง

สงครามโลกครั้งที่ ๒ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถูกฝ่ายสัมพันธมิตร

 ทิ้งระเบิดจนเสียหาย เพื่อตัดเส้นทางลำเลียง ของกองทัพญี่ปุ่น

พอสงครามสงบองค์การสหประชาชาติ ได้นำสะพานเบลลี

มาทอดให้ชั่วคราว จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ รัฐบาลจึงได้บูรณะ

และกลับมาใช้ได้ตามปกติในปี ๒๔๙๒

ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

และเป็นอนุสรณ์สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์

ปัจจุบัน นอกจากสะพานพระพุทธยอดฟ้า จะเป็นที่ประดิษฐาน

ปฐมบรมราชานุสรณ์แล้ว ยังมีลานสาธารณะ ให้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ

และเป็นลานกีฬาของเด็กนักเรียนในย่านนั้นด้วย

ทั้งฟุตบอลและสเกตบอร์ด

ในยามค่ำคืนพื้นที่ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า ในยามค่ำ

จะเป็นตลาดนัดยามค่ำคืน ที่มีสินค้าแฟชั่นหลากหลาย

 โดยเฉพาะสินค้ามือสอง อาทิ เสื้อ กางเกง กระเป๋า รองเท้า

เครื่องประดับ อีกทั้งยังมีศิลปินอิสระ ส่วนมากเป็นนักศึกษาเพาะช่าง

มารับวาดภาพและขายภาพวาดด้วย ด้วยราคาที่แสนถูก


cr. fb. Siriwanna Jill
















Create Date : 06 เมษายน 2557
Last Update : 6 เมษายน 2557 9:44:28 น.
Counter : 2342 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ