Group Blog
All Blog
### เลี่ยงผงชูรส ลดความเสี่ยงโรคร้าย ###




มหันตภัยในผงชูรส









อย่างที่ทราบกันดีว่า

ผงชูรส เป็นเครื่องชูรส

ที่ใช้ในการประกอบอาหารชนิดหนึ่ง

เพิ่มความอร่อยให้กับอาหารแล้ว

แต่ก็เป็นพิษร้ายต่อร่างกายเช่นเดียวกัน

ไปอ่านเจอเนื้อข่าวดีดีเกี่ยวกับ ผงชูรส

โดยมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง

โดยมหาวิทยาลัยมหิดล

จากคำกล่าวของ ผศ.วันทนีย์ เกรียงสินยศ

อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

 เปิดเผยถึงกรณีที่ประชาชนมีความนิยม

ในการใช้ผงปรุงรส หรือ ก้อนปรุงรสเพิ่มมากขึ้นว่า

จากการเก็บข้อมูลส่วนประกอบ

ของผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว

พบว่า ส่วนผสมส่วนใหญ่ร้อยละ 40

 ประกอบไปด้วยโซเดียมหรือเกลือ

รองลงมาคือ ไขมันปาล์ม ร้อยละ 18-20

 และผงชูรส ร้อยละ 15-20

แต่หากเป็นชนิดที่ไม่มีผงชูรส

 ก็จะเปลี่ยนเป็นเกลือเพิ่มขึ้น

และน้ำตาล ร้อยละ 8-10

เพื่อทำให้มีรสชาติกลมกล่อมขึ้น

นอกจากนี้ ก็จะมีเนื้อสัตว์อบแห้ง

เพื่อเลียนแบบของธรรมชาติ

โดยทั้งผลิตภัณฑ์ชนิดก้อนและผง

มีส่วนประกอบที่ไม่ต่างกันมากนัก

ผศ.วันทนีย์กล่าวว่า สำหรับข้อกังวลด้านโภชนา

 ในการเติมส่วนประกอบดังกล่าวลงในอาหาร คือ

อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป

โดยพบว่าก้อนปรุงรส 1 ก้อน

มีปริมาณโซเดียม 1,800 มิลลิกรัม

หรือประมาณ 1 ช้อนชา โดยปริมาณที่ร่างกายต้องการ

ในแต่ละวันอยู่ที่ 1,000-1,500 มิลลิกรัม

ปริมาณสูงสุดไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม

ซึ่งในการบริโภคแต่ละวัน

 จะได้รับโซเดียมจากแหล่งต่างๆ อยู่แล้ว

 ทั้งในผัก ผลไม้ และจากการเติมเครื่องปรุงรสต่างๆ

ทำให้เมื่อใส่ผงปรุงรสโอกาสที่จะได้รับโซเดียม

เกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ

และหากรับประทานติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง

ก็ทำให้เกิดผลต่อสุขภาพได้ในที่สุด

นอกจากนี้ ผศ.วัทนีย์กล่าวอีกว่า

ประชาชนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

โดยการใช้ผักทดแทน เช่น

 แครอต หัวไชเท้า กระดูก

 เพราะการเติมผงหรือก้อนปรุงรส

มีความเสี่ยงที่จะทำให้ได้รับโซเดียม

เกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ และมักพบว่า

ประชาชนมักเพิ่มเครื่องปรุงชนิดอื่นลงไปอีก

ได้แก่ ซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำตาล

ยิ่งทำให้ได้รับปริมาณเพิ่มขึ้น

 โดยการได้รับโซเดียมมาก

สัมพันธ์กับโรคความดัน

ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคเส้นเลือด

 หัวใจ หลอดเลือดสมอง

เพราะหากเป็นกลุ่มเสี่ยง

ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว

 ก็จะยิ่งได้รับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วเราก็ควรเลือกที่จะหลีกเลี่ยง

สิ่งที่ไม่ดีให้กับร่างกายกันนะ

จะหันมาใช้เครื่องปรุงที่เป็นธรรมชาติ

เช่นความหวานของหัวไช้เท้าแทน

 อาจจะไม่ได้รสชาติโดนใจ

แต่โรคไม่มาโดนเราชัวร์

ขอบคุณข้อมูลจาก ผศ.วันทนีย์ เกรียงสินยศ

อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ

มหาวิทยาลัยมหิดล

#RamaChannel







Create Date : 25 กรกฎาคม 2557
Last Update : 23 มกราคม 2558 20:11:33 น.
Counter : 1022 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ