Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
มิถุนายน 2564
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
16 มิถุนายน 2564

สองวัดสองแผ่นดิน : วัดราชนัดดารามวรวิหาร (จบ)



เรามาเก็บตกสิ่งที่น่าสนใจที่เหลือในวัดนี้ โดยวิหารปรกติจะปิด
แต่อ่านมาว่า ภายในมีพระประธานปางห้ามญาติ พร้อมพระปางสมาธิ 2 องค์
ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ facebook เมืองโบราณมั้งถ้าจำไม่ผิด กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
พระพุทธรูปปางนี้เป็นที่นิยม เพราะรัชกาลที่ 3 ต้องการเตือนว่า
 
หลังสิ้นรัชกาล ขอให้พระญาติทุกองค์อย่าได้ทะเลาะวิวาทกัน
ก็เป็นมุมที่น่าสนใจ แต่ผมก็ยังไม่เห็นอะไรที่เป็นจุดสำคัญไปมากกว่าพระราชนิยม
อย่างมากก็เห็นพระพุทธรูปแทนพระองค์ของรัชกาลที่ 1 และ 2 ในอุโบสถวัดพระแก้ว
คือพระพุทธยอดฟ้าฯ และพระพุทธเลิศหล้าฯ ที่เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเช่นกัน
 
อาจจะเป็นเพียงสิ่งที่คนรุ่นหลังคิดไปเอง ไม่ต่างไปจากมงกุฎบนยอดพระปรางค์วัดอรุณ
 
เดิมศาลาการเปรียญที่วัดนี้ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้า ก็เคยปิดมานาน แต่ปัจจุบันเปิดแล้ว
ภายในมีพระพุทธรูปปางรำพึง พระบรมรูปของรัชกาลที่ 3 ที่ได้แบบมาจากหอพระเทพบิดร
หล่อขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ที่ไม่รู้ว่าสร้างเมื่อไหร่
แต่ที่ผมสนใจคือ พระพระพุทธรูปอู่ทองมาจากไหน เป็นของใหม่หรือเก่าเพราะดูไม่เข้ากับวัด
 
เก่าหรือใหม่ น่าจะเป็นของเก่า เพราะอยู่ดีๆ วัดคงไม่เอาพระใหม่มาตั้งแน่ๆ
และะพระพุทธรูปสมัยอู่ทองไม่ใช่ของที่ใครนิยม คำถามต่อไปแล้วมาจากไหน
พระพุทธรูปแบบนี้ปัจจุบันเราจะเห็นอยู่ที่ห่างไปไม่ไกลนัก นั่นก็คือระเบียงวัดโพธิ์
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจำนวนมากลงมาในรัชกาลที่ 1

 

 พระพุทธรูปที่ระเบียงคต วัดพระเชตพนฯ

ตามประวัติว่า บางส่วนที่ไม่ได้ขนาดยังตั้งอยู่ริมทางมาจนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 3 ก็มี
แต่อีกหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือ เราทราบกันว่า พระพุทธรูปที่เกินจำนวนจากวัดโพธิ์นี้
ยังถูกอัญเชิญไปไว้ที่ระเบียงวัดราชบูรณะอีกด้วย จนกระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ 2
วัดราชบูรณะได้ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนเสียหาย
 
จนมีการประกาศให้วัดต่างๆที่ยังขาดแคลนพระประธาน
มาอัญเชิญพระพุทธรูปจากระเบียงคตวัดราชบูรณะไป
และนั่นเป็นอีกหนึ่งเบาะแสถึงการตามหาพระพุทธรูปสุโขทัยในต่างจังหวัด
เป็นไปได้ไหมว่า พระพุทธรูปองค์นี้จะได้รับการนำมาในช่วงเวลานั้น
 
สิ่งต่อไปที่น่าสนใจคือ เขียนกันว่าเป็นพระพุทธรูปอู่ทองตอนต้น
คำถามคือช่วงไหน
พระพักตร์นั้นแสดงให้เห็นว่า มีความคมเข้มเป็นสันแบบอู่ทอง
รวมถึงไรพระศกเป็นขมวดก้นหอยขนาดเล็ก

แต่การมีพระเกตุมาลาเป็นรัศมีเปลวเพลิง
แสดงให้เห็นว่ารับวัฒนธรรมบางส่วนมาจากสุโขทัย แสดงถึงการผสมผสาน
ดังนั้นกำหนดช่วงเวลาก็น่าจะประมาณพระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ 2
หรือสมัยอยุธยาตอนต้น ช่วงที่เริ่มก่อร่างสร้างราชธานี
 
กลับเข้าไปในพระอุโบสถอีกครั้งเราจะเห็นของสำคัญสิ่งหนึ่งที่คนไม่ค่อยสนใจ
แต่ผมชอบดูมาก นั่นก็คือธรรมาสน์
ในฐานะที่วัดนี้เป็นวัดสำคัญจึงได้รับพระราชทานธรรมมาสน์ จปร
อันเป็นสังเค็ดในงานพระบรมศพรัชกาลที่ 5

ที่วัดนี้เป็นแบบปิดทองล่องชาด
คือมีการแกะลายปิดทอง แต่ไม่ประดับกระจกแบบชั้นหนึ่ง
และไม่ได้ปิดทองในส่วนที่เหลือแบบชั้นสอง
แต่ทาด้วยชาดแทน จัดเป็นธรรมมาสน์ จปร ชั้นสาม
 

 
ส่วนสุดท้ายก็คือจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นรูปดาวนักขัตฤกษ์
ซึ่งเป็นองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์ที่เราได้มาจากอินเดียใช้สำหรับดูฤกษ์ของโหร
แต่ในปัจจุบันคงหลงเหลือความสำคัญเป็นแค่หนึ่งวันในปฏิทิน ที่คนทำงานกินเงินเดือนรอคอย
นั่นก็คือ ประกาศวันหยุดนักขัตฤกษ์ เย้ๆๆๆๆ
 
กล่าวกันว่าเป็นวัดราชนัดดาเป็นเดียวที่มีการเขียนไว้ครบตามตำรา
ในขณะที่มีการเขียนพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวนักขัตฤกษ์แบบนิดหน่อย
ไว้บนเพดานผ้าขาวเหนือพระประธานในอุโบสถวัดคงคาราม จังหวัดราชบุรี

ในปัจจุบันดาวเหล่านี้มีความสำคัญลดลง
เพราะกำหนดการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลนั้นอาศัยวันและเดือนตามปฏิทินสุริยะคติ
ตามวิถีการโคจรของดวงอาทิตย์เข้าสู่กลุ่มดาวจักรราศีต่างๆ

แต่ดาวนักขัตฤกษ์คือกลุ่มดาวที่คนโบราณใช้สังเกตการโคจรผ่านของดวงจันทร์
เริ่มต้นนั้นมี 28 ดวง แต่ต่อมาบางตำราลดเหลือแค่ 27 ดวง
แล้วเกี่ยวข้องกับคำว่า วันหยุดนักขัตฤกษ์อย่างไร

การกำหนดวันหยุดทางพุทธศาสนา
เราก็ยังอาศัยการการโคจรของดวงจันทร์ที่เข้าสู่กลุ่มดาวเหล่านี้ในการกำหนด
เช่นวันมาฆบูชา เราคงได้ยินว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาตที่ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
แปลว่า วันนั้นเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏอยู่ใกล้กับดาวลำดับที่ 10 หรือดาวมฆา
 
ตรงกับปฏิทินจันทรคติในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม แต่หากปีใดมีเดือนแปดสองหน
หรืออธิกมาสอันเกิดจากจำนวนวันในรอบหนึ่งปีของระบบจันทรคติที่มีน้อยกว่า
เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ปี จึงต้องมีการเติมจำนวนเดือนซ้ำลงไป เพื่อให้ตรงกับฤดูกาลเช่นเดิม
ดังนั้นในปีอธิกมาส วันมาฆบูชาจึงต้องเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสี่
 
เช่นกันวันวิสาขบูชานั้นก็หมายความว่าดวงจันทร์ได้เข้าสู่ดาวฤกษ์ลำดับที่ 16 หรือวิสาขานั่นเอง




Create Date : 16 มิถุนายน 2564
Last Update : 16 มิถุนายน 2564 13:48:42 น. 11 comments
Counter : 1866 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณtuk-tuk@korat, คุณKavanich96, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณ**mp5**, คุณนายแว่นขยันเที่ยว


 
ก่อนโควิดรอบสาม
อุ้มเพิ่งไปมา
เจิม


โดย: อุ้มสี วันที่: 16 มิถุนายน 2564 เวลา:12:54:39 น.  

 
ขอบคุณที่นำมาฝากกันจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 16 มิถุนายน 2564 เวลา:13:13:24 น.  

 
พระพุทธรูปในรูปแรกปางอะไรครับ ไม่เคยเห็นเลยครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 16 มิถุนายน 2564 เวลา:13:27:14 น.  

 
เดี๋ยวมาเก็บตกค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 มิถุนายน 2564 เวลา:12:28:17 น.  

 
ตอนแรกไม่แน่ใจครับ เคยเห็นแต่ปางรำพึงแบบไขว้พระหัตถ์ที่อก ถึงได้ถามไป พอได้คำตอบแล้วกลับมาดูชัดๆอีกที พุทธลักษณะเป็บแบบเสมือนคนจริง การแสดงลักษณะรำพึงน่าจะอ้างอิงจากการกอดอกครุ่นคิด มั๊งครับ อิอิอิ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:16:46:18 น.  

 
อ่านของคุณบอล
มือเป็นแบบการไหว้แบบหนึ่งไหมคะ จำชื่อไม่ได้ สวัสดิกะ หรือ?
เพราะปางรำพึงเป็นการทำความเคารพ หรือไหว้แบบนึง
เพื่อ คาราวะต้นไม้ที่พระองค์ท่านเสวยสมมติสุข


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:20:40:26 น.  

 
สวัสดิกะมุทรา มีไหมคะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:6:15:03 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:12:37:13 น.  

 
อ.กระติกเคยเล่าไว้ในเรื่องถ้ำพระโพธิสัตว์ ว่า
เทพสี่กร - ด้านซ้ายของพระพุทธเจ้า
สองกรถือจักรกับสังข์ อีกสองกรทำสวัสดิกะมุทรา
แสดงความเคารพพระพุทธเจ้าค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มิถุนายน 2564 เวลา:15:09:52 น.  

 
เรื่องหอไตร มีเกือบทุกวัดค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มิถุนายน 2564 เวลา:15:11:37 น.  

 
จากที่บล็อก

ใช่ครับ ด้านบนพระตำหนักมีฉนวนทอดยาวข้ามคูน้ำไปยังพระตกหนักมารีราชรัตบังลังก์ได้ครับ พระตำหนัก 2 องค์นี้สร้างคู่กันครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ด้วยนะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 มิถุนายน 2564 เวลา:15:54:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]